ใครรู้ช่วยบอกที่ ระบบ ergonomics คืออะไร ogqs@ogawaasia.co.th
ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

สอบถาม
Started by
sherry
, Jul 21 2009 04:06 PM
1 reply to this topic
#1
Posted 21 July 2009 - 04:06 PM
#2
Posted 21 July 2009 - 05:03 PM
ที่มาและความหมาย "Ergonomics"
ที่มาของคำว่าเออร์โกโนมิคส์ สามารถสืบค้นได้ว่ามีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 โดยนักการยศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ KFH Murrell ได้นำเอาคำสองคำจากภาษากรีกมาสนธิกันคือคำ ergon ซึ่งหมายถึงงานหรือ work และคำว่า nomos ซึ่งหมายถึงกฎ หรือ Law เมื่อรวมแล้วจะเกิดคำใหม่ขึ้นมาคือ ergonomics หรือ Law of work
ถ้าจะให้คำจำกัดความของคำว่าการยศาสตร์ก็จะได้ความว่า ศาสตร์ในการจัดสภาพงานให้เหมาะกับคนทำงาน หรือ การศึกษาคนในสิ่งแวดล้อมการทำงาน นั่นเอง สำหรับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ( International Labour Organization, ILO ) ได้ให้คำจำกัดความของการยศาสตร์ไว้ว่า การประยุกต์ใช้วิชาการทางด้านชีววิทยาของมนุษย์ และวิศวกรรมศาสตร์ให้เข้ากับคนงานและสิ่งแวดล้อมในการทำงานของเขา เพื่อให้คนงานเกิดความพอใจในการทำงาน และได้ผลผลิตสูงสุด ดังนั้น การยศาสตร์จึงเป็นวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการปรับงานให้เข้ากับความสามารถทั้งทางด้า
นร่างกายและจิตใจ รวมทั้งข้อจำกัดของคนงาน
ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีผู้ให้ความหมายของ เออร์โกโนมิคส์ ในเชิงปฏิบัติว่าคือ การศึกษาเกี่ยวกับการประสานกัน หรืออันตรกิริยาระหว่างมนุษย์และเครื่องมืออุปกรณ์ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์ทำงานอ
ยู่ ความหมายนี้ดูเหมือนจะครอบคลุมองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดไว้แล้ว คือ มนุษย์ เครื่องมืออุปกรณ์ สิ่งแวดล้อมและอันตรกิริยาที่ซับซ้อนระหว่างปัจจัยทั้งสามนี้
ความหมายของคำว่า เออร์โกโนมิคส์ อีกอย่างหนึ่งที่ขยายความเพิ่มขึ้นจากที่กล่าวมาแล้ว โดยครอบคลุมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ เครื่องมืออุปกรณ์ สถานีงาน ( workstation ) และระบบงาน ( work system ) เพื่อให้บุคคลผู้ใช้ผู้ทำงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
Sanders และ McCormick (2530) ได้ให้ความหมายที่เน้นความสำคัญของมนุษย์เป็นหลักคือ การยึดลักษณะธรรมชาติมนุษย์เป็นเกณฑ์สำหรับการออกแบบสร้างเครื่องมืออุปกรณ์และวิธีก
ารทำงานภายใต้สภาวะแวดล้อมใด ๆ อย่างมีเป้าหมาย กล่าวคือ การใช้ความพยายามที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยอาศัยเหตุผลที่สอดคล้องกันระหว่
างระบบ คน-เครื่องมืออุปกรณ์-สิ่งแวดล้อม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัยของคนทำงาน
ความหมายของคำว่าการยศาสตร์นั้น ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาใช้คำว่า human factors ในขณะที่ประเทศทางแถบยุโรป รวมถึงประเทศไทยใช้คำว่า เออร์โกโนมิคส์ ทั้งสองคำนี้มีความหมายในทางปฏิบัติไม่แตกต่างกัน บางครั้งอาจได้ยินคำว่า human factors engineering หรือ human engineering บ้าง ก็ให้เข้าใจว่าหมายถึงเออร์โกโนมิคส์นั่นเอง
สำหรับการใช้คำภาษาไทยในความหมายของเออร์โกโนมิคส์นั้น เท่าที่ผ่านมาก็ใช้คำว่า วิทยาการจัดสภาพงาน หรือคำอื่น ๆ แล้วแต่ความต้องการในการสื่อความหมาย และในท้ายที่สุดคณะกรรมการบัญญัติศัพท์วิศวกรรมศาสตร์สาขาเครื่องกลและอุตสาหกรรม ของราชบัณฑิตยสถานได้พิจารณาบัญญัติศัพท์ของคำว่า เออร์โกโนมิคส์ ไว้คือ การยศาสตร์ ได้อธิบายว่า การยเป็นคำในภาษาสันสกฤต หมายถึง การงานหรือ work และศาสตร์ก็คือ วิทยาการ หรือ science นั่นเอง รวมความเป็น work science ในปัจจุบันคำว่า การยศาสตร์ เป็นที่ยอมรับและใช้กันแพร่หลายมากขึ้น
เอกสารอ้างอิง
สสิธร เทพตระการพร. เอกสารการอบรมการยศาสตร์. กรุงเทพฯ บริษัท ริชเทค บิสซิเนส จำกัด, 2546.
ที่มา
http://ergo.engr.tu....eknow/know1.htm
ที่มาของคำว่าเออร์โกโนมิคส์ สามารถสืบค้นได้ว่ามีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 โดยนักการยศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ KFH Murrell ได้นำเอาคำสองคำจากภาษากรีกมาสนธิกันคือคำ ergon ซึ่งหมายถึงงานหรือ work และคำว่า nomos ซึ่งหมายถึงกฎ หรือ Law เมื่อรวมแล้วจะเกิดคำใหม่ขึ้นมาคือ ergonomics หรือ Law of work
ถ้าจะให้คำจำกัดความของคำว่าการยศาสตร์ก็จะได้ความว่า ศาสตร์ในการจัดสภาพงานให้เหมาะกับคนทำงาน หรือ การศึกษาคนในสิ่งแวดล้อมการทำงาน นั่นเอง สำหรับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ( International Labour Organization, ILO ) ได้ให้คำจำกัดความของการยศาสตร์ไว้ว่า การประยุกต์ใช้วิชาการทางด้านชีววิทยาของมนุษย์ และวิศวกรรมศาสตร์ให้เข้ากับคนงานและสิ่งแวดล้อมในการทำงานของเขา เพื่อให้คนงานเกิดความพอใจในการทำงาน และได้ผลผลิตสูงสุด ดังนั้น การยศาสตร์จึงเป็นวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการปรับงานให้เข้ากับความสามารถทั้งทางด้า
นร่างกายและจิตใจ รวมทั้งข้อจำกัดของคนงาน
ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีผู้ให้ความหมายของ เออร์โกโนมิคส์ ในเชิงปฏิบัติว่าคือ การศึกษาเกี่ยวกับการประสานกัน หรืออันตรกิริยาระหว่างมนุษย์และเครื่องมืออุปกรณ์ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์ทำงานอ
ยู่ ความหมายนี้ดูเหมือนจะครอบคลุมองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดไว้แล้ว คือ มนุษย์ เครื่องมืออุปกรณ์ สิ่งแวดล้อมและอันตรกิริยาที่ซับซ้อนระหว่างปัจจัยทั้งสามนี้
ความหมายของคำว่า เออร์โกโนมิคส์ อีกอย่างหนึ่งที่ขยายความเพิ่มขึ้นจากที่กล่าวมาแล้ว โดยครอบคลุมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ เครื่องมืออุปกรณ์ สถานีงาน ( workstation ) และระบบงาน ( work system ) เพื่อให้บุคคลผู้ใช้ผู้ทำงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
Sanders และ McCormick (2530) ได้ให้ความหมายที่เน้นความสำคัญของมนุษย์เป็นหลักคือ การยึดลักษณะธรรมชาติมนุษย์เป็นเกณฑ์สำหรับการออกแบบสร้างเครื่องมืออุปกรณ์และวิธีก
ารทำงานภายใต้สภาวะแวดล้อมใด ๆ อย่างมีเป้าหมาย กล่าวคือ การใช้ความพยายามที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยอาศัยเหตุผลที่สอดคล้องกันระหว่
างระบบ คน-เครื่องมืออุปกรณ์-สิ่งแวดล้อม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัยของคนทำงาน
ความหมายของคำว่าการยศาสตร์นั้น ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาใช้คำว่า human factors ในขณะที่ประเทศทางแถบยุโรป รวมถึงประเทศไทยใช้คำว่า เออร์โกโนมิคส์ ทั้งสองคำนี้มีความหมายในทางปฏิบัติไม่แตกต่างกัน บางครั้งอาจได้ยินคำว่า human factors engineering หรือ human engineering บ้าง ก็ให้เข้าใจว่าหมายถึงเออร์โกโนมิคส์นั่นเอง
สำหรับการใช้คำภาษาไทยในความหมายของเออร์โกโนมิคส์นั้น เท่าที่ผ่านมาก็ใช้คำว่า วิทยาการจัดสภาพงาน หรือคำอื่น ๆ แล้วแต่ความต้องการในการสื่อความหมาย และในท้ายที่สุดคณะกรรมการบัญญัติศัพท์วิศวกรรมศาสตร์สาขาเครื่องกลและอุตสาหกรรม ของราชบัณฑิตยสถานได้พิจารณาบัญญัติศัพท์ของคำว่า เออร์โกโนมิคส์ ไว้คือ การยศาสตร์ ได้อธิบายว่า การยเป็นคำในภาษาสันสกฤต หมายถึง การงานหรือ work และศาสตร์ก็คือ วิทยาการ หรือ science นั่นเอง รวมความเป็น work science ในปัจจุบันคำว่า การยศาสตร์ เป็นที่ยอมรับและใช้กันแพร่หลายมากขึ้น
เอกสารอ้างอิง
สสิธร เทพตระการพร. เอกสารการอบรมการยศาสตร์. กรุงเทพฯ บริษัท ริชเทค บิสซิเนส จำกัด, 2546.
ที่มา
http://ergo.engr.tu....eknow/know1.htm
1 user(s) are reading this topic
0 members, 1 guests, 0 anonymous users