Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

check list GMP การตรวจโลหะหนักในวัตถุดิบ


  • This topic is locked This topic is locked
4 replies to this topic

#1 supaporn21

supaporn21

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 3 posts

Posted 02 September 2011 - 03:52 PM

อยากได้ check list GMP ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจโลหะหนักในวัตถุดิบ, กบก.ผลิต และในผลิตภัณฑ์ค่ะ ถ้าไป Audit Supplier ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง รบกวนด้วยนะคะ

#2 Junovsky

Junovsky

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 140 posts
  • Gender:Male

Posted 02 September 2011 - 04:59 PM

โลหะหนักที่พูดถึงนี่หมายถึงด้านกายภาพหรือทางเคมีหรือครับ

#3 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,568 posts
  • Gender:Male

Posted 02 September 2011 - 08:42 PM

สามารถทำได้โดยขอให้ศึกษาข้อกำหนดทางกฎหมายของวัตถุดิบชนิดนั้น หรือหากข้อกำหนดทางกฎหมายไม่มี ก็ลองสืบค้นข้อกำหนดใน Codex ในหน้า JECFA ดูครับ

แล้วใช้ข้อกำหนดนั้นเป็นเกณฑ์ สอบถามขอดูหลักฐานการ verify ว่ามี/ไม่มีปริมาณโลหะหนักในวัตถุดิบ/ WIP / FG นั้นสอดคล้องตามเกณฑ์หรือไม่ ความถี่ในการ Verify เป็นเท่าไร ก็ขอดูได้ครับ

ถ้ามีการส่งวิเคราะห์ Lab นอก ก็ดูว่า Lab น่าเชื่อถือหรือไม่ ให้ผล LOQ LOD เป็นอย่างไร

ถ้ามี Lab เอง ก็ดูว่า Method น่าเชื่อถือได้หรือไม่ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของผลที่วัดได้ครับ

เราจะได้เสบยเจยยยยยยยยย

#4 supaporn21

supaporn21

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 3 posts

Posted 03 September 2011 - 10:37 AM

เรียน คุณJunovsky เป็นการปนเปื้อนด้านเคมีค่ะ/ ขอบคุณนะคะ คุณ food safety smile.gif

#5 Junovsky

Junovsky

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 140 posts
  • Gender:Male

Posted 03 September 2011 - 03:08 PM

ขอเพิ่มเติมจากคุณ Food Safety นิดนึงครับ

การปนเปื้อนทางเคมีโลหะหนักส่วนใหญ่น่าจะมาจากวัตถุดิบ ผมว่าน่าจะเน้นไปที่ตัววัตถุดิบและผู้ขายไปเลย ว่ามีการควบคุมสินค้ารับเข้าอย่างไร ความถี่ในการตรวจเป็นอย่างไร ตรวจอย่างไร เวลาสุ่มสุ่มอย่างไร และมีวิธีการคัดเลือกผู้ขายอย่างไร ผู้ขายต้องมีใบ cert อะไรบ้าง รวมถึงชื่อเสียง และการประเมินและการเข้าไปตรวจ

เรื่องกฎหมายก็ดูว่าที่โรงงานเราใช้กฎหมายหรือมาตรฐานตัวไหนเป็นข้อกำหนดอยู่ เช่น ประกาศ 295 หรือ EU ถ้า supplier ใช้ต่างกันก็มาดูที่ขั้นตอนการทดสอบ(method)ว่าเหมือนกันหรือไม่ ถ้าไม่เหมือนก็ดูว่าอันไหนน่าจะมีความปลอดภัยมากกว่ากัน

สำหรับผลทดสอบก็ขอดูใบ cert ISO 17025 ของผู้ทดสอบด้วยครับ




0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users