Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

การสอบเทียบตลับเมตรภายใน


  • Please log in to reply
23 replies to this topic

#1 ee_somnuk

ee_somnuk

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 12 posts

Posted 19 September 2012 - 09:12 AM

เนื่องจากมี CB บางมาตรฐานได้เข้าตรวจที่โรงงานได้แนะนำโดยบอกว่าที่บริษัทผม ส่งตลับเมตร 3M ไปแคล ข้างนอกเสมอ เขาบอกว่าให้ส่งไป แคล ตัวเดียวที่เหลือเอาตัวที่แคลแล้วมาเทียบเอง ลักษณะแบบนี้เขาเรียกว่าสอบเทียบภายในหรือทวนสอบครับ และมีวิธีการอย่างไร ซึ่งผมดูการสอบเทียบภายในที่โพสต์ๆไว้จะเทียบกับตัวมาสเตอร์และบางที่ยังต้องควบคุมอ
ุณหภูมิและความชื้นในห้องสอบเทียบอีกซึ่งไม่รู้ว่าผมเข้าใจถูกต้องหรือเปล่า ขอบคุณครับ

#2 ee_somnuk

ee_somnuk

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 12 posts

Posted 19 September 2012 - 09:57 AM

มันยังมีขั้นตอนแบบว่ามิเตอร์เข็มที่ติดหน้าตู้ไฟฟ้า ซึ่ง +- 2 และเอามิเตอร์ดิจิตอลซึ่งมีความละเอียดกว่ามาเทียบได้หรือไม่ อย่างไรครับถามบางทีบอกได้ แต่วิธีหรือให้เราทำโดยไม่ขัดข้อกำหนดอย่างไรครับ

#3 DC ไก่กาอาราเล่

DC ไก่กาอาราเล่

    Super Member

  • Members
  • PipPip
  • 45 posts

Posted 19 September 2012 - 11:47 AM

ที่ใช้อยู่ไม่ได้ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นนะคะ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องควบคุมขนาดนั้น ใช้แค่sample แล้ววัดเทียบกับ masterและตลับเมตรอื่นๆที่จะแคลด้วย ก็ไม่รู้ว่าถูกรึเปล่า จะรอคำตอบด้วย

#4 iso_man

iso_man

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 5,134 posts
  • Gender:Male

Posted 19 September 2012 - 01:02 PM

การควบคุมหมายถึง สภาวะที่ทำการสอบเทียบนะครับเช่น สอบเทียบในห้องที่เปิดแอร์ก็ดูว่าแอร์ตั้งอุณหภูมิืที่เท่าไร แต่ถ้าจะให้ดีขึ้นอีกหน่อยก็อาจจะซื้อเป็น Data Lock ที่สามารถบอกได้ทั้งอุณหภูมิ และ ความชื้น แต่เท่าที่ดูเครื่องมือแล้วความชื้นไม่มีทำให้เปลี่ยนแปลงสภาพหรือกระทบกับการสอบเที
ยบภายใน ส่วนตลับเมตรที่เป็นมาสเตอร์ก็สามารถนำมาสอบเทียบภายในได้ครับ หรือจะใช้เป็น ฟุตเหล็กสอบเทียบก็ได้แต่ต้องดูช่วงของการวัดว่าใช้ช่วงไหนบ้าง

QUOTE(DC ไก่กาอาราเล่ @ Sep 19 2012, 11:47 AM) <{POST_SNAPBACK}>
ที่ใช้อยู่ไม่ได้ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นนะคะ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องควบคุมขนาดนั้น ใช้แค่sample แล้ววัดเทียบกับ masterและตลับเมตรอื่นๆที่จะแคลด้วย ก็ไม่รู้ว่าถูกรึเปล่า จะรอคำตอบด้วย


การมีความรู้ มาจากการเรียนรู้ และปฏิบัติ หากเรียนอย่างเดียวไม่ปฏิบัีติก็เรียกว่ารุ้ไม่จริง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ chatriwat@hotmail.com
Facebook: poppithai
Tel:089-6834451

#5 ee_somnuk

ee_somnuk

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 12 posts

Posted 20 September 2012 - 08:27 AM

จากข้อมูลทั้งหมดด้านบนสรุปว่า ในกรณีตลับเมตร 3 เมตร +- 1 mm. ก็คือ เราสามารถส่งสอบเทียบภายนอก หนึ่งตัว เเละเก็บตัวนั้นเป็นมาสเตอร์ เมื่อเราทำการสอบเทียบภายในเราก็นำตัวมาสเตอร์ มาวัดกับจุดอ้างอิงต่างๆ เช่นที่ 50 ซม. 2.5 ซม. และเทียบกับค่าจากตัวมาสเตอร์ โดยอุณหภูมิไม่จำเป็นต้องควบคุมเนื่องจากไม่มีผลต่อการวัด ก็ติดบ่งชี้ว่าสอบเทียบภายใน และนำมาใช้งานได้


ขอบคุณที่ช่วยแนะนำครับ

#6 Mon.

Mon.

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 314 posts

Posted 20 September 2012 - 09:14 AM


สำหรับข้อกำหนด 7.6 การควบคุมเครื่องมือการติดตามและตรวจวัด ในข้อ a นั้นกำหนดว่าเครื่องมือวัดที่ผ่านการสอบเทียบ (หมายถึงเครื่องมือวัดที่นำไปใช้งาน)
ต้องสามารถสอบกลับได้ถึงมาตรฐานนานาชาติ หรือมาตรฐานแห่งชาติ ครับ

ดังนั้นก่อนที่จะนำเครื่องมือวัดดังกล่าวไปใช้งาน ควรตรวจสอบก่อนว่า สามารถสอบกลับได้ถึงมาตรฐานนานาชาติ หรือมาตรฐานแห่งชาติ ได้หรือไม่??? ครับ
ถ้าไม่สามารถสอบกลับได้ / สอบกลับไม่ถึงมาตรฐานนานาชาติ หรือมาตรฐานแห่งชาติ ก็จะผิดข้อกำหนด 7.6a ซึ่งหมายถึง ต้องออก CAR / NCR แล้วแต่กรณี
ในขณะที่ตรวจพบ นั่นเอง





#7 ee_somnuk

ee_somnuk

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 12 posts

Posted 20 September 2012 - 10:21 AM

ชักจะงงและครับ ว่าสามารถทำแบบที่กล่าวข้างต้นได้หรือไม่ มีใครมีข้อสรุปไหมครับว่าสามารถทำได้หรือไม่ หากทำไม่ได้ผิดข้อกำหนดก็คงต้องส่งแคลข้างนอกหมด หากทำได้จะได้มีในการตอบหากโดน CAR

#8 DooK

DooK

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,511 posts
  • Gender:Male
  • Location:บางแสน

Posted 20 September 2012 - 11:00 AM

ในทางปฏิบัติทำได้สองอย่างครับ

1. ส่งเครื่องมือวัดหนึ่งอย่าง ออกไป "สอบเทียบ" กับ Lab ที่มีความสามารถ ในกรณีของ จขกท. คือตลับเมตร จากนั้นเอาตลับเมตรตัวนั้นมา "ทวนสอบ" กับตลับเมตรตัวอื่นๆ

2. หากมีกำลังทรัพย์ ก็ส่งไปทั้งหมดแหละครับ แล้วก็ไม่ต้องส่งไปบ่อยครับ เอาแค่ครั้งเดียวครั้งแรกก็พอ เพราะเครื่องมือประเภทนี้ไม่ค่อยเกิดความคลาดเคลื่อนในระบบของครื่องมือมากนักกรณีใช
้ไปนานๆ เนื่องจากไม่ค่อยมีชิ้นส่วนที่เกิดความล้า หรือความ

ทั้งสองแบบ ไม่ขัดกับข้อกำหนด 7.6 แต่อย่างใด เพราะสามารถสอบย้อนไปยังมาตรฐานระดับชาติ หรือ นานาชาติ ได้หากตัว Master ที่ Lab นำมาใช้ Calibrate ถูกสอบเทียบแล้วเช่นเดียวกันครับ
ลายเซ็น

#9 Mon.

Mon.

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 314 posts

Posted 20 September 2012 - 11:37 AM



ลองศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการสอบกลับได้ของเครื่องมือวัด
เพื่อจะได้ปฏิบัติ ได้ถูกต้องและมั่นใจ ครับ

Attached File  ________________________________________.pdf   77.83KB   5329 downloads

Attached File  ______4_________________________________.pdf   139.9KB   6485 downloads


การจัดการเกี่ยวกับข้อกำหนด 7.6

Attached File  __________________________________.pdf   143.07KB   5637 downloads





#10 QMR_PAO

QMR_PAO

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,306 posts
  • Gender:Male

Posted 20 September 2012 - 01:03 PM

QUOTE(mon. @ Sep 20 2012, 11:37 AM) <{POST_SNAPBACK}>
ลองศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการสอบกลับได้ของเครื่องมือวัด
เพื่อจะได้ปฏิบัติ ได้ถูกต้องและมั่นใจ ครับ

Attached File  ________________________________________.pdf   77.83KB   5329 downloads

Attached File  ______4_________________________________.pdf   139.9KB   6485 downloads


การจัดการเกี่ยวกับข้อกำหนด 7.6

Attached File  __________________________________.pdf   143.07KB   5637 downloads


smiley-eatdrink004.gif

จงเป็นน้ำครึ่งแก้วตลอดชีวิต เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมได้ตลอด


#11 DCC

DCC

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,024 posts

Posted 20 September 2012 - 01:39 PM

ขอบคุณมากๆ ค่ะ
4228.gif


#12 stormriders

stormriders

    Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPip
  • 919 posts

Posted 20 September 2012 - 02:29 PM

thank You very much ....

#13 Mon.

Mon.

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 314 posts

Posted 20 September 2012 - 02:39 PM

ศึกษาค้นคว้า เพิ่มเติมได้ตาม Website ของ สมาคมมาตรวิทยาแห่งประเทศไทย ดังนี้ ครับ

http://www.mst.or.th/know-mst4.html


สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

http://www.nimt.or.t.../home/index.php





#14 (( เอ ))

(( เอ ))

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,598 posts
  • Gender:Female
  • Location:อมตะนคร ชลบุรี

Posted 20 September 2012 - 04:27 PM

QUOTE(DooK @ Sep 20 2012, 11:00 AM) <{POST_SNAPBACK}>
ในทางปฏิบัติทำได้สองอย่างครับ

1. ส่งเครื่องมือวัดหนึ่งอย่าง ออกไป "สอบเทียบ" กับ Lab ที่มีความสามารถ ในกรณีของ จขกท. คือตลับเมตร จากนั้นเอาตลับเมตรตัวนั้นมา "ทวนสอบ" กับตลับเมตรตัวอื่นๆ

2. หากมีกำลังทรัพย์ ก็ส่งไปทั้งหมดแหละครับ แล้วก็ไม่ต้องส่งไปบ่อยครับ เอาแค่ครั้งเดียวครั้งแรกก็พอ เพราะเครื่องมือประเภทนี้ไม่ค่อยเกิดความคลาดเคลื่อนในระบบของครื่องมือมากนักกรณีใช
้ไปนานๆ เนื่องจากไม่ค่อยมีชิ้นส่วนที่เกิดความล้า หรือความ

ทั้งสองแบบ ไม่ขัดกับข้อกำหนด 7.6 แต่อย่างใด เพราะสามารถสอบย้อนไปยังมาตรฐานระดับชาติ หรือ นานาชาติ ได้หากตัว Master ที่ Lab นำมาใช้ Calibrate ถูกสอบเทียบแล้วเช่นเดียวกันครับ




ตอนสมัยที่ใช้ไม้บรรทัดเอก็ทำอย่างที่ อ.ดุกว่าค่ะ คือสอบเทียบตัวเดียว แล้วทำWI เพื่อทำการทวนสอบไม้บรรทัดตัวอื่น โดยWIก็จะกำหนดวิธี กำหนดอุณหภูมิห้อง แต่การทำการทวนสอบ คนที่ทำควรจะมีความรู้ความเข้าใจในการตัดสินผลการทวนสอบว่า ไม้บรรทัดที่เราทวนสอบไปนั้นมีค่าError หรือค่า uncer เท่าไหร่ ผ่านหรือไม่ผ่านเกรณ์ที่เราตั้งไว้ โดยต้องมีการลงบันทึกค่าการทวนสอบ
ปล.หากอธิบายมันก็เป็นการเข้าใจที่ยากและคงเข้าใจยาก ควรไปเรียนเกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือวัดหน่อยก็ดีนะคะ จะได้รู้ที่มาที่ไปขอค่าต่างๆและการตัดสินใจคะ

ขอท่านอื่นแชร์ต่อ

ไม่มีอะไรสำเร็จรูป แม้แต่บะหมี่ยังต้องกึ่งสำเร็จรูป>เพราะฉะนั้นเราเป็นคน>ก็ต้องรู้จักช่วยเหลือตัวเองก่อน> ก่อนขอความช่วยเหลือจากคนอื่น>dsh_a@hotmail.com


#15 ee_somnuk

ee_somnuk

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 12 posts

Posted 20 September 2012 - 04:57 PM

ขอบคุณทุกท่านเลยครับ

#16 DC ไก่กาอาราเล่

DC ไก่กาอาราเล่

    Super Member

  • Members
  • PipPip
  • 45 posts

Posted 21 September 2012 - 02:03 PM

QUOTE(iso_man @ Sep 19 2012, 01:02 PM) <{POST_SNAPBACK}>
การควบคุมหมายถึง สภาวะที่ทำการสอบเทียบนะครับเช่น สอบเทียบในห้องที่เปิดแอร์ก็ดูว่าแอร์ตั้งอุณหภูมิืที่เท่าไร แต่ถ้าจะให้ดีขึ้นอีกหน่อยก็อาจจะซื้อเป็น Data Lock ที่สามารถบอกได้ทั้งอุณหภูมิ และ ความชื้น แต่เท่าที่ดูเครื่องมือแล้วความชื้นไม่มีทำให้เปลี่ยนแปลงสภาพหรือกระทบกับการสอบเที
ยบภายใน ส่วนตลับเมตรที่เป็นมาสเตอร์ก็สามารถนำมาสอบเทียบภายในได้ครับ หรือจะใช้เป็น ฟุตเหล็กสอบเทียบก็ได้แต่ต้องดูช่วงของการวัดว่าใช้ช่วงไหนบ้าง



ขอบคุณค่า...

#17 Mon.

Mon.

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 314 posts

Posted 21 September 2012 - 02:14 PM


ลองตรวจสอบการสอบกลับได้ของเครื่องมือวัด ที่ใช้งานอยู่ว่าเป็นแบบที่ 1 หรือ แบบที่ 2 หรือ แบบที่ 3 ???

แบบที่ 1:
เครื่องมือวัดที่ใช้งาน -----> สอบเทียบภายใน (โรงงาน) -----> Outsource A ------> Outsource B ----> สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (NIMT)

แบบที่ 2:
เครื่องมือวัดที่ใช้งาน -----> สอบเทียบภายใน (โรงงาน) ------> Outsource A -------> สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (NIMT)

แบบที่ 3: มีทั้งแบบที่ 1, แบบที่ 2










#18 ee_somnuk

ee_somnuk

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 12 posts

Posted 26 September 2012 - 02:41 PM

http://www.isothai.c...?showtopic=8766

ผมดูจากฟอรั่มด้านบน อ่าน WI เห็นว่าใช้ไม้บรรทัดเหล็กยึดกับโต๊ะและนำตลับเมตรมาเทียบ แต่ผมสงสัยว่าตลับเมตรมันมีความยาว 3.5 M แต่ไม้บรรทัดเหล็กมันจะมีความยาวถึง 3.5 เมตรหรือ 5 เมตรหรือครับ หรือว่าพอเมตรนึง ก็ยกไม้บรรทัดไปเทียบอีกเมตรที่สอง ที่สามต่อไปครับ

#19 standrad

standrad

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 10 posts

Posted 22 January 2013 - 11:25 AM

ความรู้ทั้งนั้น ขอบคุณครับ

#20 นุกูล

นุกูล

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 4,797 posts
  • Gender:Male

Posted 22 January 2013 - 06:48 PM

หาแท่งเหล็กมาทำ master สิ เอาให้มันครอบคลุมย่านเยาวราช เอ๊ย ย่านการใช้งาน
แค่นี้แหละ ประหยัดได้หลายๆนะก๊าาาา

Nukool Thanuanram
Mobile Phone: 097.954.4939

Facebook: Nukool Thanuanram

Fanpage: อาจารย์นุกูล วิทยากรสอนคนโรงงาน
LINE ID: nukool2001
E-Mail: nukool2001@gmail.com


เสือพี่เพราะป่าปก ป่ารกเพราะเสือยัง ดินเย็นเพราะหญ้าบัง และหญ้ายังเพราะดินดี "สรรพสิ่งล้วนเกื้อกูลพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน"





0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users