ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

การป้องกันเครื่องมือวัด
Started by
chem
, Apr 01 2010 04:14 PM
5 replies to this topic
#1
Posted 01 April 2010 - 04:14 PM
รบกวนช่วยด้วยคะ พอดีไม่เข้าใจหลังจากทำการสอบเทียบเครื่องมือวัดแล้ว เราจะมีวิธีป้องกันอย่างไรเพื่อมิให้เครื่องมือดังกล่าวถูกปรับแต่ง ใครพอทราบช่วยแนะนำหน่อยคะ
#2
Posted 01 April 2010 - 05:16 PM
เห็นเขาติด sticker ค่ะ
#3
Posted 01 April 2010 - 08:44 PM
QUOTE(chem @ Apr 1 2010, 04:14 PM) <{POST_SNAPBACK}>
รบกวนช่วยด้วยคะ พอดีไม่เข้าใจหลังจากทำการสอบเทียบเครื่องมือวัดแล้ว เราจะมีวิธีป้องกันอย่างไรเพื่อมิให้เครื่องมือดังกล่าวถูกปรับแต่ง ใครพอทราบช่วยแนะนำหน่อยคะ
เรื่องนี้มาตรฐานเขาบอกว่า
นอกจากเราจะต้องควบคุมเครื่องมือวัด ด้วยการสอบเทียบ หรือการทวนสอบเครื่องมือแล้ว เราต้องมีการควบคุมด้วยวิธีการอื่นๆควบคู่ไปด้วยน่ะ เช่น
การป้องกันการปรับแต่งโดยไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้อง คำถามคือ ป้องกันใครล่ะ ก็ป้องกันผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่มีอำนาจ ไม่มีความรู้ ไม่มีทักษะไง ก็ User คนใช้งานนั่นแหละ
แต่คนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมเครื่องมือวัด (Calibrator) เราคงไม่ว่าเขาหรอก
ทีนี้มาดูวิธีการป้องกันการปรับแต่งกัน แต่ก่อนจะดูวิธีการป้องกัน เราต้องรู้ก่อนว่าเจ้าเครื่องมือตัวนี้ มันสามารถปรับแต่งได้ด้วยวิธีการใดบ้าง ยกตัวอย่างเช่น
Vernier สามารถปรับแต่งโดยการปรับความโค้งของแผ่นทองแดง โดยการคลายสกรูด้านบน เอาแผ่นทองแดงออกมาบิด ดัด ตัด หรือ เสริม
ดังนั้นวิธีการป้องกันเราอาจทำได้หลายวิธี เช่น
ไม่ให้ User มีไขควงไว้ในการใช้งาน
ใช้สติกเกอร์ปิดทับบนสกรู ใครแกะถือว่าละเมิดสิทธิ์ ถือว่าการรับรองเครื่องมือของเราได้สิ้นสุดลงแล้ว เหมือนตอนซื้อคอมพิวเตอร์ไงครับ แกะสติกเกอร์ปุ๊บประกันหมดปั๊บ
ใช้กาวตราช้างหยอดให้มันติดแน่นไปเลย ... อันนี้ไม่แนะนำครับ สุดท้ายเราเองที่จะเศร้าตอนทีจำเป็นต้องปรับมันจริงๆ
ใช้ข้าวเหนียวบี้ๆๆ ให้เหนียวเป็นกาวแล้วทาแปะลงไปตรงสกรู รอให้ข้าวเหนียวแข็งตัว 555 อันนี้อำเฉยๆครับ หรือ
ป้องกันโดยการให้ความรู้กับ User ก็ได้ครับ บอกให้เขารู้ถึงความสำคัญ ผลกระทบจากการปรับแต่ง กฏกติการ ข้อห้าม หรือแม้แต่ บทลงโทษ ก็คงต้องว่ากันไปครับ
เห็นคุณถามเรื่องเครื่องชั่งมา อาจใช้วิธีการหลังสุดก็ได้ครับ เพราะยิ่งถ้าเป็นเครื่องชั่งแบบ Digital มันมีระบบ Zero Set ที่จำเป็นต้องปรับทุกๆการใช้งานอยู่
คงต้องไป Focus เรื่อง Training เรื่อง Awareness ของ User ครับ ว่าต้องใช้งานมันตาม WI ที่ทำให้ อะไรประมาณนี้ครับ
แต่ถ้าเป็นเครื่องชั่ง สมัยเรือสำเภา หมายถึง เป็นเครื่องชั่งแบบคาน (หลักการทำงานเหมือนเครื่องชั่งในตลาดสดสนามเป้า) เราสามารถป้องกันได้
ด้วยการหาวัสดุมารองใต้ถาด ป้องกันไม่ให้ใครสามารถกดทับให้สปริงอ่อน หรือดึงขึ้นเพื่อให้มันดูเหมือนแข็งขึ้นได้
หลักการเหมือนการล๊อครถครับ ล๊อดไว้ ดามไว้ เหยียบยังไงก็ไม่ลง

Nukool Thanuanram
Mobile Phone: 097.954.4939
Facebook: Nukool Thanuanram
Fanpage: อาจารย์นุกูล วิทยากรสอนคนโรงงาน
LINE ID: nukool2001
E-Mail: nukool2001@gmail.com
เสือพี่เพราะป่าปก ป่ารกเพราะเสือยัง ดินเย็นเพราะหญ้าบัง และหญ้ายังเพราะดินดี "สรรพสิ่งล้วนเกื้อกูลพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน"
#4
Posted 02 April 2010 - 03:31 PM
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำคะ
#5
Posted 03 April 2010 - 07:01 AM

- สำหรับเขียนเพิ่มเติมใน QP การควบคุมเครื่องมือวัด ครับ....
"5.6 กรณีมีปุ่มใดๆของเครื่องมือวัดที่สามารถปรับแต่งได้แล้วทำให้ผลการสอบเทียบเปลี่ยนไป จะต้องปิดป้ายชี้บ่ง ห้ามปรับเปลี่ยน
5.7 การเคลื่อนย้าย จัดเก็บ ดูแลรักษา ให้ปฏิบัติอย่างระมัดระวัง ป้องกันความเสียหาย และความผิดพลาดจากค่าวัดที่อาจเกิดขึ้นได้ และมีผลทำให้ค่าความเที่ยงตรงเปลี่ยนไป"
#6
Posted 03 April 2010 - 11:51 AM
-ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ พอดีทำงานด้านควบคุมเครื่องมือวัดอยูพอดี
2 user(s) are reading this topic
0 members, 2 guests, 0 anonymous users