Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

ระบบ GMP มีการวิเคราะห์/แยกประเภทแมลงอย่างไร


  • This topic is locked This topic is locked
10 replies to this topic

#1 noonok

noonok

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 23 posts

Posted 06 November 2010 - 09:52 AM

รบกวนสอบถามผู้รู้เรื่องระบบ GMP หน่อยนะค่ะ เนื่องจากทางบริษัทยังไม่ได้ทำระบบนี้เลย ทำเฉพาะ ISO 9001 ค่ะ เข้าเรื่องเลยนะคะเรื่องการคัดแยก/วิเคราะห์ประเภทของแมลงค่ะ พอดีมีลูกค้ามา Audit เค้ามี Comment เรื่องนี้ (ทางบริษัทมีเครื่องดักจับแมลงค่ะ แต่ไม่มีการนำมาวิเคราะห์ และแยกประเภท) เลยอยากทราบว่าต้องแก้ไขอย่างไรค่ะ เพราะไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย รบกวนเพื่อนๆ ให้ความกระจ่างหน่อยนะค่ะว่าแมลงมีกี่ประเภท เมื่อแยกแล้วต้องทำอย่างไรต่อไปค่ะ

#2 Harry007

Harry007

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 24 posts

Posted 06 November 2010 - 07:12 PM

การวิเคราะห์ / แยกประเภทของแมลง
อยู่ในหัวข้อของ Pest Control Program ที่ conducted โดย supplier
ซึ่งการแบ่งแยกแมลง ต้องวิเคราะห์ปริมาณที่พบโดอยอาจจะเฉลี่ยเป็นต่อวัน
ทำเป็น Trend analysis โดยแยกตามแมลงที่พบ (ส่วนใหญ่แล้ว supplier จะเป็นผู้วิเคราะห์และประเมินผลให้ครับ)
ต้องทำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หรือตามความถี่ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิต
รวมทั้งสารเคมีที่ใช้ ต้องไม่มีการตกค้างในพื้นที่การผลิต
รวมมทั้งต้องมีการทวนสอบผลิตภัณฑ์ว่าไม่มี pesticide ตกค้าง
ครับ

#3 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,568 posts
  • Gender:Male

Posted 06 November 2010 - 08:19 PM

QUOTE(phipath @ Nov 6 2010, 07:12 PM) <{POST_SNAPBACK}>
การวิเคราะห์ / แยกประเภทของแมลง
อยู่ในหัวข้อของ Pest Control Program ที่ conducted โดย supplier
ซึ่งการแบ่งแยกแมลง ต้องวิเคราะห์ปริมาณที่พบโดอยอาจจะเฉลี่ยเป็นต่อวัน
ทำเป็น Trend analysis โดยแยกตามแมลงที่พบ (ส่วนใหญ่แล้ว supplier จะเป็นผู้วิเคราะห์และประเมินผลให้ครับ)
ต้องทำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หรือตามความถี่ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิต
รวมทั้งสารเคมีที่ใช้ ต้องไม่มีการตกค้างในพื้นที่การผลิต
รวมมทั้งต้องมีการทวนสอบผลิตภัณฑ์ว่าไม่มี pesticide ตกค้าง
ครับ



ขอเป็นความรู้หน่อยครับ คือแยกแล้วเอาข้อมูลไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้างครับ




#4 QA Why

QA Why

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 21 posts

Posted 06 November 2010 - 09:07 PM

เกาะติดสถานการณ์ด้วยคนค่ะ

#5 Harry007

Harry007

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 24 posts

Posted 07 November 2010 - 12:37 PM

QUOTE(Food Safety @ Nov 6 2010, 08:19 PM) <{POST_SNAPBACK}>
ขอเป็นความรู้หน่อยครับ คือแยกแล้วเอาข้อมูลไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้างครับ



ในการแยกประเภทของแมลง จะเป็นการศึกษาชีววิทยาของแมลงนะครับ
ซึ่งแมลงแต่ละชนิดก็จะมีพฤติกรรมแตกต่างกันไป
ถ้ามีแมลงประเภทใดที่มีปริมาณชนิดใดมากกว่าปกติ จะทำให้เราสามารถหาวิธี
ป้องกันไม่ให้เกิดจำนวนแมลงมากเกิน เช่นบริเวณที่ทางเข้ามีแมลงจำพวกที่ชอบไฟเยอะ
เราก้ออาจป้องกันโดยใช้ม่านเหลืองเพื่อลดปริมาณ แทนการใช้สารเคมีครับ
(เรียกว่า IPM = Integrated Pest Management การจัดการแบบบูรณาการ)
ครับ

การแยกประเภทเป็นแนวทางการใช้เป็น Preventive action ครับ
ส่วนการได้ข้อมูลมาแล้วทำเป็น Trend analysis ก็จะเป็น Corrective action ครับ



#6 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,568 posts
  • Gender:Male

Posted 07 November 2010 - 02:27 PM

QUOTE(phipath @ Nov 7 2010, 12:37 PM) <{POST_SNAPBACK}>
ในการแยกประเภทของแมลง จะเป็นการศึกษาชีววิทยาของแมลงนะครับ
ซึ่งแมลงแต่ละชนิดก็จะมีพฤติกรรมแตกต่างกันไป
ถ้ามีแมลงประเภทใดที่มีปริมาณชนิดใดมากกว่าปกติ จะทำให้เราสามารถหาวิธี
ป้องกันไม่ให้เกิดจำนวนแมลงมากเกิน เช่นบริเวณที่ทางเข้ามีแมลงจำพวกที่ชอบไฟเยอะ
เราก้ออาจป้องกันโดยใช้ม่านเหลืองเพื่อลดปริมาณ แทนการใช้สารเคมีครับ
(เรียกว่า IPM = Integrated Pest Management การจัดการแบบบูรณาการ)
ครับ

การแยกประเภทเป็นแนวทางการใช้เป็น Preventive action ครับ
ส่วนการได้ข้อมูลมาแล้วทำเป็น Trend analysis ก็จะเป็น Corrective action ครับ


ขอทราบเป็นความรู้เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย

แล้วหากว่าบริเวณทางเข้าต่างๆ มีการใช้ม่านพลาสติกสีเหลือง กั้นไว้ทุกจุดอยู่แล้ว

และมีการติดตั้งไฟดักแมลงในตำแหน่งและความสูงที่เหมาะสม

โดยไฟดักแมลงใช้การดักจับแบบกระดาษกาว ไม่มีการใช้สารเคมีฉีดพ่นใดๆ

ยังมีความจำเป็นต้อง ตรวจนับ หรือทำ Trend Analysis ในตำแหน่งต่างๆอีกหรือไม่ครับ

แล้วจากที่คำอธิบายด้านบน ที่บอกว่า ให้มีการ Verify ปริมาณ Pesticide ใน Product นี่

ควร Verify ในความถี่มากน้อยแค่ไหน พอจะแนะนำได้มั๊ยครับ

แล้วการ Verify นี่ใช่การส่งตัวอย่างไปตรวจ pesticide ปนเปื้อนหรือไม่

หากใช่ จำเป็นต้องตรวจทุกชนิด ทุกกลุ่มของ Pesticide หรือไม่ครับ

เท่าที่ทราบ ราคาค่าวิเคราะห์ปริมาณ Pesticide สูงอยู่เหมือนกัน หลัก หมื่นบาท

ขอบคุณครับสำหรับคำตอบที่จะใช้เป็นความรู้ในการบริหาร จัดการต่อไป


#7 Harry007

Harry007

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 24 posts

Posted 07 November 2010 - 03:38 PM

QUOTE(Food Safety @ Nov 7 2010, 02:27 PM) <{POST_SNAPBACK}>
ขอทราบเป็นความรู้เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย

แล้วหากว่าบริเวณทางเข้าต่างๆ มีการใช้ม่านพลาสติกสีเหลือง กั้นไว้ทุกจุดอยู่แล้ว

และมีการติดตั้งไฟดักแมลงในตำแหน่งและความสูงที่เหมาะสม

โดยไฟดักแมลงใช้การดักจับแบบกระดาษกาว ไม่มีการใช้สารเคมีฉีดพ่นใดๆ

ยังมีความจำเป็นต้อง ตรวจนับ หรือทำ Trend Analysis ในตำแหน่งต่างๆอีกหรือไม่ครับ

แล้วจากที่คำอธิบายด้านบน ที่บอกว่า ให้มีการ Verify ปริมาณ Pesticide ใน Product นี่

ควร Verify ในความถี่มากน้อยแค่ไหน พอจะแนะนำได้มั๊ยครับ

แล้วการ Verify นี่ใช่การส่งตัวอย่างไปตรวจ pesticide ปนเปื้อนหรือไม่

หากใช่ จำเป็นต้องตรวจทุกชนิด ทุกกลุ่มของ Pesticide หรือไม่ครับ

เท่าที่ทราบ ราคาค่าวิเคราะห์ปริมาณ Pesticide สูงอยู่เหมือนกัน หลัก หมื่นบาท

ขอบคุณครับสำหรับคำตอบที่จะใช้เป็นความรู้ในการบริหาร จัดการต่อไป

ยังมีความจำเป็นต้อง ตรวจนับ หรือทำ Trend Analysis ในตำแหน่งต่างๆอีกหรือไม่ครับ --> [/color] ยังต้องทำการตรวจนับ และทำ Trend analysis ต่อไปเรื่อย ๆ ครับ เพราะจะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการใช้ม่านพลาสติกสีเหลือง นั่งจะเป็นการบ่งบอกถึงว่าเหมาะสม หรืเพียงพอ รวมทั้งประสิทธิผลด้วยครับ

ควร Verify ในความถี่มากน้อยแค่ไหน พอจะแนะนำได้มั๊ยครับ ข--> [color="#0000FF"]
การ verify ควรทำตามที่เรากำหนด ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่เราสามารถกำหนดความพี่เปล่ยนแปลงได้ เช่น ภายใน 5 ปีที่ผ่านมาไม่พบค่า pesticide ในผลิตภัณฑฺ์อาจทำการเปลี่ยนความถี่เป็น2 ปีครั้ง หรือเงื้อนไขเดียวกันถ้ามีการตรวจพบ ต้องทำการ investigate ถึงสาเหตุที่พบ นั่นอาจต้องทวนสอบถึง Raw material ที่ใช้และการจัดการของ PEst control ในโรงงาน และต้องทำการตรวจสอบความถี่อาจเป็น Quaternary หรือ twice a year ก้อได้ครับตามความเหมาะสม

กลุ่มที่ตรวจสอบตรวจสอบ PEsticide 4 group (organochrorine, Organophrosphate, Carbamate and Pyrethroides) ส่วนใหญ่ยาฆ่าแมลงที่ใช้มักอยู่ในกลุ่ม Pyrethroides แต่ก้อต้องตรวจสอบกับ Supplier ที่ทำ PEst control ด้วยว่าสารเคมีที่ใช้อยู่ในกลุ่มใหน และมีค่าความปลอดภัยตามที่กฏหมายกำหนดหรือไม่ครับ


#8 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,568 posts
  • Gender:Male

Posted 07 November 2010 - 07:16 PM

โห ได้ความรู้เยอะเลย ขอบคุณแทนเพื่อนๆทุกคนด้วยครับ

#9 noonok

noonok

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 23 posts

Posted 08 November 2010 - 08:17 AM

ขอบคุณทุกท่านมากๆๆนะค่ะ smiley-signs001.gif

#10 kornly13

kornly13

    Super Member

  • Power Members
  • PipPip
  • 54 posts

Posted 28 February 2011 - 02:31 PM

ได้ความรู้เยอะแยะเลย ขอบคุณค่ะ

#11 TFI@BangLen

TFI@BangLen

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 26 posts

Posted 28 February 2011 - 08:40 PM

ขอเสริมประสบการณ์ที่เจอกับตัวเองนิดนึงครับ
การติดตั้งหลอดไฟล่อแมลงบริเวณประตูทางเข้า ไม่ควรติดให้แสงสว่างออกไปนอกห้องได้ อ่านแล้วอาจจะงง คือ ถ้าติดแล้วแมลงมองเห็น แมลงมันก็จะเข้าในพื้นที่ เพราะเราเปิดไฟล่อมันเข้ามาเอง ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ไปเยอะ เราติดโคมไฟดักแมลงเพื่อจับแมลงที่มันหลงเข้ามาเท่านั้น ไม่ใช่เอาไฟไปล่อมันเข้ามัน หลายคนคงนึกออกว่าทำไมทางเข้ามันแมลงเยอะเหลือเกิน ควรจะติดให้มันถัดเข้าไปหน่อยเอาดักแมลงที่มันหลงเข้ามาได้จริง อีกอย่างตอนกลางคืนลองปิดไฟตรงทางเข้าดูครับจะรู้ว่าแมลงมันลดลงไปเยอะจริง อีกวิธีที่ทดลองอยู่คือเอาไฟหล่อแมลงไปนิดไว้นอกอาคารครับ หรือตามเสาไฟสอ่งทาง แมลงก็จะพากันไปเล่นไฟอยู่ที่นั่นแทนไม่เข้ามาในอาคาร ก็ได้ผลเช่นกัน (ติดไฟล่อมันไม่ต้องติดกาวนะครับ เปลือง)
โรงงานที่เขี้ยวหน่อยตรงทางเข้า เขาจะทำเป้นห้องมืดครับ ตอนนี้รง.ผมก็กำลังทำอยู่เหมือนกัน




0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users