ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

มีข้อสงสัยเกี่ยวกับ requirement
#1
Posted 31 July 2010 - 07:39 AM
#2
Posted 31 July 2010 - 10:02 AM
- กระบวนการเชื่อม ---> อันนี้ไม่ใช่เืชื่อมกล้วยนะครับ แต่เป็นพวกเชื่อมเหล็กครับ สิ่งที่ต้องการจากการเชื่อมเหล็กคือความแข็งแรงของรอยเชื่อม เพื่อไม่ให้เหล็กสองชิ้นหลุดออกจากกันนะครับ อันที่จริงการทดสอบความแข็งแรงของรอยเชื่อมก็มีหลายแบบครับ แบบนึงที่ใช้กันก็คือการทดสอบแบบทำลาย แต่ถ้าเราจะทำลายมันทุกอันก็คงไม่ไหวจริงมั้ยครับ เพราะฉะนั้นเค้าก็เลยต้องควบคุมกระบวนการนี้แบบอ้อมๆ ซึ่งข้อกำหนดนี้ก็แนะนำเอาไว้ครับคือ
a) Define Criteria for review and approval of the processes --> คือต้องมีเกณฑ์ในการทบทวนและอนุมัติกระบวนการเหล่านี้ --> กรณีนี้มักจะกำหนดด้วยการทำ NDT หรือ Non-Destructive Test เช่นดูแนวเชื่อมว่าติดกันดีหรือไม่โดยใช้ X-ray นะครับ

c) use of specific methods and procedures --> ใช้วิธีการ หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานเฉพาะ
d) requirements for records --> ฟอร์มที่ใช้ในการยืนยันว่าได้ปฏิบัติตามสามข้อบนจริง
e) revalidation --> อันนี้คือจะปล่อยให้ทำงานไปเรื่อยๆ ไม่ได้ คงต้องส่งชิ้นงานไปทำการทดสอบแบบทำลายดูบ้างเป็นระยะๆ เพื่อให้แน่ใจว่าวิธีการที่เรากำหนดไว้มันใช้การได้ นะครับ
แต่ถ้าเป็นกรณีของบริษัทของคุณ Fishoman ที่เป็นบริษัทผลิตกาว ก็พอจะเข้าข่ายครับ เพราะกว่าจะรู้ว่าผลิตภัณฑ์ของเราติดแน่นดีหรือไม่ ก็ผลิตออกมาแล้ว ดังนั้นก็เลยต้องควบคุมผ่าน Parameter ตัวอื่นๆ เช่น Process Paramter ก็คือพวก ลำดับในการผสม ระยะเวลาในการผสม อุณหภูมิที่ใ้ช้ใน reactor ความเร็วของ agitator เป็นต้น รวมถึง Product parameter ก็ได้แก่ ส่วนผสม SG, Viscosity, pH, %NV ขอรับ
#3
Posted 31 July 2010 - 10:30 AM
ก่อนอื่น ระบบ ISO9000 อันนี้พิมพ์ผิดน่ะ อนุกรมมาตรฐาน ISO9000 แต่มาตรฐานที่เราทำและขอการรับรอง คือมาตรฐาน ISO9001 น่ะครับ OK?
7.5.2 การทวนสอบรับรอง หรือ การควบคุมกระบวนการที่เป็นกระบวนการพิเศษ (VIP Process)
กระบวนการในการทำงานของเรามีเยอะแยะมากมาย กว่าจะออกมาเป็นกาวบรรจุอยู่ในขวดหรือหลอดได้
เริ่มตั้งแต่ จัดหาวัตถุดิบ --> ตรวจรับ --> จัดเก็บ --> ผลิต --> ตรวจสอบ
บางกระบวนการทำงานออกมาดีไม่ดีสามารถตรวจสอบได้ในขั้นตอนต่อไป --> เรียกว่า กระบวนการปกติทั่วๆไป
บางกระบวนการทำงานออกมาดีไม่ดีไม่สามารถตรวจสอบได้ในกระบวนการต่อไป --> เรียกว่ากระบวนการพิเศษ
เช่น
ถ้าอยากรู้ว่าเราบรรจุกาวได้น้ำหนักตามที่ลูกค้ากำหนดไหม --> ชั่งได้สบายป๋อ --> กระบวนการปกติทั่วไป
ถ้าอยากรู้ว่ากาว Lot นี้ ค่าความสามารถในการยึดเกาะของมันได้ตามมาตรฐานของลูกค้าไหม --> สมมุติเราบอกว่า งานเข้า เพราะต้องส่งไป Test ที่ Lab สถานเดียว
แบบนี้เรียกว่ากระบวนการนี้ว่าเป็นกระบวนการพิเศษ ที่เราต้องไปทำการควบคุมตรวจสอบ เช่น
สูตรส่วนผสม ได้ตามมาตรฐานไหม ก็ต้องมีการตรวจและลงค่าไว้ว่าเราใส่อะไรไปบ้าง
การตั้งค่าเครื่องได้ตาม Spec ไหม เช่น อุณหภูมิที่ใช้ ความเร็วรอบในการกวน ระยะเวลาในการกวน
7.5.2 บอกว่า ถ้าเราไม่สามารถตรวจสอบที่สินค้าได้ เราต้องทำการตรวจสอบรายการพวกนี้ ต้องมาควบคุมที่วิธีการแทน
Nukool Thanuanram
Mobile Phone: 097.954.4939
Facebook: Nukool Thanuanram
Fanpage: อาจารย์นุกูล วิทยากรสอนคนโรงงาน
LINE ID: nukool2001
E-Mail: nukool2001@gmail.com
เสือพี่เพราะป่าปก ป่ารกเพราะเสือยัง ดินเย็นเพราะหญ้าบัง และหญ้ายังเพราะดินดี "สรรพสิ่งล้วนเกื้อกูลพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน"
#4
Posted 31 July 2010 - 10:46 AM
สมมุติว่าเราเปิดประตูโรงงานไป มองเห็นว่าในไลน์ผลิต มันจะมีงานวางอยู่เยอะแยะมากมาย ทั้งงานที่อยู่ระหว่างการทำ งานที่ทำเสร็จแล้ว งานที่ Pack อยู่
คำถามก็คือ เราจะรู้ได้ยังไง ว่างานไหนเป็นของใคร งานไหนเสร็จ ไม่เสร็จ แล้วมันจะต้องไปทำอะไรต่อ งานไหนใช้ได้ส่งได้ งานไหนใช้ไม่ได้ต้องรอ QC ตรวจซ้ำ
เรื่องพวกนี้มีอยู่ในโงงานเราทุกวัน ตรฐานเลยให้บังคับว่า เราต้องมีการชี้บ่งสถานะ เพื่อให้รู้และสอบกลับได้
ส่วนใหญ่ก็นิยมทำเป็นป้าย Tag, Tag Card, Label ดีหน่อยก็มีแบ่งสีด้วย (สุดยอดหน่อยก็ชี้บ่งด้วยแถบแม่เหล็ก คล้ายๆในบัตรประชาชนของเรา)
สีขาว งานอยู่ระหว่างการผลิต ยังไม่เสร็จ รอส่งไปทำอย่างอื่นต่อ
สีเขียว เสร็จแล้ว ผ่านแล้ว QC ตรวจแล้ว เอาไปเก็บใน Stock F/G ได้ สามารถส่งให้ลูกค้าได้
สีเหลือง ไมแน่ใจว่าจะผ่านไหม รอตรวจซ้ำ รอคนที่มีอำนาจมาตัดสินใจ ตัดสินใจแล้วอาจบอกว่ามันดีหรือเสียก็เป็นไปได้ทั้งคู่
สีแดง งานเสีย เสียแน่ๆ เสียชัวร์ๆ ใช้ไม่ได้ ส่งไม่ได้ ยกเว้น ส่งเดช
การชี้บ่งและการสอบกลับตามข้อ 7.5.3 ที่ว่านี้ ต้องชี้บ่งที่วัตถุดิบด้วย งานระหว่างการผลิต งานที่เสร็จแล้ว งานไม่ปกติ งานค้างสต๊อก ชี้บ่งให้หมด
เนื้อหาในป้ายชี้บ่ง อาจประกอบไปด้วย
Customer Name หรือ Supplier Name ถ้าเป็น Material
Part Name
Part Number
Production Date
Production Lot No. หรือ Bulk No.
Lot Size
Status (ผ่าน ไม่ผ่าน QC คนไหนตรวจ)
Delivery Date
ประมาณนี้แหละครับ แปลว่า ไม่ว่างานหรือสินค้าจะวางอยู่ตรงไหน ต้องสามารถบอกสถานะและรายละเอียดของมันได้ ด้วยป้ายบ่งชี้ครับ
Nukool Thanuanram
Mobile Phone: 097.954.4939
Facebook: Nukool Thanuanram
Fanpage: อาจารย์นุกูล วิทยากรสอนคนโรงงาน
LINE ID: nukool2001
E-Mail: nukool2001@gmail.com
เสือพี่เพราะป่าปก ป่ารกเพราะเสือยัง ดินเย็นเพราะหญ้าบัง และหญ้ายังเพราะดินดี "สรรพสิ่งล้วนเกื้อกูลพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน"
#5
Posted 22 September 2010 - 03:50 PM
ขอบคุณค่ะ

1 user(s) are reading this topic
0 members, 1 guests, 0 anonymous users