Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

รบกวนสอบถามแนวทางวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาส ISO9001:2015


  • Please log in to reply
10 replies to this topic

#1 Cofe

Cofe

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 24 posts

Posted 15 September 2016 - 09:42 PM

รบกวนสอบถามแนวทางการวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาส ISO9001:2015 ด้วยครับ

 

1. บริษัทผม มี Vision  Mission  ทิศทางกลยุทธ์หลักๆขององค์กร  ความต้องการผู้มีส่วนได้เสีย และหัวข้อความต้องการต่อระบบ QMS แล้วครับ
2. จากนั้นจึงมาทำ SWOT กันต่อ เพื่อกำหนดปัจจัยภายในและภายนอก โดยพิจารณาจากการจะทำให้ได้ตามข้อ 1 และจับคู่เพื่อทำ SWOT Matrix ออกมาเป็นกลยุทธ์ 

3. นำกลยุทธ์ที่ได้เยอะแยะนั้นมาเลือก แล้วเขียนออกมาเป็น Strategy Map ตามแนว Balanced Scorecard แล้วทำแผนกลยุทธ์ระยะยาวต่อ
4. กำหนดนโยบายคุณภาพ แล้วก็ทำตามแนว ISO9001:2008 คือ วัตถุประสงค์คุณภาพ แผนปฎิบัติ KPI

 

คำถามที่ 1
สิ่งที่รบกวนสอบถามคือ การวิเคราะห์ SWOT และจับคู่ปัจจัยต่างๆ  ออกมาเป็นกลยุทธ์และแผนปฏิบัตินั้น ถือว่าได้ทำสอดคล้องกับข้อกำหนด 4.1,  4.2, 6.1, 6.2 แล้วใช่ไหมครับ  เพราะเราได้วิเคราะห์ความเสี่ยงแล้วและมีกลยุทธ์ WO  WT  และวิเคราะห์โอกาสแล้วและมีกลยุทธ์ SO ST 

ข้างต้นนี้ผมเข้าใจถูกไหมครับ

คำถามที่ 2
วิเคราะห์ความเสี่ยงกระบวนการต่างๆของแต่ละแผนกและความเสี่ยงด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์  โfยใช้ FMEA  ได้ไหมครับ

ขอบคุณทุกๆท่านมากๆครับสำหรับความช่วยเหลือ



#2 iso_man

iso_man

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 5,134 posts
  • Gender:Male

Posted 16 September 2016 - 11:32 AM

รบกวนสอบถามแนวทางการวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาส ISO9001:2015 ด้วยครับ

 

1. บริษัทผม มี Vision  Mission  ทิศทางกลยุทธ์หลักๆขององค์กร  ความต้องการผู้มีส่วนได้เสีย และหัวข้อความต้องการต่อระบบ QMS แล้วครับ
2. จากนั้นจึงมาทำ SWOT กันต่อ เพื่อกำหนดปัจจัยภายในและภายนอก โดยพิจารณาจากการจะทำให้ได้ตามข้อ 1 และจับคู่เพื่อทำ SWOT Matrix ออกมาเป็นกลยุทธ์ 

3. นำกลยุทธ์ที่ได้เยอะแยะนั้นมาเลือก แล้วเขียนออกมาเป็น Strategy Map ตามแนว Balanced Scorecard แล้วทำแผนกลยุทธ์ระยะยาวต่อ
4. กำหนดนโยบายคุณภาพ แล้วก็ทำตามแนว ISO9001:2008 คือ วัตถุประสงค์คุณภาพ แผนปฎิบัติ KPI

 

คำถามที่ 1
สิ่งที่รบกวนสอบถามคือ การวิเคราะห์ SWOT และจับคู่ปัจจัยต่างๆ  ออกมาเป็นกลยุทธ์และแผนปฏิบัตินั้น ถือว่าได้ทำสอดคล้องกับข้อกำหนด 4.1,  4.2, 6.1, 6.2 แล้วใช่ไหมครับ  เพราะเราได้วิเคราะห์ความเสี่ยงแล้วและมีกลยุทธ์ WO  WT  และวิเคราะห์โอกาสแล้วและมีกลยุทธ์ SO ST 

ข้างต้นนี้ผมเข้าใจถูกไหมครับ

คำถามที่ 2
วิเคราะห์ความเสี่ยงกระบวนการต่างๆของแต่ละแผนกและความเสี่ยงด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์  โfยใช้ FMEA  ได้ไหมครับ

ขอบคุณทุกๆท่านมากๆครับสำหรับความช่วยเหลือ

ข้อที่ 1 มีการบอกแล้วใช่ไหมครับว่าความเสี่ยงจัดการอย่างไร ถ้ามีแล้ว OK

ข้อที่ 2 ใช้ได้ครับสำหรับผลิตภัณฑ์แต่กระบวนการอื่นๆไม่แน่ใจว่าหากมาใช้กับกระบวนการอื่นๆ ลองพิจารณาว่าทำง่ายไหมและครอบคลุมหรือไม่


การมีความรู้ มาจากการเรียนรู้ และปฏิบัติ หากเรียนอย่างเดียวไม่ปฏิบัีติก็เรียกว่ารุ้ไม่จริง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ chatriwat@hotmail.com
Facebook: poppithai
Tel:089-6834451

#3 Cofe

Cofe

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 24 posts

Posted 16 September 2016 - 02:37 PM

ข้อที่ 1 ความเสี่ยงจัดการยังไง.... คิดว่ามีแล้วนะครับ เช่น บุคลากรระดับหัวหน้างานอายุมากและทำงานใช้ประสบการณ์เป็นหลัก ทำให้เสี่ยงต่อองค์ความรู้ที่อาจหายไปพร้อมคนเมื่อเกษียณหรือออก จึงทำเรื่อง 1)ความรู้องค์กร 2) พัฒนาทีมงานรุ่นใหม่ ครับ ประมาณนี้ครับ ใช้ได้ไหมครับ

ข้อ 2 นั้น ยังไม่แน่ใจเหมือนกันครับ คงต้องลองกำหนดเกณฑ์ดูก่อน ถ้าทำแล้วงงมากๆ ก็อาจใช้แค่เกณฑ์ ความรุนแรง กับความความถี่ครับ.. แค่อยากให้มันมีแบบเดียวในบริษัทน่ะครับ เลยคิดจะใช้ FMEA แต่ถ้าไม่ไหวคงต้องยอมเขียนใหม่ครับ

ขอบคุณ​มากๆครับ

#4 iso_man

iso_man

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 5,134 posts
  • Gender:Male

Posted 16 September 2016 - 03:01 PM

ข้อที่ 1 ความเสี่ยงจัดการยังไง.... คิดว่ามีแล้วนะครับ เช่น บุคลากรระดับหัวหน้างานอายุมากและทำงานใช้ประสบการณ์เป็นหลัก ทำให้เสี่ยงต่อองค์ความรู้ที่อาจหายไปพร้อมคนเมื่อเกษียณหรือออก จึงทำเรื่อง 1)ความรู้องค์กร 2) พัฒนาทีมงานรุ่นใหม่ ครับ ประมาณนี้ครับ ใช้ได้ไหมครับ

ข้อ 2 นั้น ยังไม่แน่ใจเหมือนกันครับ คงต้องลองกำหนดเกณฑ์ดูก่อน ถ้าทำแล้วงงมากๆ ก็อาจใช้แค่เกณฑ์ ความรุนแรง กับความความถี่ครับ.. แค่อยากให้มันมีแบบเดียวในบริษัทน่ะครับ เลยคิดจะใช้ FMEA แต่ถ้าไม่ไหวคงต้องยอมเขียนใหม่ครับ

ขอบคุณ​มากๆครับ

ที่คุณสรุปมาใช้ได้เลยครับ แต่ข้อที่ 2 ต้องพิจารณาดีๆไม่งั้นจะปวดหัวกันเองตอนประเมิน


การมีความรู้ มาจากการเรียนรู้ และปฏิบัติ หากเรียนอย่างเดียวไม่ปฏิบัีติก็เรียกว่ารุ้ไม่จริง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ chatriwat@hotmail.com
Facebook: poppithai
Tel:089-6834451

#5 Cofe

Cofe

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 24 posts

Posted 16 September 2016 - 04:45 PM

ที่คุณสรุปมาใช้ได้เลยครับ แต่ข้อที่ 2 ต้องพิจารณาดีๆไม่งั้นจะปวดหัวกันเองตอนประเมิน

ขอบคุณมากๆเลยครับ  รู้สึกมีกำลังใจขึ้นมาเลยครับ
 

การประเมินความเสี่ยงกระบวนการต่างๆนี่ ส่วนใหญ่เขาใช้วิธีไหนกันครับ  

 

ตอนแรกทีมงานจะแค่ คิดความเสี่ยงแต่ละกระบวนการ ดูผล KPI ประกอบ (ถ้ามี) แล้วก็กำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยง

ถ้าผล KPI ยังไม่ดี หรือผลดีแล้วแต่คิดมาตรการอื่นๆออกอีก หรือดูแล้วมันเสี่ยงๆหรือไม่แน่ใจ ก็จะกำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยงกันเลยครับ  

ทำแบบง่ายๆ คือ ประชุมคุยกัน วิเคราะห์ร่วมกัน  ไม่ได้ประเมินแบบความถี่xผลกระทบ  

 

แต่ก็ไม่แน่ใจกันเองว่ามันจะง่ายไปไหม เดี๋ยวโดนถามว่าพิจารณาระดับความรุนแรงอะไรยังไง

เรียงลำดับความสำคัญยังไง เดี๋ยวจะตื่นเต้นจนลืมคำตอบกันไป

จึงมาคิดกันใหม่ว่า งั้นทำ FMEA หรือประเมินความเสี่ยงแบบ ความถี่xผลกระทบ ที่เขาทำกัน อาจจะตอบง่ายกว่า (หรือเปล่า?)

 

ก็เลยพยายามจะประยุกต์ FMEA  แต่ถ้าทำแล้วงงกันเองก็จะใช้แบบ ความถี่ x ผลกระทบ เฉยๆครับ  หรือทำแบบอื่นที่ง่ายๆแต่ได้ผลดีมีไหมครับ

 

ขอบคุณครับ



#6 iso_man

iso_man

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 5,134 posts
  • Gender:Male

Posted 16 September 2016 - 06:51 PM

ลองวิเคราะห์แบบ4M1Eดูครับว่าแต่ละกระบวนมีความเสี่ยงอะไรบ้างเช่น ความเสี่ยงเครื่องจักรชำรุด toolingเสีย ถ้าส่วนsupportก็มองความเสี่ยงด้านเอกสาร std. หรือคนไม่มีความสามารถ อย่าลืมมองด้านinputและoutputของกระบวนการนั้นด้วยมีความเสี่ยงอะไรด้วยไหม

ขอบคุณมากๆเลยครับ รู้สึกมีกำลังใจขึ้นมาเลยครับ

การประเมินความเสี่ยงกระบวนการต่างๆนี่ ส่วนใหญ่เขาใช้วิธีไหนกันครับ

ตอนแรกทีมงานจะแค่ คิดความเสี่ยงแต่ละกระบวนการ ดูผล KPI ประกอบ (ถ้ามี) แล้วก็กำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยง
ถ้าผล KPI ยังไม่ดี หรือผลดีแล้วแต่คิดมาตรการอื่นๆออกอีก หรือดูแล้วมันเสี่ยงๆหรือไม่แน่ใจ ก็จะกำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยงกันเลยครับ
ทำแบบง่ายๆ คือ ประชุมคุยกัน วิเคราะห์ร่วมกัน ไม่ได้ประเมินแบบความถี่xผลกระทบ

แต่ก็ไม่แน่ใจกันเองว่ามันจะง่ายไปไหม เดี๋ยวโดนถามว่าพิจารณาระดับความรุนแรงอะไรยังไง
เรียงลำดับความสำคัญยังไง เดี๋ยวจะตื่นเต้นจนลืมคำตอบกันไป
จึงมาคิดกันใหม่ว่า งั้นทำ FMEA หรือประเมินความเสี่ยงแบบ ความถี่xผลกระทบ ที่เขาทำกัน อาจจะตอบง่ายกว่า (หรือเปล่า?)

ก็เลยพยายามจะประยุกต์ FMEA แต่ถ้าทำแล้วงงกันเองก็จะใช้แบบ ความถี่ x ผลกระทบ เฉยๆครับ หรือทำแบบอื่นที่ง่ายๆแต่ได้ผลดีมีไหมครับ

ขอบคุณครับ


การมีความรู้ มาจากการเรียนรู้ และปฏิบัติ หากเรียนอย่างเดียวไม่ปฏิบัีติก็เรียกว่ารุ้ไม่จริง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ chatriwat@hotmail.com
Facebook: poppithai
Tel:089-6834451

#7 Cofe

Cofe

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 24 posts

Posted 17 September 2016 - 12:15 AM

ขอบคุณมากครับ ได้ไอเดียเลยครับ :)

 

รบกวนถามต่อนิดนึงครับ พอเราวิเคราะห์จนได้ความเสี่ยงออกมาแต่ละเรื่องแล้ว  เราจะมีวิธีประเมินความเสี่ยงอย่างไรบ้างครับ

(แต่จริงๆแล้วตามข้อกำหนด ก็ไม่ได้บอกว่าต้องประเมินความเสี่ยง แค่ขอให้มีมาตรการจัดการความเสี่ยง.. อันนี้ผมเข้าใจถูกไหมครับ)

 

วิธีประเมินความเสี่ยง ที่เห็นใช้กันส่วนมากจะเป็น ความถี่ x ผลกระทบ  แต่ผมไม่แน่ใจว่ามันจะมีวิธีอื่นอีกไหมครับ

เพราะต้องมากำหนดเกณฑ์กันอีก  กำหนดเกณฑ์ความหมายแต่ละคะแนนนี่ก็ใช้เวลาคิดนานอีก เพราะต้องหาข้อมูลมาประกอบ

จึงอยากทราบวิธีอื่น เผื่อว่าจะง่ายกว่าและได้ผลดีครับ

 

รบกวนด้วยนะครับ

 

ขอบคุณครับ



#8 iso_man

iso_man

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 5,134 posts
  • Gender:Male

Posted 17 September 2016 - 01:18 PM

ขอบคุณมากครับ ได้ไอเดียเลยครับ :)

 

รบกวนถามต่อนิดนึงครับ พอเราวิเคราะห์จนได้ความเสี่ยงออกมาแต่ละเรื่องแล้ว  เราจะมีวิธีประเมินความเสี่ยงอย่างไรบ้างครับ

(แต่จริงๆแล้วตามข้อกำหนด ก็ไม่ได้บอกว่าต้องประเมินความเสี่ยง แค่ขอให้มีมาตรการจัดการความเสี่ยง.. อันนี้ผมเข้าใจถูกไหมครับ)

 

วิธีประเมินความเสี่ยง ที่เห็นใช้กันส่วนมากจะเป็น ความถี่ x ผลกระทบ  แต่ผมไม่แน่ใจว่ามันจะมีวิธีอื่นอีกไหมครับ

เพราะต้องมากำหนดเกณฑ์กันอีก  กำหนดเกณฑ์ความหมายแต่ละคะแนนนี่ก็ใช้เวลาคิดนานอีก เพราะต้องหาข้อมูลมาประกอบ

จึงอยากทราบวิธีอื่น เผื่อว่าจะง่ายกว่าและได้ผลดีครับ

 

รบกวนด้วยนะครับ

 

ขอบคุณครับ

อย่างที่คุณถามมาก็ถูกในข้อกำหนดไม่ได้บอกวิธีที่มาของความเสี่ยงแต่ส่วนมาก CB ก็จะมีคำถามว่าความเสี่ยงที่องค์กรเลือกมาอะไรละที่มีนัยสำคัญ ซึ่งโดยทั่วไปที่ใช้กันไม่ว่าจะเป็น14001 หรือ 18001 ก็จะใช้โอกาสกับความรุนแรงนี่แหระเป็นตัวช่วยบ่งชี้ระดับนัยสำคัญ คราวนี้ก็อยู่ที่องค์กรจะตั้งเองว่าจะเลือกระดับแบบไหน ผมแนะนำลองไปศึกษา Risk ISO31000 มาเป็นตัวอย่างก็ได้ครับ พอเราได้ระดับความเสี่ยงการจัดการก็จะง่ายแล้วว่าจะยอมรับ ลด หลีกเลี่ยง แบ่งความเสี่ยง หรือจัดการให้เป็นโอกาส ก็ว่ากันไป


การมีความรู้ มาจากการเรียนรู้ และปฏิบัติ หากเรียนอย่างเดียวไม่ปฏิบัีติก็เรียกว่ารุ้ไม่จริง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ chatriwat@hotmail.com
Facebook: poppithai
Tel:089-6834451

#9 Cofe

Cofe

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 24 posts

Posted 17 September 2016 - 03:47 PM

ขอบคุณ​มากๆครับ จะไปลองทำตาทแนวทางที่แนะนำครับ

#10 kullapat_ssfb

kullapat_ssfb

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 179 posts

Posted 20 September 2016 - 04:30 PM

ขอโทษครับรบกวนขอตัวอย่างเพื่อศึกษาได้ไหมครับ  ตอนนี้ผมไปไม่ถูกเลยครับ  

 

ถ้าได้รบกวนด้วยนะครับ  b.kullapat@ssfb.co.th

 

ถ้าไม่ได้ไม่เป็นไรครับ  ขอบคุณครับ



#11 Cofe

Cofe

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 24 posts

Posted 20 September 2016 - 07:31 PM

กำลังทำเลยครับ :)




0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users