กรณีของคุณน่าจะได้คำตอบจากหลายๆ ท่านไปแล้วนะครับ ผมขอเพิ่มเติมนิดนึงจริงๆ Auditor ที่ตรวจไม่น่าสวนกระแส 2 ครั้งแรกเลยนะครับ ยังไงน่าจะตามน้ำไปก่อน แล้วค่อยว่ากันอีกทีตอน Recert หรือเปลี่ยนเวอร์ชั่นว่ากันตามเหตุและผล การมีตัวอย่างมาให้ถอดแบบ จะใช้ข้อกำหนด Design หรือไม่ ขึ้นกับ Product ที่ลูกค้าให้มา คืออะไร ซับซ้อนแค่ไหนสมมติให้น้ำหอมมาขวดนึง บอกคุณไปถอดแบบ (สูตร) มา ว่าประกอบด้วยสารเคมีอะไรบ้าง สัดส่วนเท่าไหร่ ให้ออกมาสี กลิ่น แบบตัวอย่างเป๊ะนะ.. อันนี้มีออกแบบชัวร์และถ้าเป็นชิ้นงานประกอบง่ายๆ เป็นเหล็กไม่กี่ชิ้นมาประกอบกัน แค่แกะออกมาเขียนแบบแยกแต่ละชิ้น ระบุเกรดเหล็ก (ซึ่งมี Type ที่ชัดเจนอยู่แล้ว) แบบนี้ก็น่าจะถือว่าไม่มีออกแบบได้ หรือจะประยุกต์ใช้ข้อกำหนดก็ได้เหมือนกัน ถ้าจะทำ แต่ไม่ทำกันหรอก มันง่ายไป ประมาณว่า จริงๆ แล้วเอาเวอร์เนียไปจับหน้างาน ก็ผลิตออกมาได้ทีนี้กรณีแบบก้ำกึ่ง อยู่ระหว่างที่ผมยกตัวอย่างมาสองเคสนั้น ก็ขึ้นอยู่การพิจารณาล่ะครับว่า จำเป็นต้องมีกระบวนการออกแบบมั๊ย คือ Plan, Input, Output, Review, Verify, Validate (เข้าใจความหมายของแต่ละตัวแล้วใช่ไหมครับ)ส่วนใหญ่ถ้าออกก้ำกึ่งนี่ การพิจารณาจะเข้าข้างตัวเอง คือไม่ค่อยทำกันครับ Auditor พิจารณาไปอีกแบบ ก็เลยตัดสินแบบก้ำกึ่ง มีเสียงแตก แต่ในข้อกำหนด 2015 นี่กำหนดไว้เลยว่า ถ้าประยุกต์ใช้ได้ ก็ต้องประยุกต์ใช้ข้อกำหนดนี้
+10