Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

calibration and verification ต่างกันยังไงคับ


  • This topic is locked This topic is locked
4 replies to this topic

#1 piya_i

piya_i

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 25 posts

Posted 16 July 2010 - 09:02 AM

การสอบเทียบเครื่องมือวัด และการทวนสอบเครื่องมือวัดคืออะไร ต่างกันยังไง และอันไหนมีความจำเป็นมากกว่ากันคับ

#2 suratmpt

suratmpt

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 1 posts

Posted 16 July 2010 - 09:53 AM

QUOTE(piya_i @ Jul 16 2010, 09:02 AM) <{POST_SNAPBACK}>
การสอบเทียบเครื่องมือวัด และการทวนสอบเครื่องมือวัดคืออะไร ต่างกันยังไง และอันไหนมีความจำเป็นมากกว่ากันคับ



ต่างกันในรายละเอียดของวิธีการทำ และ ผลลัพธ์สุดท้าย ตอนที่เราวิเคราะห์ว่า เครื่องมือวัดนั้น ok หรือ ไม่
ผมขอยกตัวอย่าง ง่ายๆ นะครับ สมมติว่า เรามี micrometer ใช้วัดขนาดชิ้นงาน ทุกวัน

เรากำหนดให้ พนักงาน ใช้ gauge block ขนาด 10.0000 มม confirm micrometer ก่อนใช้งานทุกเช้า
และให้พนักงานบันทึกผลลัพธ์ที่ได้ ลงบนฟอร์ม เกณฑ์การตัดสินใจ คือ ค่าที่ได้ จากการใช้ gauge block ต้องอยู่ระหว่าง 9.995-10.005 mm
( ยอมรับที่ +/- 0.005 มม)ถ้าหากว่า พนักงานพบว่า ค่าที่อ่านได้ ไม่อยู่ในช่วงดังกล่าว ให้แจ้งหัวหน้างานทันที แสดงว่า micrometer อาจจะไม่สามารถใช้งานได้ ( ก็คือ มัน error มากกว่า +/-0.005 นั่นเอง )

วิธีการแบบนี้ คือ verification หรือ เรียกว่า การทวนสอบแค่นั้น ก็คือ ใช้อุปกรณ์ที่มีความละเอียดสูงกว่า เครื่องมือวัด มายืนยัน เครื่องมือวัด
ว่า ok แค่นั้นเอง...ซึ่งในที่นี่ gauge block มีความละเอียดมากกว่า micro meter ประมาณ 10 เท่า จึงสามารถใช้ verify micro meter ได้ครับ .....

สำหรับการสอบเทียบ หรือ calibration จะไม่ได้ทำแบบนี้ ครับ จะยุ่งยาก และ ซับซ้อนกว่า ครับ วิธีการคือ
ใช้ micrometer วัดขนาด gauge block set ...แต่ว่า ไม่ได้วัดเพียงขนาดเดียว เหมือนกับ กรณี ตัวอย่าง ด้านบน วัดทั้งหมด 10 ขนาดด้วยกัน
และวัดมากกว่า หนึ่งครั้ง ด้วย........

หลังจากนั้น นำค่าที่ได้ เข้าสู่การคำนวนครับ ผมขอไม่ลงรายละเอียดในการคำนวนนะครับ เพราะ ซับซ้อนนิดนึง
แต่จะบอกว่า การคำนวน ทั้งหลายทั้งปวงนั้น ก็เพื่อที่จะ หาค่า ความไม่แน่นอนจากการวัด หรือ uncertainty และ ค่า correction หรือ บางคนเรียกว่า ค่าแก้ นั่นเอง ซึ่งในรายละเอียดต้องพิจารณา ตัวแปร ต่างๆ หลายตัว เหมือนกัน ครับ เช่น
1.ค่าจริงของ gauge block set แต่ละอัน
2.temperature และ humidity ขณะที่ทำ การสอบเทียบ
3.ค่าความสึกหรอของ gauge block และ เครื่องมือวัด ตัวนั้นๆ
4.อัตราการยืดหดตัว ของ gauge block และ เครื่องมือวัด ตัวนั้น ๆ เพราะ มันทำด้วยเหล็ก ย่อมมีการยืด และ หดตัวครับ
5.ค่าความละเอียดของ เครื่องมือวัด ตัวนั้น ๆ
6.ตอนที่เราวัด ขนาด gauge block set แต่ละอัน ( ทั้งหมดประมาณ 10 อัน) เราต้องคำนวนค่า error และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ด้วย
7.ยังมีค่าอื่นๆ ที่ต้องหาเพิ่มเติม จากนี้ อีกเล็กน้อย

หลังจากนั้น จึง เข้าสู่การคำนวนครับ................. ก็คือ นำค่า ที่ได้ตั้งแต่ ข้อ 1 ถึง ข้อ 7 ไปคำนวน ........ เพื่อหา uncertainty และ correction เมื่อได้แล้ว จึงค่อยสรุปว่า ..... เครื่องมือวัดตัวนั้นๆ เราจะสามารถยอมรับ ได้หรือไม่ ครับ.....
ถ้าหากว่า เราต้องการให้ operator ทำงานได้ง่าย เราก็เขียน สูตร ไว้ บน excel แล้วให้ operator แทนค่าลงไป .....
สิ่งสำคัญคือ เราต้องเขียนสูตรให้ถูกต้องครับ ไม่งั้น ค่าที่ได้ จะผิด ครับ.............

ระบบ ISO9001 เปิดกว้างเอาไว้ อย่างชัดเจน องค์กรเลือกได้ ว่า จะทำ verification หรือ calibration
ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับ เครื่องมือวัด การใช้งาน spec. ของ ตัวงาน เป็นต้นครับ.................


ปัจจุบัน ที่องค์กรผม ทำทั้งสองแบบ เครื่องมือวัดทีใช้ บ่อยๆ มาก ๆ ผมให้พนักงานทำ verification เพราะ มันทำได้ง่าย และ ยืนยันได้จริงว่า เครื่องมือวัด ok และ สำหรับ เครื่องมือวัดที่ ใช้งาน ไม่บ่อย ผมทำ calibration หนึ่งครั้ง ก็ cover ไปได้นานครับ.



ขอบคุณครับ
A


#3 Kreetha

Kreetha

    Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPip
  • 870 posts
  • Gender:Male

Posted 16 July 2010 - 12:54 PM

QUOTE(piya_i @ Jul 16 2010, 09:02 AM) <{POST_SNAPBACK}>
การสอบเทียบเครื่องมือวัด และการทวนสอบเครื่องมือวัดคืออะไร ต่างกันยังไง และอันไหนมีความจำเป็นมากกว่ากันคับ


การสอบเทียบและการทวนสอบมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในระบบการวัด

.........
และถ้าถามว่าต่างกันยังไง ผมขอแชร์ง่ายๆดังนี้ครับ
-การทวนสอบเป็นการเปรียบเทียบเครื่องมือวัดกับmasterที่มีความละเอียดเท่ากัน หรือmasterละเอียดกว่า
-การสอบเทียบเป็นการเปรียบเทียบเครื่องมือวัดกับmaster โดยที่masterจะต้องมีความละเอียดสูงกว่าหลายๆเท่า

งงกันรึป่าวเนี่ย ... ง่ายๆก็ประมาณนี้ล่ะครับ nemoflow.png
Oooo

#4 Sattahip

Sattahip

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 428 posts
  • Gender:Male

Posted 16 July 2010 - 06:27 PM

smiley-computer005.gif สอดคล้องกับท่านทั้งหลาย
เพียงแต่ผมใช้การ สอบเทียบเป็นหลักครับ
สำหรับการทวนสอบผมจะใช้เครื่องมือที่ผ่านการสอบเทียบ มาทวนสอบเครื่องมือที่
อยู่ในกระบวนการทำงานจริงอีกครั้ง (เฉพาะบางกระบวนการที่จำเป็นต้องดูแลเป็นพิเศษครับ !!)

#5 นุกูล

นุกูล

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 4,797 posts
  • Gender:Male

Posted 16 July 2010 - 07:11 PM

อันนี้ขอแชร์ในมุมมองของผมคนเดียวน่ะครับ
วัตถุประสงค์เหมือนกันทั้งคู่ วิธีการทำสิต่างกัน

ถ้า

วิธีการที่ทำเป็นแบบ Internaltional สอบกลับไปยังมาตรฐานนานาชาติได้ ทั่วโลกยอมรับได้ = เรียกว่า Calibration หรือ การสอบเทียบ ได้เต็มปากเต็มคำครับ ศักดิ์ศรีดีกว่า

วิธีการที่ทำเป็นแบบบ้านๆ อีสานบ้านเฮา set WI, Procedure หรือ วิธีการขึ้นมาเอง หรือ cut มาจากวิธีการที่เป็น Inter แต่เอามาไม่หมด เอามาแบบครึ่งๆ ง่ายดี เร็วดี = เรียกว่า Verification หรือ การทวนสอบครับ

แต่ ISO9001:2008 ยอมรับได้ทั้งคู่ครับ

biggrin.gif

Nukool Thanuanram
Mobile Phone: 097.954.4939

Facebook: Nukool Thanuanram

Fanpage: อาจารย์นุกูล วิทยากรสอนคนโรงงาน
LINE ID: nukool2001
E-Mail: nukool2001@gmail.com


เสือพี่เพราะป่าปก ป่ารกเพราะเสือยัง ดินเย็นเพราะหญ้าบัง และหญ้ายังเพราะดินดี "สรรพสิ่งล้วนเกื้อกูลพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน"





1 user(s) are reading this topic

0 members, 1 guests, 0 anonymous users