Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

เรื่อง Contingency plan (การ Handle Emergency กรณี Short supply)


  • This topic is locked This topic is locked
8 replies to this topic

#1 Suppadej

Suppadej

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,607 posts
  • Gender:Male

Posted 18 August 2009 - 08:58 AM

สวัสดีครับท่านผู้รู้ทั้งหลาย
วันนี้มีเรื่องจะขอสอบถามผู้รู้เกี่ยวกับเรื่อง Contingency plan (การ Handle Emergency กรณี Short supply) ครับว่ามันคืออะไร แล้วมีตัวอย่าง Procedure ไหมครับ
ขอบคุณครับ
สรรพเดช
"ในโลกนี้ไม่มีคนแปลกหน้าสำหรับเรา มีแต่เพื่อนที่เรายังไม่ได้พบกันเท่านั้น" E-mail suppadej@gmail.com

#2 Old man

Old man

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 432 posts
  • Gender:Male
  • Location:BSI Group Thailand
  • Interests:No Action , Talk Only.

Posted 18 August 2009 - 10:29 AM

รบกวนช่วย
ขยายคำว่า short supply ให้หน่อยครับ
จะได้ ไม่หลงประเด็น
ที่บริษัท ทำการผลิตอะไร และเป็นลูกค้าประเภทไหนครับ
ลูกค้าเมืองนอก ลูกค้าlotus ลูกค้าที่เป็น OEM มีรูปแบบการจัดการที่ต่างกันครับ




#3 Suppadej

Suppadej

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,607 posts
  • Gender:Male

Posted 18 August 2009 - 11:26 PM

Short supply คือการที่เราไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทันเวลาตามที่ลูกค้ากำหนดครับ เช่นอันมีเหตุเกิดจากเครื่องจักร Break down, การเกิดจารจล, น้ำท่วม เป็นต้นครับ
"ในโลกนี้ไม่มีคนแปลกหน้าสำหรับเรา มีแต่เพื่อนที่เรายังไม่ได้พบกันเท่านั้น" E-mail suppadej@gmail.com

#4 Suppadej

Suppadej

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,607 posts
  • Gender:Male

Posted 18 August 2009 - 11:29 PM

ที่บริษัทเป็น OEM ผลิตสินค้าประเภทอาหารเพื่อส่งให้ลูกค้าที่ไต้หวันครับ เพื่อส่งเข้าขายที่ห้าง Costco สัญชาติ USA ครับตอนที่เค้ามา Audit เค้าจ้าง CB ในประเทศไทยมา Audit ด้วย Costco standard ครับ
"ในโลกนี้ไม่มีคนแปลกหน้าสำหรับเรา มีแต่เพื่อนที่เรายังไม่ได้พบกันเท่านั้น" E-mail suppadej@gmail.com

#5 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,568 posts
  • Gender:Male

Posted 19 August 2009 - 06:45 AM

QUOTE(suppadej @ Aug 18 2009, 08:58 AM) <{POST_SNAPBACK}>
สวัสดีครับท่านผู้รู้ทั้งหลาย
วันนี้มีเรื่องจะขอสอบถามผู้รู้เกี่ยวกับเรื่อง Contingency plan (การ Handle Emergency กรณี Short supply) ครับว่ามันคืออะไร แล้วมีตัวอย่าง Procedure ไหมครับ
ขอบคุณครับ
สรรพเดช



อยากรู้ด้วยคนคร๊าบบบบบ


#6 Suppadej

Suppadej

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,607 posts
  • Gender:Male

Posted 19 August 2009 - 02:09 PM

อาจารย์ครับ ช่วยตอบทีนะครับ เพราะว่ายังงงมากเลยครับ
ขอบคุณครับ
สรรพเดช
"ในโลกนี้ไม่มีคนแปลกหน้าสำหรับเรา มีแต่เพื่อนที่เรายังไม่ได้พบกันเท่านั้น" E-mail suppadej@gmail.com

#7 Old man

Old man

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 432 posts
  • Gender:Male
  • Location:BSI Group Thailand
  • Interests:No Action , Talk Only.

Posted 20 August 2009 - 10:53 PM

Case คุณง่ายมาก สำหรับทำแผน contingency Plan

เขาบังคับให้คุณ บอกเขาว่า หากคุณส่งของให้เขาขาดจะทำอย่างไร
เช่น
คุณจะ
ส่งของ ให้เขา จากผลิตภัณฑ์ใน stock หรือ ทำการผลิตในทันที่ ไม่เกิน .... ชั่วโมง

ส่งของให้เขาทันที่ทางเครื่องเรือ ที่บินได้ ภายใน .... ชั่วโมง

แค่นี้

แต่ ผมขอฮธิบายยาวๆๆ ให้ดูงง เล่นๆๆ ที่นี่ http://www.training....ency-plan-.html

คัดลอกมาครับ

Contingency Plan คืออะไร

ในอุตสาหกรรม ในห่วงโซ่การผลิตsupply chain ย่อมต้องเกิดความเสี่ยงต่อความสามารถในการผลิตตลอดห่วงโซ่นั้นๆ ดังนั้นปัญหาของบริษัทหนึ่งอาจสร้างผลกระทบต่อบริษัทอื่นๆได้

ในอดีตเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่ต้องบริหารความเสี่ยงในการจัดหา ว่าจ้างต่างๆ ซึ่งต้องเตรียมทางหนีที่ไล่ให้พร้อมในกรณีที่ supplier มีปัญหา แต่ด้วยระบบการผลิตปัจจุบันที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างยิ่งใน supply chain ดังนั้นแม้ว่าท่านไม่ห่วงบริษัทของท่านว่าหากเกิดวิกฤติการณ์ท่านจะทำอย่างไรให้ธุรก
ิจมีความต่อเนื่อง แต่ผู้ซื้อของท่านห่วง ดังนั้นในเรื่อง Contingency plan จึงเป็นเรื่องที่ผู้ซื้อบังคับให้ท่านมีแผนนี้ไว้

ตัวอย่างของสถานการณ์ความไม่แน่นอน ( Contigency)
เหตุธรรมชาติพิบัติ เช่น แผ่นดินไหว , น้ำท่วม, ไฟไหม้ พายุ ขาดสาธารณูปโภคพื้นฐานเช่น ขาดน้ำ ขาดไฟ ขาดพลังงาน การประท้วง หยุดงาน เป็นต้น มากน้อยแล้วแต่ประเภทและขนาดขององค์กรท่าน
อื่นๆ เช่นต เกิดมลพิษจากสถานประกอบการใกล้เคียง คอมพิวเตอร์ขัดข้อง สารเคมีหก เกิดปัญหาร้ายแรงกับซัพพลายเออร์ของท่าน เอกสารที่สำคัญหาย


แต่ละองค์กรจำเป็นต้องมีแผนตอบโต้สถานการณ์ความไม่แน่นอนที่เหมือนกันหรือไม่

ไม่ แต่ละประเทศ แต่ละจังหวัด มีปัญหาที่ต่างกัน มีผลในเรื่องเหตุธรรมชาติพิบัติที่ต่างกัน เช่นน้ำท่วม หากประวัติศาสตร์ไม่เคยมีน้ำท่วมในพื้นที่ท่านย้อนหลังไป 10-20 ปี แนะนำว่าท่านคงไม่มีความจำเป็นต้องทำแผนในสิ่งที่มีโอกาสหนึ่งในล้านที่จะเกิดขึ้น
ดังนั้นก่อนทำ contingency plan ควรทำการคำนึงถึง โอกาสการเกิดและผลกระทบเสมอ ไม่ว่าอย่างไร ลูกค้าของท่านมักเป็นผู้กำหนดประเด็นให้ท่านทำแผนตอบโต้นี้

อะไรคือวัตถุประสงค์ของ contigency

เนื่องจากสถานการณ์ทีไม่แน่นอน ( Contigency) เป็นสถานการณ์ที่ซึ่งไม่สามารถป้องกันการเกิดได้ แต่ไม่ว่าอย่างไร เราสามารถลดผลกระทบที่อาจเกิดและในบางกรณีอาจสามารถลดโอกาศการเกิดได้ ด้วยเหตุนี้แผนฉุกเฉิน Contingency Plans ต้องเน้นในแง่วิธีการในการลดผลกระทบที่ซึ่งสามารถควบคุมได้โดยองค์กรของคุณโดยการวาง
แผนล่วงหน้า

ในแผนควรมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

จากวัตถุประสงค์ตามที่กล่าวข้องต้น สิ่งที่ต้องปรากฏในแผนจะต้องประกอบด้วย มาตรการในการหลีกเลี่ยงเหตุการณ์และ ระงับหรือลดผลกระทบ(การเยียวยา บรรเทาผล) ต่อลูกค้าของท่าน

ในเรื่อง contingency มีการพัฒนามาจากเรื่องความปลอดภัย
เข่น หากเป็นเรื่องอัคคีภัย โดยส่วนมากมักประกอบด้วย
1. แผนก่อนเกิด
แผนการอบรม
แผนการตรวจสอบ
แผนการรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย

2. แผนขณะเกิดไฟไหม้
แผนการดับเพลิง
แผนการอพยพ
แผนการบรรเทาทุกข์

3. หลังเพลิงสงบ
แผนการปฏิรูปฟื้นฟู

ต้องวางแผนไว้อย่างละเอียดหรือต้องมากแค่ไหน

จะมากจะน้อยขึ้นอยู่กับ โอกาสและความเสี่ยง รวมถึงความร้ายแรงหากเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นมา เพราะหัวใจของเรื่องนี้การคือ ลดผลกระทบและโอกาสการเกิด

มีตัวอย่าง procedureไหม

โดยส่วนตัว ความเห็นในเรื่องนี้ ไม่มีความจำเป็นต้องเป็น procedure
สิ่งที่สำคัญคือแผนงานที่ต้องเตรียมไว้ ในแผนงานนี้คือการระบุสิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อแก้ไขหรือจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น

หัวข้อของแผนควรประกอบด้วย
1. แหล่งความเสี่ยง
2. รายละเอียดของสถานการณฺ์ไม่แน่นอน
3. ผลกระทบต่อธุรกิจ
4. แผนสำรองฉุกเฉิน
5. การเตรียมการล่วงหน้าเพื่อป้องกัน

ไม่ว่าอย่างไรต้องการ procedure

หากท่านโดนบังคับ จากคนซื้อบื้อ
ว่าต้องมี procedure....
แนะนำ เขียน procedure ง่ายๆ

1. กำหนดว่าคณะกรรมการตอบโต้สถานการณ์ไม่แน่นอนนี่้ประกอบด้่วยใตรบ้าง
2. ทำการประชุมเพื่อกำหนดมาตรการ
3. ระบุมาตรการเป็นเอกสาร
4. ทำการทบทวนโดยฝ่ายบริหารปรุจำปี

ง่ายดีไม้

เรื่องพวกนี้ เป็นเรื่องการจัดการวิกฤติ
ไม่ใช่งาน routine
ไม่มีขั้นตอนหรอก
มีแต่แผนสำรองที่ต้ิองเตรียมไว้
มีแต่การกำหนดว่าใครต้องรู้เรื่องแผนสำรองบ้าง
มีแต่กำหนดว่าใครต้องรับผิดชอบอะไร ต้องแจ้งใคร ต้องเตรียมอะไร
ต้องโทรหาใคร .....
ต้องมีรายชื่อของใคร ตอ้งมีหมายเลขโทรศัพย์
ต้องติดต่อทำสัญญากับ sub รายไหนล่วงหน้า .....

ไม่จำเป็นหรอก procedure ผมอาจสับสนระหว่างคำว่า procedureกับแผน
ซึ่งหาก procedure มีลักษณะเหมือนแผน ผมก็ว่าดีนะ

อื่นๆ อาจตอ้งรบกวนท่านอื่นๆ ใน web board นี้ น่าจะมีตัวอย่างเยอะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

อื่นๆ ลองใช้ google ซิ
พอมี ขอบอก.........

#8 Suppadej

Suppadej

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,607 posts
  • Gender:Male

Posted 21 August 2009 - 12:12 AM


อาจารย์
ขอบคุณมากครับ smiley-signs003.gif
"ในโลกนี้ไม่มีคนแปลกหน้าสำหรับเรา มีแต่เพื่อนที่เรายังไม่ได้พบกันเท่านั้น" E-mail suppadej@gmail.com

#9 golfmba8

golfmba8

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 81 posts

Posted 21 August 2009 - 05:00 PM

ขอบคุณมากครับ เป็นคำแนะนำที่ดีมากๆเลยครับ พอกระจ่างเป็นแนวทางขึ้นมาอีกหน่อย




0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users