Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

Food safety - Virus ตับอักเสบบี และการเป็นพาหะ


  • This topic is locked This topic is locked
10 replies to this topic

#1 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,604 posts
  • Gender:Male

Posted 21 November 2010 - 10:38 AM

เท่าที่ผมเคยศึกษามาจากหลายแหล่งทั้งข้อมูลจากโรงพยาบาลและอื่นๆอีกหลายที่

พบว่าโรคนี้ สามารถติดต่อได้ทางเลือด ทางเพศสัมพันธ์

แต่เคยพบว่าเมื่อมี CB บางแห่งมาตรวจก็แนะนำฝ่ายบุคคลว่าต้องจัดให้พนักงานได้รับการตรวจ

การเป็นพาหะโรคนี้หรือการมีภูมิคุ้มกันโรคนี้ด้วย โดย Auditor บอกว่าเป็นเพราะข้อกำหนดบอกให้ตรวจ

(พอดีไม่ทันได้อยู่ในเหตุการณ์นั้น ซึ่งผ่านมาแล้วครึ่งปี)

ตอนนี้ผมพยายาม defense โดยใช้ข้อมูลแหล่งต่างๆประกอบ QMR ก็ยังเฉยๆจะให้ตรวจให้ได้

เลยอยากขอแชร์จากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่พอจะทราบเรื่องเกี่ยวกับโรคนี้ ว่ามีความจำเป็นหีอไม่จำเป็นในการตรวจ

หมายเหตุ ข้อกำหนด PAS มีเขียนชื่อโรคที่ต้องตรวจเป็นภาษอังกฤษ แปลแล้วคือ ดีซ่าน แต่ผมเข้าใจว่า

ข้อกำหนดน่าจะเขียนเผื่อเอาไว้สำหรับโรงงานผลิตอาหารบางประเภทที่มีความเสี่ยงต่อการ
ปนเปื้อนเลือดของพนักงาน

เข้าไปในผลิตภัณฑ์หรือวัตถุดิบ เช่น โรงงานที่ต้องใช้มีดประกอบในการทำงาน เป็นต้น)

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

#2 Suppadej

Suppadej

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,611 posts
  • Gender:Male

Posted 21 November 2010 - 10:57 AM

พี่โอ๋ครับ

ใน มกอช.9023-2550 ระบุโรคดีซ่านไว้ด้วยครับ ณ.หมวดที่ 7.2 เรื่องการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ (ตามเอกสารแนบ)

ตอนที่กรมวิชาการเกษตรมา Audit ที่บริษัท ก็เคยสุ่มสอบถามเกี่ยวกับโรคนี้ด้วยครับ

Attached Files


"ในโลกนี้ไม่มีคนแปลกหน้าสำหรับเรา มีแต่เพื่อนที่เรายังไม่ได้พบกันเท่านั้น" E-mail suppadej@gmail.com

#3 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,604 posts
  • Gender:Male

Posted 21 November 2010 - 11:54 AM

QUOTE(Suppadej @ Nov 21 2010, 10:57 AM) <{POST_SNAPBACK}>
พี่โอ๋ครับ

ใน มกอช.9023-2550 ระบุโรคดีซ่านไว้ด้วยครับ ณ.หมวดที่ 7.2 เรื่องการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ (ตามเอกสารแนบ)

ตอนที่กรมวิชาการเกษตรมา Audit ที่บริษัท ก็เคยสุ่มสอบถามเกี่ยวกับโรคนี้ด้วยครับ



ขอบใจโจ้ เห็นแล้วครับ แต่ก็ไม่เข้าใจครับว่า โรคดีซ่านคืออะไร อาการของโรค หรือผู้ที่เป็นแล้วปฎิบัติงานในกระบวนการผลิตอาหาร

แล้วมีผลกระทบอย่างไร เอาแบบให้ชัดเลยนะครับ

แล้วถ้าใน มกอช. เขียนไว้แบบนี้ แปลว่าทุกโรงงานผลิตอาหาร/ทุกประเภทของผลิตภัณฑ์

ต้องปฎิบัติตามด้วยหรือไม่ครับ (สำหรับโรงงานที่นำข้อกำหนดของ มกอช. มาใช้นะ)

ลองแชร์กันดูครับ


#4 Suppadej

Suppadej

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,611 posts
  • Gender:Male

Posted 21 November 2010 - 12:21 PM

ถาม โรคดีซ่านคืออะไร อาการของโรค หรือผู้ที่เป็นแล้วปฎิบัติงานในกระบวนการผลิตอาหารแล้วมีผลกระทบอย่างไร เอาแบบให้ชัดเลยนะครับ
ตอบ พี่ลองอ่านที่ Link นี้ครับ

http://www.doctor.or.th/node/5246




ถาม แล้วถ้าใน มกอช. เขียนไว้แบบนี้ แปลว่าทุกโรงงานผลิตอาหาร/ทุกประเภทของผลิตภัณฑ์ต้องปฎิบัติตามด้วยหรือไม่ครับ (สำหรับโรงงานที่นำข้อกำหนดของ มกอช. มาใช้นะ)
ลองแชร์กันดูครับ


ตอบ ตอนที่ผมไปอบรมกับสถาบัน CB ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง
แล้วเค้าก็นำเอกสาร มกอช. ฉบับนี้มาประกอบการอบรมด้วย
ก็แนะนำว่าโรงงานที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงผู้บริโภคสุดท้าย น่าจะนำไปปฏิบัติซึ่ง รวมถึงโรงงาน Pkg ที่ทำด้าน Food ด้วยครับ
เพราะข้อกำหนดฉบับนี้แปลมาจาก CAC/RCP 1-1969, Rev. 4: 2003

ซึ่งถ้าพี่อ่านตรงหน้าประกาศคณะกรรมการฯ ตรงส่วนท้ายๆ จะเขียนไว้ว่า "เป็นมาตรฐานสมัครใจ" ไว้ด้วยครับ

พอช่วยพี่ได้บ้างไหมครับ ^_____^

"ในโลกนี้ไม่มีคนแปลกหน้าสำหรับเรา มีแต่เพื่อนที่เรายังไม่ได้พบกันเท่านั้น" E-mail suppadej@gmail.com

#5 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,604 posts
  • Gender:Male

Posted 21 November 2010 - 12:36 PM

ช่วยได้โจ้ เห็นอยู่เหมือนกันว่าเป็นมาตรฐานภาคสมัครใจ แต่ไม่เข้าใจว่า โรคดีซ่าน (ไวรัสตับอักเสบ) หรือคนที่เป็นพาหะ

มันมีผลกระทบอย่างไร

#6 Suppadej

Suppadej

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,611 posts
  • Gender:Male

Posted 21 November 2010 - 01:10 PM

ไม่ทราบเหมือนกันครับ
ผมค้นจาก Google แล้วก็ไม่เจอ
แต่ที่ตลกคือไปพบ กระทู้ของพี่โอ๋ ที่ Post ถามไว้อีกเวป
แล้วผมจะเอา Link มา Post ให้พี่ดูแล้ว 555+

งั้นผมขอปูกระดาษหนังสือพิมพ์ นั่งรอคำตอบจากผู้รู้ด้วยคนครับ
^_____^
"ในโลกนี้ไม่มีคนแปลกหน้าสำหรับเรา มีแต่เพื่อนที่เรายังไม่ได้พบกันเท่านั้น" E-mail suppadej@gmail.com

#7 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,604 posts
  • Gender:Male

Posted 21 November 2010 - 01:56 PM

ตอนนี้ก็กำลังคุยแลค้นคว้าข้อมูลเรื่องนี้อยู่หลายที่ รวมถึงสอบถามจากผู้รู้แหล่งต่างๆ

กะไว้ว่าพรุ่งนี้จะสอบถามจาก Auditor ที่อาวุโสหน่อยว่ารู้ที่มาที่ไปหรือไม่ รวมถึง Corporate Hygienist ของ Nestle ด้วย

(เคยถาม Food Auditor จาก SGS เมื่อครั้งมาอบรม FSSC 22000 แล้ว Auditor ก็พูดไม่เต็มปาก อธิบายไม่คะเรีย

ประมาณว่า ตอบพอไม่ให้เสียหน้าว่าไม่รู้ แต่แสร้งทำเป็นรู้ (ตอนนั้นพี่มีเอกสารที่ค้นคว้ามาจากโรงพยาบาลจุฬา ยืนยันด้วย)

แต่ Auditor คนนั้นก็เถียงข้างๆคูๆ Auditor มักจะพูดเรื่องการปนเปื้อนผ่านทางน้ำลาย ซึ่งพี่คิดว่าเป็นความไม่รู้ และเป็นความเชื่อผิดๆแบบเก่าๆ

หากคืบหน้าอย่างไร ก็จะมาแชร์เรื่อยๆ และหากท่านใดมีข้อมูลเสริม ก็ยินดีนะครับ

#8 Suppadej

Suppadej

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,611 posts
  • Gender:Male

Posted 23 November 2010 - 05:34 PM

ขอ "ดัน" หน่อยครับ

อยากทราบเป็นความรู้ด้วยคนครับ

ผู้รู้ช่วยตอบหน่อยได้ไหมครับ
"ในโลกนี้ไม่มีคนแปลกหน้าสำหรับเรา มีแต่เพื่อนที่เรายังไม่ได้พบกันเท่านั้น" E-mail suppadej@gmail.com

#9 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,604 posts
  • Gender:Male

Posted 23 November 2010 - 10:26 PM

จากแหล่งน่าเชื่อถือ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย

http://thaigcd.ddc.m...h/vac_p_HB.html

โดยสรุปผู้ที่เป็นพาหะของโรค (มี HBsAg) สามารถแพร่เชื้อได้ทาง
1) ทางเลือด การได้รับเลือดหรือส่วนประกอบของเลือดที่มี HBsAg อยู่
2) การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การใช้ของมีคมเช่นมีดโกน กรรไกรตัดเล็บร่วมกัน ซึ่งอาจมีเลือดติดผ่านเข้าตามรอยฉีกขาดของผิวหนัง
3) ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีการฉีกขาดของเยื่อบุ เชื้อที่อยู่ในเลือด ในน้ำอสุจิในช่องคลอด ผ่านจากผู้เป็นพาหะไปยังผู้สัมผัสโรค ด้วยวิธีนี้สามีที่ติดเชื้อก็จะถ่ายทอดเชื้อไปยังภรรยาได้
4) แม่ที่เป็นพาหะแพร่เชื้อให้ลูกที่เกิดใหม่โดยเชื้อผ่านไปยังลูกในขณะใกล้จะคลอด ขณะคลอด โดยเชื้อที่อยู่ในเลือด ในน้ำเมือก ในช่องคลอด และในน้ำคร่ำ ผ่านเข้าทางผิวหนัง และเยื่อบุของลูกที่อาจมีการถลอกหรือฉีกขาด
5) ทางน้ำลายถึงแม้จะมีเชื้ออยู่น้อย แต่ถ้าได้รับซ้ำๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจเป็นทาง นำเชื้อไปสู่ผู้สัมผัสโรคได้ เช่น การใช้แปรงสีฟัน ใช้เครื่องใช้ในการรับประทานอาหาร เช่น ช้อน หลอดดูดน้ำ แก้วน้ำร่วมกัน หรือการที่แม่เคี้ยวอาหารก่อนแล้วป้อนลูกก็อาจเป็นทางถ่ายทอดเชื้อได้ทางหนึ่ง
6) ทางน้ำนม ในแม่ที่ติดเชื้อ HBV เชื้อจะผ่านทางน้ำนมไปยังลูกได้ ในประเทศที่มีอุบัติการณ์ของการติดเชื้อ HBV ต่ำมาก เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา (อุบัติการณ์ร้อยละ 0.1) จะไม่แนะนำให้แม่ที่เป็นพาหะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ในประเทศด้อยพัฒนา และหรือประเทศที่มีอุบัติการณ์ของการติดเชื้อสูงองค์การอนามัยโลกแนะนำให้เลี้ยงลูกด
้วยนมแม่ได้ เพราะอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อน้อยกว่าปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากโรคอุจจาระร่วง โรคติดเชื้ออื่นๆ และภาวะทุพโภชนาการ ถ้าเด็กไม่ได้กินนมแม่

อาการและอาการแสดง
ระยะฟักตัวของโรค 50-150 วัน เฉลี่ย 120 วัน ส่วนใหญ่ของผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการ แต่อาจจะเป็นพาหะได้โดยเฉพาะในเด็กทารก การติดเชื้อในวัยทารกและเด็กเล็กโอกาสเป็นพาหะจะสูงกว่าในผู้ใหญ่
อาการของผู้ป่วยตับอักเสบบีจะเริ่มด้วยมีไข้ต่ำๆ มีอาการทางระบบทางเดินอาหาร เริ่มด้วยเบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง อาจปวดทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวา ซึ่งเป็นตำแหน่งที่คลำพบว่าตับโต กดเจ็บ จะสังเกตว่าปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชาแก่ เริ่มมีอาการตาเหลืองตัวเหลืองในปลายสัปดาห์แรก ซึ่งเมื่อถึงระยะนี้ไข้จะลดลง อาการทั่วไปจะดีขึ้น ในเด็กส่วนใหญ่ อาการของโรคตับอักเสบจะไม่รุนแรงมากเท่าในผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 2-4 สัปดาห์ มีส่วนน้อยที่กลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง และบางรายที่รุนแรงมากจะมีภาวะตับวาย ซึ่งทำให้ถึงเสียชีวิต
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จากข้อมูลที่ค้นคว้าได้นี้

ผมจึงกำหนดให้พื้นที่ทำงานที่มีความเสี่ยงมากเช่น จุดที่พนักงานมีโอกาสที่จะทำให้เกิดการปนเปื้นด้วยน้ำลาย เช่นห้องเปิดถุงเท วัตถุดิบ ซึ่งมีพนักงานทำงานจุดนี้ shift ละ 5 คน พนักงานห้องบรรจุ ประมาณ 15 คนต่อ shift ไปตรวจสุขภาพประจำปีการเป็นพาหะของโรคไวรัสตับ ซะ

ส่วนพนักงานที่เหลืออีก 400 กว่าคนซึ่งอยู่ในจุดที่เสี่ยงน้อยเพราะสินค้าถูกบรรจุหีบห่อแล้ว หรืออยู่ในระบบท่อปิด ก็ไม่ต้องตรวจประหยัดเงินค่าตรวจไปได้ 40000 หมื่นกว่าบาทต่อปี

#10 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,604 posts
  • Gender:Male

Posted 25 November 2010 - 10:34 PM

QUOTE(Food Safety @ Nov 23 2010, 10:26 PM) <{POST_SNAPBACK}>
จากแหล่งน่าเชื่อถือ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย

http://thaigcd.ddc.m...h/vac_p_HB.html

โดยสรุปผู้ที่เป็นพาหะของโรค (มี HBsAg) สามารถแพร่เชื้อได้ทาง
1) ทางเลือด การได้รับเลือดหรือส่วนประกอบของเลือดที่มี HBsAg อยู่
2) การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การใช้ของมีคมเช่นมีดโกน กรรไกรตัดเล็บร่วมกัน ซึ่งอาจมีเลือดติดผ่านเข้าตามรอยฉีกขาดของผิวหนัง
3) ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีการฉีกขาดของเยื่อบุ เชื้อที่อยู่ในเลือด ในน้ำอสุจิในช่องคลอด ผ่านจากผู้เป็นพาหะไปยังผู้สัมผัสโรค ด้วยวิธีนี้สามีที่ติดเชื้อก็จะถ่ายทอดเชื้อไปยังภรรยาได้
4) แม่ที่เป็นพาหะแพร่เชื้อให้ลูกที่เกิดใหม่โดยเชื้อผ่านไปยังลูกในขณะใกล้จะคลอด ขณะคลอด โดยเชื้อที่อยู่ในเลือด ในน้ำเมือก ในช่องคลอด และในน้ำคร่ำ ผ่านเข้าทางผิวหนัง และเยื่อบุของลูกที่อาจมีการถลอกหรือฉีกขาด
5) ทางน้ำลายถึงแม้จะมีเชื้ออยู่น้อย แต่ถ้าได้รับซ้ำๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจเป็นทาง นำเชื้อไปสู่ผู้สัมผัสโรคได้ เช่น การใช้แปรงสีฟัน ใช้เครื่องใช้ในการรับประทานอาหาร เช่น ช้อน หลอดดูดน้ำ แก้วน้ำร่วมกัน หรือการที่แม่เคี้ยวอาหารก่อนแล้วป้อนลูกก็อาจเป็นทางถ่ายทอดเชื้อได้ทางหนึ่ง
6) ทางน้ำนม ในแม่ที่ติดเชื้อ HBV เชื้อจะผ่านทางน้ำนมไปยังลูกได้ ในประเทศที่มีอุบัติการณ์ของการติดเชื้อ HBV ต่ำมาก เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา (อุบัติการณ์ร้อยละ 0.1) จะไม่แนะนำให้แม่ที่เป็นพาหะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ในประเทศด้อยพัฒนา และหรือประเทศที่มีอุบัติการณ์ของการติดเชื้อสูงองค์การอนามัยโลกแนะนำให้เลี้ยงลูกด
้วยนมแม่ได้ เพราะอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อน้อยกว่าปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากโรคอุจจาระร่วง โรคติดเชื้ออื่นๆ และภาวะทุพโภชนาการ ถ้าเด็กไม่ได้กินนมแม่

อาการและอาการแสดง
ระยะฟักตัวของโรค 50-150 วัน เฉลี่ย 120 วัน ส่วนใหญ่ของผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการ แต่อาจจะเป็นพาหะได้โดยเฉพาะในเด็กทารก การติดเชื้อในวัยทารกและเด็กเล็กโอกาสเป็นพาหะจะสูงกว่าในผู้ใหญ่
อาการของผู้ป่วยตับอักเสบบีจะเริ่มด้วยมีไข้ต่ำๆ มีอาการทางระบบทางเดินอาหาร เริ่มด้วยเบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง อาจปวดทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวา ซึ่งเป็นตำแหน่งที่คลำพบว่าตับโต กดเจ็บ จะสังเกตว่าปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชาแก่ เริ่มมีอาการตาเหลืองตัวเหลืองในปลายสัปดาห์แรก ซึ่งเมื่อถึงระยะนี้ไข้จะลดลง อาการทั่วไปจะดีขึ้น ในเด็กส่วนใหญ่ อาการของโรคตับอักเสบจะไม่รุนแรงมากเท่าในผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 2-4 สัปดาห์ มีส่วนน้อยที่กลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง และบางรายที่รุนแรงมากจะมีภาวะตับวาย ซึ่งทำให้ถึงเสียชีวิต
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จากข้อมูลที่ค้นคว้าได้นี้

ผมจึงกำหนดให้พื้นที่ทำงานที่มีความเสี่ยงมากเช่น จุดที่พนักงานมีโอกาสที่จะทำให้เกิดการปนเปื้นด้วยน้ำลาย เช่นห้องเปิดถุงเท วัตถุดิบ ซึ่งมีพนักงานทำงานจุดนี้ shift ละ 5 คน พนักงานห้องบรรจุ ประมาณ 15 คนต่อ shift ไปตรวจสุขภาพประจำปีการเป็นพาหะของโรคไวรัสตับ ซะ

ส่วนพนักงานที่เหลืออีก 400 กว่าคนซึ่งอยู่ในจุดที่เสี่ยงน้อยเพราะสินค้าถูกบรรจุหีบห่อแล้ว หรืออยู่ในระบบท่อปิด ก็ไม่ต้องตรวจประหยัดเงินค่าตรวจไปได้ 40000 หมื่นกว่าบาทต่อปี



มาบอกว่า Food Auditor Technical team ของ CB ที่ชื่อ SOS เค้าเห็นด้วยกับวิธีการของผมครับ ใครสนใจเอาไปใช้ เชิญได้เลยครับ ประเมินตามความสเยงของเราเลยครับ

#11 Suppadej

Suppadej

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,611 posts
  • Gender:Male

Posted 26 November 2010 - 07:34 AM

QUOTE(Food Safety @ Nov 25 2010, 10:34 PM) <{POST_SNAPBACK}>
มาบอกว่า Food Auditor Technical team ของ CB ที่ชื่อ SOS เค้าเห็นด้วยกับวิธีการของผมครับ ใครสนใจเอาไปใช้ เชิญได้เลยครับ ประเมินตามความสเยงของเราเลยครับ


ขอบคุณครับ toyou.gif
"ในโลกนี้ไม่มีคนแปลกหน้าสำหรับเรา มีแต่เพื่อนที่เรายังไม่ได้พบกันเท่านั้น" E-mail suppadej@gmail.com




1 user(s) are reading this topic

0 members, 1 guests, 0 anonymous users