เนื่องจากบริษัทรับฉีดงานพลาสติก โดยลูกค้าจะส่ง Drawing มาให้ ซึ่งจะมีผจก.โรงงานคุยเรื่องแบบกับลูกค้าก่อน ถ้าผจก.พิจารณาว่าสมารถที่จะผลิตให้ลูกค้าได้ ก็จะนัดประชุมทีมภายใน ซึ่งรูปแบบในการประชุม โดยใช้แบบฟอร์ม Team Feasibility Commitment ในการประชุม แต่ในการประชุมจริงไม่ได้พูดถึงสาระสำคัญที่ระบุในแบบฟอร์มดังกล่าว แต่พูดถึงแค่ว่าจะเสร็จเมื่อไร จากนั้นก็แยกย้ายกัน โดยไม่รู้ว่าจะมีประชุมติดตามความคืบหน้าอีกทีเมื่อไร
ขอถามว่าในการประชุมดังกล่าว เราควรจะพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ที่เข้าประชุมจากทุกหน่วยงาน ได้ประโยชน์จากการประชุมมากที่สุด
ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com
การทบทวนความสามารถในการผลิตก่อนยืนยันกับลูกค้าทำอย่างไร
Started by
bun4
, Aug 10 2010 10:23 AM
5 replies to this topic
#1
Posted 10 August 2010 - 10:23 AM
#2
Posted 10 August 2010 - 01:15 PM
QUOTE(bun4 @ Aug 10 2010, 10:23 AM) <{POST_SNAPBACK}>
เนื่องจากบริษัทรับฉีดงานพลาสติก โดยลูกค้าจะส่ง Drawing มาให้ ซึ่งจะมีผจก.โรงงานคุยเรื่องแบบกับลูกค้าก่อน ถ้าผจก.พิจารณาว่าสมารถที่จะผลิตให้ลูกค้าได้ ก็จะนัดประชุมทีมภายใน ซึ่งรูปแบบในการประชุม โดยใช้แบบฟอร์ม Team Feasibility Commitment ในการประชุม แต่ในการประชุมจริงไม่ได้พูดถึงสาระสำคัญที่ระบุในแบบฟอร์มดังกล่าว แต่พูดถึงแค่ว่าจะเสร็จเมื่อไร จากนั้นก็แยกย้ายกัน โดยไม่รู้ว่าจะมีประชุมติดตามความคืบหน้าอีกทีเมื่อไร
ขอถามว่าในการประชุมดังกล่าว เราควรจะพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ที่เข้าประชุมจากทุกหน่วยงาน ได้ประโยชน์จากการประชุมมากที่สุด
ขอถามว่าในการประชุมดังกล่าว เราควรจะพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ที่เข้าประชุมจากทุกหน่วยงาน ได้ประโยชน์จากการประชุมมากที่สุด
ก่อน อื่น ได้ รับการ รับรอง ระบบ ISO9001 หรือ TS16949 ครับ
ถ้า เป็น ISO 9001 ผม เข้าใจ ว่า เหตุการณ์ นี้ เป็น New order/New project นะครับ
ดังนั้น กระบวนการ ตั้งแต่ การ ที่ Factory Mgr. ไป รับเรื่องมา แล้ว นำ กลับ มา ทบทวน ก่อน ตอบ ตกลง กับ ลูกค้า นั้น คือ การดำเนินการตอบ ข้อ กำหนด ที่ 7.2.1 และ 7.2.2 ครับ
ซึ่ง ถ้า อ้าง ถึง เนื้อหา ด้าน บน ผม คิดว่า น่าจะเป็น ช่วง ที่ จะกลับ มา ทำ Sample ก่อนจะไป ถึง Step ที่ เสนอ ราคา และ ทำสัญญา ซื้อขาย ใช่ ไหมครับ
ดังนั้น จาก คำถาม ที่ ทางคุณ ตั้งไว้ ผม เข้าใจ ว่า ทาง Factory mgr. ผม เดา ว่า ท่าน จะ เขียน แผน เพื่อ ผลิต Sample จน ถึง ระบุ รายละเอียด ขั้นตอน ต่างๆ รวมถึง การตรวจสอบ ทดสอบ เพื่อให้ ได้ Spec ตาม ลูกค้า กำหนด (พูด ง่ายๆ ทำอย่างไร บ้าง ที่ จะ ทำให้ ได้ Saple ออกมา อย่างมี ระบบ มี ข้อมูล การตรวจสอบ)
การกระทำ ดังกล่าว อ้างถึง ข้อกำหนด ที่ 7.1 ใน ISO9001 ครับ
ส่วน การที่ วางแผน Planning = แผน แล้ว นิ่ง นั้น เป็น เรื่อ งที่ สำคัญ มากครับ ควร ติดตาม ผล ผม เข้าใจ ว่า ที่ วางแผน แล้ว นิ่ง เนื่อ งจาก ระบบ ของท่าน ยังไม่ได้ กำหนด ไว้ ว่า ต้อง มี ความถี่ ในการติดตาม แผน เมื่อ ไร โดย ใคร เป็น Leader สำหรับ โครงการใหม่ ด้วย จึงไม่ได้ มีการ ติดตาม ผลตาม แผน เลย อย่างจริงจัง (Leader ควร เป็น ผู้ที่มี อำนาจ จะดี มากครับ)
ส่วน Team Feasibility commitment ผมขอ เดา ว่า นำมาจาก คู่มือ APQP ของ AIAG ของ ระบบ ยานยนต์ ใช่ ไหม ครับ ที่ เป็น แบบฟอร์ม แผ่น เดียว ถ้า ประยุกต์ ใช้ ได้ ก็ จะดี แต่ สำหรับ ISO9001 ไม่จำเป็น ในเชิง ข้อกำหนด แต่ TS เป็น ข้อ กำหนด ที่ 7.2.2.2 ครับ (แบบฟอร์ม หนะ ดี ครับ เป็น รูปแบบ คำถาม ที่ ให้ เรา ทำความเข้าใจ และ ทบทวน ใน หลายๆ แง่ มุม ทางด้าน วิศวกรรม ของ ผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิต ด้วย ซ้ำไป แต่ ถ้า แค่ ติ๊ก เครื่อ งหมายถูก เฉยๆ มันก็ เป็น แค่ กระดาษ ครับ กระดาษ ที่ทำให้เรา ดูดี ไม่เกิด ประสิทธภาพ ใดๆ ดังนั้น ก่อน ประยุกต์ใช้ ควร ทำความเข้าใจ กับ เนื่อหา และวัตถุ ประสงค์ ของแบบฟอร์ม นี้ก่อนครับ)
หมายเหตุ สำหรับ การศึกษาความเป็นไปได้ แบบ เชิง ลึก เป็น วิชา หนึ่ง ใน แขนง IE เลย ทีเดียว ประยุกต์ใช้ SWOT analysis ด้วย ครับ แต่ ใน ภาค การทำงาน จริง คงไม่ต้องถูก ขนาด นัน้น เนื่อ งจาก เราใช้ ประสบการณ์ ในการ ดำเนินโครงการ มากกว่า ครับ ขึ้นอยู่ กับ ความเหมาะสม ครับ
ส่วน ประเด็น ท้าน สุด "การประชุมดังกล่าว เราควรจะพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ที่เข้าประชุมจากทุกหน่วยงาน ได้ประโยชน์จากการประชุมมากที่สุด"
ขอแนะนำ ว่า ก็ ควร จะมี การประชุม เพื่อ ติดตามผล ที่วางแผนไว้ เป็น ระยะๆ เพื่อ จะได้ ทราบ ความคืบหน้า และ ปัญหา ต่างๆ ที่ ทีม งาน ได้ พบ เพื่อ ป้องกัน ให้ ทุกอย่างเป็นไป ตาม แผน และ เป็น เครื่องมือ ในการป้องกัน ปัญหา ที่ อาจจะ ทำให้ เกิด การ ไม่ สำเร็จ ตาม แผน ครับ (สร้างการ ทำงาน เป็น ทีใ ด้วย ครับ แต่......ทุกคน ต้อง เปิดใจ และ เข้าใจ ว่า ประชุม เพื่อ วัตถุประสงค์ อะไรก่อนนะครับ)
ปล สิ่งที่สำคัญ ที่สุด ในการ บริหาร งาน จริงแล้ว ไม่ ใช่ ISO ไม่ใช่ ระบบ ที่รัดคุม ไม่ใช่ ความรู้ ในเชิง ทษฎี ที่ สวย หรู แต่ ทุกอย่าง ล้วน สำเร็จ ไป ได้ ด้วย คำๆ เดียว ครับ "เข้าใจ" ครับ (อย่างที่พ่อหลวงของเรา เคยส่ง ดำรัสไว้ นะครับ)
สู้ๆ โชคดี นะครับ A Hero boonchanasak.k@trtc.co.th
#3
Posted 11 August 2010 - 08:52 AM
ขอบคุณมากครับสำหรับคำแนะนำ
#4
Posted 05 January 2011 - 12:09 PM
ISO 9001จำเป็นต้องทำ Feasibility หรือเปล่าพอจะมีตัวอย่างให้ดูบ้างมั๊ย
#5
Posted 05 January 2011 - 01:23 PM
ISO 9001 ไม่ต้องทำ Feasibility นา น่าจะทำเฉพาะ TS16949 อุตสาหกรรมยานยนต์ค่ะ
ใช่ป่าวหว่า แต่ไม่เคยทำนะ ทำในกลุ่มยานยนต์อย่างเดียว....
ใช่ป่าวหว่า แต่ไม่เคยทำนะ ทำในกลุ่มยานยนต์อย่างเดียว....
#6
Posted 05 January 2011 - 02:13 PM
Feasibility review "การทบทวนความเป็นไปได้ของโครงการ" อ้างอิงตามข้อกำหนด ISO/TS 16949 ข้อ 7.2.2.2 และเป็นหนึ่งในข้อกำหนด
ของ APQP (Advanced product quality planning) เฟส 2 "Design & Develop Product" ใช้สำหรับทบทวนงาน new model กรณีที่ยังไม่เคยผลิตมาก่อนเพื่อทบทวนทางด้านวิศวกรรม ด้านการผลิต spec ค่า cpk, การใช้ spc รวมถึง cost invesment ต่างๆ ว่าองค์กรมีความสามารถทำได้หรือไม่ ซึ่งตามข้อกำหนด TS ต้องทบทวนคู่กันกับการทำ risk analysis (การประเมินความเสี่ยง) ซึ่งสามารถใช้แผนฉุกเฉินตามข้อกำหนด 6.3.2 อ้างอิงได้ แต่ใน APQPมีแค่ Feasibility อย่างเดียว (ไม่งงนะครับ)
ถามว่า 9001 จำเป็นต้องทำ Feasibility หรือไม่ ตามข้อกำหนดไม่ได้กำหนดให้ต้องทำ แต่ถ้าองค์กรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ก็จะเป็นการดีมากครับ เป็นการทบทวนความสามารถและ performance ต่างๆขององค์กรไปในตัวด้วยครับ
อ่อทีมงานที่ทบทวน Feasibility อาจจะเป็นทีมงานข้ามแผนก (Multidisciplinary team) จากข้อกำหนด 7.3.1.1 ก็ได้นะครับ
ตัวอย่างครับ
ของ APQP (Advanced product quality planning) เฟส 2 "Design & Develop Product" ใช้สำหรับทบทวนงาน new model กรณีที่ยังไม่เคยผลิตมาก่อนเพื่อทบทวนทางด้านวิศวกรรม ด้านการผลิต spec ค่า cpk, การใช้ spc รวมถึง cost invesment ต่างๆ ว่าองค์กรมีความสามารถทำได้หรือไม่ ซึ่งตามข้อกำหนด TS ต้องทบทวนคู่กันกับการทำ risk analysis (การประเมินความเสี่ยง) ซึ่งสามารถใช้แผนฉุกเฉินตามข้อกำหนด 6.3.2 อ้างอิงได้ แต่ใน APQPมีแค่ Feasibility อย่างเดียว (ไม่งงนะครับ)
ถามว่า 9001 จำเป็นต้องทำ Feasibility หรือไม่ ตามข้อกำหนดไม่ได้กำหนดให้ต้องทำ แต่ถ้าองค์กรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ก็จะเป็นการดีมากครับ เป็นการทบทวนความสามารถและ performance ต่างๆขององค์กรไปในตัวด้วยครับ
อ่อทีมงานที่ทบทวน Feasibility อาจจะเป็นทีมงานข้ามแผนก (Multidisciplinary team) จากข้อกำหนด 7.3.1.1 ก็ได้นะครับ
ตัวอย่างครับ
Attached Files
1 user(s) are reading this topic
0 members, 1 guests, 0 anonymous users