ขอบคุณครับ

ทุกท่าน ขอถามอีกหน่อยครับ ถ้าหากมีของตีกลับจากลูกค้า เราต้องเอาของเสียไปลบจากyieldดี หรือไม่ครับ เช่น yield ดีเดิมมี10ชิ้น แล้วลูกค้าตีกลับมาชิ้นนึง ต้องเอา1ไปหักออกจาก10หรือป่าวครับ
ถามเรื่องคอขวดครับ คอขวดมีประโยชน์ยังไงครับ โรงงานผมผลิตเบเกอรี่ จุดคอขวดก็คงมีแต่การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ก่อนส่งออกขาย นอกจากจุดตรวจสอบแล้วมีจุดอื่นไหมครับ พอดีไม่มีประสพการณ์ด้านนี้เลยครับ
ขอช่วยอธิบายคำว่า คอขวด น่ะครับ แรกๆที่เป็นมือใหม่ใจละอ่อนมาทำงานในโรงงานก็เคยสงสัยเหมือนกันครับ ว่าเจ้าคอขวดมันคืออะไร
ไม่เป็นไรครับ เป็นเรื่องธรรมดา ไม่รู้แล้วถามน่ะดีแล้วครับ
ลองนึกภาพคอของขวดดูน่ะครับ เอาขวดเหล้าก็ได้ ยิ่งถ้านึกถึงขวดเหล้าที่มีลูกกลิ้งอยู่ตรงคอมันยิ่งเข้าใจง่ายครับ
ตอนที่เรารินเหล้า จะสังเกตุเห็นว่า เหล้ามันจะไหลออกมาช้ามาก บางครั้งก็ต้องใช้เทคนิคในการกระตุกเล็กน้อย มันถึงจะไหลออกมา
นั่นก็เป็นเพราะว่า เหล้ามันจะมากระจุกอยู่ตรงคอของขวด เพราะคอของขวดมีขนาดเล็ก ทำให้อัตราการไหลของมันไม่ดี ทั้งๆที่ก้นของขวดมันก็ออกจะใหญ่ ว่าไหม
ในการทำงานก็เหมือนกัน กว่าสินค้าของเราจะผลิตเสร็จพร้อมขาย มันต้องผ่านกระบวนการหรือขั้นตอนเยอะแยะมากมาย จาก 1 ไป 2 จาก 2 ไป 3 จาก 3 ไป 4 เรื่อยๆ
ทีนี้ ถ้าเราออกแบบกระบวนการดี มันจะไหลราบเรียบ ราบรื่น ไม่มีการไปกระจุกอยู่ที่กระบวนการใดกระบวนการหนึ่ง
ไอ้ตรงนี้แหละ การที่สินค้าระหว่างผลิตของเรามันไปกระจุกอยู่ตรงไหนสักแห่ง ทำให้สินค้าออกช้า เพื่อนรอรับไปทำต่อก็ไม่ส่งมาสักที ชักช้า ใช้เวลาเยอะ
เราเรียกงานตรงนั้นว่า คอขวด เป็นคอขวดที่ทำให้งานไปกองกระจุกอยู่ ไม่ยอมไหลออกไปสักที หรือไหลออกแบบช้ามาก ทำให้เพื่อนเดือดร้อนเพราะไม่มีงานทำต่อ
ทำให้บริษัทเดือดร้อนเพราะไม่มีสินค้าส่ง หรือทำให้การส่งมอบล่าช้า จนทำให้ลูกค้าต้องกริ้ว คิ้วขมวด เป็นต้นครับ
คอขวดมีสาเหตุมาจากหลายอย่างครับ เช่น
1.การวางไลน์การผลิตโดยไม่ได้พิจารณาเรื่องเวลาในการทำงานของแต่ละกระบวนการให้สัมพั
นธ์กัน แก้ไขด้วยเทคนิค Line Balancing เช่น
ขั้นตอนที่หนึ่งใช้เวลาในการผลิต 1 นาที ขั้นตอนที่สองใช้เวลาในการผลิต 2 นาที ขั้นตอนที่ 3 ใช้เวลาในการผลิต 1 นาที แบบนี้ ขั้นตอนที่สองจะเกิดคอขวด (เหล้า) แหงๆ
อาจจะแก้ด้วยการเพิ่มเครื่องจักรในขั้นตอนที่สองเป็น 2 คน 2 เครื่อง งานที่ออกมาจะได้ Balance กับชาวบ้านได้ หรือ
อาจจะกำหนดให้ขั้นตอนที่หนึ่ง กับขั้นตอนที่สาม ทำโดยคนๆเดียวกัน 1 คน 2 เครื่อง ทำขั้นตอนที่ 1 สักพัก ก็ไปทำขั้นตอนที่สามต่อ ประมาณนั้นครับ
2.เกิดจากทักษะความชำนาญของคนงาน บางคนคล่องทำเร็ว บางคนใหม่ทำช้า (บางคนคล่องแต่ทำช้าก็มีน่ะครับ พวกแซ่อู้ แซ่ลี้ครับ) ถ้าเป็นแบบนี้ งานที่ออกมาก็ไม่ Balance กันได้ครับ
หลักสูตรนี้ที่ สสท. มีเปิดสอนให้เราได้เรียนรู้ครับ เรียกว่า Line Balancing Technique น่าจะสอนโดยอาจารย์ชื่อ นพดล อิ่มเอม ไม่แน่ใจว่าจำชื่ออาจารย์ถูกไหม
อาจารย์สอนดีครับ เน้น workshop ให้ได้ลองทำกันจริงๆใน Class ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก
www.tpa.or.th ครับ
โชคดีน่ะครับผม