Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

อยากทราบวิธีกำหนดเกณฑ์การยอมรับ (Calibration)


  • This topic is locked This topic is locked
7 replies to this topic

#1 MRKAGA

MRKAGA

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 347 posts

Posted 29 August 2008 - 09:21 AM

ตอนนี้การ Audit ของ CB เข้มข้นขึ้นทุกครั้ง
ล่าสุดมีการพบว่าการกำหนดเกณฑ์การยอมรับ(ค่า error)ของที่บริษัท ยังกำหนดไว้ไม่ถูกต้อง
ซึ่งตอนนี้เจ้าคนที่เคยดูแลอยู่ก็ไม่รู้ไปอยู่ไหนแล้ว มีใครพอจะแนะนำวิธีกำหนดเกณฑ์การยอมรับให้บ้างไหมครับ
ขอบคุณล่วงหน้านะครับ

MRKAGA
Think first print later...save paper save the world.

#2

  • Guests

Posted 01 September 2008 - 09:29 AM

- ในการกำหนดเกณฑ์การยอมรับ เรื่องการควบคุมเครื่องตรวจ เครื่องวัดและเครื่องทดสอบ
ส่วนใหญ่จะกำหนดไว้ 3 แนวทาง ดังนี้
1. กำหนดจาก Spec.ของเครื่องมือวัด
2. กำหนดจากค่าที่อ่านได้ละเอียดที่สุดของเครื่องมือวัดนั้นๆ
3. กำหนดจาก Spec.ของสินค้าสำเร็จรูป (ในกรณีที่เครื่องมือวัดอ่านได้ละเอียดมากๆ)

สำหรับทั้ง 3 แนวทาง ในการเลือกนำไปปฏิบัติ ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ปฏิบัติอยู่

#3 MRKAGA

MRKAGA
  • Guests

Posted 02 September 2008 - 08:37 AM

QUOTE(ฟ้าใส @ Sep 1 2008, 09:29 AM) <{POST_SNAPBACK}>
- ในการกำหนดเกณฑ์การยอมรับ เรื่องการควบคุมเครื่องตรวจ เครื่องวัดและเครื่องทดสอบ
ส่วนใหญ่จะกำหนดไว้ 3 แนวทาง ดังนี้
1. กำหนดจาก Spec.ของเครื่องมือวัด
2. กำหนดจากค่าที่อ่านได้ละเอียดที่สุดของเครื่องมือวัดนั้นๆ
3. กำหนดจาก Spec.ของสินค้าสำเร็จรูป (ในกรณีที่เครื่องมือวัดอ่านได้ละเอียดมากๆ)

สำหรับทั้ง 3 แนวทาง ในการเลือกนำไปปฏิบัติ ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ปฏิบัติอยู่


ขอบคุณครับ แล้วขอรายละเอียดอีกสักนิดได้ไหมครับ
เช่น 2. กำหนดจากค่าที่อ่านได้ละเอียดที่สุดของเครื่องมือวัดนั้นๆ
ผมมี เวอร์เนีย (Digimatic caliper) 0-150 mm ความละเอียด 0.00 mm
ผมควรกำหนดเกณฑ์การยอมรับเท่าไร และจะอ้างอิงมาตรฐานอะไรได้บ้างครับ

ขอบคุณล่วงหน้านะครับ
MRKAGA

#4

  • Guests

Posted 02 September 2008 - 09:25 AM

- สำหรับแนวทางที่ 2 ในการกำหนดค่ายอมรับของเครื่องมือวัดในการสอบเทียบ
ส่วนใหญ่จะใช้ในกรณี ที่ไม่สามารถหาข้อมูลในการอ้างอิงได้ เช่น ไม่มีคู่มือ และไม่มีมาตรฐานอ้างอิง
ยกตัวอย่างเครื่องมือวัด เช่น ตลับเมตร ที่ใช้วัดขนาดความยาวของสิ่งของทั่วไป (เช่น ถุงบรรจุสินค้า
สำเร็จรูป (ปัจจัยการผลิต/วัตถุดิบทางอ้อม) ฯลฯ) ซึ่งตามปกติแล้ว ตลับเมตรจะอ่านได้ละเอียดที่สุด
1.0 mm.

#5 NOP

NOP

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 7 posts

Posted 08 September 2008 - 05:36 PM

- ให้ไปทบทวนที่ ISO 10012 นะครับเขาจะอธิบายไว้ชัดเจน
-
- ผมสรุปให้พอเป็นแนวทางนะครับ
- 1.ให้มี spec เครื่องมือละเอียดกว่า 10 เท่า ของ spec ชิ้นงาน หรือหากกำหนดไม่ได้ เหลือมากกว่า 3 เท่า ได้
- 2.พิจารณาค่าความไม่แน่นอนต่างประกอบด้วย
-
- ตัวอย่าง
- 1. เราจะวัดชิ้นงาน ขนาด 10 +/- 3 mm. เราเน้นที่ ค่า Tollerance ในนี้ = 3
- 2. 3 /10 = 0.3 or 3/3 = 1
- 3. เครื่องมือที่จะเลือกควรมีค่าความละเอียด น้อยกว่า 1 เป็นต้นไป หรือ ระหว่าง 0.3 - 1 mm
- 4.หากเลือกละเอียดมากกว่า 0.3 เช่น 0.05 ได้หรือป่าว ตอบว่าได้
-
- หากยังสงสัย ติดต่อได้ที่ potcharamornoi@gmail.com


#6 หมอนทอง

หมอนทอง

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 113 posts
  • Gender:Male

Posted 18 August 2009 - 09:50 AM

กำลังจะ revise calibration procedure ของบริษัทอยู่พอดีครับ
เกณฑ์ที่ผมกำหนดคือ
จะยอมรับ เมื่อ (error+uncertainty) < require accuracy (Refer to ISO14253-1:1998 ข้อ 5.2 Rule for proving conformance with specifications)

โดยผมจะกำหนดให้ค่า Require accuracy คือ MPE, Maximum permissible error และ

MPE จะอยู่ในช่วง 3 - 10 เท่าของ Product/Process Tolerance ตามความเหมาะสม (Refer to ISO10012)

ถูก/ผิด ผู้รู้ชี้แนะด้วยครับ
óç

#7 authen.srin

authen.srin

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 5 posts

Posted 26 August 2009 - 04:45 PM

ขอบคุณครับ แล้วขอรายละเอียดอีกสักนิดได้ไหมครับ
เช่น 2. กำหนดจากค่าที่อ่านได้ละเอียดที่สุดของเครื่องมือวัดนั้นๆ
ผมมี เวอร์เนีย (Digimatic caliper) 0-150 mm ความละเอียด 0.00 mm
ผมควรกำหนดเกณฑ์การยอมรับเท่าไร และจะอ้างอิงมาตรฐานอะไรได้บ้างครับ

ขอบคุณล่วงหน้านะครับ
MRKAGA
************************
การกำหนด Tolerance ของเครื่องมือวัด น่าจะแบ่งเป็น 2 ส่วนนะครับ
1.กำหนดตาม spec ของเครื่องที่ระบุมาในคู่มือการใช้งาน อย่างที่คุณMRKAGA ยกตัวอย่าง vernier ในคู่มือการใช้งานก็กำหนดเอาไว้ครับว่า Accuracy+/- เท่าไหร่ เวอร์เนีย (Digimatic caliper)Rang100/150/200 mm +/-0.02 mm.เวอร์เนีย (Digimatic caliper) Rang 300+/-0.03 mm
*วิธีนี้เขานิยมกัน แต่จะเปลืองค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องใหม่ เนื่องจาก spec แคบ ตอนมาใหม่ๆก็ใช้ได้ แต่พอใช้ไปสักพักเครื่องเก่าก็ตก spec
2.กำหนดตาม spec งานที่มีค่า spec ต่ำสุด เช่น ลูกค้าAต้องการชิ้นงาน 100+/-0.5 mm. ลูกค้าBต้องการชิ้นงาน 100+/-0.2 mm. คุณก็ต้องนำ spec ของลูกค้า B มาเป็นเกณฑ์ แล้วหารด้วย 3-10 เท่า แล้วแต่ว่าบริษัทมีเงินซื้อเครื่องมือที่มีความละเอียดสูงๆรึเปล่า 555 แต่ผมเลือกที่ 5 เท่า ก็จะได้
0.2/5=0.04 mm เพราะฉนั้น vernier ก็จะต้องมีค่า Tolerance ไม่เกิน +/-0.04 mm เพือป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่เครื่องมือ Out tolerance ในระหว่างใช้งาน จะได้ไม่กระทบกับ product. และอีกอย่างต้องดู Resolution ของเครืองด้วยนะจ๊ะ ( D.vernier จะมี resolution 0.01/0.02 )เนื่องจากว่าเวลาสอบเทียบ จะได้ไม่มีปัญหา ผ่านตลอด
*สรุปแล้ว Tolerance ของเครื่องมือต้องแคบกว่า spec ของงานอย่างน้อย 3-10 เท่า (คุ้นๆไหม)

#8 authen.srin

authen.srin

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 5 posts

Posted 26 August 2009 - 04:45 PM

ขอบคุณครับ แล้วขอรายละเอียดอีกสักนิดได้ไหมครับ
เช่น 2. กำหนดจากค่าที่อ่านได้ละเอียดที่สุดของเครื่องมือวัดนั้นๆ
ผมมี เวอร์เนีย (Digimatic caliper) 0-150 mm ความละเอียด 0.00 mm
ผมควรกำหนดเกณฑ์การยอมรับเท่าไร และจะอ้างอิงมาตรฐานอะไรได้บ้างครับ

ขอบคุณล่วงหน้านะครับ
MRKAGA
************************
การกำหนด Tolerance ของเครื่องมือวัด น่าจะแบ่งเป็น 2 ส่วนนะครับ
1.กำหนดตาม spec ของเครื่องที่ระบุมาในคู่มือการใช้งาน อย่างที่คุณMRKAGA ยกตัวอย่าง vernier ในคู่มือการใช้งานก็กำหนดเอาไว้ครับว่า Accuracy+/- เท่าไหร่ เวอร์เนีย (Digimatic caliper)Rang100/150/200 mm +/-0.02 mm.เวอร์เนีย (Digimatic caliper) Rang 300+/-0.03 mm
*วิธีนี้เขานิยมกัน แต่จะเปลืองค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องใหม่ เนื่องจาก spec แคบ ตอนมาใหม่ๆก็ใช้ได้ แต่พอใช้ไปสักพักเครื่องเก่าก็ตก spec
2.กำหนดตาม spec งานที่มีค่า spec ต่ำสุด เช่น ลูกค้าAต้องการชิ้นงาน 100+/-0.5 mm. ลูกค้าBต้องการชิ้นงาน 100+/-0.2 mm. คุณก็ต้องนำ spec ของลูกค้า B มาเป็นเกณฑ์ แล้วหารด้วย 3-10 เท่า แล้วแต่ว่าบริษัทมีเงินซื้อเครื่องมือที่มีความละเอียดสูงๆรึเปล่า 555 แต่ผมเลือกที่ 5 เท่า ก็จะได้
0.2/5=0.04 mm เพราะฉนั้น vernier ก็จะต้องมีค่า Tolerance ไม่เกิน +/-0.04 mm เพือป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่เครื่องมือ Out tolerance ในระหว่างใช้งาน จะได้ไม่กระทบกับ product. และอีกอย่างต้องดู Resolution ของเครืองด้วยนะจ๊ะ ( D.vernier จะมี resolution 0.01/0.02 )เนื่องจากว่าเวลาสอบเทียบ จะได้ไม่มีปัญหา ผ่านตลอด
*สรุปแล้ว Tolerance ของเครื่องมือต้องแคบกว่า spec ของงานอย่างน้อย 3-10 เท่า (คุ้นๆไหม)




0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users