Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

ขอตัวอย่างการทำ cost of poor quality


  • This topic is locked This topic is locked
8 replies to this topic

#1 RAKB9

RAKB9

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 92 posts

Posted 11 December 2008 - 02:13 PM

รบกวนผู้รู้ช่วยส่งตัวอย่างการทำ COST OF POOR QUALITY ด้วยค่ะ

#2 Tuk

Tuk

    Kitti Ampawa

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPip
  • 662 posts
  • Gender:Male
  • Location:Bangkok

Posted 12 December 2008 - 11:21 AM

ไม่ทราบว่าจะวัดที่ Supplier หรือที่ Customer แต่ใช้แบบฟอร์มในการเก็บข้อมูลที่คล้ายกัน
ดูข้อกำหนดที่ 7.4.3.2 และ 8.2.1.1 ประกอบครับ
Mr. Kitti Ampawa
kampawa@gmail.com

#3 RAKB9

RAKB9

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 92 posts

Posted 12 December 2008 - 01:15 PM

ขอบคุณ K Tuk วัด ลูกค้า ถ้าจะอธิบายเพิ่มก็ดีนะคะ เกี่ยวกับการคำนวณ ตัวเลขที่มาคำนวณ เพราะไม่ค่อยเข้าใจค่ะ

#4 Tuk

Tuk

    Kitti Ampawa

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPip
  • 662 posts
  • Gender:Male
  • Location:Bangkok

Posted 23 December 2008 - 11:48 AM

อธิบายในที่นี้ลำบากลองโทรมาแล้วกันจะอธิบายให้เข้าใจง่ายกว่าครับ
Mobile 08-1659-0110
Mr. Kitti Ampawa
kampawa@gmail.com

#5 chutter1026 @chonburi city

chutter1026 @chonburi city

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 392 posts
  • Gender:Male

Posted 05 January 2009 - 10:36 AM

ช่วยด้วยแล้วกัน
คือการนำเอาค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่มาจากผลกระทบที่เกี่ยวกับระบบคุณภาพ เช่น ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับเครื่องมือในการทำงานซ่อม / ค่าเเรงของพนักงานที่ทำการซ่อมงาน / ค่าขนส่งที่ต้องนำของไปแลกเปลี่ยนเป็นต้น ซึ่งการทำกิจกรรมนี้ เป็นส่วนหนึ่งใน แผนธุรกิจต่อปี ที่กำหนดโดยผู้บริหาร ซึ่งรายละเอียดในการทำแผน นั้น มีการกำหนดตัวเลขชัดเจน ว่าภายใน 1 ปี จะต้องไม่เกินเท่าไหร่
ส่วนการทำกิจกรรมนั้นส่วนมากก็จะสรุปเป็นเดือน โดยวิธีคิดนั้นจะเเบ่งเป็น 2 ปัจจัยใหญ่ คือ ภายใน และ ภายนอก
ภายในคือ อย่างที่บอกด้านต้น คือเสียจากบ้านเรานั้นเอง ส่วนภายนอกคือ เสียจากซัพพลาย ที่ส่งมอบให้เรา
ซึ่งบางที่อาจจะรวมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการฝึกอบรมคุณภาพลงไปด้วย
ส่วนประโยชน์ในการทำกิจกรรมนั้นมีมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับ การหาค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆ ที่หามา
อ้อ ส่วนเรื่อง คำนวณ มีดังนั้
นำค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อเดือน นำมา หาร กับ ค่าใช้จ่าย ทั้งหมดของบริษัท คิดออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง
แต่ถ้าหารใครทำเกี่ยวกัย TS แล้ว ก็ขอให้ดูใน แผนธุรกิจด้วยว่า เราอยู่ในเป้าหมายหรือไม่


หากผิดพลาดอย่างไร ต้องขออภัยด้วยนะครับ
chat1206@hotmail.com
"Focut to Basic"
By chutter1026
chat1026@gmail.com

#6 Tuk

Tuk

    Kitti Ampawa

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPip
  • 662 posts
  • Gender:Male
  • Location:Bangkok

Posted 05 January 2009 - 12:01 PM

แต่ละอย่างมีวิธีวัด วิธีคิดที่ไม่เหมือนกันครับ
Mr. Kitti Ampawa
kampawa@gmail.com

#7 RAKB9

RAKB9

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 92 posts

Posted 05 January 2009 - 06:06 PM

ขอบคุณทั้งสองท่านนะคะ ที่แนะนำ จะนำไปประยุกต์ใช้ เป็นประโยชน์มากค่ะ

#8 kittim

kittim

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 106 posts

Posted 06 January 2009 - 08:48 AM

เห็นด้วยกับคุณ Babbung ครับ ขอแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมด้วยอีกคน
ในส่วนของค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในเรื่องคุณภาพ จากภายนอกในกรณีที่มีการส่งชิ้นงานที่ไม่มีคุณภาพ หรืองานNG และต้อง
ไปคัดแยก แลกเปลี่ยนที่ลูกค้า ก็ต้องนำมาคิดใน Cost of poor quality ด้วยโดยคิดค่าระยะทาง ค่าแรงจำนวนชั่วโมง ค่าrepack อื่นๆ

ในส่วนภายใน งานที่ต้องทำงานแก้ไข ซ่อมแซม โดยคิดจากค่าแรง จำนวนชั่วโมง ราคาวัสดดุอุปกรณ์ที่ซ่อม และราคางานที่ซ่อม
แล้วใช้งานไม่ได้(งานที่ซ่อมแล้วเสีย ทั้งๆที่ปกติว่อมแล้วใช้ได้)

นำค่าใช้จ่ายทั้งภายใน ภายนอกมาบวกกัน แล้วเปรียบเทียบกับเป้าหมาย ที่บริษัทผม 3000 บาท / เดือน ถ้าเกิน หรือบางครั้ง
ไม่เกิน ก็จะพิจารณาทำการแก้ไข

#9 non

non

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 420 posts
  • Gender:Male

Posted 18 February 2009 - 02:15 PM

เอาความหมายมาให้ แล้วลองตีความดูนะครับ เพราะไม่รู้ว่าเพื่อนสมาชิกทำธุรกิจอะไร toyou.gif

ต้นทุนคุณภาพที่บกพร่อง หรือ Cost of Poor Quality จะหมายถึงต้นทุนที่เกิดจากการผลิตในสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด (Nonconforming material) ซึ่งโดยทั่วไป ต้นทุนในสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด จะแบ่งออกเป็น2 ส่วน ประกอบด้วยความบกพร่องภายในองค์กร (Internal Failure) และความบกพร่องภายนอกองค์กร (External Failure) ซึ่งในบางครั้งก็เรียกต้นทุนในลักษณะนี้ว่า ต้นทุนความไม่สอดคล้อง หรือ Cost of Nonconformance (CONC)

. 1. ต้นทุนคุณภาพที่บกพร่องภายในองค์กร หรือ Internal Failure Cost
จะ หมายถึงต้นทุนของความบกพร่องจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ซึ่งพบก่อนที่จะมีการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า ตัวอย่างได้แก่ต้นทุนจากของเสียภายใน ต้นทุนในการทำซ้ำ (Rework) ต้นทุนในการทดสอบซ้ำ (Retesting) รวมไปถึงต้นทุนที่เกิดจากการลดระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ (Down Grading)

2. ต้นทุนคุณภาพที่บกพร่องภายนอกองค์กร หรือ External Failure Cost
จะ หมายถึงต้นทุนของความบกพร่องจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ซึ่งจะพบหลังจากที่มีการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าไปแล้ว ตัวอย่างได้แก่ต้นทุนจากการจัดการข้อร้องเรียนลูกค้า การส่งคืนผลิตภัณฑ์จากลูกค้า การรับประกันคุณภาพของลูกค้า รวมไปถึงการเรียกผลิตภัณฑ์คืนจากลูกค้า (Recall)




1 user(s) are reading this topic

0 members, 1 guests, 0 anonymous users