Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

ขอขั้นตอนการดำเนินงานการถอนคืนผลิตภัณฑ์ (withdrawal)


  • This topic is locked This topic is locked
No replies to this topic

#1 karat

karat

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 2 posts

Posted 09 June 2010 - 08:51 PM

เรื่องการถอดถอน / เรียกคืนผลิตภัณฑ์นี้ เป็นเรื่องของ ความรับผิดชอบของผู้ประกอบธุรกิจ (Responsibilities for food safety food businesses) ด้วยหลักการที่ว่าผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้ประกอบการ จะต้องมั่นใจว่าภายใต้การควบคุมดูแลของตนนั้น ทุกขั้นตอนการผลิตและการจำหน่ายอาหารสอดคล้องกับกฎข้อบังคับอาหารที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยของอาหาร ซึ่งจะต้องแจ้งทัันทีที่มีข้อสงสัยว่าสินค้าอาหารของตนที่วางจำหน่าย มีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายต่อสุขอนามัยของผู้บริโภครวมทั้งการให้ความร่วมมือด้วยในก
รณีที่มีการร้องขอข้อมูล

ขั้นตอนโดยรวมที่ซึ่งผู้ประกอบการควรกระทำในการถอดถอน/เรียกคืนคือในกรณีที่มีความสงสัยว่าสินค้าดังกล่าวมิได้มีการผลิต แปรรูปหรือการจัดจำหน่ายที่สอดคล้องกับข้อกำหนดความปลอดภัยของอาหาร ขั้นตอนที่ซึ่งผู้ประกอบการควรจะต้องทำมีดังนี้

1) ใช้ขั้นตอนการถอดถอน (withdrawal) สินค้าอาหารที่ต้องสงสัยออกจากตลาด

2) แจ้งข้อมูลเหตุผลการถอดถอนสินค้าฯให้ผู้บริโภคทราบ และหากจำเป็นต้องเรียกคืน (recall) สินค้าฯจากผู้บริโภค

3) ให้ความร่วมมือโดยการให้ข้อมูลและดำเนินการจำเป็นที่เกี่ยวข้องในการสอบย้อนอาหารกับ
ผู้ทีเกี่ยวข้องและภาครัฐ

ทำไมเราจึงรู้สึกว่าคำว่า ถอดถอน(withdrawal) ร้ายแรงกว่า เรียกคืน(recall) มาดูข่าวกัน ........

" เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2548 หน่วยงานตรวจสอบมาตรฐานสินค้าอาหารของอังกฤษ (Food Standard Agency: FSA) แจ้งว่าได้พบการปนเปื้อนสารย้อมสีต้องห้าม Para Red ในอาหารหลายประเภท เช่น ซอสปรุงรส เครื่องเทศ เครื่องแกง ขนมขบเคี้ยว พิซซ่าแช่แข็ง ฯลฯ ทั้งหมดรวม 69 รายการ ซึ่งสหภาพยุโรป (อียู) ได้ประกาศห้ามใช้สารดังกล่าวในอาหารเมื่อปี 2538 เนื่องจากพบว่าเป็นสารที่มีความเสี่ยงว่าจะก่อมะเร็ง แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าการรับสารปริมาณเท่าใดจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค อย่างไรก็ดี ทางหน่วยงาน FSA และคณะกรรมาธิการยุโรปได้ร่วมมือกันหาแนวทางที่จะรับมือกับปัญหานี้ โดยขอให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการบริโภคสินค้าอาหารดังกล่าว หรือส่งคืนผู้จำหน่ายเพื่อทำลายต่อไปทั้งนี้ ปัจจุบันยังไม่มีการตรวจพบสินค้าอาหารของไทยที่ปนเปื้อนสารย้อมสี Para Red
เอกสารเผยแพร่ของคณะกรรมาธิการยุโรป ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2548 แจ้งว่า สำหรับอาหารที่มีส่วนผสมเครื่องเทศจะต้องถูกถอดถอนออกจากตลาดหากมีปริมาณสารย้อมสีต้
องห้ามปนเปื้อนเกิน 0.5-1 mg/kg คณะกรรมาธิการยุโรปได้ขอให้ประเทศสมาชิกอียูดำเนินการตรวจสอบต่อไป และในกรณีที่ตรวจพบขอให้แจ้งด้วยระบบเตือนภัยเร่งด่วนสำหรับอาหารมนุษย์และอาหารสัตว
์ (Rapid Alert System for Food and Feed RASFF)" ที่มา Midday Express of 2005-05-11 (Website www.europa.eu.int)

เมื่อเราพบคำว่า "ถอดถอนผลิตภัณฑ์จากตลาด" มักเป็นเรื่องที่มาจากภาครัฐและจากการลงข่าวหนังสือพิมพ์ ..... เมื่อมาจากภาครัฐ มักเป็นข่าวใหญ่โต จึงทำให้ดูเหมือนว่ามาตรการ ถอดถอน(withdrawal) ร้ายแรงกว่า เรียกคืน(recall) ซึ่งที่จริงกลับกัน




1 user(s) are reading this topic

0 members, 1 guests, 0 anonymous users