สอบถามผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยค่ะ
พอดีว่า ผู้บริหารมีนโยบายให้ไป Audit Supplier
จำเป็นต้องไป Audit หรือเปล่าค่ะ เนื่องจาก Supplier มีเยอะมาก หรือจะส่งเอกสารแบบ Self Audit ไปแทนก็ได้
ช่วยชี้แนะด้วยนะค่ะ
ขอบคุณค่ะ
ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

เรื่องการไป Audit Supplier
Started by
คนธรรมดา
, Sep 13 2010 10:13 AM
8 replies to this topic
#1
Posted 13 September 2010 - 10:13 AM
#2
Posted 13 September 2010 - 11:55 AM
QUOTE(คนธรรมดา @ Sep 13 2010, 10:13 AM) <{POST_SNAPBACK}>
สอบถามผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยค่ะ
พอดีว่า ผู้บริหารมีนโยบายให้ไป Audit Supplier
จำเป็นต้องไป Audit หรือเปล่าค่ะ เนื่องจาก Supplier มีเยอะมาก หรือจะส่งเอกสารแบบ Self Audit ไปแทนก็ได้
ช่วยชี้แนะด้วยนะค่ะ
ขอบคุณค่ะ
พอดีว่า ผู้บริหารมีนโยบายให้ไป Audit Supplier
จำเป็นต้องไป Audit หรือเปล่าค่ะ เนื่องจาก Supplier มีเยอะมาก หรือจะส่งเอกสารแบบ Self Audit ไปแทนก็ได้
ช่วยชี้แนะด้วยนะค่ะ
ขอบคุณค่ะ
ขอแชร์นะครับ...ถ้าผู้บริหารมีนโยบายมาเราก็ควรสนองตอบต่อนโยบายนะผมว่า
ส่วนวิธ๊ Audit เนื่องจากคุณมีSupplierเยอะมาก เอาแบบง่ายๆใช้วิธี Audit Suppiler เฉพาะรายที่ผลิต Part หลักให้เราหรือAudit ในรายที่ค่อนข้างมีปัญหาบ่อยก็ได้ครับ
#3
Posted 13 September 2010 - 12:16 PM
วิธีของคุณต๊อกก็ดีมากครับ แต่ขอแชร์ทางเลือกอีกวิธีครับ
คือถ้าเรามี Supplier จำนวนมาก เราสามารถกำหนดกฏเกณฑ์โดยการแบ่งระดับ Supplier เป็น Class ได้ครับ
เช่น Class A, Class B, Class C โดยแต่ละ Class อาจแบ่งตามปริมาณการสั่งซื้อของต่อปีก็ได้ครับ
Class A = ปริมาณสั่งซื้อมากกว่า 100 ล้านบาทต่อปี ต้อง Audit เป็นประจำทุกปี และประเมินผลการทำงานของ Supplier ที่ส่งเข้าทุก 3 เดือน
Class B = ปริมาณสั่งซื้อมากกว่า 50 - 100 ล้านบาทต่อปี ใช้การประเมินผลการทำงานของ Supplier ที่ส่งเข้าทุก 6 เดือน
Class C = ปริมาณสั่งซื้อน้อยกว่า 50 ล้านบาทต่อปี ใช้การประเมินผลการทำงานของ Supplier ที่ส่งเข้าทุก 12 เดือน
คุณอาจนำวิธีนี้ไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมดูครับ ว่าเหมาะสมกับองค์กรของคุณหรือไม่ครับ เพราะแต่ละองค์กรอาจมีแนวทางการปฏิบัติที่ไม่เหมือนกันก็ได้ เพราะไม่มีวิธีใดถูกหรือผิด แต่จะมีแต่เหมาะสมกับไม่เหมาะสม กับองค์กรหรือไม่เท่านั้นครับ
** บางครั้ง Supplier ที่เราซื้อเค้าน้อยมากๆ เค้าก็ไม่ค่อยเต็มใจให้เราไป Audit มากสักเท่าไหร่ครับ หรือบางครั้งเค้าก็อาจปฏิเสธการการขายของกับเราไปเลยก็มีครับ
คือถ้าเรามี Supplier จำนวนมาก เราสามารถกำหนดกฏเกณฑ์โดยการแบ่งระดับ Supplier เป็น Class ได้ครับ
เช่น Class A, Class B, Class C โดยแต่ละ Class อาจแบ่งตามปริมาณการสั่งซื้อของต่อปีก็ได้ครับ
Class A = ปริมาณสั่งซื้อมากกว่า 100 ล้านบาทต่อปี ต้อง Audit เป็นประจำทุกปี และประเมินผลการทำงานของ Supplier ที่ส่งเข้าทุก 3 เดือน
Class B = ปริมาณสั่งซื้อมากกว่า 50 - 100 ล้านบาทต่อปี ใช้การประเมินผลการทำงานของ Supplier ที่ส่งเข้าทุก 6 เดือน
Class C = ปริมาณสั่งซื้อน้อยกว่า 50 ล้านบาทต่อปี ใช้การประเมินผลการทำงานของ Supplier ที่ส่งเข้าทุก 12 เดือน
คุณอาจนำวิธีนี้ไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมดูครับ ว่าเหมาะสมกับองค์กรของคุณหรือไม่ครับ เพราะแต่ละองค์กรอาจมีแนวทางการปฏิบัติที่ไม่เหมือนกันก็ได้ เพราะไม่มีวิธีใดถูกหรือผิด แต่จะมีแต่เหมาะสมกับไม่เหมาะสม กับองค์กรหรือไม่เท่านั้นครับ
** บางครั้ง Supplier ที่เราซื้อเค้าน้อยมากๆ เค้าก็ไม่ค่อยเต็มใจให้เราไป Audit มากสักเท่าไหร่ครับ หรือบางครั้งเค้าก็อาจปฏิเสธการการขายของกับเราไปเลยก็มีครับ
"ในโลกนี้ไม่มีคนแปลกหน้าสำหรับเรา มีแต่เพื่อนที่เรายังไม่ได้พบกันเท่านั้น"
E-mail suppadej@gmail.com
#4
Posted 13 September 2010 - 01:23 PM
QUOTE(คนธรรมดา @ Sep 13 2010, 10:13 AM) <{POST_SNAPBACK}>
สอบถามผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยค่ะ
พอดีว่า ผู้บริหารมีนโยบายให้ไป Audit Supplier
จำเป็นต้องไป Audit หรือเปล่าค่ะ เนื่องจาก Supplier มีเยอะมาก หรือจะส่งเอกสารแบบ Self Audit ไปแทนก็ได้
ช่วยชี้แนะด้วยนะค่ะ
ขอบคุณค่ะ
พอดีว่า ผู้บริหารมีนโยบายให้ไป Audit Supplier
จำเป็นต้องไป Audit หรือเปล่าค่ะ เนื่องจาก Supplier มีเยอะมาก หรือจะส่งเอกสารแบบ Self Audit ไปแทนก็ได้
ช่วยชี้แนะด้วยนะค่ะ
ขอบคุณค่ะ
ผมเห็นด้วยกับคุณต็อก
ในการAudit Supplier ก่อนจะเริ่มทำการAudit ควรทบทวนดูว่าSupplierบริษัทไหนบ้างที่มีปัญหาเรื่องอะไรบ้างที่เกิดขึ้นบ่อย เช่น
1. การส่งมอบไม่ตรงเวลา
2. ปัญหาทีเกิดจากการผลิตของSupplier ที่ถูกร้องเรียนทั้งภายในและที่ลูกค้า
3. ปัญหาอะไรบ้างที่เราพบจากSupplierแต่ละบริษัทฯ -> เพื่อจะได้แก้ไขได้ตรงประเด็นครับ
และขอเสนอเพื่อเป็นแนวทาง อาจจะแยกกลุ่มของSupplier เพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดCheck List เช่น
1. Supplier ที่เป็นผู้ขายสินค้า
2. Supplier ที่เป็นผู้ผลิต หรือรับจ้างผลิต
#5
Posted 13 September 2010 - 01:43 PM
ที่บริษัทกำหนดไว้ว่า รายไหนเป็น Key supplier คือที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์โดยตรง (Resin, try)ก็ไป audit ที่โรงงาน ถ้าเป็นต่างประเทศก็ส่งเอกสารไปให้เขา audit ตัวเองค่ะ ส่วนรายอื่นที่เหลือก็ประเมินเป็นรายเดือนตามความพึงพอใจ ถ้าได้ต่ำกว่าเกณฑ์ก็แจ้งให้ทราบนะค่ะ ก็ต้องกำหนดเกณฑ์เพราะ supplier ก็เยอะเหมือนกัน
#6
Posted 19 February 2011 - 01:34 PM
QUOTE(คนธรรมดา @ Sep 13 2010, 10:13 AM) <{POST_SNAPBACK}>
สอบถามผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยค่ะ
พอดีว่า ผู้บริหารมีนโยบายให้ไป Audit Supplier
จำเป็นต้องไป Audit หรือเปล่าค่ะ เนื่องจาก Supplier มีเยอะมาก หรือจะส่งเอกสารแบบ Self Audit ไปแทนก็ได้
ช่วยชี้แนะด้วยนะค่ะ
ขอบคุณค่ะ
พอดีว่า ผู้บริหารมีนโยบายให้ไป Audit Supplier
จำเป็นต้องไป Audit หรือเปล่าค่ะ เนื่องจาก Supplier มีเยอะมาก หรือจะส่งเอกสารแบบ Self Audit ไปแทนก็ได้
ช่วยชี้แนะด้วยนะค่ะ
ขอบคุณค่ะ
จำเป็นต้องไปน้ะค้ะ เนื่องจากเราซื้อของของเขา ลูกค้าซื้อของกับเรา ลูกค้าก็อยากได้ความมั่นใจในคุณภาพสินค้า เราซื้อก็ต้องอยากได้ความมั่นใจเช่นกัน อย่างน้อย 1 ปี 1 ครั้งก็ยังดีค่ะ

#7
Posted 19 February 2011 - 01:52 PM
เพิ่มทางเลือกในการคัดเลือกการเข้า Audit เพิ่มอาจทำเป็นตารางเปรียบเทียบเพื่อจัดลำดับความสำคัญของ Supplier ในการเข้า Audit โดยมองหลายมุม เช่น Part เป็นหลักหรือไม่, ปัญหาที่พบกี่ครั้ง, มูลค่าการสั่งซื้อ จากนั้นมาคูณกันก็จะพบประเด็นว่ารายไหนควรต้องเข้าไป audit ก่อน โดยคะแนนในปัญหาควรมีตัวเลขที่สูงเช่น พบมากกว่า 3 ครั้งต่อเดือน 5 คะแนน พอมองภาพออกนะครับ
การมีความรู้ มาจากการเรียนรู้ และปฏิบัติ หากเรียนอย่างเดียวไม่ปฏิบัีติก็เรียกว่ารุ้ไม่จริง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ chatriwat@hotmail.com
Facebook: poppithai
Tel:089-6834451
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ chatriwat@hotmail.com
Facebook: poppithai
Tel:089-6834451
#8
Posted 24 February 2011 - 11:45 AM
ขอแชร์ประสบการณ์ที่เคยทำ
โดยแยกเป็น 2 ประเภทที่เข้าไป Audit
โดยเก็บข้อมูลของแผนกจัดซื้อเกี่ยวกับการจัดส่งซึ่ง
เขาจะมีคะแนนประเมินอยู่แล้วโดยเฉลี่ยเป็น 100 คะแนน
และนำข้อมูลการประเมินผลด้านคุณภาพจากแผนก QC
เขาจะมีคะแนนประเมินอยู่แล้วโดยเฉลี่ยเป็น 100 คะแนน
จากนั้นเอาคะแนนมาเฉลี่ยกัน และกำหนดตัวเลขว่าต่ำกว่า 80 %
ก็จะเข้าไป Audit
1. กลุ่ม Supplier หลักที่มีปัญหา ไม่ถึง 80%
2. กลุ่ม Supplier รองที่มีปัญหาบ่อยๆ ไม่ถึง 80% (แต่ดูที่ปริมาณการสั่งซื้อและความถี่ในการสังซื้อด้วยว่าครวไปหรือไม่)
ในส่วนที่คะแนนไม่ถึงก็จะให้ Self Audit ตัวเอง
หมายเหตุ 1.กรณีการเกิดปัญหาด้านคุณภาพหรือจัดส่งติดต่อกัน 3 เดือน ก็จะตั้งทีมเข้าไป Audit เหมือนกันไม่ต้องรอให้จบปี (ไม่รอประเมินคะแนน)
โดยแยกเป็น 2 ประเภทที่เข้าไป Audit
โดยเก็บข้อมูลของแผนกจัดซื้อเกี่ยวกับการจัดส่งซึ่ง
เขาจะมีคะแนนประเมินอยู่แล้วโดยเฉลี่ยเป็น 100 คะแนน
และนำข้อมูลการประเมินผลด้านคุณภาพจากแผนก QC
เขาจะมีคะแนนประเมินอยู่แล้วโดยเฉลี่ยเป็น 100 คะแนน
จากนั้นเอาคะแนนมาเฉลี่ยกัน และกำหนดตัวเลขว่าต่ำกว่า 80 %
ก็จะเข้าไป Audit
1. กลุ่ม Supplier หลักที่มีปัญหา ไม่ถึง 80%
2. กลุ่ม Supplier รองที่มีปัญหาบ่อยๆ ไม่ถึง 80% (แต่ดูที่ปริมาณการสั่งซื้อและความถี่ในการสังซื้อด้วยว่าครวไปหรือไม่)
ในส่วนที่คะแนนไม่ถึงก็จะให้ Self Audit ตัวเอง
หมายเหตุ 1.กรณีการเกิดปัญหาด้านคุณภาพหรือจัดส่งติดต่อกัน 3 เดือน ก็จะตั้งทีมเข้าไป Audit เหมือนกันไม่ต้องรอให้จบปี (ไม่รอประเมินคะแนน)
#9
Posted 20 April 2011 - 03:24 PM
QUOTE(chet_toyo @ Feb 24 2011, 11:45 AM) <{POST_SNAPBACK}>
ขอแชร์ประสบการณ์ที่เคยทำ
โดยแยกเป็น 2 ประเภทที่เข้าไป Audit
โดยเก็บข้อมูลของแผนกจัดซื้อเกี่ยวกับการจัดส่งซึ่ง
เขาจะมีคะแนนประเมินอยู่แล้วโดยเฉลี่ยเป็น 100 คะแนน
และนำข้อมูลการประเมินผลด้านคุณภาพจากแผนก QC
เขาจะมีคะแนนประเมินอยู่แล้วโดยเฉลี่ยเป็น 100 คะแนน
จากนั้นเอาคะแนนมาเฉลี่ยกัน และกำหนดตัวเลขว่าต่ำกว่า 80 %
ก็จะเข้าไป Audit
1. กลุ่ม Supplier หลักที่มีปัญหา ไม่ถึง 80%
2. กลุ่ม Supplier รองที่มีปัญหาบ่อยๆ ไม่ถึง 80% (แต่ดูที่ปริมาณการสั่งซื้อและความถี่ในการสังซื้อด้วยว่าครวไปหรือไม่)
ในส่วนที่คะแนนไม่ถึงก็จะให้ Self Audit ตัวเอง
หมายเหตุ 1.กรณีการเกิดปัญหาด้านคุณภาพหรือจัดส่งติดต่อกัน 3 เดือน ก็จะตั้งทีมเข้าไป Audit เหมือนกันไม่ต้องรอให้จบปี (ไม่รอประเมินคะแนน)
โดยแยกเป็น 2 ประเภทที่เข้าไป Audit
โดยเก็บข้อมูลของแผนกจัดซื้อเกี่ยวกับการจัดส่งซึ่ง
เขาจะมีคะแนนประเมินอยู่แล้วโดยเฉลี่ยเป็น 100 คะแนน
และนำข้อมูลการประเมินผลด้านคุณภาพจากแผนก QC
เขาจะมีคะแนนประเมินอยู่แล้วโดยเฉลี่ยเป็น 100 คะแนน
จากนั้นเอาคะแนนมาเฉลี่ยกัน และกำหนดตัวเลขว่าต่ำกว่า 80 %
ก็จะเข้าไป Audit
1. กลุ่ม Supplier หลักที่มีปัญหา ไม่ถึง 80%
2. กลุ่ม Supplier รองที่มีปัญหาบ่อยๆ ไม่ถึง 80% (แต่ดูที่ปริมาณการสั่งซื้อและความถี่ในการสังซื้อด้วยว่าครวไปหรือไม่)
ในส่วนที่คะแนนไม่ถึงก็จะให้ Self Audit ตัวเอง
หมายเหตุ 1.กรณีการเกิดปัญหาด้านคุณภาพหรือจัดส่งติดต่อกัน 3 เดือน ก็จะตั้งทีมเข้าไป Audit เหมือนกันไม่ต้องรอให้จบปี (ไม่รอประเมินคะแนน)
พอมีแบบฟอร์มไหมคะ จะได้เอาไปปรับให้เข้ากับของบริษัทฯ ตนเองนะคะ เพราะต้องไป Audit ผู้ขายเหมือนกันคะ ถ้ามีรบกวนส่งให้หน่อยนะคะ w.namkaew@gmail.com
ขอบคุณมากนะคะ
2 user(s) are reading this topic
0 members, 2 guests, 0 anonymous users