Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

รบกวนขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับการทำกิจกรรม QR/QC ในกระบวนการผลิตครับ

QR/QC

  • Please log in to reply
2 replies to this topic

#1 Panu51

Panu51

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 11 posts

Posted 10 December 2019 - 10:57 AM

สวัสดีครับพี่ๆสมาชิก ISO Thai ทุกท่านครับ 

 

เนื่องจากผมเป็นเจ้าหน้าที่ QA มือใหม่ อยากจะขออนุญาตพี่ๆ และอาจารย์ สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับงานในแผนกนี้ครับ

พอดีผมเพิ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้างานให้จัดทำกิจกรรมการวิเคราะห์ปัญหาในกระบวนการผลิต ผมไม่แน่ใจว่า เรียกว่ากิจกรรม QR/QC หรือเปล่า ที่เหมือนกับว่าจะให้พนักงานเป็นคนคนเขียนบันทึก ปัญหา และการแก้ไขที่เกิดขึ้นในแต่ละวันครับ

 

จึงอยากรบกวนพี่ๆ ขอความรู้เกี่ยวกับ รายละเอียดหัวข้อต่างๆในเอกสาร Format ที่จะให้พนักงานทำการเขียนบันทึก ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร และวิธีการหลังจากที่พนักงานทำการเขียน และวิเคราะห์สาเหตุการเกิดแล้ว เราจะต้องนำข้อมูลตรงนี้ไปทำอย่างไรต่อครับ

 

ป.ล. หากเป็นไปได้อยากจะขอดูแบบฟอร์มตัวอย่างด้วยครับผม 

 

ขอบคุณครับ



#2 IATF MAN

IATF MAN

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 325 posts

Posted 10 December 2019 - 12:02 PM

เบื้องต้น ถามหัวหน้าก่อนครับ อยากให้ทำแบบไหน ?

 

ถ้า QRQC Quick Response Quality Control 

หมายความว่าหากพบ ของเสียในการผลิต  บางลูกค้าบอก 1 ตัวก็ให้ ทำการ Corrective Action แบบทันที ครับ

ความเป็นจริง ลูกค้าต้องการให้หยุดทำของเสีย ณ ตัวที่พบ แต่ทางองค์กรเรา ทำได้หรือไม่ ทำได้แค่ไหนที่เหมาะสม อาจตกลงกับลูกค้าได้

การทำ  

1. ทำใบรายงาน QRQC เมื่อพบของเสีย  

2. พนักงานแจ้งหัวหน้างาน    

3. หัวหน้างาน แจ้งผู้จัดการฝ่ายต่างๆทราบ และ เรียก Team ->QA PE PD MT PC เพื่อประชุม ชี้แจ้ง ปัญหา ตาม 5W 1H จากนั้น ร่วมกันวิเคราะห์ สาเหตุ การแก้ไข เบื้องต้น และ การแก้ไขแบบถาวร 

    โดยให้บันทึกข้อมูลต่างๆ ลงในใบ QRQC  มีชื่อ ผู้เข้าร่วมประชุม วันที่  รายละเอียดปัญหา มีภาพปรกอบ   การวิเคราะห์หาสาเหตุ (อาจเป็น ก้างปลา หรือ Why-Why)   แผนการปรับปรุงโดยระบุ ใครรับผิดชอบ เสร็จเมื่อไร 

    การแก้ไข ชั่วคราว ทำอย่างไรให้ผลิตได้ จะรับประกันคุณภาพได้อย่างไร  อนุมัติผลิตต่อได้หรือไม่ ให้ผู้โดยผู้บริหารอนุมัติ 

4.ทำ Board สำหรับติด เอกสาร QRQC , กราฟเพื่อดูแนวโน้มของเสีย  และติดตามการแก้ไข ปัญหา  การปิด ประเด็น เป็นต้น  

 

อย่างที่ 2 ให้รวมรวมข้อมูลจากการผลิต ทั้งหมด ย้อนหลัง แต้่ละ Part N0. แล้วนำมาจัดทำ เป็น Pareto จากนั้น เลือกปัญหาที่ อยู่ในกลุ่ม 80% ทำ Corrective Action  ด้วย ทีม  ประชุม สัปดาห์ และครั้ง 2 สัปดาห์ครั้ง ตามความเหมาะสม   

 

อย่างที่ 3 ใช้กิจกรรมกลุ่ม ย่อย QCC  ให้สามาชิกกลุ่ม ในฝ่ายผลิต นำข้อมูล Pareto ที่ได้ ไปดำเนินกิจจกรรมของเสีย ด้วยกลุ่มของตนเอง  

 

ทั้ง 3 อย่างใช้หลัก PDCA 

 

 

pongsitkam67@gmail.com



#3 Panu51

Panu51

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 11 posts

Posted 11 December 2019 - 03:43 PM

เบื้องต้น ถามหัวหน้าก่อนครับ อยากให้ทำแบบไหน ?

 

ถ้า QRQC Quick Response Quality Control 

หมายความว่าหากพบ ของเสียในการผลิต  บางลูกค้าบอก 1 ตัวก็ให้ ทำการ Corrective Action แบบทันที ครับ

ความเป็นจริง ลูกค้าต้องการให้หยุดทำของเสีย ณ ตัวที่พบ แต่ทางองค์กรเรา ทำได้หรือไม่ ทำได้แค่ไหนที่เหมาะสม อาจตกลงกับลูกค้าได้

การทำ  

1. ทำใบรายงาน QRQC เมื่อพบของเสีย  

2. พนักงานแจ้งหัวหน้างาน    

3. หัวหน้างาน แจ้งผู้จัดการฝ่ายต่างๆทราบ และ เรียก Team ->QA PE PD MT PC เพื่อประชุม ชี้แจ้ง ปัญหา ตาม 5W 1H จากนั้น ร่วมกันวิเคราะห์ สาเหตุ การแก้ไข เบื้องต้น และ การแก้ไขแบบถาวร 

    โดยให้บันทึกข้อมูลต่างๆ ลงในใบ QRQC  มีชื่อ ผู้เข้าร่วมประชุม วันที่  รายละเอียดปัญหา มีภาพปรกอบ   การวิเคราะห์หาสาเหตุ (อาจเป็น ก้างปลา หรือ Why-Why)   แผนการปรับปรุงโดยระบุ ใครรับผิดชอบ เสร็จเมื่อไร 

    การแก้ไข ชั่วคราว ทำอย่างไรให้ผลิตได้ จะรับประกันคุณภาพได้อย่างไร  อนุมัติผลิตต่อได้หรือไม่ ให้ผู้โดยผู้บริหารอนุมัติ 

4.ทำ Board สำหรับติด เอกสาร QRQC , กราฟเพื่อดูแนวโน้มของเสีย  และติดตามการแก้ไข ปัญหา  การปิด ประเด็น เป็นต้น  

 

อย่างที่ 2 ให้รวมรวมข้อมูลจากการผลิต ทั้งหมด ย้อนหลัง แต้่ละ Part N0. แล้วนำมาจัดทำ เป็น Pareto จากนั้น เลือกปัญหาที่ อยู่ในกลุ่ม 80% ทำ Corrective Action  ด้วย ทีม  ประชุม สัปดาห์ และครั้ง 2 สัปดาห์ครั้ง ตามความเหมาะสม   

 

อย่างที่ 3 ใช้กิจกรรมกลุ่ม ย่อย QCC  ให้สามาชิกกลุ่ม ในฝ่ายผลิต นำข้อมูล Pareto ที่ได้ ไปดำเนินกิจจกรรมของเสีย ด้วยกลุ่มของตนเอง  

 

ทั้ง 3 อย่างใช้หลัก PDCA 

 

 

pongsitkam67@gmail.com

ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ สำหรับข้อมูล ผมเองก็ไม่เคยทำตรงนี้มาก่อนเลย ยังไงเดี๋ยวผมจะนำข้อมูลที่พี่ได้อธิบายไปลองปรับทำ และเสนอหัวหน้าดูครับ

 

ขอบคุณอีกครั้งครับผม






0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users