Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

NC Product ของงานระบบบริหารงานบุคคล คืออะไร (งานบริการ)


  • This topic is locked This topic is locked
6 replies to this topic

#1 KooK-Kook

KooK-Kook

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 3 posts

Posted 29 March 2010 - 11:56 PM

หน่วยงานขอการรับรองระบบบริหารงานบุคคลทั้งกระบวนการ ขอมาหลายปีแล้ว แต่หลักฐานเรื่อง NC Product ไม่เคยเกิดขึ้นเลย
เนื่องจากเป็นงานบริการ จึงเป็นเรื่องยากที่จะนิยามว่าอะไรคือ NC Product ท่านใดมีความรู้เรื่องนี้ขอคำแนะนำด้วยนะคะ
ตอนนี้เถียงกันไปหลายประเด็น หน้าดำ หน้าแดง แต่ไม่มีผู้รู้จริงสักคน เลยคิดว่าที่นี่น่าจะมีทางออกบ้างหละ ขอบคุณล่วงหน้านะคะสำหรับคำตอบ

#2 iso_man

iso_man

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 5,136 posts
  • Gender:Male

Posted 30 March 2010 - 09:09 AM

ถ้าเปลี่ยนจาก product เป็น service ละครับพอมองภาพอออกไหม เพราะ ISO จะพูดสองเรื่องคือผลิตภัณฑ์และบริการ ดังนั้นถ้างานคุณคือบริการ NC เกิดขึ้นก็มาจากความบกพร่องของการบริการที่ไม่เป็นไปตามที่ลูกค้าต้องการ หรือ ข้อกำหนดองค์กรที่ระบุให้ต้องปฏิบัติกับลูกค้าอย่างไร พอยกการบริการให้ชัดกว่านี้ได้ไหมครับ เพราะคำว่าระบบบริหารงานบุคคลประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ถ้าจะให้เห็นภาพก็งาน CB แหระครับ อันนั้นก็งานบริการรับรองระบบคล้ายๆกัน คือต้องมีหลักฐานการเข้าตรวจ การสรุป และการติดตามการแก้ไขปัญหาของลูกค้า รวมถึง CB ต้องมีความสามารถ ความรู้ ประสบการณ์ตามเกณฑ์ที่ UKAS กำหนด (อันนี้คือผลิตภัณฑ์ของ CB ครับ) ลองท่านอื่นมาแชร์เพิ่มก็ได้ครับ ผมอาจมองผิดก็ได้
การมีความรู้ มาจากการเรียนรู้ และปฏิบัติ หากเรียนอย่างเดียวไม่ปฏิบัีติก็เรียกว่ารุ้ไม่จริง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ chatriwat@hotmail.com
Facebook: poppithai
Tel:089-6834451

#3 Chatchy

Chatchy

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 186 posts
  • Gender:Male
  • Location:-
  • Interests:-

Posted 30 March 2010 - 09:53 AM

เหมือนที่ผมทำอยู่เลยครับ
ส่วนใหญ่เป็นงานด้านการบริการ
ดังนั้นจึงมองเป็นลักษณะของการให้บริการมากกว่า Product ครับ
อาจจะมองเกี่ยวกับด้านการวัดความพึงพอใจอ่ะครับ

#4 Kreetha

Kreetha

    Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPip
  • 870 posts
  • Gender:Male

Posted 30 March 2010 - 10:21 AM

QUOTE(iso_man @ Mar 30 2010, 09:09 AM) <{POST_SNAPBACK}>
ถ้าเปลี่ยนจาก product เป็น service ละครับพอมองภาพอออกไหม เพราะ ISO จะพูดสองเรื่องคือผลิตภัณฑ์และบริการ ดังนั้นถ้างานคุณคือบริการ NC เกิดขึ้นก็มาจากความบกพร่องของการบริการที่ไม่เป็นไปตามที่ลูกค้าต้องการ หรือ ข้อกำหนดองค์กรที่ระบุให้ต้องปฏิบัติกับลูกค้าอย่างไร พอยกการบริการให้ชัดกว่านี้ได้ไหมครับ เพราะคำว่าระบบบริหารงานบุคคลประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ถ้าจะให้เห็นภาพก็งาน CB แหระครับ อันนั้นก็งานบริการรับรองระบบคล้ายๆกัน คือต้องมีหลักฐานการเข้าตรวจ การสรุป และการติดตามการแก้ไขปัญหาของลูกค้า รวมถึง CB ต้องมีความสามารถ ความรู้ ประสบการณ์ตามเกณฑ์ที่ UKAS กำหนด (อันนี้คือผลิตภัณฑ์ของ CB ครับ) ลองท่านอื่นมาแชร์เพิ่มก็ได้ครับ ผมอาจมองผิดก็ได้


smiley-signs007.gif ใช่ครับผมเห็นด้วยกับความเห็นของพี่ป้อป คือ ให้มองว่า ผลิตภัณฑ์ของคุณก็คือการบริการ
ฉะนั้น NC Product ของคุณก็น่าจะหมายถึง ความไม่สอดคล้องต่อข้อกำหนดต่างๆในเรื่องของการบริการ
laugh.gif
Oooo

#5 Old man

Old man

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 432 posts
  • Gender:Male
  • Interests:No Action , Talk Only.

Posted 30 March 2010 - 10:27 AM

บริษัทคุณ มีภาระกิจ พันธกิจ ที่เผยแพรไว้ดังนี้
http://www.siamcemen...h/06career_scg/

เครือซิเมนต์ไทย (เอสซีจี) ถือว่าการพัฒนาบุคลากรคือการลงทุนระยะยาวที่จะส่งผลต่อความสำเร็จ และ
สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร จึงได้ จัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การเจริญ เติบโตของ
องค์กรด้วยรูปแบบหลากหลาย อาทิ สนับสนุนให้มีการถ่ายทอด Best Practices ของสาขาวิชาชีพต่างๆ
ระหว่างบริษัทในเครือซิเมนต์ไทย (เอสซีจี) โดยจัดกิจกรรมเป็นประจำตลอดทั้งปี และรวบรวมองค์ความรู้เหล่านั้น
ไว้ ในระบบบริหารความรู้ของเครือฯ (Knowledge Management) ด้านการฝึกอบรมพนักงานมีการปรับปรุง
หลักสูตรฝึกอบรมให้ทันสมัยอยู่เสมอ มีการให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาโท แก่พนักงานเพื่อพัฒนา
และสร้างพนักงานที่มีความรู้ ความสามารถจากภายในเอง

รวมทั้งจัดให้มีการดูงานและการโยกย้ายงานเพื่อพัฒนาความสามารถ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้แนวคิด 'การบริหาร
สมรรถนะความสามารถ' (Competency-Based Management) เพื่อให้การจัดการทรัพยากรบุคคลมีความชัดเจน
ต่อเนื่อง และสนับสนุนความสำเร็จ ตามกลยุทธ์ขององค์กรมากขึ้นรวมทั้งยังมีการสร้างเครือข่ายกับสถาบัน
การศึกษาและสถาบันวิจัยระดับโลก เพื่อผลักดันให้บุคลากร ของเครือซิเมนต์ไทย (เอสซีจี)ให้มีความรู้ความ
สามารถในระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรม ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคอาเซียน


การบริหารทรัพยากรบุคคล ของ
เครือซิเมนต์ไทย (เอสซีจี) ได้รับการยอมรับจาก สถาบันต่างๆ ด้วยดีเสมอมา ดังเห็นได้จากรางวัลและมาตรฐาน
ต่างๆ รวมทั้งเป็นบริษัทแรกของประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 2000
ด้านการบุคคลอีกด้วย แต่รางวัลและการยอมรับต่างๆ คงไม่สำคัญเท่ากับการมีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ
ทั้งด้านความรู้ ความสามารถ และคุณธรรมอยู่ในระดับแนวหน้า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเป็น แรงขับเคลื่อน
และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในโลกการแข่งขันที่ไม่หยุดนิ่ง

...........................
ความเห็น

เดาว่า product requirement บริษัทคุณ คือ คนที่ได้พัฒนาขึ้น คนที่เก่งขึ้น คนที่มีความสามารถมากขึ้น คนที่มีคุณธรรมชั้นแนวหน้า การสร้างคน พัฒนาคน อบรมคน เตรียมคน ให้พร้อม พอเพีบงตามกรอบกลยุทธของกลุ่ม

ดังนั้น Non conformance product คือ คนที่ยังไม่ได้ตามมาตรฐาน SCG..

ข้อกำหนด iso9001 ระบุอย่างนี้

8.3 การควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

องค์กรต้องทำให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ได้รับการชี้บ่ง และควบคุม เพื่อป้องกันการนำไปใช้ หรือ ส่งมอบโดยมิได้ตั้งใจ

แปลความข้อกำหนดสำหรับคุณ คือ คนที่ยังไม่ได้ตามมาตรฐาน ความรู้ยังไม่ได้ตามมาตรฐาน ทักษะยังไม่ได้ตามมาตรฐาน ศีลธรรมยังไม่ได้ตามมาตรฐาน ต้องกักกัน ห้ามปล่อยผ่าน จากองค์กรคุณไป ต้องขับเคี่ยว

ยกตัวอย่าง
ง่ายๆ กรณีอบรม
เราอบรมให้มีความรู้
วิธีการหนึ่งในการวัดสอบความรู้ คือการทำการทดสอบ
สอบไม่ผ่าน แปลว่าได้รับการชี้บ่งแล้ว ว่าเขาได้หรือไม่ได้เป็นไปตามข้อกำหนด
การควบคุม ป้องกันการนำไปใช้ คือ คนที่ยังไม่ผ่านหลักสูตรคุณ ไปต่อ.... ไม่ได้

นึกถึงตอนเรียนไหม เรียนวิชาบังคับ ไม่ครบ ไม่จบ
หน่วยกิจไม่ถึง ไม่จบ
ไม่ทำ project ส่ง ไม่จบ ...
มหาวิทยาลับ มี ระบบฐานข้อมูลในการควบคุม
เป็นการชี้บ่ง ควบคุม เพื่อป้องกันการให้จบโดยมิได้ตั้งใจ


ของเราอาจเป็นระบบที่ควบคุมว่าคนที่จะดำรงตำแหน่งนี้ ต้องมีความรู้อะไร อบรมอะไร ประสบการณ์อะไร
แล้วทำตามนั้นตามวิธีการพัฒนาบุคลากร

...............
คนไม่ได้ตามมาตรฐาน
มักถูกกักกัน
มักถูกดองเค็ม
มักไปไม่ถึงไหน
มักถูกย้ายงาน
มักถูกไล่ออก อยู่แล้ว
ไม่ต้องเอา ติดtag NC ที่บัตรพนักงานหรอก

ระวังการนำไปใช้ผิด จากระบบเส้นสายแล้วกัน ฮ่าๆๆ

#6 KooK-Kook

KooK-Kook

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 3 posts

Posted 30 March 2010 - 10:35 AM

ขอบคุณทุก ๆ ความคิดเห็นนะคะ สำหรับระบบบริหารงานบุคคล บริการก็อาจจะเป็นในเรื่องของ การรับสมัครพนักงาน การจัดฝึกอบรมให้พนักงาน การดูแลเรื่องสวัสดิการ ค่าจ้าง การวางระบบ ประมาณนี้ค่ะ
ไม่ทราบเข้าใจถูกหรือเปล่า ถ้าจะบอกว่า การดำเนินการเรื่อง NC เป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการต้องเป็นผู้ดำเนินการ คือเป็นความรับผิดชอบที่จะต้องทำ ไม่มีใครสามารถสั่งให้ทำได้ใช้หรือไม่ค่ะ
เพราะ auditor หรือ qmr ไม่สามารถรับรู้ในกระบวนของแต่ละคนได้ทุก ๆ เวลา และทุก ๆ กระบวนการ

#7 Old man

Old man

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 432 posts
  • Gender:Male
  • Interests:No Action , Talk Only.

Posted 30 March 2010 - 10:58 AM

บริการก็อาจจะเป็นในเรื่องของ การรับสมัครพนักงาน การจัดฝึกอบรมให้พนักงาน การดูแลเรื่องสวัสดิการ ค่าจ้าง การวางระบบ ประมาณนี้ค่ะ

OK รู้ product คุณแล้ว
หาก product คุณคือการหาคน
ข้อกำหนดงานบริการคุณอาจเป็นเรื่อง
สามารถหาคนที่ได้ตามความต้องการของฝายร้องขอ ทันเวลา
หาได้เร็ว
หาเผื่อให้เขาเลือกได้ เช่น เขาขอ 2 อัตรา หาให้เขาเลือกซัก 6 เป็นต้น

......
สำหรับงานบริการ เรื่องของ 8.3 ไม่น่าสนใจเท่าไหร่
เช่น หากในร้านอาหาร เสรฺฟอาหารผิด จดผิด จะให้กักกันอาหารนั้นหรือไง
ที่โรงพยาบาล บอกรอรับยาไม่เกิน 15 นาที่ หากเกินจะให้จับตัวคนไข้ กักกันยาไว้หรืออย่างไร

ดังนั้นไม่แปลกหรอกที่จะงง กับการประยุกต์ใช้ข้อ 8.3 กับงานบริการ
สำหรับงานบริการ จะมุ่งเน้นที่ การป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิด การแก้ไขปัญหาฉพาะหน้า และ ระยะยาว การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ 8.5.1/8.5.2 / 8.5.3 / 8.2.1 .... ที่เป็นเช่นนี้เพราะงานบริหารส่วนมากกว่ารู้ว่าบริหารที่ส่งมอบผิดข้อกำหนดก็สายเสีย
แล้ว โดนกับลูกค้าไปแล้ว กล่าวคือจะรู้ก็สายเกินไป ลูกค้าโดนกระทบ
กล่าวคือ เรามักรู้ปัญหา ต่อเมื่อ เกิดปัญหาหลังส่งมอบบริการให้กับลูกค้าไปแล้ว ดังนั้นมักกักกันไว้ก่อนไม่ได้ ......


ข้อกำหนดเขียนอย่างนี้

8.3 การควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
องค์กรต้องทำให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ได้รับการชี้บ่ง และควบคุม เพื่อป้องกันการนำไปใช้ หรือ ส่งมอบโดยมิได้ตั้งใจ องค์กรต้องจัดทำเอกสารระเบียบปฏิบัติที่กำหนด การควบคุม ความรับผิดชอบ และอำนาจสั่งการที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

องค์กรต้องจัดการกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดโดยวิธีดังต่อไปนี้อย่างน้อยหน
ึ่งวิธี
a) ดำเนินการขจัดผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดนั้นให้หมดไป
cool.gif อนุมัติการใช้งาน การปล่อย หรือ การยอมรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด โดยผู้มีอำนาจ (และลูกค้าในกรณีที่เหมาะสม)
c) ดำเนินการเพื่อปกป้องกันการนำผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดไปใช้งาน



ถ้าจะบอกว่า การดำเนินการเรื่อง NC เป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการต้องเป็นผู้ดำเนินการ คือเป็นความรับผิดชอบที่จะต้องทำ ไม่มีใครสามารถสั่งให้ทำได้ใช้หรือไม่ค่ะ

อันนี้ไม่ค่อยเข้าใจคำถามเท่าไหร่

ปกติ
งานบริการที่ดี
จะระบุ ผู้รับผิดชอบ วิธีการ ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เรียบร้อบแล้ว ในระเบียบปฏิบัติ





1 user(s) are reading this topic

0 members, 1 guests, 0 anonymous users