Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

ถามรายละเอียดการตรวจสุขภาพพนักงานประจำปีครับ


  • This topic is locked This topic is locked
8 replies to this topic

#1 malangsabman

malangsabman

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 3 posts

Posted 14 May 2010 - 10:13 AM

การตรวจสุขภาพพนักงานประจำปี โรงงานผลิตอาหาร
ต้อง หรือ ควรจะตรวจ อะไรบ้างครับ
ถึงจะครอบคลุม ตามระบบ HACCP
คือผมไม่อยากให้มันมากเกินไป หรือน้อยจน ผิดตามข้อกำหนดครับ

รบกวน ด้วยนะครับ

#2 Suppadej

Suppadej

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,607 posts
  • Gender:Male

Posted 14 May 2010 - 02:53 PM

กฎกระทรวง

กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง

และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน

พ.ศ. ๒๕๔๗

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๑๐๗ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุ
คคลซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามทบบัญญัติแห่งกฎ
หมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงได้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเ
ป็นต้นไป

ข้อ ๒ ในกฎกระทรวงนี้

"การตรวจสุขภาพ" หมายความว่า การตรวจร่างกายและสภาวะทางจิตใจตามวิธีทางการแพทย์เพื่อให้ทราบถึงความเหมาะสม และผลกระทบต่อสุขภาพของลูกจ้างอันอาจเกิดจากการทำงาน

"งานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง" หมายความว่า งานที่ลูกจ้างทำเกี่ยวกับ

(๑) สารเคมีอันตรายตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

(๒) จุลชีวันเป็นพิษซึ่งอาจเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา หรือสารชีวภาพอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

(๓) กัมมันตภาพรังสี

(๔) ความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน ความกดดันบรรยากาศ แสง เสียง หรือสภาพแวดล้อมอื่นที่อาจเป็นอันตราย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

หมวด ๑

การตรวจสุขภาพ

-------------------------------

ข้อ ๓ ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงโดยแพทย์แผ
นปัจจุบันชั้นหนึ่งที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านอาชีวเวชศาสตร์ หรือที่ผ่านการอบรมด้านอาชีวเวชศาสตร์ หรือที่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีประกาศกำหนด โดยตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งแรกให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้า
ทำงาน และตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานที่เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงนั้น มีความจำเป็นต้องตรวจสุขภาพตามระยะเวลาอื่น ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างตามระยะเวลานั้น

ในกรณีนายจ้างเปลี่ยนงานของลูกจ้างที่มีอันตรายแตกต่างไปจากเดิม ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างทุกครั้งให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต
่วันที่เปลี่ยนงาน

ข้อ ๔ ในกรณีที่ลูกจ้างหยุดงานสามวันทำงานต่อต่อกันเนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยไม่ว
่ากรณีใด ๆ นายจ้างอาจขอความเห็นจากแพทย์ผู้ทำการรักษา หรือแพทย์ประจำสถานประกอบกิจการหรือจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างก่อนให้ลูกจ้างก
ลับเข้าทำงานอีกก็ได้



หมวด ๒

การบันทึกผล การแจ้ง และการส่งผลการตรวจสุขภาพ

-----------------------------------

ข้อ ๕ ในการตรวจสุขภาพของลูกจ้างตามข้อ ๓ ให้แพทย์ผู้ทำการตรวจบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับผลการตรวจสุขภาพ โดยให้ระบุความเห็นของแพทย์ที่บ่งบอกถึงสภาวะสุขภาพของลูกจ้างที่มีผลกระทบหรือเป็นอ
ุปสรรคต่อการทำงานหรือลักษณะงานที่ได้รับมอบหมายของลูกจ้าง พร้อมทั้งลงลายมือชื่อแพทย์ผู้ทำการตรวจหรือให้ความเห็นในวันที่ทำการตรวจหรือให้ควา
มเห็นนั้น

ข้อ ๖ ให้นายจ้างจัดให้มีสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงตามแบ
บที่อธิบดีประกาศกำหนด และให้นายจ้างบันทึกผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างในสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างตามผลก
ารตรวจของแพทย์ทุกครั้งที่มีการตรวจสุขภาพ

ข้อ ๗ ให้นายจ้างเก็บบันทึกผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างตามข้อ ๓ รวมทั้งข้อมูลสุขภาพอื่นที่เกี่ยวข้อง และพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลาโดยให้เก็บไว้ ณ ที่ทำการของนายจ้างไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันสิ้นสุดของการจ้างแต่ละราย เว้นแต่มีการร้องทุกข์ว่านายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือมีการฟ้องร้องคดีเกี่ยวกับโ
รคหรืออันตรายอย่างใดต่อสุขภาพของลูกจ้าง แม้จะพ้นเวลาที่กำหนดให้นายจ้างเก็บรักษาเอกสารนั้นไว้จนกว่าจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษ
าถึงที่สุดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ มิให้นายจ้างนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางที่เป็นโทษแก่ลูกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร

ข้อ ๘ ให้นายจ้างแจ้งผลการตรวจสุขภาพให้แก่ลูกจ้าง ดังนี้

(๑) กรณีผลการตรวจสุขภาพผิดปกติ ให้แจ้งแก่ลูกจ้างผู้นั้นภายในระยะเวลาสามวันนับแต่วันที่ทราบผลการตรวจ

(๒) กรณีผลการตรวจสุขภาพปกติ ให้แจ้งแก่ลูกจ้างผู้นั้นภายในระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ทราบผลการตรวจ

ข้อ ๙ ในกรณีที่พบความผิดปกติของลูกจ้าง หรือลูกจ้างมีอาการหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันที และทำการตรวจสอบหรือหาสาเหตุของความผิดปกติเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน

ให้นายจ้างส่งผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่พบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วย การให้การรักษาพยาบาลและการป้องกันแก้ไขต่อพนักงานตรวจแรงงานตามแบบที่อธิบดีประกาศก
ำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วย

ข้อ ๑๐ ถ้าลูกจ้างผู้ใดมีหลักฐานทางการแพทย์จากสถานพยาบาลของราชการหรือที่ราชการยอมรับ แสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมได้ ให้นายจ้างเปลี่ยนงานให้แก่ลูกจ้างผู้นั้นตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างเป็นสำคัญ

ข้อ ๑๑ ให้นายจ้างมอบสมุดสุขภาพประจำตัวให้แก่ลูกจ้างเมื่อสิ้นสุดการจ้าง



ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗


( นางอุไรวรรณ เทียนทอง )

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน



ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๔ ก วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๘

ตัวอย่าง http://www.siamsafet...th 14-11-07.pdf
"ในโลกนี้ไม่มีคนแปลกหน้าสำหรับเรา มีแต่เพื่อนที่เรายังไม่ได้พบกันเท่านั้น" E-mail suppadej@gmail.com

#3 malangsabman

malangsabman

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 3 posts

Posted 14 May 2010 - 03:47 PM

congratualtions.gif
ขอบคุณครับ เอาไปใช้กับงานด้าน safety ได้เลยครับ

แต่การตรวจสุขภาพของโรงงานผลิตอาหาร ละครับ พวกตรวจเชื้อก่อโรคต่างๆ ในเลือด ในอุจาระ จำเป็นต้องตรวจอะไรบ้างครับ

#4 Suppadej

Suppadej

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,607 posts
  • Gender:Male

Posted 14 May 2010 - 04:24 PM

QUOTE(malangsabman @ May 14 2010, 03:47 PM) <{POST_SNAPBACK}>
congratualtions.gif
ขอบคุณครับ เอาไปใช้กับงานด้าน safety ได้เลยครับ

แต่การตรวจสุขภาพของโรงงานผลิตอาหาร ละครับ พวกตรวจเชื้อก่อโรคต่างๆ ในเลือด ในอุจาระ จำเป็นต้องตรวจอะไรบ้างครับ


ต้องตรวจเพิ่มจากที่ผม Post ก่อนหน้านี้ (เป็นสิ่งที่ลูกค้า ที่มา Audit แนะนำผมไว้ นอกเหนือจากการตรวจร่างกายแบบโปรแกรมปกติ) คือ

1. ตรวจไวรัสตับอักเสบบี
2. ตรวจพยาธิ Strongyliodes stercoralis

แต่ผมยังหาที่มาระบุเป็น Paper ไม่ได้ ถ้าเพื่อนๆเท่าใดที่มี Paper หรือ กฎหมาย, ข้อกำหนด ที่อ้างอิงได้รบกวน Post บอกต่อด้วยครับ

** แล้วอย่าลืมตรวจตามประกาศกระทรวงแรงงานฉบับนี้ด้วยน่ะครับ **
ประกาศกระทรวงแรงงานเรื่อง กำหนดสารเคมีอันตรายที่ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง พ.. ๒๕๕๒


"ในโลกนี้ไม่มีคนแปลกหน้าสำหรับเรา มีแต่เพื่อนที่เรายังไม่ได้พบกันเท่านั้น" E-mail suppadej@gmail.com

#5 K.B

K.B

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 92 posts

Posted 18 May 2010 - 01:52 PM

ขอบคุณมากๆ

#6 ka_pream

ka_pream

    Super Member

  • Members
  • PipPip
  • 38 posts

Posted 20 May 2010 - 08:50 AM

QUOTE(malangsabman @ May 14 2010, 10:13 AM) <{POST_SNAPBACK}>
การตรวจสุขภาพพนักงานประจำปี โรงงานผลิตอาหาร
ต้อง หรือ ควรจะตรวจ อะไรบ้างครับ
ถึงจะครอบคลุม ตามระบบ HACCP
คือผมไม่อยากให้มันมากเกินไป หรือน้อยจน ผิดตามข้อกำหนดครับ

รบกวน ด้วยนะครับ


โรคร้าย 5 โรคด้วยนะคะ ตามระบบแล้วมีความจำเป็นต้องตรวจค่ะ
จำได้ว่ามีโรคเท้าช้าง โรคพิษสุราเรื้อรัง แล้วก็อะไรอีกน้อ ถ้าแจ้งกับ รพ. เค้าจะทราบดีอ่ะค่ะ
ปีที่แล้วตรวจกับ รพ.นครธน ขั้นตอนก็จะมีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดัน เจาะเลือด X-Ray ตรวจวัดสายตา ทดสอบการได้ยิน แล้วก็พบแพทย์ตัวต่อตัวอ่ะค่ะ
สำหรับ 5 โรคร้ายนี่จำเป็นจริงๆนะคะ ห้ามตกหล่นค่ะ เพราะถ้า Auditor หรือลูกค้าสุ่มแล้วไม่พบ อาจโดน CAR. ได้นะคะ

happy.gif

#7 Micro

Micro

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 18 posts

Posted 22 May 2010 - 01:32 PM

เพราะถ้า Auditor หรือลูกค้าสุ่มแล้วไม่พบ อาจโดน CAR. ได้นะคะ

happy.gif
[/quote]

ว้าว Auditor โหดจัง ในแง่แชร์ Idea นะ คะ

x-ray เพื่อดูความผิดปกติของปอด ว่าเป้นโรคติดต่อ เช่นวัณโรคหรือไม่ ท่านที่ตรวจพบมีผลกระทบกับความปลอดภัยอาหารหรือไม่ อยู่ในส่วนที่สัมผัสโดยตรงไหมนะคะ

ตรวจวัดสายตานั้น เพื่อ confirm ว่าน้องๆใน line ผลิต นั้นสายตายังคง OK ไหม เช่น คนที่เทียบสี ดูทางกายภาพ คนที่รอยร้าวของขวด ยังสามารถตรวจจับได้ดีหรือไม่

Stool culture ก็เพื่อทวนว่าสุขลักษณะการทาน พฤติกรรมการบริโภค ของพนักงานเราเป็นอย่างไร จะได้หาทางให้ข้อมูลที่เหมาะสม เช่น ล้างมือ หลังเข้าห้องน้ำ ทานอาหารอย่าง ต่างหากที่เราต้องทำหลังจากผลการตรวจออกมาแล้ว Positive

หัวใจของการตรวจสุขภาพประจำปี ก็ คือ ตรวจแล้วเรานำผลการตรวจเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ อย่างไร บางรายการ 100 กว่าบาท 85 บาทบ้าง (ถ้าจำไม่ผิดนะคะ) ถ้าน้องๆใน line ซัก 50 คน คงไม่เท่าไร แต่ถ้า 800 คน 1200 คน โห ค่าใช้จ่ายไม่น้อย
ตรวจแล้ว ผลตรวจ positive ดูแลพนักงานอย่างไร ประเมินผลกระทบกับ product safety อย่างไร




#8 Suppadej

Suppadej

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,607 posts
  • Gender:Male

Posted 22 May 2010 - 03:49 PM

Post ข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้ปฏิบัติงานในบริเวณผลิตอาหาร (ตามที่กฏหมายกำหนด)
สำหรับเป็น Referance ไว้เวลามีการ Audit


ซึ่งข้อมูลนี้มาจาก "คู่มือการตรวจสถานที่ผลิตอาหารตามหลักเกณฑ์ GMP สุขลักษณะทั่วไป ของกองควบคุมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มกราคม 2546"

รายละเอียดดัง File แนบ
ตรงหัวข้อที่ 6.1

Attached Thumbnails

  • Picture1.jpg

"ในโลกนี้ไม่มีคนแปลกหน้าสำหรับเรา มีแต่เพื่อนที่เรายังไม่ได้พบกันเท่านั้น" E-mail suppadej@gmail.com

#9 Suppadej

Suppadej

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,607 posts
  • Gender:Male

Posted 22 May 2010 - 03:54 PM

Link ที่เป็นเรื่องคล้ายๆกัน

http://www.isothai.c...?showtopic=3430
"ในโลกนี้ไม่มีคนแปลกหน้าสำหรับเรา มีแต่เพื่อนที่เรายังไม่ได้พบกันเท่านั้น" E-mail suppadej@gmail.com




1 user(s) are reading this topic

0 members, 1 guests, 0 anonymous users