Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

รบกวนขอข้อกำหนดของ Halal ครับผม


  • This topic is locked This topic is locked
3 replies to this topic

#1 masueoh

masueoh

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 21 posts

Posted 09 April 2010 - 09:32 AM

ผู้ใดพอจะมีข้อกำหนดของ Halal ที่เป็นภาษาไทย (ยิ่งดี) หรืออังกฤษก็ได้ ขอความช่วยเหลือด้วยนะครับ

หรือหากท่านกรุณา ส่งทาง mail ของผม masueoh_copy@yahoo.com ก็ได้ครับ

ขอขอบพระคุณมากครับ

(ข้อมูลที่ได้จะเอาไปสำหรับทำการศึกษาข้อมูลและนำไปสนับสนุนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับร
ะบบคุณภาพอื่น ๆ ในโรงงานครับ) smiley-signs003.gif

#2 Suppadej

Suppadej

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,607 posts
  • Gender:Male

Posted 09 April 2010 - 10:02 AM

มีมาให้ 2 มาตรฐาน คือ

1. มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.8400-2550 อาหารฮาลาล) (ตาม File แนบ)


2. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก. 1701-2541 ข้อแนะนำทั่วไปสำหรับการใช้คำ "ฮาลาล")


ถ้าต้องการมาตรฐานนี้ที่เป็นฉบับ Hard copy ก็ไปที่ สมอ. แจ้งรายละเอียดของมาตรฐานนี้ตาม Link นี้

มอก. 1701-2541 ข้อแนะนำทั่วไปสำหรับการใช้คำ "ฮาลาล"

รายละเอียดของ มอก. นี้

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 1701-2541 รับเอกสาร Codex Alimentarius: General Guideline for use of the Term "Halal" (CAC GL-24/1997) มาใช้ในระดับเหมือนกันทุกประการ (Identical) โดยใช้ Codex Alimentairus ดังกล่าวฉบับภาษาอังกฤษเป็นหลัก

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมฉบับนี้ กำหนดข้อเสนอแนะทั่วไป และมาตรฐานในการดำเนินการสำหรับการใช้คำ "ฮาลาล" (Halal) หรือคำอื่นที่เทียบเท่าเพื่ออวดอ้างบนฉลากอาหาร ตามที่กำหนดในมาตรฐานทั่วไปสำหรับการแสดงฉลากของอาหารบรรจุหีบห่อ (General Standard for the labeling of Prepackaged Foods) และรวมถึงการใช้เครื่องหมายการค้าชื่อยี่ห้อและชื่อทางธุรกิจ และใช้เป็นส่วนเสริมของร่างข้อแนะนำทั่วไปสำหรับการอวดอ้างฉบับแก้ไข (Draft Revision of Codex General Guidelines on Claims) แต่ไม่สามารถใช้แทนข้อห้ามใดๆ ในร่างข้อแนะนำดังกล่าว ข้อแนะนำนี้ได้รับการรับรองแล้ว จากคณะกรรมมาธิการโครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex Alimentarius Commission) การนำข้อแนะนำนี้ไปใช้ปฏิบัติและการออกใบรับรองโดยประเทศผู้ส่งออก ควรได้รับการยอมรับในหลักการจากประเทศผู้นำเข้า เกี่ยวกับการใช้คำ "ฮาลาล" บนฉลากอาหารที่ได้ปฏิบัติตามข้อแนะนำนี้

ข้อแนะนำทั่วไปสำหรับการใช้คำ "ฮาลาล"

คณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ ( Codex Alimentarius Commission) ยอมรับว่าอาจมีความแตกต่างเล็กน้อยทางด้านความคิดในการแปลความหมายของสัตว์ที่ฆ่าถูก
กฎ และ สัตว์ที่ฆ่าไม่ถูกกฎตามกฎหมายว่าด้วยการฆ่าสัตว์ของศาสนาอิสลาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างด้านแนวคิดของสำนักคิดทางศาสนาอิสลาม (Islamic Schools of Thought) ดังนั้นข้อแนะนำทั่วไปเหล่านี้ จะขึ้นอยู่กับการตีความของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของประเทศผู้นำเข้า อย่างไรก็ตามใบรับรองที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม (religious authorities) ของประเทศผู้ส่งออก ควรได้รับการยอมรับในหลักการจากประเทศผู้นำเข้า เว้นแต่ประเทศผู้นำเข้าให้เหตุผลความจำเป็นสำหรับความต้องการเฉพาะอย่างอื่น





1. ขอบข่าย

1. ข้อแนะนำนี้นำเสนอมาตรการในการดำเนินการสำหรับการใช้คำ ฮาลาล (Halal) อวดอ้าง (Claim) บนฉลากอาหาร

2. ข้อแนะนำนี้ใช้ปฏิบัติสำหรับใช้คำ ฮาลาล และคำอื่นที่เทียบเท่า ในการอวดอ้างตามที่กำหนดในมาตรฐานทั่วไปสำหรับการแสดงฉลากของอาหารบรรจุหีบห่อ (General Standard for the Labelling of Prepackaged Foods) และรวมถึงการใช้เครื่องหมายการค้า ชื่อยี่ห้อและชื่อทางด้านธุรกิจ
3. ข้อแนะนำนี้ต้องการให้เป็นส่วนเสริมของร่างข้อแนะนำทั่วไปสำหรับการอวดอ้างฉบับแก้ไข (Draft Revision of the Codex General Guidelines on Claims) และไม่สามารถใช้แทนข้อห้ามใดๆ ในร่างข้อแนะนำดังกล่าว
2. คำนิยาม

อาหารฮาลาล (Halal Food) หมายถึง อาหารที่ได้รับอนุญาตตามบทบัญญัติศาสนาอิสลาม และควรมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังนี้

1. ไม่ประกอบด้วยหรือไม่บรรจุสิ่งใดที่ไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติศาสนาอิสลาม
2. ต้องไม่ถูกเตรียม แปรรูป ขนส่ง หรือเก็บรักษา โดยใช้เครื่องมือหรือสิ่งอุปกรณ์ที่ไม่ได้ปลอดจากสิ่งผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม
3. ต้องไม่อยู่ในขั้นตอนการเตรียม การแปรรูป การขนส่ง หรือการเก็บรักษา โดยสัมผัสโดยตรงกับอาหารที่ไม่ถูกเกณฑ์ข้อ 1. และ 2. นอกจากข้อ 1 ข้างต้น
อาหารฮาลาล สามารถเตรียม แปรรูป หรือเก็บรักษา

1. ในบริเวณที่แยกออกจากกัน หรือสายการผลิตที่แยกจากกัน ภายในสถานที่ผลิตเดียวกันกับการผลิตอาหารที่ไม่เป็นฮาลาล จัดหามาตรการที่จำเป็นที่ควรดำเนินการเพื่อป้องกันการสัมผัสกันระหว่างอาหารฮาลาลกับ
อาหารที่ไม่ใช่ฮาลาล

2. โดยใช้อุปกรณ์ที่ผ่านการใช้กับอาหารที่ไม่ใช่ฮาลาล โดยจัดหาวิธีการล้างทำความสะอาดที่เหมาะสมตามข้อกำหนดของศาสนาอิสลามที่สามารถสังเกต
เห็นได้
3. เกณฑ์กำหนดสำหรับการใช้คำฮาลาล
อาหารที่ถูกต้องตามกฎ
คำ ฮาลาล จะใช้สำหรับอาหารที่ได้พิจารณาแล้วว่าถูกต้องตามกฎ ภายใต้บทบัญญัติศาสนาอิสลามจะถือว่าแหล่งอาหารทั้งหมดถูกต้องตามกฎ ยกเว้นแหล่งอาหารต่อไปนี้ รวมทั้งผลิตภัณฑ์และสิ่งที่ได้จากแหล่งอาหารดังกล่าว ซึ่งได้รับการพิจารณาว่า ไม่ถูกต้องตามกฎ

1. อาหารที่ได้จากสัตว์
o หมูและหมูป่าo สุนัข งู และลิงo สัตว์กินเนื้อเป็นอาหารที่มีเขี้ยวและกรงเล็บ เช่น สิงโต เสือ หมี และสัตว์อื่นที่คล้ายกันo นกกินเหยื่อที่มีกรงเล็บ เช่น นกอินทรี นกแร้ง และนกที่คล้ายกันอื่นๆo สัตว์ทำลาย เช่น หนู ตะขาบ แมลงป่อง และสัตว์ที่คล้ายกันอื่นๆo สัตว์ที่ห้ามฆ่าในศาสนาอิสลาม เช่น มด ผึ้ง และนกหัวขวานo สัตว์ที่น่ารังเกียจโดยทั่วไป เช่นเห็บ หมัด ไร เหา แมลงวัน หนอน และสัตว์ที่คล้ายกันอื่นๆo สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ จระเข้ และสัตว์ที่คล้ายกันอื่นๆo ล่อ และลาที่เป็นสัตว์เลี้ยงo สัตว์น้ำที่มีพิษและเป็นอันตรายทุกชนิดo สัตว์อื่นๆ ที่ไม่ได้ฆ่าถูกต้องตามกฎศาสนาอิสลามo เลือด (โลหิต)
2. อาหารที่ได้จากพืช
พืชที่มีพิษและเป็นอันตราย ยกเว้นเมื่อสารพิษและอันตรายได้ถูกกำจัดออกระหว่างกระบวนการผลิตแล้ว

3. เครื่องดื่ม
o เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์o เครื่องดื่มทุกชนิดที่มีพิษและอันตราย
4. วัตถุเจือปนอาหาร
วัตถุเจือปนอาหารมีที่มาจากทั้ง 3 แหล่ง คือ สัตว์ พืช และเครื่องดื่มข้างต้น


วิธีการฆ่าสัตว์
สัตว์บกที่ฆ่าถูกต้องตามกฎศาสนาอิสลาม การฆ่าควรต้องดำเนินการให้เป็นตามข้อกำหนดสุขลักษณะที่ดีของเนื้อสดที่โคเด็กซ์แนะนำ (Codex Recommended Code of Hygienic Practice for Fresh Meat) และตามข้อกำหนดต่อไปนี้
1. คนฆ่าสัตว์ ควรต้องเป็นมุสลิม ผู้ยึดมั่นในหลักการศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด และมีความรู้ในวิธีการฆ่าสัตว์ตามหลักของศาสนาอิสลาม

2. สัตว์ที่ถูกฆ่า
· ควรถูกต้องตามกฎของศาสนาอิสลาม· ควรเป็นสัตว์ที่ยังมีชีวิต หรือเชื่อว่ายังมีชีวิต ณ เวลาที่ฆ่าสัตว์นั้น· ก่อนที่จะฆ่าสัตว์แต่ละตัวควรต้องกล่าวคำว่า "บิสมิลล่า" (ในนามของอัลเลาะฮ์พระผู้เป็นเจ้า) อย่างทันทีทันใด
3. อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการฆ่า ควรต้องมีความคม และไม่ยกออกจากตัวสัตว์ในระหว่างการฆ่า4. การฆ่า ควรต้องตัดหลอดลม หลอดอาหาร เส้นเลือดแดงใหญ่ และเส้นเลือดดำใหญ่ที่คอให้ขาด5. การเตรียม การผลิต การบรรจุหีบห่อ การขนส่งและการเก็บรักษา
อาหารทุกชนิดควรเตรียม แปรรูป บรรจุหีบ ขนส่ง และเก็บรักษาในลักษณะที่เป็นไปตามข้อกำหนดของคำนิยามข้างต้น และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหารของโคเด็กซ์ (Codex General Principles on Food Hygienic) และมาตรฐานอาหารของโคเด็กซ์เรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง

4. ความต้องการเพิ่มเติมในเรื่องฉลาก
1. เมื่ออวดอ้างว่าอาหารเป็นฮาลาล คำว่าฮาลาล หรือคำที่เทียบเท่า ควรปรากฏบนฉลากอาหาร
2. ตามร่างข้อแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับการอวดอ้างบนฉลาก ฉบับแก้ไข (Draft Revision of the Codex General Guidelines on Claims) การอวดอ้าง ฮาลาล ไม่ควรใช้ในทางที่อาจทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารที่คล้ายคลึงกัน หรืออวดอ้างว่าอาหารฮาลาลมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่า หรือมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารชนิดอื่นๆ


Attached Files


"ในโลกนี้ไม่มีคนแปลกหน้าสำหรับเรา มีแต่เพื่อนที่เรายังไม่ได้พบกันเท่านั้น" E-mail suppadej@gmail.com

#3 Suppadej

Suppadej

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,607 posts
  • Gender:Male

Posted 09 April 2010 - 10:49 AM

เพิ่มอีกนิด
มาตรฐาน HALAL VS มาตรฐานอาหารทั่วไป


"ในโลกนี้ไม่มีคนแปลกหน้าสำหรับเรา มีแต่เพื่อนที่เรายังไม่ได้พบกันเท่านั้น" E-mail suppadej@gmail.com

#4 masueoh

masueoh

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 21 posts

Posted 09 April 2010 - 10:52 AM

ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งคร้าบบ เว็บนี้เป็นเว็บที่อบอุ่นสำหรับชาวระบบมาตรฐานจริง ๆ




0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users