สวัสหวัดดีค่ะพี่ๆทุกคน วันนี้มีเรื่องมารบกวนค่ะ พอดีว่าได้งานใหม่แล้วหัวหน้าอยากให้ปรับการสุ่มตัวอย่าง Raw Material กับผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปใหม่
ไม่ถนัดเรื่องวิธีการเลยค่ะว่าจะเลือกใช้การสุ่มแบบไหน %AQL ที่เท่าไหร่ รบกวนขอเอกสารที่อธิบายวิธีการสุ่มตัวอย่างกับผู้รู้ด้วยนะคะ (บริษัททำเกี่ยวกับวัตถุระเบิดน่ะค่ะ) จากน้องผู้เดือดร้อน
ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

วิธีการสุ่มตัวอย่าง
Started by
มาเอมิจัง
, Jun 14 2009 02:56 PM
3 replies to this topic
#1
Posted 14 June 2009 - 02:56 PM
#2
Posted 15 June 2009 - 04:43 AM
เรื่องมันมีอยู่ว่า กาลครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว ที่เรานำมาตรฐานการชักสุ่มตรวจสอบเพื่อการยอมรับในรดับคุณภาพของทหารมาใช้
นั่นก็คือ Mil-Std-105E ซึ่งเป็น Version ปัจจุบัน และคำๆหนึ่งที่เราจะเจอในมาตรฐานนี้ คือคำว่า AQL-Acceptable Quality Level
หมายถึงระดับหรือเกณฑ์ที่อาจจะมีของเสียปนมา แต่เรายอมรับได้ จะยอมรับที่เท่าไหร่ กี่ %
ยกตัวอย่างว่า Supplier ส่งงานมา 100 ชิ้น คุณยอมให้มีของเสียได้ไม่เกิน 1 ชิ้น แปลว่า คุณต้องใช้ AQL 1.0 และถ้าตอนที่คุณตรวจรับ เจอของเสียไม่เกิน 1%
แปลว่าคุณจะต้องยอมรับ Lot ทั้งหมดด้วย
แต่ ในทางหลักปฏิบัติจริงๆแล้ว คุณจะตั้งเกณฑ์ AQL เดียว แต่จะใช้กับทุกๆ Supplier เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่า
Supplier แต่ละราย ความสามารถของกระบวนการผลิตของเขาอาจจะไม่เท่ากัน ที่เรามักเรียกว่า เครื่องจักร หรือไลน์การผลิต มันนิ่งหรือไม่นิ่งนั่นแหละ
แปลว่า Supplier บางรายอาจมีของเสียปนมาน้อย บางรายอาจมีของเสียปนมาเยอะ ถ้าเราสุ่มเท่ากัน ก็เสี่ยงครับ
ดังนั้น สิ่งแรกที่เราควรรู้ คือ ความสามารถของกระบวนการของ Supplier แต่ละราย ดูจากไหนได้บ้างล่ะ เช่น
- ประวัติของเสียที่ QC เราตรวจพบ
- ข้อมูล Cp - Cpk
- ขอ Ratio จาก Supplier มาเลย ว่าปัจจุบันสัดส่วนของเสีย อยู่ที่กี่ %
แล้วค่อยเอามาตั้งเกณฑ์ในการกำหนด AQL ในการ Sampling และ Judgement ให้เหมาะกับแต่ละ Supplier ครับ
ประมาณว่า กระบวนการยิ่งแย่ โอกาสในการผลิตของเสียยิ่งมาก เราก็ยิ่งควรสุ่มเยอะ (ระดับการสุ่มก็อาจจะเคร่งครัดกันหน่อย) AQL ก็อาจจะกว้างๆไปก่อน แล้วค่อยบีบให้แคบลงไปเรื่อยๆ ครับ
แต่ถ้า Supplier กระบวนการนิ่งแล้ว เราก็ควรตั้ง AQL ให้น้อยๆ เพื่อกระตุ้นให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องอีกเช่นกัน
สรุปว่า ไม่ฟันธงครับ ว่า AQL ควรตั้งที่เท่าไหร่ เพราะในชีวิตจริง เวลาเราซื้อของจาก Supplier เราต้องการให้มีของเสียปนมาไหมล่ะ ถ้าไม่ แปลว่า จริงๆแล้ว AQL ที่เราควรจะตั้ง = ....... %
ส่วนเรื่องงานสำเร็จรูปก็คล้ายกันครับ ลูกค้ายอมรับของเสียที่เท่าไหร่ กี่ % ความสามารถของกระบวนการปัจจุบัน ของเสียอยู่ที่กี่ % แล้วค่อยหา AQL ที่จะนำมาใช้เป็นเกณฑ์ครับ
ไม่ใช่ว่า ลูกค้าบอกของเสียต้อง = 0 แต่เรากลับมาใช้ AQL ที่ 1.00 เป็นต้น อย่างนี้ไม่ใช่ เพราะมันกำลังหมายความว่า ทุกๆ 100 ชิ้น อาจมีของเสีย ปนไปประมาณ 1 ชิ้น
แสดงว่า ลูกค้ามีโอกาสเจอหรือได้รับของเสีย 1 ชิ้น จาก Lot ของการส่งมอบ 100 ชิ้น แล้วแบบนี้ ลูกค้าเขา OK ไหม
ลองดูครับ เพราะหลักการของการสุ่มตรวจสอบเพื่อการยอมรับ เราใช้กฏแห่งโอกาสเข้ามาช่วย ถ้าโอกาสที่ลูกค้าจะยอมรับเมื่อเจอของเสีย = 0 ชิ้น
แปลว่า โอกาสที่เราจะผลิตหรือยอมให้มีของเสียหลุดไปถึงลูกค้าหลังการตรวจสอบ ย่อม ต้องน้อยกว่าหรือไม่เกิน 0 ด้วยเช่นกัน
นั่นก็คือ Mil-Std-105E ซึ่งเป็น Version ปัจจุบัน และคำๆหนึ่งที่เราจะเจอในมาตรฐานนี้ คือคำว่า AQL-Acceptable Quality Level
หมายถึงระดับหรือเกณฑ์ที่อาจจะมีของเสียปนมา แต่เรายอมรับได้ จะยอมรับที่เท่าไหร่ กี่ %
ยกตัวอย่างว่า Supplier ส่งงานมา 100 ชิ้น คุณยอมให้มีของเสียได้ไม่เกิน 1 ชิ้น แปลว่า คุณต้องใช้ AQL 1.0 และถ้าตอนที่คุณตรวจรับ เจอของเสียไม่เกิน 1%
แปลว่าคุณจะต้องยอมรับ Lot ทั้งหมดด้วย
แต่ ในทางหลักปฏิบัติจริงๆแล้ว คุณจะตั้งเกณฑ์ AQL เดียว แต่จะใช้กับทุกๆ Supplier เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่า
Supplier แต่ละราย ความสามารถของกระบวนการผลิตของเขาอาจจะไม่เท่ากัน ที่เรามักเรียกว่า เครื่องจักร หรือไลน์การผลิต มันนิ่งหรือไม่นิ่งนั่นแหละ
แปลว่า Supplier บางรายอาจมีของเสียปนมาน้อย บางรายอาจมีของเสียปนมาเยอะ ถ้าเราสุ่มเท่ากัน ก็เสี่ยงครับ
ดังนั้น สิ่งแรกที่เราควรรู้ คือ ความสามารถของกระบวนการของ Supplier แต่ละราย ดูจากไหนได้บ้างล่ะ เช่น
- ประวัติของเสียที่ QC เราตรวจพบ
- ข้อมูล Cp - Cpk
- ขอ Ratio จาก Supplier มาเลย ว่าปัจจุบันสัดส่วนของเสีย อยู่ที่กี่ %
แล้วค่อยเอามาตั้งเกณฑ์ในการกำหนด AQL ในการ Sampling และ Judgement ให้เหมาะกับแต่ละ Supplier ครับ
ประมาณว่า กระบวนการยิ่งแย่ โอกาสในการผลิตของเสียยิ่งมาก เราก็ยิ่งควรสุ่มเยอะ (ระดับการสุ่มก็อาจจะเคร่งครัดกันหน่อย) AQL ก็อาจจะกว้างๆไปก่อน แล้วค่อยบีบให้แคบลงไปเรื่อยๆ ครับ
แต่ถ้า Supplier กระบวนการนิ่งแล้ว เราก็ควรตั้ง AQL ให้น้อยๆ เพื่อกระตุ้นให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องอีกเช่นกัน
สรุปว่า ไม่ฟันธงครับ ว่า AQL ควรตั้งที่เท่าไหร่ เพราะในชีวิตจริง เวลาเราซื้อของจาก Supplier เราต้องการให้มีของเสียปนมาไหมล่ะ ถ้าไม่ แปลว่า จริงๆแล้ว AQL ที่เราควรจะตั้ง = ....... %
ส่วนเรื่องงานสำเร็จรูปก็คล้ายกันครับ ลูกค้ายอมรับของเสียที่เท่าไหร่ กี่ % ความสามารถของกระบวนการปัจจุบัน ของเสียอยู่ที่กี่ % แล้วค่อยหา AQL ที่จะนำมาใช้เป็นเกณฑ์ครับ
ไม่ใช่ว่า ลูกค้าบอกของเสียต้อง = 0 แต่เรากลับมาใช้ AQL ที่ 1.00 เป็นต้น อย่างนี้ไม่ใช่ เพราะมันกำลังหมายความว่า ทุกๆ 100 ชิ้น อาจมีของเสีย ปนไปประมาณ 1 ชิ้น
แสดงว่า ลูกค้ามีโอกาสเจอหรือได้รับของเสีย 1 ชิ้น จาก Lot ของการส่งมอบ 100 ชิ้น แล้วแบบนี้ ลูกค้าเขา OK ไหม
ลองดูครับ เพราะหลักการของการสุ่มตรวจสอบเพื่อการยอมรับ เราใช้กฏแห่งโอกาสเข้ามาช่วย ถ้าโอกาสที่ลูกค้าจะยอมรับเมื่อเจอของเสีย = 0 ชิ้น
แปลว่า โอกาสที่เราจะผลิตหรือยอมให้มีของเสียหลุดไปถึงลูกค้าหลังการตรวจสอบ ย่อม ต้องน้อยกว่าหรือไม่เกิน 0 ด้วยเช่นกัน
Nukool Thanuanram
Mobile Phone: 097.954.4939
Facebook: Nukool Thanuanram
Fanpage: อาจารย์นุกูล วิทยากรสอนคนโรงงาน
LINE ID: nukool2001
E-Mail: nukool2001@gmail.com
เสือพี่เพราะป่าปก ป่ารกเพราะเสือยัง ดินเย็นเพราะหญ้าบัง และหญ้ายังเพราะดินดี "สรรพสิ่งล้วนเกื้อกูลพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน"
#3
Posted 15 June 2009 - 06:44 AM
ผมได้รับความรู้เพิ่มเติมด้วยนะเนี่ย ขอบเตียง เอ้ย ขอบคุณครับ อ.นุกูล
#4
Posted 15 June 2009 - 08:17 AM
เก็บข้อมูล
ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณค่ะ
1 user(s) are reading this topic
0 members, 1 guests, 0 anonymous users