Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

%Machine availability


  • This topic is locked This topic is locked
15 replies to this topic

#1 nutja

nutja

    Super Member

  • Members
  • PipPip
  • 39 posts

Posted 21 January 2009 - 09:24 AM

%Machine availability ที่เหมาะสมควรเป็นเท่าไรคะ ที่โรงงานตั้ง target ไว้ที่ 98% OK หรือเปล่าคะ

#2 berseak1

berseak1

    Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPip
  • 506 posts
  • Gender:Male
  • Location:สมุทรปราการ

Posted 21 January 2009 - 10:10 AM

แล้วแต่อุตสาหกรรมน่ะครับ ของผมตั้งไว้ที่ 99.5% น่ะ

#3 non

non

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 420 posts
  • Gender:Male

Posted 21 January 2009 - 12:01 PM

QUOTE(nutja @ Jan 21 2009, 09:24 AM) <{POST_SNAPBACK}>
%Machine availability ที่เหมาะสมควรเป็นเท่าไรคะ ที่โรงงานตั้ง target ไว้ที่ 98% OK หรือเปล่าคะ

โห...สูงกันทั้งนั้นเลย ไม่รู้ว่าเครื่องอะไรกันครับ

ถ้าเป็นงาน Plastic Injection หรือ Press เท่าที่เคยผ่านมา 85-95 % แล้วแต่สมรรถนะเครื่องและอายุเครื่องนะครับ wink.gif

#4 PAISAL

PAISAL

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 27 posts

Posted 21 January 2009 - 12:11 PM

% Machine availability หมายถึงอะไรครับ ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรหรือไม่ เทียบจาก 100 %

ถ้า 1. ประสิทธิภาพเครื่องจักรมาตรฐาน= Working hours - Brake down Maintenance

ถ้า 2. ชั่วโมงการทำงานประสิทธิภาพเครื่องจักร = Working hours - down time

เพราะว่า down time คือ เครื่องเสีย วัตถุดิบเข้าไม่ทัน พนักงานไม่มาทำงาน รอการตัดสินใจ ไม่มีงานทำ setup time ฯลฯ

ถ้าเป็นข้อที่ 1 ให้เทียบกับตนเองกับปี หรือเดือนที่ผ่านมา แล้วตั้งเป้าดีกว่า หรือเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน

ถ้าเป็นข้อที่ 1 ขึ้นอยู่กับประเภทผลิตภัณฑ์และธรรมชาติของอุตสาหกรรม ถ้าเป็นประเภท garment เย็บๆ ปักๆ ก็จะใช้จักร เป็น พันๆตัว ดังนั้น จะต้องตั้งเป็น 100-0. ขึ้นไป เพราะชั่วโมงทำงานทุกเครื่องรวมกันสูงมาก เพราะเราใช้ spare machine ได้

แต่ถ้าเป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่ heavy duty ในโรงงานมีแค่ 10 เครื่อง อาจจะตั้ง 100- 1 ขึ้นไปก็ได้
เพราะ spare machine ทำได้ยาก ราคาเครื่องแพงมากๆ





paisal.buakarm@hotmail.com

#5 berseak1

berseak1

    Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPip
  • 506 posts
  • Gender:Male
  • Location:สมุทรปราการ

Posted 21 January 2009 - 12:25 PM

ใน OEE เราต้องกำหนดให้ชัดว่า กิจกรรมอะไรบ้าง ที่เราไม่นำมาคิดนะครับ ไม่งั้นสับสนตายเลย

#6 DooK

DooK

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,511 posts
  • Gender:Male
  • Location:บางแสน

Posted 21 January 2009 - 12:56 PM

Machine Availability จาก OEE ไม่น่าจะกำหนดเป็น Target เดี่ยวๆ นะครับ เพราะมีอีกสองปัจจัยมาเกี่ยวข้องด้วย ไม่งั้นคงไม่เรียกว่าเป็น Overall หรอกเนอะ

คือ Avaiable จริง แต่ผลิตแต่งานเสียออกมา คงไม่ดีแน่สำหรับเครื่องจักรเครื่องหนึ่ง

สำหรับ OEE ระดับ World Class น่าจะอยู่ประมาณ 85% ครับ สูงกว่านั้นมีอยู่สองประการครับ คือ อาจเก็บข้อมูลผิด หรือ เมคตัวเลขครับ อิอิ --> ไอ้อย่างหลังนี่ผมเคยทำ


ลายเซ็น

#7 นายอรรถ

นายอรรถ

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 98 posts
  • Gender:Male
  • Location:บางนา กทม

Posted 21 January 2009 - 01:11 PM

QUOTE(DooK @ Jan 21 2009, 12:56 PM) <{POST_SNAPBACK}>
Machine Availability จาก OEE ไม่น่าจะกำหนดเป็น Target เดี่ยวๆ นะครับ เพราะมีอีกสองปัจจัยมาเกี่ยวข้องด้วย ไม่งั้นคงไม่เรียกว่าเป็น Overall หรอกเนอะ

คือ Avaiable จริง แต่ผลิตแต่งานเสียออกมา คงไม่ดีแน่สำหรับเครื่องจักรเครื่องหนึ่ง

สำหรับ OEE ระดับ World Class น่าจะอยู่ประมาณ 85% ครับ สูงกว่านั้นมีอยู่สองประการครับ คือ อาจเก็บข้อมูลผิด หรือ เมคตัวเลขครับ อิอิ --> ไอ้อย่างหลังนี่ผมเคยทำ

เท่าที่เคยทราบมา ที่ไหนก็ตามที่ได้ OEE มากกว่า 70-75% นี่ก็หรูจะแย่แล้วครับ แต่บ้านเราเห็นโชว์กันที่ 90-95% อืม....เก่งกันเจงๆ

#8 berseak1

berseak1

    Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPip
  • 506 posts
  • Gender:Male
  • Location:สมุทรปราการ

Posted 21 January 2009 - 01:44 PM

เห็นด้วยกับข้อมูลที่ post ไว้ครับ OEE ประมาณ 70 -75 % นี่ ก็ถือว่า หรูแล้ว

แต่กระทู้นี้ เขาถามค่า A ไม่ใช่เหรอครับ

OEE = A x P x Q

จากกระทู้ที่ตั้งมา ถ้าผมเป็นเจ้าของบริษัท ก็คงมีคำถามว่า ไอ้ 2 % นี่ ทำไมคุณถึงไม่พร้อม ทำไมเกิดการรองาน ฯลฯ

เพื่อให้ทราบสาเหตุ แล้วก็นำกลับไปปรับปรุงแก้ไขต่อไปครับ



#9 Kreetha

Kreetha

    Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPip
  • 870 posts
  • Gender:Male

Posted 21 January 2009 - 02:14 PM

QUOTE(DooK @ Jan 21 2009, 12:56 PM) <{POST_SNAPBACK}>
Machine Availability จาก OEE ไม่น่าจะกำหนดเป็น Target เดี่ยวๆ นะครับ เพราะมีอีกสองปัจจัยมาเกี่ยวข้องด้วย ไม่งั้นคงไม่เรียกว่าเป็น Overall หรอกเนอะ

คือ Avaiable จริง แต่ผลิตแต่งานเสียออกมา คงไม่ดีแน่สำหรับเครื่องจักรเครื่องหนึ่ง

สำหรับ OEE ระดับ World Class น่าจะอยู่ประมาณ 85% ครับ สูงกว่านั้นมีอยู่สองประการครับ คือ อาจเก็บข้อมูลผิด หรือ เมคตัวเลขครับ อิอิ --> ไอ้อย่างหลังนี่ผมเคยทำ


rolleyes.gif เห็นด้วยครับอาจารย์Dook ว.8 ชัดเจนระดับ5เลยครับ rolleyes.gif
Oooo

#10 อยากรู้(แต่ไม่อยากถาม)

อยากรู้(แต่ไม่อยากถาม)

    Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPip
  • 675 posts
  • Gender:Male

Posted 21 January 2009 - 03:17 PM

เห็นด้วยกับพี่แบทแมนครับ
ผมเคยลองโหลด โปรแกรมOEE มาลองเล่นดู
แล้วอุปทานค่าต่างๆลองดู (เพราะในตัวโปรแกรม มีรายละเอียดค่าต่างๆกรอกครบถ้วน)
จากการลองทำเช่นนี้ดู เพื่อกำหนดดัชนีชี้วัด ที่เหมาะสม
ปรากฎว่า การที่จะได้ ค่าOEE สูงถึง80 % นั้น บอกได้เลยว่าหืดขึ้นคอเลย ยิ่งถ้าเครื่องจักรเก่า มือหนึ่งของเรา มือสองจากที่อื่นๆ บางทีอาจมากกว่ามืสอง รับรองหืดจับแน่นอน(นี่แค่เครื่องจักรตัวเดียว)
แล้วถ้าเป็นภาพรวมของเครื่องจักรทั้งโรงงานคงไม่ต้องพูดถึงนะครับ
แต่ถ้าเป็น Zero Break down เฉพาะเครื่อง ยังคงพอมีหวังบ้าง
Email: arnutprasitsuksun@yahoo.com

#11 nutja

nutja

    Super Member

  • Members
  • PipPip
  • 39 posts

Posted 21 January 2009 - 04:01 PM

[/quote]
ขอถามต่ออีกหน่อยนะคะ

1. เวลาในการเดินเครื่องจักร ที่ใช้คำนวณค่า MTBF ได้มาจากไหนคะ

นับเฉพาะเวลาที่เดินเครื่องจริงๆ ในเดือนนั้น เช่น เครื่อง press เดินเครื่อง 100 ชม./เดือน
หรือนับจาก 24ชม.X 31 วัน

2. เมื่อคำนวณค่า Availability เราควรวิเคราะห์ค่าที่ได้ของแต่ละเครื่อง ไม่ใช้นำค่าของทุกเครื่องมาเฉลี่ย แล้ววิเคราะห์ที่ค่าเดียวถูกต้องหรือไหมคะ

ไม่มีความรู้ด้านนี้ค่ะ แต่ Maintenance มาปรึกษา รบกวนท่านผู้รู้ด้วยนะคะ



#12 อยากรู้(แต่ไม่อยากถาม)

อยากรู้(แต่ไม่อยากถาม)

    Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPip
  • 675 posts
  • Gender:Male

Posted 21 January 2009 - 05:04 PM

1.ค่า MTBF คือ Mean Time Between Failure = ผลรวมเวลาเดินเครื่องจักร / จำนวนครั้งที่เครื่องจักรหยุด
2. ค่าAvaiability (ค่าความพร้อม) ควรวิเคราะห์ค่าที่ได้มาของแต่ละเครื่องถูกต้องแล้วครับ
ไม่งั้นจะไม่ทราบ สาเหตุของความไม่พร้อมที่เกิดในแต่ละเครื่อง
ตัวอย่าง เช่น การเสียของเครื่องจักร
การหยุดเครื่องนอกแผน ฯลฯ
เมื่อเราทราบสาเหตุแล้ว ก็จะสามาถดำเนินการแก้ไข ได้อย่างถูกต้อง (เพราะแต่ละเครื่องมันคงมีสาเหตุไม่เหมือนกัน)
น่าจะพอได้นะครับ
Email: arnutprasitsuksun@yahoo.com

#13 nutja

nutja

    Super Member

  • Members
  • PipPip
  • 39 posts

Posted 22 January 2009 - 08:32 AM

ขอบคุณค่ะ คุณอยากรู้ ...
ข้อ 2 เข้าใจแล้วค่ะ แต่ข้อ 1 ยังไม่เข้าใจเท่าไหร่ค่ะ

1.ค่า MTBF คือ Mean Time Between Failure = ผลรวมเวลาเดินเครื่องจักร / จำนวนครั้งที่เครื่องจักรหยุด
ผลรวมเวลาเดินเครื่องจักร ที่ว่า ใช้ค่าไหนมาคำนวณคะ
* ใช้ผลรวมเฉพาะเวลาที่เดินเครื่องจริงๆ เท่านั้น ถ้าเครื่องจักรไม่ได้ผลิตก็ไม่นับ เช่น เครื่องจักรเดินเครื่องจริงวันละ 10 ชม. ใน1 เดือน ผลรวมเวลาเดินเครื่องจะได้ = 10 ชม.X 31 วัน
หรือว่า
* เครื่องจักรสามารถเดินเครื่องได้ 24 ชม. X 31 วัน

แล้วก็ขอถามต่ออีกเรื่องนะคะ ที่โรงงานมีเตาอบชิ้นงานค่ะ เดินเครื่องตลอด 24 ชม. หลักการทำงานคือจะนำชิ้นงานชิ้นเล็กๆเรียงใส่ แผ่นเซรามิก แล้วนำเข้าอบในเตา 12ชม. งานจะออกมา เตา1เตาจะสามารถนำชิ้นงานเข้าอบได้ครั้งละหลายๆ product แล้ว Maintenance ที่โรงงานนำ ผลรวมเวลาเดินเครื่อง มาคำนวณ MTBF โดยเอาเวลาเดินเครื่องจักรมาจาก
=> เวลาที่อบชิ้นงานแต่ละ product X 12 ชม.x 31 วัน เดือนที่แล้วได้ค่า ผลรวมเวลาเดินเครื่องจักร ประมาณ 1,100 ชม.
ซึ่งนัทคิดว่าน่าจะ = 24 ชม. X 31 วัน ไม่รู้ว่าคิดแบบไหนจึงจะถูกต้องคะ

ขอโทษที่รบกวนหลายรอบนะคะ เรียน Envi. มาค่ะ เลยไม่รู้เรื่องช่างเท่าไหร่ พอมาทำงานด้าน ISO ทุกหน่วยงานเลยมาปรึกษาค่ะ
ขอบคุณล่วงหน้านะคะสำหรับคำตอบ


#14 อยากรู้(แต่ไม่อยากถาม)

อยากรู้(แต่ไม่อยากถาม)

    Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPip
  • 675 posts
  • Gender:Male

Posted 22 January 2009 - 09:37 AM

ผมขออธิบายแบบนี้ หลัการของOEE น่าจะชัดเจนกว่า
ในการหา อัตราเดินเครื่องนั้น
จะมีส่วนประกอบในการหาเวลาดังนี้
เวลาทั้งหมด (Total Time) หมายถึง เวลาที่เรามีเครื่องจักรอยู่ในโรงงาน แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องวางแผนการใช้เครื่องให้เท่ากับเวลาที่มีทั้งหมด เราคงต้องมีเวลาหยุดเพื่อการบำรุงรักษาประจำวัน เวลาหยุดเพื่อการประชุมชี้แนะ เวลาหยุดเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ของโรงงาน เช่น กิจกรรม 5ส เวลาหยุดที่เราตั้งใจทั้งหมดนั้น เราเรียกว่า เวลาหยุดตามแผน (Planned Shutdown) ดังนั้นเวลาที่เราต้องการให้เครื่องจักรใช้งานได้ตลอดจึงไม่ใช้เวลาทั้งหมด
เวลารับภาระงาน (Loading Time) หมายถึง เวลาที่มีการวางแผนไว้ว่าต้องใช้ในการผลิต โดยนำเวลาทั้งหมดมาหักออกด้วยเวลาหยุดตามแผน และเวลารับภาระนี่เองที่เราต้องการให้เครื่องเดินได้ตลอดเวลา

เวลาเดินเครื่อง(Operating Time) = เวลารับภาระงาน(Loading Time)- เวลาสูญเสียจากเครื่องจักรหยุด
เพราะฉะนั้น อัตราการเดินเครื่องตัวเดียวกับค่าความพร้อม(Avaiability ) =เวลาเดินเครื่อง (Operating Time)/เวลารับภาระงาน (Loading Time)
เพราะฉะนั้น จากสูตรข้างต้น จะหาค่าต่างได้ดังนี้
เวลารับภาระงาน = เวลาทั้งหมด- หยุดตามแผน
เวลาเดินเครื่อง = เวลารับภาระงาน - เวลาสูญเสียจากเครื่องจักรหยุด
ต่อด้วยการหาประสิทธิภาพการเดินเครื่อง (Performance Efficiency)
เวลาเดินเครื่องจะไม่เท่ากับเวลารับภาระงาน หากเกิดความสูญเสียที่ทำให้เครื่องหยุดทำงาน แต่ความสูญเสียที่มีโอกาสเกิดขึ้นยังไม่หมดเพียงแค่นั้น ยังมีความสูญเสียที่ทำให้เครื่องเสียกำลัง ซึ่งทำให้เวลาเดินเครื่องที่น้อยอยู่แล้วเหลือน้อยลงไปอีก เรียกว่า เวลาเดินเครื่องสุทธิ = เวลาเดินเครื่อง - เวลาเครื่องจักรสูญเสียกำลัง
ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง = เวลาเดินเครื่องสุทธิ / เวลาเดินเครื่อง
ประสิทธิภาพการเดินเครื่องบางครั้งไม่สามารถคำนวณได้โดยตรง เนื่องจากมีความสูญเสียที่ไม่สามารถจับเวลาได้ แต่ทำให้เครื่องเสียกำลัง เช่น ไฟตก เครื่องเดินไม่เรียบ เครื่องสะดุดหรือหยุดเล็กน้อย เป็นต้น เวลามาตรฐานในการทำงานต่อชิ้นสามารถช่วยเราแก้ปัญหาดังกล่าวได้ เพราะถ้าเรามีเวลามาตรฐาน เราก็จะทราบว่าตามเวลาเดินเครื่องเราควรผลิตงานได้กี่ชิ้น และในความเป็นจริงเราผลิตงานได้กี่ชิ้น
เพราะฉะนั้นจะหาประสิทธิภาพการเดินเครื่องจักรได้อีกวิธีคือ
ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง = จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้จริง / จำนวนชิ้นงานที่ควรผลิตได้ ตามเวลามาตรฐาน
ต่อด้วยการ หา อัตราคุณภาพ (Quality Rate)
เวลาเดินเครื่องสุทธิบางครั้งก็ไม่ได้เกิดมูลค่าทั้งหมด (หมายถึง ผลิตของดีมีคุณภาพ) เพราะเสียเวลาส่วนหนึ่งไปกับการผลิตของเสียหรือเรียกว่า เวลาสูญเสียจากการผลิตของเสีย
เวลาเดินเครื่องสุทธิที่เกิดมูลค่า = เวลาเดินเครื่องสุทธิ - เวลาสูญเสียจากการผลิตของเสีย
อัตราคุณภาพ ( Quality Rate) = เวลาเดินเครื่องทีเกิดมูลค่า / เวลาเดินเครื่องสุทธิ
อัตราคุณภาพบางครั้งก็ไม่สามารถหาได้โดยการใช้สมการดังกล่าว เนื่องจากความยากลำบากในการจับเวลาที่ต้องสูญเสียไปกับการผลิตงานเสีย แต่เราสามารถดูความสูญเสียที่ออกมาในรูปของชิ้นงานที่เสียและชิ้นงานที่ต้องนำกลับไป
แก้ไข
เราก็จะปรับมาใช้สูตรนี้ อัตราคุณภาพ = (จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ทั้งหมด - จำนวนชิ้นงานที่เสียหรือต้องซ่อม)/จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ทั้งหมด
เพระฉะนั้น OEE = อัตราการเดินเครื่อง(Avability) * ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง( Performance Efficiency)*อัตราคุณภาพ (Quality Rate)
น่าจะคลายความสงสัยดังกล่าวได้นะครับ

Attached Images

  • mainoee_availability.gif

Email: arnutprasitsuksun@yahoo.com

#15 nutja

nutja

    Super Member

  • Members
  • PipPip
  • 39 posts

Posted 22 January 2009 - 01:10 PM

ชัดเจนค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ

#16 stormriders

stormriders

    Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPip
  • 919 posts

Posted 25 August 2009 - 03:05 AM

thank yu na krab...


Back to ระบบคุณภาพ · Next Unread Topic →


0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users