ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com
นุกูลขอความช่วยเหลือหน่อยครับ
#1
Posted 29 September 2009 - 03:24 PM
พอดี มีปัญหาว่าต้องไปศาลแรงงาน กรณีเลิกจ้างพนักงานครับ เดือนที่ผ่านมามีการเลิกจ้างพนักงานคนหนึ่งไป อันเนื่องมาจากสาเหตุใส่เกียร์ว่าง
ไม่ทำงานตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย และมีการฝ่าฝืนแบบมึนๆมาหลายครั้ง หัวหน้างานกับผมจึงขอพูดคุยกับพนักงานเพื่อขอให้ปรับปรุงตัว
แต่ก็ไม่มีการตอบสนองอะไร ยังมีการฝ่าฝืนเหมือนเดิม ผมจึงเรียกมาพูดคุยกันอีกครั้ง ว่าถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไปเราคงจะทำงานร่วมกันไม่ได้หรอกน่ะ
อาจต้องเลิกจ้างเขา พนักงานก็บอกประมาณว่า เลิกจ้างก็ดีเหมือนกัน จะออกไปค้าขายอยู่พอดี
ผมก็เลยถามต่อว่า แล้วถ้าไม่ได้ทำงานที่นี่จะไม่มีผลกระทบกับลูกสาวที่เรียนอยู่เหรอ คือผมถามด้วยความเป็นห่วงจริงๆ
(ในฐานะ HR แล้วผมรักพนักงานและไม่มี Bias กับใคร) เขาก็บอกว่าไม่มีหรอก ก็เลยตัดสินใจเลิกจ้าง
โดยบริษัทได้ จ่ายค่าชดเชยตามอายุงานที่เขาทำงานมากับบริษัท โดยที่ไม่ได้คิดว่าจะมีอะไรตามมาอีก
พอดีเพิ่งได้หมายศาล โดยพนักงานไปยื่นความที่ศาลแรงงานว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ก็เลยไม่รู้จะเตรียมหนังสือคำให้การยังไง เนื่องจากไม่มีประสบการณ์ด้านนี้ครับ
ท่านใดพอจะมีแนวทางหรือตัวอย่างหนังสือคำให้การต่อศาลแรงงานบ้าง ผมรบกวนด้วยครับ
ขอบคุณครับ
Nukool Thanuanram
Mobile Phone: 097.954.4939
Facebook: Nukool Thanuanram
Fanpage: อาจารย์นุกูล วิทยากรสอนคนโรงงาน
LINE ID: nukool2001
E-Mail: nukool2001@gmail.com
เสือพี่เพราะป่าปก ป่ารกเพราะเสือยัง ดินเย็นเพราะหญ้าบัง และหญ้ายังเพราะดินดี "สรรพสิ่งล้วนเกื้อกูลพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน"
#2
Posted 29 September 2009 - 03:26 PM
ผมก็ไม่ค่อยรู้เรื่องนี้เท่าไร ไม่สิไม่รู้เลยหละ
ได้ข้อมูลถูกใจแล้ว อย่าลืม ขอบคุณ เจ้าของข้อมูลด้วยนะครับ
#3
Posted 29 September 2009 - 03:40 PM
พอดี มีปัญหาว่าต้องไปศาลแรงงาน กรณีเลิกจ้างพนักงานครับ เดือนที่ผ่านมามีการเลิกจ้างพนักงานคนหนึ่งไป อันเนื่องมาจากสาเหตุใส่เกียร์ว่าง
ไม่ทำงานตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย และมีการฝ่าฝืนแบบมึนๆมาหลายครั้ง หัวหน้างานกับผมจึงขอพูดคุยกับพนักงานเพื่อขอให้ปรับปรุงตัว
แต่ก็ไม่มีการตอบสนองอะไร ยังมีการฝ่าฝืนเหมือนเดิม ผมจึงเรียกมาพูดคุยกันอีกครั้ง ว่าถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไปเราคงจะทำงานร่วมกันไม่ได้หรอกน่ะ
อาจต้องเลิกจ้างเขา พนักงานก็บอกประมาณว่า เลิกจ้างก็ดีเหมือนกัน จะออกไปค้าขายอยู่พอดี
ผมก็เลยถามต่อว่า แล้วถ้าไม่ได้ทำงานที่นี่จะไม่มีผลกระทบกับลูกสาวที่เรียนอยู่เหรอ คือผมถามด้วยความเป็นห่วงจริงๆ
(ในฐานะ HR แล้วผมรักพนักงานและไม่มี Bias กับใคร) เขาก็บอกว่าไม่มีหรอก ก็เลยตัดสินใจเลิกจ้าง
โดยบริษัทได้ จ่ายค่าชดเชยตามอายุงานที่เขาทำงานมากับบริษัท โดยที่ไม่ได้คิดว่าจะมีอะไรตามมาอีก
พอดีเพิ่งได้หมายศาล โดยพนักงานไปยื่นความที่ศาลแรงงานว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ก็เลยไม่รู้จะเตรียมหนังสือคำให้การยังไง เนื่องจากไม่มีประสบการณ์ด้านนี้ครับ
ท่านใดพอจะมีแนวทางหรือตัวอย่างหนังสือคำให้การต่อศาลแรงงานบ้าง ผมรบกวนด้วยครับ
ขอบคุณครับ
อาจารย์ลืมผมได้งัยอะ
พอดี ที่บริษัทผมเขาจ้างทนายพอดี แถมทนายซี้กับผมอีก เดี๋ยวผมจัดการให้ เดี๋ยวจะโทรแจ้งคราบ อาจารย์
Raider150
#4
Posted 29 September 2009 - 03:45 PM
038-511600 สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เขาจะเป็นคนกลางให้คำปรึกษา ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
ซึ่งจะแบ่งความรับผิดชอบออกเป็นของแต่ละเขต ค่ะ
เบอร์ที่ออยล์ให้เป็นเบอร์ กรมฯ ที่ จ.ฉะเชิงเทรา
พี่นุกุล ขอสาย คุณสุวรรณา นะคะ เจ้เค้าใจดีมากๆ
เอาใจช่วยค่ะพี่ สู้ๆค่ะ
#5
Posted 29 September 2009 - 04:13 PM
ขอบคุณมากครับ
Nukool Thanuanram
Mobile Phone: 097.954.4939
Facebook: Nukool Thanuanram
Fanpage: อาจารย์นุกูล วิทยากรสอนคนโรงงาน
LINE ID: nukool2001
E-Mail: nukool2001@gmail.com
เสือพี่เพราะป่าปก ป่ารกเพราะเสือยัง ดินเย็นเพราะหญ้าบัง และหญ้ายังเพราะดินดี "สรรพสิ่งล้วนเกื้อกูลพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน"
#6
Posted 29 September 2009 - 04:18 PM
แต่มันอยู่ที่ว่า ที่ผ่านมาเรา มีเหตุผลเพียงพอในการเลิกจ้างมั้ย และทำถูกต้องตามขั้นตอนมั้ย?
จากเหตุผลที่ น้าอธิบายให้ฟังคร่าวๆ มันก็มีเหตุผลที่จะเลิกจ้างได้ เพราะว่าขัดคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย (หรือเปล่า)
เป็นอาจิน
แต่การเลิกจ้างทำถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายหรือเปล่าไม่แน่ใจนะครับ (เพราะน้าไม่ได้เล่าให้ฟังละเอียดนัก)
น้าอาจดูตัวอย่างของฎีกา แล้วเทียบเคียงดูนะครับ และอาจค้นเพิ่มเติมได้จาก http://deka2007.supremecourt.or.th/
คำพิพากษาฎีกาที่ 678-680/2548 การเลิกจ้างที่เป็นธรรม
นาย� ก. ทำงานในตำแหน่งผู้ประสานงานด้านทรัพย์สิน� ส่วนนาย ข.และนาย ค. ทำงานตำแหน่งช่างประจำอาคารและตำแหน่งช่างทั่วไป� เมื่อจำเลยย้ายที่ทำการเดิมจากอาคารเดิมมาเป็นอาคารสมัยใหม่ที่มีเทคโนโลยีทันสมัยซึ
่งเจ้าของอาคารผู้ให้เช่าเป็นผู้รับผิดชอบในอาคารที่เป็นทรัพย์สินส่วนกลาง� สำหรับอาคารส่วนที่นายจ้างเช่านั้น� นายจ้างได้ว่าจ้างผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้บริการแล้ว� นายจ้างจึงไม่มีงานด้านช่างและการดูแลอาคารสถานที่ให้ลูกจ้างทั้งสามทำอีกต่อไป� อีกทั้งลูกจ้างทั้งสามก็ไม่มีคุณสมบัติและความสามารถที่จะทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีระ
ดับสูงในอาคารที่ทำการใหม่ของนายจ้าง� และไม่ปรากฎว่าลูกจ้างทั้งสามมีคุณสมบัติที่ดีกว่าพนักงานซึ่งทำงานประจำในแผนกอื่นข
องนายจ้างที่จะย้ายลูกจ้างทั้งสามไปทำงานแทนพนักงานเหล่านั้นได้� การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างทั้งสามเนื่องจากไม่มีงานที่เหมาะสมให้ลูกจ้างทั้งสามท
ำดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร�� มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม� นายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างทั้งสาม
คำพิพากษาฎีกาที่ 6356-6358/2548 การเลิกจ้างเนื่องจากลูกจ้างบกพร่องต่อหน้าที่อย่างร้ายแรงเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธร
รม
การเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยที่ 1และที่ 3 สืบเนื่องจากนาย ว. ประธานกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริงทำหนังสือถึงเลขาธิการมูลนิธิจำเลยที่ 1 สรุปผลการสอบสวนว่าการบริหารการเงินของโรงเรียนจำเลยที่ 3 โดยโจทก์มีข้อบกพร่องทำให้เงินในปีการศึกษา 2532 ขาดในบัญชีจำนวน 64,370.36 บาท การบริหารงานทั่วไปมีปัญหา จึงเสนอให้คณะกรรมการดำเนินงานและคณะกรรมการมูลนิธิจำเลยที่ 1 ดำเนินการให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียนเนื่องจากเกษียณอายุตามเอกสารหมาย จ.34 แต่คณะกรรมการมีมติให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากบกพร่องต่อหน้าที่อย่างร้ายแรงมติ
ของคณะกรรมการของมูลนิธิจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเห็นว่าเป็นมติที่ให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งโดยอาศัยข้อมูลจากการสอบสวนหาข้อเท็
จจริงตามขั้นตอนที่เป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 เลิกจ้างโจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร การเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาฎีกาที่324/2549 ลาป่วยทั้งเดือนถือว่าหย่อนสมรรถภาพเป็นเหตุให้ถูกเลิกจ้างได้
โจทก์เป็นหัวหน้าพนักงานขายต้องควบคุมในการจำหน่ายสินค้าเพื่อหารายได้ให้แก่จำเลย แต่กลับลาป่วยทั้งเดือนโดยไม่มาทำงานเลย ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยถือว่าโจทก์หย่อนสมรรถภาพในการทำงาน การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าว จึงมีการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาฎีกาที่ 1256-1259/2549 แม้เลิกจ้างตามขั้นตอนไม่เลือกปฏิบัติหรือไม่กลั่นแกล้ง ก็เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมการวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิ
จารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตา 49 หรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาว่ามีเหตุแห่งการเลิกจ้างหรือไม่ และเหตุดังกล่าวเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ คดีนี้นายจ้างอ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างว่า เป็นเพราะคำสั่งซื้อสินค้าลดลง เพื่อพยุงฐานะของนายจ้างจึงจำเป็นต้องเลิกจ้างเพื่อลดค่าใช้จ่ายเท่านั้น ซึ่งข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฎว่างานของจำเลยได้ลดน้อยลงมากหรือประสบกับการขาดทุนจนถึงข
นาดต้องลดรายจ่ายโดยลดจำนวนพนักงานลง และยุบบางแผนกเพื่อพยุงฐานะของนายจ้างให้อยู่รอด แม้การเลิกจ้างของนายจ้างได้กระทำตามขั้นตอนโดยมีคณะกรรมการพิจารณา มิได้เลือกปฏิบัติหรือกลั่นแกล้งลูกจ้างก็ตาม แต่การประกอบกิจการของนายจ้างในปีที่มีการเลิกจ้างลูกจ้างและปีต่อมายังคงมีกำไรสุทธ
ิโดยเฉลี่ยปีละประมาณ 1,500 ล้านบาท และการที่ภาวะเศรษฐกิจโดยทั่วไปในขณะนั้นไม่ดีนัก ข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏอย่างชัดแจ้งว่า แนวโน้มในการดำเนินธุรกิจของจำเลยในปีต่อๆ ไปจะต้องประสบภาวะวิกฤตจนถึงขั้นไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้หากไม่แก้ไขจัดการโดยวิธ
ียุบหน่วยงานบางแผนกและเลิกจ้างลูกจ้างทั้งหกเสียแต่ต้นดังที่นายจ้างอุทธรณ์ ที่ศาลแรงงานกลางนำเฉพาะผลกำไรจากการดำเนินกิจการของนายจ้างแต่เพียงประการเดียวมาวิ
นิจฉัยถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมก็ไม่ทำให้ผลแห่งคำวิน
ิจฉัยเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาฎีกาที่ 48/2549 เลิกจ้างเพราะมีเหตุไม่ไว้วางใจ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
แม้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจะไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่ ไม่ได้จงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายก็ตาม แต่มีเหตุน่าสงสัยเพราะมีทั้งลูกค้าและพนักงานของจำเลยแจ้งแก่จำเลยว่าโจทก์นำงานบาง
ส่วนของจำเลยไปจ้างบุคคลภายนอกทำโจทก์เคยให้ข่าวให้ร้ายต่อจำเลยว่าจำเลยจะล้มละลาย จะเปิดกิจการจึงชักชวนให้ลูกจ้างของจำเลยลาออก แม้ไม่มีใครเชื่อคำชักชวนของโจทก์ก็ตาม ก็ถือว่ามีเหตุที่จำเลยจะไม่ไว้วางใจโจทก์ให้ทำงานต่อไปได้ เห็นว่า ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจำเลยมีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้แม้โจทก์จะไม่มีความผิด การเลิกจ้างของจำเลยจึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
#7
Posted 29 September 2009 - 05:37 PM
ครับ เอาใจช่วยนะครับ
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ chatriwat@hotmail.com
Facebook: poppithai
Tel:089-6834451
#8
Posted 29 September 2009 - 06:42 PM
ครับ เอาใจช่วยนะครับ
การกำหนดว่า ทำผิดครั้งที่ 1,2,3 แล้วจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นการลดอำนาจบริหารของ นายจ้างไปอย่างน่าเสียดาย เพราะหากผิด หรือมีหลักฐานชัดเจนแล้ว ก็สามารถเลิกจ้างได้ตั้งแต่ครั้งที่ 1 โดยไม่ต้องรอให้ถึงครั้งที่ 2 3 หรือ 4 หรือแม้แต่มีเหตุผลที่นายจ้างไม่สามารถไว้ใจให้ทำงานได้อีกต่อไป ก็สามารถเลิกจ้างได้ครับ
นอกจากนั้น การลงชื่อรับผิดของลูกจ้าง อาจไม่สามารถใช้อ้างได้เสมอไปหรอกครับน้า
เบิร์ด เบิร์ด ครับน้านุกูล ไม่ต้องเตรียมเขียนอะไรให้มันหรูหราหรอกครับ เตรียมหลักฐานไว้ให้พร้อม พอไปถึงศาลก็อธิบายไปตามเนื้อผ้า อ้างอิงหลักฐานให้ครบ คิดซะว่า อธิบายเหตุผลที่ออก CAR (เลิกจ้าง) ให้กับ ลูกจ้างหัวหมอคนนี้ฟัง ผ่านเจ้าหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานฟังอีกรอบ
ไม่มีอะไรจริงจริ๊งงงงงง
#9
Posted 29 September 2009 - 08:05 PM
จาก ฎีกาต่างๆ ด้านล่างนี้ คงทำให้น้าสบายใจขึ้นมาได้เยอะเลยล่ะ จอมโจรฯ เชื่อว่า น้านุกูล ไม่ใช่คนที่ต้องการจะกลั่นแกล้งให้ลูกจ้างได้รับความลำบาก
และการเลิกจ้างตามที่เล่าให้ฟังก็เป็นการเลิกจ้างที่จอมโจรฯ เชื่อว่ามีเหตุผล และการเลิกจ้างก็เป็นการเลิกจ้างแบบจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย สบายใจเหอะครับ แต่ถามเพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มนะครับว่า การเลิกจ้างทำเป็น 'หนังสือ' มั้ย (จอมโจรฯ เข้าใจว่า ทำ ถูกต้องมั้ยครับ) และน้าให้เหตุผลในการเลิกจ้างไว้อย่างไรบ้างครับ?
เพิ่มเติมให้น้านะครับ
เลิกจ้างเป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047 - 4053/2546การพิจารณาเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธี
พิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ต้องพิจารณาว่ามีสาเหตุแห่งการเลิกจ้างหรือไม่ และสาเหตุดังกล่าวเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ ซึ่งอาจเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้างเอง หรือเหตุอื่นที่มิใช่ความผิดของลูกจ้างก็ได้ (ดังนั้น หากมีเหตุผล และศาลรับฟัง ก็เลิกจ้างได้-จอมโจรฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2549
การที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับคดีเกี่ยวกับการกู้เงินซึ่งอาจทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหาย จึงมีเหตุที่จำเลยที่ 1 จะไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานกับจำเลยที่ 1 ต่อไป การที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยที่ 1 ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7179/2545
จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์อ้างเหตุว่า "เพื่อความเหมาะสมในการบริหารงาน" ซึ่งยังไม่ได้ความชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่มีความเหมาะสมในการบริหารงานใด หรือจำเลยประสงค์จะให้เกิดความเหมาะสมในการบริหารงานเช่นใด จึงต้องพิจารณาจากคำให้การและข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบ ซึ่งข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังมาแสดงว่าเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นเพราะโจท
ก์ไม่สามารถปฏิบัติงานเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ เมื่อโจทก์ทำงานในระดับบริหารต้องประสานงานกับบุคลากรในส่วนงานอื่น ๆ ในระดับเดียวกัน แต่โจทก์ปฏิบัติงานเข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ แม้จำเลยจะได้ย้ายโจทก์ไปส่วนงานอื่น โจทก์ก็ยังทำงานในลักษณะเดิมโดยมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานอีก ชี้ให้เห็นว่าโจทก์น่าจะเป็นผู้ขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ไม่สามารถประสานงานกับบุคลากรในส่วนอื่นได้ ย่อมทำให้เกิดความขัดข้องในการบริหารจัดการของจำเลย ทำให้การผลิตและการบริการของจำเลยขาดประสิทธิภาพ อาจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายได้ จำเลยจึงมีเหตุผลอันสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 49/2549
การที่โจทก์ส่งเงินค่าผ่านทางขาดมาก่อนเป็นประจำ ผู้บังคับบัญชาตักเตือนแล้วโจทก์ยังส่งเงินค่าผ่านทางขาดอีกหลายครั้ง ก่อนที่จะเลิกจ้างโจทก์จำเลยที่ 1 ตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดทางวินัยโจทก์แล้วย่อมมีเหตุอันควร ที่จำเลยที่ 1 จะไม่ไว้ใจให้โจทก์ทำงานเป็นพนักงานเก็บค่าผ่านทางพิเศษ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยว่าการที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 ได้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควรและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธ
รรมแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2545
โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานยกกระเป๋าของโรงแรมจำเลยจะต้องทำดีที่สุดในการรักษาชื่อเสียงขอ
งโรงแรม โจทก์ใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวเท่ากับโจทก์ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุ ดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2545
เมื่อฟังได้ว่าโจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ ละเลยไม่ตรวจสอบการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา จำเลยที่ 1 จึงเลิกจ้างโจทก์โดยมีเหตุผลเพียงพอ ลำพังแต่ไม่มีการสอบสวนก่อนไม่ทำให้การเลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
เลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2545
จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่าตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายที่โจทก์ทำอยู่ถูกยุบ
อันเป็นความเท็จ เพราะตำแหน่งงานดังกล่าวยังไม่ได้ถูกยุบ แต่จำเลยใช้กลอุบายเลิกจ้างโจทก์โดยโอนกิจการที่โจทก์ทำอยู่ไปให้บริษัท ฮ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของจำเลยดำเนินกิจการแทน แต่ก็ยังคงใช้พนักงานเดิมและสถานที่เดิมของจำเลยและต่อมาจำเลยกับบริษัท ฮ. ก็รับลูกจ้างใหม่เข้าทำงานในตำแหน่งของโจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
#10
Posted 29 September 2009 - 08:17 PM
ตามที่ท่านจอมโจรว่าครับ และก็การลงชื่อในการทำหนังสือแจ้งเตือนของ ท่าน ISO-MAN
ทราบว่าต้องออกโดยตัวแทนนายจ้าง ปกติขั้นตอนที่ผมใช้ คือ แจ้งด้วยวาจา และ ออกหนังสือเตือน 2 ครั้ง จึงจะพิจารณาเลิกจ้าง
ยกเว้นผิดร้ายแรงก็ อัญเชิญออกทันที
สู้ครับ...เรารักพนักงานทุกคน แต่มักมีหัวหมอมาอยู่เรื่อย....
ตอบศาลแบบตอบแก้ NC.เลยครับ หลักฐานครบก็ลุย
#11
Posted 30 September 2009 - 08:22 AM
-วิธีการแก้ปัญหานี้แบบไม่ให้เกิดปัญหาค้างคาใจ ในเืมื่อบริษัทฯ ยินดีจะจ่าย พนักงานก็ยินดีจะรับ ควรจะให้ลูกจ้างเขียนใบลาออกเองครับ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย กล่าวคือทางบริษัทฯ ก็ไม่ต้องยุ่งยากในการขึ้นโรงขึ้นศาล พนักงานก็ไม่เสียประวัติ น่าจะเป็นอะไรที่แฟร์ที่สุดแล้วครับกระผม
#12
Posted 30 September 2009 - 08:46 AM
นอกจากนั้น การลงชื่อรับผิดของลูกจ้าง อาจไม่สามารถใช้อ้างได้เสมอไปหรอกครับน้า
เบิร์ด เบิร์ด ครับน้านุกูล ไม่ต้องเตรียมเขียนอะไรให้มันหรูหราหรอกครับ เตรียมหลักฐานไว้ให้พร้อม พอไปถึงศาลก็อธิบายไปตามเนื้อผ้า อ้างอิงหลักฐานให้ครบ คิดซะว่า อธิบายเหตุผลที่ออก CAR (เลิกจ้าง) ให้กับ ลูกจ้างหัวหมอคนนี้ฟัง ผ่านเจ้าหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานฟังอีกรอบ
ไม่มีอะไรจริงจริ๊งงงงงง
55555 ที่ท่านชอกล่าวมาก็อาจจริงแต่องค์กรไม่ได้คิดว่าเป็นการลดอำนาจบริหารครับ แต่คิดว่าคนเราแก้ไขปรับปรุงตัวได้ควรให้โอกาส แต่ในการจะให้โอกาสขอบันทึกเป็นหลักฐานเพื่อใช้ยืนยันเจตนาขององค์กรมิได้ต้องการแกล
้งพนักงาน เพราะเขาจะมีกรรมการสอบสวนป้องกันลูกพี่แกล้ง ทำไงได้นะครับดันได้บริษัทจรรยาบรรณดีเด่นหอการค้าไทย มันมีเรื่องธรรมภิบาลซึ่งทำเป็นจริงจังมานานแล้ว ไม่อยากขึ้นศาลครับ ตัวเองขึ้นบ่อยแล้วอิอิ เอสใจช่วยท่านนุกูลนะครับ
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ chatriwat@hotmail.com
Facebook: poppithai
Tel:089-6834451
#13
Posted 30 September 2009 - 01:55 PM
ขอให้รายละเอียดเพิ่มเติมครับ รบกวนช่วยแนะนำด้วย
1 เป็นการบอกเลิกจ้างก่อนงวดการจ่ายค่าจ้าง 1 งวดแน่นอน
2 ทำเป็นหนังสือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
3 จ่ายค่าชดเชยตามกฏหมาย คำนวณตามอายุงาน (เสมือนหนึ่งเป็นการจ่ายค่าชดเชยแบบพนักงานไม่มีความผิด)
ยังไงก็ขอขอบคุณทุกคนที่ให้คำแนะนำด้วยน่ะครับ
ขอบคุณครับ
Nukool Thanuanram
Mobile Phone: 097.954.4939
Facebook: Nukool Thanuanram
Fanpage: อาจารย์นุกูล วิทยากรสอนคนโรงงาน
LINE ID: nukool2001
E-Mail: nukool2001@gmail.com
เสือพี่เพราะป่าปก ป่ารกเพราะเสือยัง ดินเย็นเพราะหญ้าบัง และหญ้ายังเพราะดินดี "สรรพสิ่งล้วนเกื้อกูลพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน"
#14
Posted 30 September 2009 - 02:21 PM
1 เป็นการบอกเลิกจ้างก่อนงวดการจ่ายค่าจ้าง 1 งวดแน่นอน
2 ทำเป็นหนังสือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
3 จ่ายค่าชดเชยตามกฏหมาย คำนวณตามอายุงาน (เสมือนหนึ่งเป็นการจ่ายค่าชดเชยแบบพนักงานไม่มีความผิด)
ยังไงก็ขอขอบคุณทุกคนที่ให้คำแนะนำด้วยน่ะครับ
ขอบคุณครับ
ตรงส่วนนั้นเป็นเรื่องรองลงไปครับน้า (ถามเพื่อเป็นข้อมูล) แต่หลักมันอยู่ที่การทำเป็นหนังสือนั้น ระบุเหตุผลที่เพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่น่ะจ้ะ แต่อย่างที่บอก ความเห็นส่วนตัวมันเพียงพอแต่น้าก็ต้องมีข้อมูลเพียงพอที่จะอธิบายให้ศาลเชื่อก็แล้ว
กันนะ
#15
Posted 30 September 2009 - 03:39 PM
ขอบคุณมากครับพี่จอมโจร และเพื่อนๆท่านอื่นๆ สำหรับคำแนะนำทุกคำ
ยังไงผมก็คงจะนำเสนอตามข้อมูลความเป็นจริง และก็คงจะดำเนินการอย่างมีคุณธรรมและเมตตาธรรมต่อเพื่อนร่วมงานในฐานะลูกจ้างคนหนึ่ง
เหมือนกัน
ลำบากใจน่ะครับ บัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น เกรงว่า สุดท้ายก็บัวแล้งน้ำครับ 555
ยังไงก็ตาม ปัญหาก็คงมีไว้เพื่อแก้ ไม่ใช่มีไว้เพื่อแบก ใช่ไหมครับ
ขอบคุณน่ะครับ
Nukool Thanuanram
Mobile Phone: 097.954.4939
Facebook: Nukool Thanuanram
Fanpage: อาจารย์นุกูล วิทยากรสอนคนโรงงาน
LINE ID: nukool2001
E-Mail: nukool2001@gmail.com
เสือพี่เพราะป่าปก ป่ารกเพราะเสือยัง ดินเย็นเพราะหญ้าบัง และหญ้ายังเพราะดินดี "สรรพสิ่งล้วนเกื้อกูลพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน"
#16
Posted 30 September 2009 - 04:27 PM
ผมคงช่วยตอบอะไรไม่ได้ เพราะไม่ค่อยสันทัด เคยเรียนๆ ผ่านๆ มาบ้าง นานแล้ว แต่ดูๆ แล้ว คอมมอนเซนส์มันก็บอกว่า "ไม่น่ามีปัญหาอะไรครับ"
ผมเคยอ่านบทความในพันธ์ทิพเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ เลยลองไปค้นกระทู้เก่าๆ เขามาแปะให้ดู
คงไม่ใช่เคสตรงเป๊ะนะครับ แต่ลองไล่ๆ อ่านไป รวมถึงมีลิงค์ไปยังกระทู้ที่เกี่ยวข้อง อาจจะพอใช้แนวทางบางประการได้ครับ
http://topicstock.pa...9/B8146709.html
http://topicstock.pa...5/B7664135.html
#17
Posted 30 September 2009 - 05:46 PM
ขอบคุณมากครับอาจารย์ภูเบนทร์
วันเกิดไปฉลองที่ไหนมาครับ สุขสันต์วันคล้ายวันเกิดอีกครั้งน่ะครับ
Nukool Thanuanram
Mobile Phone: 097.954.4939
Facebook: Nukool Thanuanram
Fanpage: อาจารย์นุกูล วิทยากรสอนคนโรงงาน
LINE ID: nukool2001
E-Mail: nukool2001@gmail.com
เสือพี่เพราะป่าปก ป่ารกเพราะเสือยัง ดินเย็นเพราะหญ้าบัง และหญ้ายังเพราะดินดี "สรรพสิ่งล้วนเกื้อกูลพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน"
#18
Posted 02 October 2009 - 09:57 AM
ขอสรุปผลให้ฟังครับ
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณทุกคนอีกครั้งครับ ที่ช่วย Support ข้อมูลต่างๆให้
ศาลระบุว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมและถูกต้องตามกฏหมายครับ ไม่ถือว่าเป็นความผิดตามข้อกล่าวหาครับ
Nukool Thanuanram
Mobile Phone: 097.954.4939
Facebook: Nukool Thanuanram
Fanpage: อาจารย์นุกูล วิทยากรสอนคนโรงงาน
LINE ID: nukool2001
E-Mail: nukool2001@gmail.com
เสือพี่เพราะป่าปก ป่ารกเพราะเสือยัง ดินเย็นเพราะหญ้าบัง และหญ้ายังเพราะดินดี "สรรพสิ่งล้วนเกื้อกูลพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน"
#19
Posted 02 October 2009 - 10:10 AM
แอบอ่านมาหลายวันล่ะ
#20
Posted 02 October 2009 - 10:14 AM
ได้ข้อมูลถูกใจแล้ว อย่าลืม ขอบคุณ เจ้าของข้อมูลด้วยนะครับ
2 user(s) are reading this topic
0 members, 2 guests, 0 anonymous users