Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

ISO กับกฎหมายใหม่ Product Liability ที่ต้องรู้ ตอนที่ 1


  • This topic is locked This topic is locked
9 replies to this topic

#1 iso_man

iso_man

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 5,134 posts
  • Gender:Male

Posted 22 October 2008 - 11:58 AM

ร็วนี้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 จะมีกฎหมายใหม่ออกมาบังคับซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบทุกคนในประเทศนั่นคือ Product Liability หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งกฎหมายที่ออกมาเป็นพรบ. หากท่านใดได้อ่าน ISO9001 Version 2008 จะมีพูดถึงสิ่งที่ท่านต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องการผลิตภัณฑ์ท่าน นี่คือกฎหมายหนึ่งที่ท่านควรรู้
พรบ. ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551
ทำไม่ถึงมีกฎหมายนี้ออกมา
- การผลิตสินค้ามีการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสูงขึ้นเรื่อยๆ
- การที่ผู้บริโภคจะตรวจพบว่าสินค้าไม่ปลอดภัยกระทำได้ยากเช่น อาหาร ยา รถยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า
- การฟ้องร้องคดีเพื่อเรียกค่าเสียหายมีความยุ่งยาก เนื่องจากภาระในการพิสูจน์จะตกแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหาย


สินค้าที่ไม่ปลอดภัยหมายถึง สินค้าที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุจากความบกพร่องในการผลิต หรือการออกแบบ หรือไม่ได้กำหนดวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือน หรือข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือกำหนดไว้ แต่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชัดเจนตามสมควร ท้งนี้โดยคำนึงถึงสภาพของสินค้า รวมทั้งสภาพการใช้งานและเก็บรักษาตามปกติธรรมดาของสินค้า

ความรับผิดของผู้ประกอบการ[/b]
- ผู้ประกอบการทุกคนต้องร่วมรับผิดต่อผู้เสียหายในความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ป
ลอดภัย และสินค้านั้นได้มีการขายให้กับผู้บริโภคแล้ว [b]ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจ หรือ ประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการหรือไม่ก็ตาม

- เพื่อให้ผู้ประกอบการต้องรับผิด ผู้เสียหายหรือผู้มีสิทธิฟ้องคดีแทนต้องพิสูจน์ว่าผู้เสียหายจากสินค้าของผู้ประกอบก
าร และการใช้หรือการเก็บรักษาสินค้านั้นเป็นไปตามปกติธรรมดา แต่ไม่ต้องพิสูจน์ว่าความเสียหายเกิดจากการกระทำของผู้ประกอบการผู้ใด

อายุความ
- สิทธิการเรียกร้องค่าเสียหายตามพรบ.นี้จะขาดอายุความเมื่อพ้นสามปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงความเสียหาย และรู้ตัวผู้ประกอบการที่ต้องรับผิด หรือ เมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันที่มีการขายสินค้านั้น

มาตรฐานอุตสาหกรรม และ ISO ช่วยอะไรได้หรือไม่ ติดตามตอนที่ 2 ต่อในวันพรุ่งนี้ toyou.gif
การมีความรู้ มาจากการเรียนรู้ และปฏิบัติ หากเรียนอย่างเดียวไม่ปฏิบัีติก็เรียกว่ารุ้ไม่จริง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ chatriwat@hotmail.com
Facebook: poppithai
Tel:089-6834451

#2 Toppy ('o')

Toppy ('o')

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 2,562 posts
  • Gender:Male
  • Location:AMATANAKORN

Posted 22 October 2008 - 12:32 PM

ขอบคุณครับ สำหรับความรู้ใหม่ๆๆ


ได้ข้อมูลถูกใจแล้ว อย่าลืม ขอบคุณ เจ้าของข้อมูลด้วยนะครับ

top741@hotmail.com  :excited: 


#3 Kreetha

Kreetha

    Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPip
  • 870 posts
  • Gender:Male

Posted 22 October 2008 - 01:05 PM

ข้อมูลดีๆแบบนี้น่าจะเอาไปลงเป็นบทความนะครับ
Oooo

#4 Nuch

Nuch

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 250 posts

Posted 22 October 2008 - 01:09 PM

ขอบคุณนะคะได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกมากเลย

#5 iso_man

iso_man

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 5,134 posts
  • Gender:Male

Posted 22 October 2008 - 01:31 PM

QUOTE(Kreetha @ Oct 22 2008, 01:05 PM) <{POST_SNAPBACK}>
ข้อมูลดีๆแบบนี้น่าจะเอาไปลงเป็นบทความนะครับ


ที่ไม่ลงบทความเพราะ เรื่องมันยาวมากแต่ต้องกาสรุปเฉพาะสาระสำคัญที่เกี่ยวกับ ISO ที่พวกเราดำเนินการอยู่เท่านั้นละครับ laugh.gif
การมีความรู้ มาจากการเรียนรู้ และปฏิบัติ หากเรียนอย่างเดียวไม่ปฏิบัีติก็เรียกว่ารุ้ไม่จริง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ chatriwat@hotmail.com
Facebook: poppithai
Tel:089-6834451

#6 iso_man

iso_man

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 5,134 posts
  • Gender:Male

Posted 23 October 2008 - 10:54 AM

QUOTE(iso_man @ Oct 22 2008, 11:58 AM) <{POST_SNAPBACK}>
ร็วนี้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 จะมีกฎหมายใหม่ออกมาบังคับซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบทุกคนในประเทศนั่นคือ Product Liability หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งกฎหมายที่ออกมาเป็นพรบ. หากท่านใดได้อ่าน ISO9001 Version 2008 จะมีพูดถึงสิ่งที่ท่านต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องการผลิตภัณฑ์ท่าน นี่คือกฎหมายหนึ่งที่ท่านควรรู้
พรบ. ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551
ทำไม่ถึงมีกฎหมายนี้ออกมา
- การผลิตสินค้ามีการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสูงขึ้นเรื่อยๆ
- การที่ผู้บริโภคจะตรวจพบว่าสินค้าไม่ปลอดภัยกระทำได้ยากเช่น อาหาร ยา รถยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า
- การฟ้องร้องคดีเพื่อเรียกค่าเสียหายมีความยุ่งยาก เนื่องจากภาระในการพิสูจน์จะตกแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหาย


สินค้าที่ไม่ปลอดภัยหมายถึง สินค้าที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุจากความบกพร่องในการผลิต หรือการออกแบบ หรือไม่ได้กำหนดวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือน หรือข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือกำหนดไว้ แต่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชัดเจนตามสมควร ท้งนี้โดยคำนึงถึงสภาพของสินค้า รวมทั้งสภาพการใช้งานและเก็บรักษาตามปกติธรรมดาของสินค้า

ความรับผิดของผู้ประกอบการ[/b]
- ผู้ประกอบการทุกคนต้องร่วมรับผิดต่อผู้เสียหายในความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ป
ลอดภัย และสินค้านั้นได้มีการขายให้กับผู้บริโภคแล้ว [b]ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจ หรือ ประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการหรือไม่ก็ตาม

- เพื่อให้ผู้ประกอบการต้องรับผิด ผู้เสียหายหรือผู้มีสิทธิฟ้องคดีแทนต้องพิสูจน์ว่าผู้เสียหายจากสินค้าของผู้ประกอบก
าร และการใช้หรือการเก็บรักษาสินค้านั้นเป็นไปตามปกติธรรมดา แต่ไม่ต้องพิสูจน์ว่าความเสียหายเกิดจากการกระทำของผู้ประกอบการผู้ใด

อายุความ
- สิทธิการเรียกร้องค่าเสียหายตามพรบ.นี้จะขาดอายุความเมื่อพ้นสามปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงความเสียหาย และรู้ตัวผู้ประกอบการที่ต้องรับผิด หรือ เมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันที่มีการขายสินค้านั้น

มาตรฐานอุตสาหกรรม และ ISO ช่วยอะไรได้หรือไม่ ติดตามตอนที่ 2 ต่อในวันพรุ่งนี้ toyou.gif

มาแว๊วตอนสอง
จากกฎหมายดังกล่าวมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ ระบบการจัดการที่ได้รับรองไม่สามารถนำมาอ้างอิงในการพิสูจน์ผลิตภัณฑ์ได้ แต่ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องรับผิดหากพิสูจน์ได้ว่า
- สินค้านั้นมิได้เป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
- ผู้เสียหายรู้อยู่แล้วว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย เช่น บุหรี่ สุรา
- ความเสียหายเกิดจากการใช้หรือการเก็บรักษาไม่ถูกต้องตามวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือน หรือข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ผู้ประกอบการได้กำหนดอย่างถูกต้องและชัดเจนตามสมควร
- ผู้ผลิตตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างให้ผลิตไม่ต้องรับผิดหากพิสูจน์ได้ว่า ความไม่ปลอดภัยของสินค้าเกิดจากการออกแบบของผู้ว่าจ้างให้ผลิตหรือจากการปฏิบัติตามค
ำสั่งของผู้ว่าจ้างให้ผลิต
- ผู้ผลิตส่วนประกอบของสินค้าไม่ต้องรับผิดหากพิสูจน์ได้ว่าความไม่ปลอดภัยของสินค้าเก
ิดจากการออกแบบหรือการประกอบ หรือการกำหนดวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือน หรือข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าของผู้ผลิตสินค้านั้น

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าต้องเป็นการพิสูจน์จากผู้ผลิตทั้งนั้น ซึ่งหากองค์กรที่ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ ระบบการจัดการ เอกสารที่่สามารถนำมายืนยันได้ก็คือ การตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้นตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงมือผู้บริโภค ซึ่งต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานต้องสอดคล้องกับกฎหมาย คือ ไม่น้อยกว่า 10ปี ตามอายุความของกฎหมาย

ในฐานะของผู้ผลิตสินค้าต้องมีความตระหนักในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ การระบุถึงอันตรายจากการใช้สินค้าผิดวัตถุประสงค์มากขึ้น โดยเฉพาะหากมีส่วนเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้ผลกระทบของกฎหมายนี้ คือ อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอาหารและยา rolleyes.gif
การมีความรู้ มาจากการเรียนรู้ และปฏิบัติ หากเรียนอย่างเดียวไม่ปฏิบัีติก็เรียกว่ารุ้ไม่จริง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ chatriwat@hotmail.com
Facebook: poppithai
Tel:089-6834451

#7 pnkstore

pnkstore

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 17 posts

Posted 01 November 2008 - 02:34 PM

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ครับ

#8 Waree

Waree

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 267 posts
  • Gender:Female
  • Location:Prachinburi

Posted 03 November 2008 - 03:19 PM

ขอบคุณค้า สำหรับข่าวใหม่ ๆ thankyou.gif
กำลังน้อยใจกับ(ผู้เกี่ยวข้อง) ที่ไม่ค่อยเห็นค่าของการทำระบบฯอยู่เลย.......อยากนี้ต้องให้อ่าน....

Be open to learning new lessons even if they contradict the lessons you learned yesterday.


#9 catdyeye_1234

catdyeye_1234

    Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPip
  • 940 posts
  • Gender:Female
  • Location:บางพลี สุมทรปราการ

Posted 03 November 2008 - 03:35 PM

เห็นด้วยกับคุณ Waree เลยค่ะ
น่าจะต้องอ่าน และควรปฏิบัติตามให้ถูกต้องตามกฏหมาย บางส่วน ชอบเป็นผักชี กัน อิอิ...

ขอบคุณ คุณ ISOMAN นะค่ะ สำหรับข่าวสารใหม่ ๆ ที่นำมาแจ้งกันค่ะ

toyou.gif

#10 docu

docu

    Super Member

  • Members
  • PipPip
  • 36 posts

Posted 22 November 2008 - 11:31 AM

ขอบคุณสำหรับการรายงานความคืบหน้าในวงการของเราค่ะ




0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users