Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

กฎหมายการวัดความหนาถังแอมโมเนีย


  • This topic is locked This topic is locked
5 replies to this topic

#1 shiho

shiho

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 179 posts

Posted 26 March 2010 - 04:40 PM

ช่วยทีครับ ตอนนี้รู้ว่าควรวัดความหนาถังแอมโมเนีย แต่ผู้บริหารต้องการว่ามีกฎหมายควบคุมไหม
ใครมี ใครรู้ว่ากฎหมายฉบับไหนที่ให้วัดความหนาช่วยบอกทีครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

#2 Old man

Old man

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 432 posts
  • Gender:Male
  • Interests:No Action , Talk Only.

Posted 27 March 2010 - 09:26 AM

ตอนนี้รู้ว่าควรวัดความหนาถังแอมโมเนีย
พอบอกได้ไหมครับ ว่ารู้มาจากไหน !
ผมอาจตกข่าวว่า กฏหมายบังคับให้วัด thickness แล้ว ??


การวัดความหนาถึง เป็นเรื่องของการตรวจสอบการผุกร่อน เพื่อตรวจสภาพความแข็งแรงของภาชนะรับแรงดัน
วัดเพื่อตรวจสอบ min thick และ สภาพการเกิด pitting ภายใน เ
เพื่อพิจารณาคำนวณความแข็งแรง และ อายุของภาขนะรับแรงดัน pressure vessel
เรื่องนี้ ผู้ที่พิจารณาได้ต้อง มีอำนาจ หน้าที่ ครับ เป็นสามัญวิศวกรครับ
และต้องทำในนามบริษัทที่กฏหมายรองรับ third party
ทำเอง ตรวจเอง รับรองเอง ไม่ได้ครับ

เวลาตรวจสอบ ต้องตรวจมากมายหลายชนิด เช่น ทำการ ทดสอบแบบไม่ทำลาย MT/PT,ทดสอบแรงดันน้ำ , ทดสอบ safety value และมีระบบการต่ออายุภาชนะรับแรงดันนี้ การทำการ MT/PT เนื่องจากถังแอมโมเนีบเป็นสารที่ก่อให้เกิด stress corrosion cracking

ไม่ใข่เพียงแค่วัดความหนา
เป็นเรื่องของ ความมั่นคง แข็งแรง และโอกาสที่จะระเบิด !!


เรื่องพวนนี้ ผู้รู้ดีเป็นของผู้ขายกาซนะ แลช กาซนี้นั้นครับ ไม่ว่า Air liquid, Prax Air , TIG .......
ปกติเมื่อครบอายุ เขาจะติดต่อบริษัทตรวจสอบเอง

ถัง LPG ในประเทศไทย มีประกาศของ กรมโยธาคุม
ถัง Ammonia , ถังคลอรีน ....มักอ้างอิง มาใข้ใน เพื่อเป็นการตรวจสอบความปลอดภัยของภาชนะรับแรงดัน

ยังไม่เห็น ประกาศนี้ครับ เรื่องการควบคุมภาชนะรับแรงดัน
สงสัยลึกๆ ให้ติดต่อ บริษัทตรวจสอบ ที่ได้รับรองตามกฏหมาย
เช่น ศิิิิวะเทสติ้ง http://www.siwatesting.com/

ทำไม ไม่ลองถามคนขาย Ammonia ที่ฝ่ายเทคนิค เขาน่าจะตอบได้ตรงและลึก ครับ
ผมสนใจระบบ piping ในโรงงานคุณมากกว่า ถัง ammonia
เวลารั่ว มักรั่วที่ท่อ หรือ วาวล์ในระบบ
ถังระเบิดยากครับ safety factor เพียบ

#3 shiho

shiho

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 179 posts

Posted 27 March 2010 - 05:02 PM

QUOTE(Old man @ Mar 27 2010, 09:26 AM) <{POST_SNAPBACK}>
ตอนนี้รู้ว่าควรวัดความหนาถังแอมโมเนีย
พอบอกได้ไหมครับ ว่ารู้มาจากไหน !
ผมอาจตกข่าวว่า กฏหมายบังคับให้วัด thickness แล้ว ??


การวัดความหนาถึง เป็นเรื่องของการตรวจสอบการผุกร่อน เพื่อตรวจสภาพความแข็งแรงของภาชนะรับแรงดัน
วัดเพื่อตรวจสอบ min thick และ สภาพการเกิด pitting ภายใน เ
เพื่อพิจารณาคำนวณความแข็งแรง และ อายุของภาขนะรับแรงดัน pressure vessel
เรื่องนี้ ผู้ที่พิจารณาได้ต้อง มีอำนาจ หน้าที่ ครับ เป็นสามัญวิศวกรครับ
และต้องทำในนามบริษัทที่กฏหมายรองรับ third party
ทำเอง ตรวจเอง รับรองเอง ไม่ได้ครับ

เวลาตรวจสอบ ต้องตรวจมากมายหลายชนิด เช่น ทำการ ทดสอบแบบไม่ทำลาย MT/PT,ทดสอบแรงดันน้ำ , ทดสอบ safety value และมีระบบการต่ออายุภาชนะรับแรงดันนี้ การทำการ MT/PT เนื่องจากถังแอมโมเนีบเป็นสารที่ก่อให้เกิด stress corrosion cracking

ไม่ใข่เพียงแค่วัดความหนา
เป็นเรื่องของ ความมั่นคง แข็งแรง และโอกาสที่จะระเบิด !!


เรื่องพวนนี้ ผู้รู้ดีเป็นของผู้ขายกาซนะ แลช กาซนี้นั้นครับ ไม่ว่า Air liquid, Prax Air , TIG .......
ปกติเมื่อครบอายุ เขาจะติดต่อบริษัทตรวจสอบเอง

ถัง LPG ในประเทศไทย มีประกาศของ กรมโยธาคุม
ถัง Ammonia , ถังคลอรีน ....มักอ้างอิง มาใข้ใน เพื่อเป็นการตรวจสอบความปลอดภัยของภาชนะรับแรงดัน

ยังไม่เห็น ประกาศนี้ครับ เรื่องการควบคุมภาชนะรับแรงดัน
สงสัยลึกๆ ให้ติดต่อ บริษัทตรวจสอบ ที่ได้รับรองตามกฏหมาย
เช่น ศิิิิวะเทสติ้ง http://www.siwatesting.com/

ทำไม ไม่ลองถามคนขาย Ammonia ที่ฝ่ายเทคนิค เขาน่าจะตอบได้ตรงและลึก ครับ
ผมสนใจระบบ piping ในโรงงานคุณมากกว่า ถัง ammonia
เวลารั่ว มักรั่วที่ท่อ หรือ วาวล์ในระบบ
ถังระเบิดยากครับ safety factor เพียบ


ก่อนอื่นก็ขอขอบคุณก่อนครับ
ที่ตอนนี้พวกผมหา เพราะโดน CB Audit มาครับ แล้ว Auditor ก็เน้นบอกว่ากฎหมายกำหนดให้วัดความหนา เมื่ออายุการใช้งาน 5 ปีขึ้นไป แต่ Auditor ไม่สามารถหากฎหมายมาให้ได้ ทิ้งไว้แค่ Comment ให้แก้ว่าต้องวัดความหนาตามที่กฎหมายกำหนด ก็เลยเป็นภาระต้องหากฎหมายฉบับนี้ ซึ่งหามาหลายวันแล้วยังไม่เห็นตัวกฎหมายเลยครับ Auditor ยืนยันว่ามีกฎหมายบังคับ ก็เลยลองถามดูเผื่อมีคนรู้จักกฎหมายฉบับนี้ครับ

ถ้าใครรู้ช่วยทีนะครับ
หรือถ้าใครมั่นใจว่ามันไม่ได้ร่างเป็นกฎหมายแน่นอนก็ขอความกรุณาบอกให้ผมมั่นใจทีครั

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

#4 Old man

Old man

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 432 posts
  • Gender:Male
  • Interests:No Action , Talk Only.

Posted 27 March 2010 - 08:52 PM

งั้นอธิบายอย่างนี้ !

ถังแอมโมเนีย มีแรงดันภายในถัง (Internal Design Pressure) มากกว่า 22 psi
ดังนั้นเข้ากฏกระทรวงอุตสาหกรรม ปี 2549 (ออกมาหลายปีแล้ว)

1.ถังแอมโมเนีย เป็นภาชนะรับแรงดัน ในกรณีโรงงานต้องปฏิบัติตาม กฎกระทรวง กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำ หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน และภาชนะรับแรงดันในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๙ Attached File  __หมายหม้อน้ำและภาชนะรับแร__ัน2549.pdf   94.7KB   679 downloads

2.ผมแนบ ความรู้ด้าน safety ของภาชนะรับแรงดันบรรจุแอมโมเนีย มาให้ด้วยครับAttached File  amoniatank.pdf   175.43KB   873 downloads (กรมโรงงานยึดตามแนวนี้ครับ)

3.หากคุณเป็นโรงงาน ถังแอมโมเนีย (รวมถึงชนิด cylinder) เป็นทรัพสินย์ของบริษัทที่มาขายกาซให้คุณ
เขามีหน้าที่ตรงนี้ครับ เช่นคุณซื้อก๊าซจาก TIG ทาง TIG จะรับภาระเรื่องตรวจสอบนี้เองครับ
ต้องติดต่อsupplier ของคุณครับ ไม่ต้องทำเอง

ปัญหาทำให้เกิดปัญญา ครับ


** ไม่ว่าอย่างไร หลังจากคุณอ่านเนื้อหาในกฏกระทรวงที่แนบมา คุณจะงงต่อ เพราะกฏกระทรางระบุว่า
หลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ..... ซึ่งจนถึงวันนี้ยังไม่มีหลักเกณฑ์ วิธีการใดๆ ประกาศออกมารองรับเลย...??

หลักเกณฑ์และวิธีการยังไม่มีประกาศออกมาครับ !
เหตุผลที่ยังไม่มีเพราะคณะกรรมการเพิ่งตั้งครับ ตั้งเสร็จกันยายน ปีที่แล้วเอง
องค์คณะใหญ่มาก ไม่รู้ว่าปีนี้ ปีหน้า จะออกได้หรือไม่ อีกนานนนนนนครับ

เมื่อยังไม่มี ประกาศออกมา ดังนั้น คำว่า ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ เลยหมายถึง
"แม้ว่าจะไม่มีประกาศที่ชัดเจนออกมา ก็ต้องทำตามกฎกระทรวง โดยให้ดำเนินการตรวจสอบภาชนะรับแรงดันตามหลักสากลและทำตรวจสอบโดยวิศวกรที่ได้รับอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร ไปก่อน" .


สรุป แปลไทยเป็นไทย
ตามภาษากฏหมาย กรมโรงงาน บอกอ้อมๆ ว่า ให้คุณใข้ "เทคนิค วิธีการ เกณฑ์" ของ ASME และ แนวปฏิบัติของกรมโยธา ที่ใช้กันในเมื่องไทย และ ที่ใช้กันในอุตสาหกรรมปิโตรครับ.

อันนี้คนละเรื่องกับ กฏและประกาศกระทรวงในเรื่อง คุณวุฒิของคนงานควบคุม เก็บ ขนส่ง ใช้ กาซ
ตอนนี้มีผลบังคับใช้แล้ว

ผมว่าอาจสับสน ในการตีความกฏหมาย ของผู้ตรวจประเมินของคุณ ในเรื่องบังคับให้คุณวัดความหนาถัง
ซึ่งการวัดความหนาถังแต่เพียงอย่างเดียว ก็ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
แม้กระทั้งการวัดความหนาอย่างเดียว ยังมีประเด็นว่า ต้องวัดกี่จุด วัดที่ไหน ใช้เกณฑ์อะไรในการบอกว่าความหนายังเพียงพอ ต้องใข้ความรู้เฉพาะวิชาชีพพอสมควร

ลองคุยกับเขาใหม่ครับ
ผู้ตรวจประเมินต้องเป็นคนที่รับฟังเหตุผล และ เป็นคนที่ตัดสินใจผิดพลาดได้เหมือนกันครับ
ที่เขา comment มีประเด็น แต่ไม่ใช่เรื่องวัดความหนา ครับ เป็นเรื่องความปลอดภัยของภาชนะรับแรงดันตามกฏหมาย

หากต้องการข้อมูลมากกว่านี้ email มาคุยกัน


#5 shiho

shiho

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 179 posts

Posted 29 March 2010 - 08:19 AM

QUOTE(Old man @ Mar 27 2010, 08:52 PM) <{POST_SNAPBACK}>
งั้นอธิบายอย่างนี้ !

ถังแอมโมเนีย มีแรงดันภายในถัง (Internal Design Pressure) มากกว่า 22 psi
ดังนั้นเข้ากฏกระทรวงอุตสาหกรรม ปี 2549 (ออกมาหลายปีแล้ว)

1.ถังแอมโมเนีย เป็นภาชนะรับแรงดัน ในกรณีโรงงานต้องปฏิบัติตาม กฎกระทรวง กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำ หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน และภาชนะรับแรงดันในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๙ Attached File  __หมายหม้อน้ำและภาชนะรับแร__ัน2549.pdf   94.7KB   679 downloads

2.ผมแนบ ความรู้ด้าน safety ของภาชนะรับแรงดันบรรจุแอมโมเนีย มาให้ด้วยครับAttached File  amoniatank.pdf   175.43KB   873 downloads (กรมโรงงานยึดตามแนวนี้ครับ)

3.หากคุณเป็นโรงงาน ถังแอมโมเนีย (รวมถึงชนิด cylinder) เป็นทรัพสินย์ของบริษัทที่มาขายกาซให้คุณ
เขามีหน้าที่ตรงนี้ครับ เช่นคุณซื้อก๊าซจาก TIG ทาง TIG จะรับภาระเรื่องตรวจสอบนี้เองครับ
ต้องติดต่อsupplier ของคุณครับ ไม่ต้องทำเอง

ปัญหาทำให้เกิดปัญญา ครับ


** ไม่ว่าอย่างไร หลังจากคุณอ่านเนื้อหาในกฏกระทรวงที่แนบมา คุณจะงงต่อ เพราะกฏกระทรางระบุว่า
หลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ..... ซึ่งจนถึงวันนี้ยังไม่มีหลักเกณฑ์ วิธีการใดๆ ประกาศออกมารองรับเลย...??

หลักเกณฑ์และวิธีการยังไม่มีประกาศออกมาครับ !
เหตุผลที่ยังไม่มีเพราะคณะกรรมการเพิ่งตั้งครับ ตั้งเสร็จกันยายน ปีที่แล้วเอง
องค์คณะใหญ่มาก ไม่รู้ว่าปีนี้ ปีหน้า จะออกได้หรือไม่ อีกนานนนนนนครับ

เมื่อยังไม่มี ประกาศออกมา ดังนั้น คำว่า ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ เลยหมายถึง
"แม้ว่าจะไม่มีประกาศที่ชัดเจนออกมา ก็ต้องทำตามกฎกระทรวง โดยให้ดำเนินการตรวจสอบภาชนะรับแรงดันตามหลักสากลและทำตรวจสอบโดยวิศวกรที่ได้รับอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร ไปก่อน" .


สรุป แปลไทยเป็นไทย
ตามภาษากฏหมาย กรมโรงงาน บอกอ้อมๆ ว่า ให้คุณใข้ "เทคนิค วิธีการ เกณฑ์" ของ ASME และ แนวปฏิบัติของกรมโยธา ที่ใช้กันในเมื่องไทย และ ที่ใช้กันในอุตสาหกรรมปิโตรครับ.

อันนี้คนละเรื่องกับ กฏและประกาศกระทรวงในเรื่อง คุณวุฒิของคนงานควบคุม เก็บ ขนส่ง ใช้ กาซ
ตอนนี้มีผลบังคับใช้แล้ว

ผมว่าอาจสับสน ในการตีความกฏหมาย ของผู้ตรวจประเมินของคุณ ในเรื่องบังคับให้คุณวัดความหนาถัง
ซึ่งการวัดความหนาถังแต่เพียงอย่างเดียว ก็ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
แม้กระทั้งการวัดความหนาอย่างเดียว ยังมีประเด็นว่า ต้องวัดกี่จุด วัดที่ไหน ใช้เกณฑ์อะไรในการบอกว่าความหนายังเพียงพอ ต้องใข้ความรู้เฉพาะวิชาชีพพอสมควร

ลองคุยกับเขาใหม่ครับ
ผู้ตรวจประเมินต้องเป็นคนที่รับฟังเหตุผล และ เป็นคนที่ตัดสินใจผิดพลาดได้เหมือนกันครับ
ที่เขา comment มีประเด็น แต่ไม่ใช่เรื่องวัดความหนา ครับ เป็นเรื่องความปลอดภัยของภาชนะรับแรงดันตามกฏหมาย

หากต้องการข้อมูลมากกว่านี้ email มาคุยกัน



ขอบคุณมากครับ ผมขอ copy ทุกคำพูดนี้ไปเอาไปคุยภายใน หากมีข้อสงสัยผมขอมาถามต่อนะครับ happy.gif ยิ้มออกเลยละครับงานนี้


#6 Old man

Old man

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 432 posts
  • Gender:Male
  • Interests:No Action , Talk Only.

Posted 29 March 2010 - 10:32 AM

ยินดี
ที่มีส่วนสร้างรอยยิ้มให้คนไทย
เพิื่มอีกหนึ่งคน

rolleyes.gif




1 user(s) are reading this topic

0 members, 1 guests, 0 anonymous users