Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

การจัดทำ MSA


  • This topic is locked This topic is locked
4 replies to this topic

#1 sachon

sachon

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 7 posts

Posted 01 February 2010 - 10:40 PM

รบกวนท่านผู้รู้ทุกท่านครับ ผมมีคำถามดังต่อไปนี้
1. Scope ในการจัดทำ MSA (อ้างอิง requirement ข้อไหนน่ะ)
2. ความถี่ในการจัดทำ MSA (อ้างอิง requirement ข้อไหนน่ะ)

ท่านใดทราบช่วยชี้แนะด้วยน่ะครับ

#2 นุกูล

นุกูล

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 4,797 posts
  • Gender:Male

Posted 02 February 2010 - 04:36 AM

อันนี้ กูไม่รู ช่วยตอบน่ะครับ

ข้อ 1 -
MSA อยู่ในข้อกำหนดที่ 7.6.1 ของข้อกำหนดมาตรฐาน ISO/TS16949:2009 เราต้องทำ MSA สำหรับเครื่องมือวัด เครื่องมือตรวจสอบ ทดสอบ ที่เราระบุไว้ใน ControlPlan ทุกชนิด
รายละเอียดอื่นๆ เช่น เราต้องทำแบบไหนบ้าง Bias-Linearity-Stability-GRR Variable-GRR Attribute ก็ต้องดูลักษณะของระบบการวัดของเรา เข้าข่ายวิธีไหนก็ต้องทำวิธีนั้นด้วย
เห็นบางบริษัท ระบุใน Procedure ว่าจะทำ GRR อย่างเดียว ถ้า GRR ไม่ผ่าน ถึงจะศึกษาตัวอื่นๆ แบบนี้ไม่น่าจะถูกน่ะครับ เพราะ MSA แต่ละชนิด มันตอบโจทย์แตกต่างกัน
รายละเอียดอื่นๆในการทำ MSA ให้อ้างอิงจากข้อกำหนดเฉพาะของลูกค้า หรือ Reference Manual น่ะครับ ถ้าเรามีวิธีการศึกษษที่แปลกๆไปจากคู่มือ ต้องให้ลูกค้าอนุมัติวิธีการนั้นด้วยครับ

ข้อ 2 -
ความถี่ในการทำ MSA ไม่มีระบุไว้ครับ แต่ต้องศึกษาให้ครบ ให้ครอบคลุมเครื่องมือวัด ตรวจสอบ ทดสอบ ที่เราระบุไว้ใน Control Plan
มี 3 ปัจจัยในการพิจารณากำหนดความถี่ในการทำ MSA ครับ
- Process Capability Result and
- MSA Result (จากครั้งที่ผ่านมา ข้อมูลในอดีต หรือจะอดูดก็ว่ากันไป)
- Control Chart Data

ถ้า Sigma ของกระบวนการต่ำมาก (แปลว่า Process Capability Index ของคุณจะสูง ดู Ppk ตัวเดียวก็ได้) แบบนี้อาจพิจารณาความถี่แบบไม่ต้องบ่อยมากก็ได้ เอาแบบปกติๆ เช่น
Ppk > หรือ = 1.33 ทำ MSA 6 เดือนครั้ง
Ppk > หรือ = 1.67 ทำ MSA 1 ครั้งต่อปี
Ppk > หรือ = 2.00 ทำ MSA 2 ปีครั้ง (แม่ม...สุดยอดจริงๆ make sure)

ถ้า MSA Result คุณดี เช่น Bias น้อย Linear น้อย Stability กว่าจะ Out ก็นานแสนนาน X bar 2 กับ X bar 1 ต่างกันจึ๋งเดียว อะไรแบบนี้
อาจพิจารณาความถี่แบบไม่ต้องบ่อยมากก็ได้ เอาแบบปกติๆเหมือนกัน

ส่วน Control Chart พิจารณาว่า มีอาการ OCS บ่อยไหม ถ้าไม่มีอาการ OCS ให้เห็นเลย แปลว่ากระบวนการนิ่งดีแล้ว
Sigma จากกระบวนการและ Error จากการวัดน่าจะน้อยด้วย แบบนี้ก็ศึกษา MSA แบบปกติครับ (โดยทั่วไป ถ้าไม่ make น่ะ มันจะสัมพันธ์กับ Process Cap ครับ)

แต่ถ้าทั้ง 3 ตัวที่ว่า มันออกมาตรงกันข้าม ก็ควรทำแบบ ยิก ๆ ๆ ครับ หมายถึงทำถี่ๆหน่อย เพราะระบบการวัดของคุณอาจไม่น่าเชื่อถืออยู่ก็ได้
อย่าลืมแล้วกันครับ ถ้าคุณมีการเอาเครื่องมือชนิดใหม่ๆมาใช้ ก็แปลว่าต้องศึกษา MSA สำหรับเครื่องมือประเภทใหม่ๆด้วย ไม่ต้องสนใจ 3 ข้อที่ว่า

ขอให้สำราญ บานใจ กับการทำ MSA ครับ smiley-signs003.gif

Nukool Thanuanram
Mobile Phone: 097.954.4939

Facebook: Nukool Thanuanram

Fanpage: อาจารย์นุกูล วิทยากรสอนคนโรงงาน
LINE ID: nukool2001
E-Mail: nukool2001@gmail.com


เสือพี่เพราะป่าปก ป่ารกเพราะเสือยัง ดินเย็นเพราะหญ้าบัง และหญ้ายังเพราะดินดี "สรรพสิ่งล้วนเกื้อกูลพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน"


#3 DooK

DooK

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,511 posts
  • Gender:Male
  • Location:บางแสน

Posted 02 February 2010 - 07:20 AM

QUOTE(นุกูล @ Feb 2 2010, 04:36 AM) <{POST_SNAPBACK}>
ขอให้สำราญ บานใจ กับการทำ MSA ครับ smiley-signs003.gif



มันจะสำราญเหรอครับพี่?
ลายเซ็น

#4 schatjaeoen

schatjaeoen

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 250 posts
  • Gender:Male

Posted 02 February 2010 - 11:11 AM

แวะมาเก็บข้อมูลครับ
ขอบคุณครับ

#5 sachon

sachon

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 7 posts

Posted 03 February 2010 - 10:34 AM

ขอบคุณครับ




0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users