Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

ค่าความร้อนที่ให้กับพลาสติก


  • This topic is locked This topic is locked
8 replies to this topic

#1 Junovsky

Junovsky

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 140 posts
  • Gender:Male

Posted 05 January 2011 - 11:35 AM

ที่โรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารที่ทำจากพลาสติกพวก PP PS APET ในขั้นตอนการผลิตจะต้องให้ความร้อนกับพลาสติกแผ่นแล้วจึงทำการดูดด้วยสูญญากาศ

อยากจะถามว่าปริมาณความร้อนที่พลาสติกได้รับในขั้นตอนการผลิตมีผลกับ migration เวลานำไปบรรจุอาหารร้อนหรือไม่

โดนออดิตเตอร์เมนมาว่าค่าความร้อนมีผลเลยจะต้องควบคุมการให้ความร้อนส่งผลให้ต้องทำก
ารสอบเทียบตัวเทอร์โมคอนโทรลเลอร์ของฮีตเตอร์ซึ่งเครื่องจักรแต่ละตัวมีตัวพวกนี้อยู่
สี่สิบตัวซึ่งจะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมากหากต้องทำการสอบเทียบ

พอจะมีวิธีการแก้ไขอื่นบ้างมั้ยครับ

smiley-signs028.gif

#2 Angcapol (TQC)

Angcapol (TQC)

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 159 posts

Posted 05 January 2011 - 12:12 PM

ขอแชร์นะครับ เครื่องให้ความร้อนของคุณคงเป็นลักษณะคล้ายๆตู้อบใช่ป่าวครับ

การใช้งานก็คือนำพลาสติกแผ่นวางในตู้และให้ความร้อนตามอุณหภูมิและเวลาที่กำหนด

เพราะฉะนั้นคุณต้องมีการควบคุมอุณภูมิของเครื่องจักรด้วย

เครื่องจักรคุณน่าจะให้ความร้อนโดยขดลวดฮีตเตอร์ ซึ่งควบคุมการทำงานโดยตัวเทอร์โมคอนโทรลเลอร์

คุณไม่จำเป็นต้องสอบเทียบเทอร์โมคอนโทรลเลอร์ครับ มันยุ่งยากและราคาแพง

ให้คุณทำดังนี้ครับ

1. ซื้อเครื่องวัดความร้อนแบบ Portable (มือถือ) เป็นแบบลำแสงเลเซอร์ ซึ่งอ่านค่าได้ทั้งองศาฟาเรนไฮด์และเซลเซียส

พร้อมใบ cert สอบเทียบแนบมาด้วยนะครับ

2. กำหนดจุดวัดอุณภูมิในตู้อบอย่างน้อย 5 จุด (กำหนดจุดเป็น 4 เหลี่ยมก็ได้) วัดจุดละ 3-5 ครั้ง หาค่าเฉลี่ย

3. กำหนดเกณฑ์การยอมรับค่าความร้อนของแต่ละ condition

4. ส่งเครื่องวัดความร้อนไปสอบเทียบอย่างน้อย 6 เดือน/ครั้ง

เสมือนคุณสอบเทียบเครื่องวัดความร้อนเพียงตัวเดียว ซึ่งเป็นตัว master ในการสอบเทียบเทอร์โมคอนโทรล

เท่านี้ก็ใช้ได้แล้วครับ แต่เขียน procedure หรือ wi ให้ชัดเจนนะครับ

มีประเด็นสงสัย สอบถามได้ครับ

eng_038@hotmail.com

#3 iso_woman

iso_woman

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 278 posts
  • Gender:Female
  • Location:Ayutthaya

Posted 05 January 2011 - 01:18 PM

เห็นด้วยนะคะ ก่อนอื่นเราต้องหาเครื่องมือวัดที่เป็น master ก่อน แล้วเราจึงทำการ calibrate ตัวเทอร์โมคอนโทรลเองได้ ไม่ต้องเปลืองเงินส่งไป calibrate ทุกตัวหรอกค่ะ ใช้ตัว master ตัวเดียวก็พอแล้ว แต่เราต้องมีการ verify ตัวเทอร์โมคอนโทรลด้วยนะคะ เพื่อตรวจสอบสภาพว่ายังคงใช้งานต่อไปได้หรือไม่ ความถี่แล้วแต่เรากำหนดตามความเหมาะสมค่ะ สำหรับตัว master เราจะส่งไป cal. อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้งก็ได้ ตามความเหมาะสมค่ะ

เพิ่มเติมนิดนึง สำหรับตัวเทอร์โมคอนโทรล ถ้าอยู่ติดกับเครื่องจักรอยู่แล้ว ให้ทำการตรวจเช็คประจำวัน ด้วย ใน PM น่ะ ให้ตรวจสอบสภาพตัวเทอร์โมคอนโทรลด้วย ว่าอยู่ใน spec ที่กำหนดไว้หรือไม่ แล้วลงในบันทึกการตรวจสอบเครื่องจักรประจำวันด้วย ก็สามารถใช้เป็นหลักฐานในการ audit ได้นะคะ

#4 Junovsky

Junovsky

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 140 posts
  • Gender:Male

Posted 06 January 2011 - 02:21 PM

ขอบคุณที่ช่วยแนะนำครับ และขอโทษด้วยที่บอกข้อมูลไม่ละเอียด
พลาสติกที่จะเอาเข้าเครื่องจะเป็นแบบต่อเนื่องในลักษณะม้วน ตอนผลิตเครื่องจะดึงพลาสติกจากม้วนไปให้ความร้อนเป็นเฟรมๆและไปขึ้นรูป เหมือนในรูป


Uploaded with ImageShack.us

ตัววัดอุณหภูมิแบบเลเซอร์เป็นยังไงหรือครับ เหมือนกับแบบอินฟาเรดรึเปล่าครับ ที่โรงงานมีอันนึงแต่ติดปัญหาตรงที่
1. วิธีการใช้งาน คือ จะต้องให้ตัวเครื่องตั้งฉากกับพื้นผิวที่จะวัดและคลื่นอินฟาเรดที่ปล่อยออกมาจะเป็นล
ักษณะทรงกรวย ถ้าสัมผัสอะไรก็จะส่งผลกับค่าอุณหภูมิ ปัญหาคือ ไม่มีพื้นที่ให้เอาเครื่องเข้าไปวัดตามวิธีใช้งาน
2. ผิววัตถุที่จะวัดจะต้องทึบไม่โปร่งแสงหรือใส ปัญหาคือ PP,APET มันจะมัวๆกับใสๆอะครับ

ในใจผม ผมอยากหาข้อมูลและหลักฐานมาแสดงว่าค่าความร้อนที่ให้กับพลาสติกอ่อนตัวหรือละลายไม่ส
่งผลให้พลาสติกเปลี่ยนคุณสมบัติ เช่น ไม่ทำให้ค่า Migration เปลี่ยน ผมจะได้ไม่ต้องมาควบคุมเรื่องการให้ความร้อนนะครับ

รบกวนผู้มีความรู้ทางด้านพลาสติกหรือใครที่มิวิธีการดีๆช่วยแนะนำด้วยครับ ขอบคุณครับ

คุณ eng038 รบกวนขอยี่ห้อกับรุ่นของตัววัดอุณหภูมิแบบเลเซอร์ด้วยครับ ผมอยากจะไปศึกษาเพิ่มเติมครับ ขอบคุณครับ


#5 Sattahip

Sattahip

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 428 posts
  • Gender:Male

Posted 06 January 2011 - 02:53 PM

smiley-computer005.gif ขอแสดงความคิดเห็นครับ(ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่อยากเสนอ)
ในกรณีแบบที่คุณร่างมา ก็อาจมีความแตกต่างของชนิด Heater และ Sensor ด้วยครับ
ตามหลักการการส่งผ่านความร้อน 3 แบบ
1.การนำความร้อน
2.การพาความร้อน
3.การแผ่รังสีความร้อน

ในกรณีนี้ ผมต้องเดาว่าอาจเป็นแบบ พาความร้อนโดยใช้อากาศ (แม้ว่าจะมีรังสีแฝงมาบ้าง) การวัดค่าเพื่อควบคุม
ก็จะวัดความร้อนในบรรยากาศนั้นๆ ซึ่งถ้าเป้นอย่างที่ว่า ก็ใช้การสอบเทียบหัววัดดังกล่าว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า อุณหภูมิถูกต้อง
ก็อ่านค่าความร้อนซึ่งปรากฎไปดูผลกระทบต่อพลาสติกว่า อุณหภูมิขนาดนี้จะเกิดอะไรได้บ้าง

แต่ผมอ่านคำถามจากข้อแรกแล้วไม่ชัดเจนว่า ออดิเตอร์ต้องการอะไร ระหว่าง
1.ผลกระทบจากอุณหภูมิที่ให้กับพลาสติกบรจุอาหาร
2.ต้องการควบคุมเครื่องมือวัดตามข้อกำหนด 7.6

ลองพิจารณาดูนะครับ ถ้าสงสัยถามออดิเตอร์ตรงๆเลย จะแก้ปัญหาถูกจุดมากกว่าครับ

#6 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,568 posts
  • Gender:Male

Posted 06 January 2011 - 03:35 PM

QUOTE(Sattahip @ Jan 6 2011, 02:53 PM) <{POST_SNAPBACK}>
smiley-computer005.gif ขอแสดงความคิดเห็นครับ(ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่อยากเสนอ)
ในกรณีแบบที่คุณร่างมา ก็อาจมีความแตกต่างของชนิด Heater และ Sensor ด้วยครับ
ตามหลักการการส่งผ่านความร้อน 3 แบบ
1.การนำความร้อน
2.การพาความร้อน
3.การแผ่รังสีความร้อน

ในกรณีนี้ ผมต้องเดาว่าอาจเป็นแบบ พาความร้อนโดยใช้อากาศ (แม้ว่าจะมีรังสีแฝงมาบ้าง) การวัดค่าเพื่อควบคุม
ก็จะวัดความร้อนในบรรยากาศนั้นๆ ซึ่งถ้าเป้นอย่างที่ว่า ก็ใช้การสอบเทียบหัววัดดังกล่าว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า อุณหภูมิถูกต้อง
ก็อ่านค่าความร้อนซึ่งปรากฎไปดูผลกระทบต่อพลาสติกว่า อุณหภูมิขนาดนี้จะเกิดอะไรได้บ้าง

แต่ผมอ่านคำถามจากข้อแรกแล้วไม่ชัดเจนว่า ออดิเตอร์ต้องการอะไร ระหว่าง
1.ผลกระทบจากอุณหภูมิที่ให้กับพลาสติกบรจุอาหาร
2.ต้องการควบคุมเครื่องมือวัดตามข้อกำหนด 7.6

ลองพิจารณาดูนะครับ ถ้าสงสัยถามออดิเตอร์ตรงๆเลย จะแก้ปัญหาถูกจุดมากกว่าครับ



เกรงว่า Auditor จะไม่ยอมบอกอ่ะครับ เพราะ Auditor ชอบ Play safe ไม่อยากเปลืองตัว

พอดีมีประสบการณ์กับ Food Auditor Brand S2S บ่อย ไม่รู้เป็นอะไร ตอนเปิดประชุมก็บอกยินดีให้ถามได้ Value added ให้ พอถามจริงๆ ก็ Play safe ตลอด smiley-eatdrink004.gif


#7 Junovsky

Junovsky

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 140 posts
  • Gender:Male

Posted 08 January 2011 - 11:16 AM

QUOTE(Sattahip @ Jan 6 2011, 02:53 PM) <{POST_SNAPBACK}>
smiley-computer005.gif ขอแสดงความคิดเห็นครับ(ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่อยากเสนอ)
ในกรณีแบบที่คุณร่างมา ก็อาจมีความแตกต่างของชนิด Heater และ Sensor ด้วยครับ
ตามหลักการการส่งผ่านความร้อน 3 แบบ
1.การนำความร้อน
2.การพาความร้อน
3.การแผ่รังสีความร้อน

ในกรณีนี้ ผมต้องเดาว่าอาจเป็นแบบ พาความร้อนโดยใช้อากาศ (แม้ว่าจะมีรังสีแฝงมาบ้าง) การวัดค่าเพื่อควบคุม
ก็จะวัดความร้อนในบรรยากาศนั้นๆ ซึ่งถ้าเป้นอย่างที่ว่า ก็ใช้การสอบเทียบหัววัดดังกล่าว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า อุณหภูมิถูกต้อง
ก็อ่านค่าความร้อนซึ่งปรากฎไปดูผลกระทบต่อพลาสติกว่า อุณหภูมิขนาดนี้จะเกิดอะไรได้บ้าง

แต่ผมอ่านคำถามจากข้อแรกแล้วไม่ชัดเจนว่า ออดิเตอร์ต้องการอะไร ระหว่าง
1.ผลกระทบจากอุณหภูมิที่ให้กับพลาสติกบรจุอาหาร
2.ต้องการควบคุมเครื่องมือวัดตามข้อกำหนด 7.6

ลองพิจารณาดูนะครับ ถ้าสงสัยถามออดิเตอร์ตรงๆเลย จะแก้ปัญหาถูกจุดมากกว่าครับ


Auditor พูดทำนองว่า ค่าความร้อนน่าจะมีผลกระทบกับเนื้อพลาสติกส่งผลให้อาจเกิดอันตรายกับผู้บริโภคอะครับ ดังนั้นเค้าเห็นว่าน่าจะเกิดอันตรายจึงต้องควบคุมอุณหภูมิ ต่อจากนั้นก็ต้องมีตัววัด ต่อจากนั้นก็ต้องสอบเทียบตัววัด เรื่องก็เลยยาวเช่นนี้แล

ตัว heater ที่ใช้เป็นแบบอินฟาเรด(แผ่รังสีความร้อน) ครับแล้วก็ตัวเซนเซอร์จะอยู่ในตัว heater แล้วก็เชื่อมไปที่เทอร์คอนโทรลเลอร์หน้าเครื่องอะครับ

ขอบคุณครับที่แนะนำ

#8 Sattahip

Sattahip

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 428 posts
  • Gender:Male

Posted 08 January 2011 - 12:06 PM

smiley-computer005.gif

"เกรงว่า Auditor จะไม่ยอมบอกอ่ะครับ เพราะ Auditor ชอบ Play safe ไม่อยากเปลืองตัว"
โอ้โห!ท่านFood Safety เอาความจริงมาเปิดเผยอีกแล้ว 55555 ก็ต้องทำใจครับว่า
Play safe หรือ ว่าท่านก็ไม่รู้

สำหรับท่าน Junovsky
ถ้าเป็นแบบอินฟราเรด(หรืออินฟราราฮีตเตอร์) เกรงว่าจะสอบเทียบลำบาก(แม้ว่าอยากจะทำใจจะขาด)
เนื่องจากว่า Sensor ฝังอยู่ในตัวฮีตเตอร์ การวัดค่าความร้อนเป็นการวัดค่าจากตัวฮีตเตอร์เอง
และไม่ใช่ค่าความร้อนที่กระทำต่อวัสดุ(พลาสติก)

แม้ว่าคุณจะใช้วิธีการ Verifly โดยสอดหัววัดเข้าไปในตู้อบ หัววัดที่คุณใช้ก็ต้องใช้แบบ
Black body ซึ่งต้องผ่านการสอบเทียบ-การรับรอง เพราะว่าการวัดแบบนี้ต้องวัดค่า
แบบการแผ่รังสีความร้อน ซึ่งหัววัดปกติไม่สามารถวัดได้

และน่าจะมีวิธีที่เหลืออยู่อีกอย่างที่นึกได้คือ แปะตัววัดความร้อนแบบสติกเกอร์เข้าไปทดสอบดูกับชิ้นงาน
ว่ามีความร้อนเท่าใด และความร้อนนั้นมีผลต่อผลิตภัณฑ์หรือไม่

หรือท่านอืนมีความเห็นอย่างไรครับช่วยแชร์บ้าง

#9 kusaka

kusaka

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 348 posts
  • Gender:Male

Posted 08 January 2011 - 04:22 PM

ก่อนที่จะต้องทำการสอบเทียบ ขอให้พิจารณาสภาวะในการผลิตก่อนครับว่า มีโอกาสเกิด Migration หรือเปล่า เพราะถ้ามันไม่มีโอกาสเกิดจะไปควบคุมทำไม
ได้มีการสอบถาม Supplier หรือยังว่า อุณหภูมิและระยะเวลาเท่าไหร่ที่จะทำให้เกิด Migration

ถ้า Supplier ตอบไม่ได้ มีอีกวิธีทำตัวอย่างที่มีสภาวะสูงสุด และส่งตัวอย่างตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือกรมวิทยาศาสาตร์บริการ ที่มีการตรวจสารปนเปื้อนในเนื้อพลาสติก ดูว่ามีการเกิดปัญหา Migration หรือเปล่าแล้วจึงคอยมาคิดเรื่องสอบเทียบ เพราะปกติพลาสติกต้องผ่านร้อนอยู่แล้ว ถ้าไม่ปลอดภัียเค้าไม่ให้นำมาใช้หรอกครับ ตรวจสอบก่อน


หากพบว่ามีการเกิด Migration ขึ้นได้ในสภาวะการผลิตปกติ สามารถควบคุมได้อีกวิธีการควบคุมที่ปริมาณไฟที่จ่ายให้ฮีทเตอร์แต่ละตัวซึ่งวัดง่ายค
รับทวนสอบเอาว่าแรงดันไฟเท่านี้ ไม่ก่อให้เกิด Migration โดยใช้เครื่องวัดแรงไฟฟ้าช่วย ในการควบคุม และตรวจสอบว่ามีปริมาณไฟผิดปกติ ดังนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการวัดครับ ไม่จำเป็นต้องวัดอุณหภูมิก็ได้เสมอไปครับ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Kusakagen@hotmail.com




0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users