Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

การสอบเทียบเครื่องมือวัด ทำ2ปีต่อครั้ง ได้หรือไม่


  • Please log in to reply
8 replies to this topic

#1 SIRINENG

SIRINENG

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 14 posts

Posted 07 May 2015 - 04:36 PM

         ที่บริษัทมีการfab งานพวกข้องอ ท่อหุ้มฉนวนค่ะ แล้วมีการใช้เวอร์เนี่ย วัดความหนาของแผ่นโลหะตอนก่อนที่จะตัดแผ่นออกมา ส่วนใหญ่ก็จะตรงสเปกงาน

          แล้วยังมีเครื่องชั่งน้ำหนัก เพื่อชั่งฉนวนก่อนส่งให้ลูกค้า ซึ่งก็ใช้เกือบทุกวันค่ะ

          เลยอยากสอบถามว่า เราไม่ต้องส่งสอบเทียบทุกปีได้ไหมเพราะบางอย่างเช่น Dial thickness gauge, outside micrometer เนี่่ยไม่ค่อยได้ใช้เลย จำเป็นต้องสอบเทียบทุกปีไหม คิดอยู่ว่าอาจจะเป็นสองปี/ครั้ง แบบนี้นะคะไม่ทราบว่าจะได้ไหม๊ค่ะ  รบกวนผู้รู้ช่วนหนูหน่อยนะคะ ขอบคุณค่ะ

 

หมายเหตุ

  - กะว่าจะซื้อลูกตุ้มเพื่อมาทวนสอบเครื่องชั่งน้ำหนัก แทนการส่งสอบเทียบทุกปี

 



#2 orawan2532

orawan2532

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 29 posts

Posted 07 May 2015 - 04:55 PM

คิดอยู่เหมือนกัน พี่ ว่าซื้อลูกตุ้มน้ำหนักมาทวนสอบเองดีกว่าไหม..... :lol2:  :lol2:

 

เกจบล๊อค ก้อดี ซื้อมา ทวนสอบเอง .... น่าจะประหยัดไปได้อีกระดับหนึ่ง :excited:  :excited:



#3 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,595 posts
  • Gender:Male

Posted 07 May 2015 - 05:19 PM

กรณีที่ใช้งานไม่หนักมาก  มีมาตรการดูแลรักษาเครื่องมือวัดจัดเก็บอย่างดี  ความเสี่ยงต่อการเสียหาย หรือเสื่อมถอยมีน้อย

 

โดยพิจารณาได้จากประวัติการสอบเทียบครั้งก่อนๆ (2-3 ปี ที่ผ่านมา) หากพิจารณาค่าความคลาดเคลื่อนในย่านการใช้งาน

 

หลังจากสอบเทียบในแต่ละครั้งแล้ว  หากมีผลต่างของความคลาดเคลื่อนน้อยมากๆๆๆๆๆ  สามารถใช้เป็นข้อมูลเหตุผลในการ

 

พิจารณากำหนดปรับความถี่ออกไปได้นะครับ



#4 orawan2532

orawan2532

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 29 posts

Posted 08 May 2015 - 08:33 AM

กรณีที่ใช้งานไม่หนักมาก  มีมาตรการดูแลรักษาเครื่องมือวัดจัดเก็บอย่างดี  ความเสี่ยงต่อการเสียหาย หรือเสื่อมถอยมีน้อย

 

โดยพิจารณาได้จากประวัติการสอบเทียบครั้งก่อนๆ (2-3 ปี ที่ผ่านมา) หากพิจารณาค่าความคลาดเคลื่อนในย่านการใช้งาน

 

หลังจากสอบเทียบในแต่ละครั้งแล้ว  หากมีผลต่างของความคลาดเคลื่อนน้อยมากๆๆๆๆๆ  สามารถใช้เป็นข้อมูลเหตุผลในการ

 

พิจารณากำหนดปรับความถี่ออกไปได้นะครับ

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆคร้าพี่.....



#5 SIRINENG

SIRINENG

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 14 posts

Posted 13 May 2015 - 10:06 AM

ขอบคุณพี่ๆมากค่ะ สำหรับข้อมูล หนูจะลองไปหาประวัติผลสอบเทียบดูค่ะ  :inlove1:  :inlove1:



#6 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,595 posts
  • Gender:Male

Posted 13 May 2015 - 10:11 AM

ขอบคุณพี่ๆมากค่ะ สำหรับข้อมูล หนูจะลองไปหาประวัติผลสอบเทียบดูค่ะ  :inlove1:  :inlove1:

 

ดีครับ  ใช้ประวัติการสอบเทียบในอดีตให้เป็นประโยชน์และคุ้มค่ากับเงินที่ได้จ่ายไปครับ

 

ขอให้ใช้หลักการ Trend Analysis ได้ทุกงานนะครับ



#7 iso_man

iso_man

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 5,136 posts
  • Gender:Male

Posted 13 May 2015 - 10:28 AM

อย่างที่อ.โอ๋ว่าดูความถี่ การใช้ การจัดเก็บ การป้องกันความเสียหาย และผลของการสอบเทียบครั้งก่อนมากำหนดอายุการสอบเทียบ

ครั้งต่อไปว่าจะขยายหรือทำให้เร็วขึ้นได้ ฝากอีกนิดหนึ่งดูลักษณะของเครื่องมือวัดที่ใช้กับงานเช่น เวอร์เนียร์วัดพลาสติก ยาง โอกาสก็จะชำรุดหรือ

คลาดเคลื่อนน้อยระหว่างใช้งาน หรือ Pin Guage ก็สามารถขยายเวลาสอบเทียบออกไปหลายปีอยู่


การมีความรู้ มาจากการเรียนรู้ และปฏิบัติ หากเรียนอย่างเดียวไม่ปฏิบัีติก็เรียกว่ารุ้ไม่จริง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ chatriwat@hotmail.com
Facebook: poppithai
Tel:089-6834451

#8 nuttapong58

nuttapong58

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 22 posts
  • Gender:Male

Posted 07 July 2015 - 01:29 PM

แอด ID Line มาคุยได้เลยการสอบเทียบ ยินดีให้คำปรึกษา

ID Line        tikazay 

สามารถเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ผมได้นะครับ  www.tct.myreadyweb.com



#9 nuttapong58

nuttapong58

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 22 posts
  • Gender:Male

Posted 11 July 2015 - 04:25 PM

ท่านใดที่ยังไม่เข้าไปดูในเว็บ www.tct.myreadyweb.com  ผมจะบอกวิธีตั้งความถีในการสอบเทียบให้นะครับ

เกณฑ์การกำหนดความถี่ของการสอบเทียบ 
         หลายองค์กรมักจะประสบปัญหาอย่างหนึ่ง คือไม่ทราบว่าจะกำหนดความถี่ของการสอบเทียบ อย่างไรดีจึงจะถือว่าเหมาะสม โดยทั่วไปจึงมักจะกำหนดระยะเวลาการสอบเทียบของเครื่องมือวัดในครั้งแรกที่ 6 เดือน หรือ 12 เดือนต่อการสอบเทียบหนึ่งครั้ง สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณากำหนดความถี่ของการสอบเทียบอุปกรณ์นั้น โดยทั่วไปจะพิจารณาจากองค์ประกอบเหล่านี้
1. ประวัติการสอบเทียบของอุปกรณ์ หากประวัติการสอบเทียบย้อนหลังประมาณ 2 – 3 ครั้ง แสดงให้เห็นว่าความถูกต้องยังคงอยู่ในย่าน หรือไม่มีแนวโน้มแสดงให้เห็นว่าเริ่มออกนอกย่านที่กำหนด เราสามารถที่จะยืดระยะเวลาการสอบเทียบออกไปได้ แต่ในทางกลับกันหากประวัติการสอบเทียบแสดงให้เห็นว่าผลการสอบเทียบออกนอกย่านที่กำหนด ระยะเวลาการสอบเทียบต้องหดลง แม้ว่าจะมีประวัติเพียงครั้งเดียวก็ตาม
2. ลักษณะการใช้งานในจุดวิกฤตหรือไม่ เครื่องมือวัดที่ถูกติดตั้งใช้งาน ณ จุดวิกฤตของกระบวนการผลิต ย่อมต้องมีความถี่ในการสอบเทียบมากกว่าเครื่องมือวัดที่ติดตั้ง ณ จุดใช้งานทั่วไป
3. การบำรุงรักษา เครื่องมือวัดที่ผู้ใช้งานมีการเก็บดูแลบำรุงรักษาอย่างดี คาบระยะเวลาการสอบเทียบก็อาจจะนานกว่าเครื่องมือวัดที่ผู้ใช้งานไม่เคยเหลียวแล
4. ความถี่ในการใช้งาน สำหรับเครื่องมือวัดที่มีความถี่ในการใช้งานบ่อย โอกาสที่จะทำให้เครื่องมือวัดนั้นออกนอกย่านที่กำหนดจะมีมากกว่าเครื่องมือวัดที่มีความถี่ในการใช้งานน้อยกว่า ดังนั้นความถี่ในการสอบเทียบของเครื่องมือวัดเหล่านี้ก็ย่อมจะต้องมีมากกว่าด้วยเช่นกัน
5. พิจารณาจากประเภทของอุปกรณ์ กล่าวคือ อุปกรณ์ที่เรียกว่า “ * Active Equipment “ จะมีความถี่ในการสอบเทียบมากกว่าอุปกรณ์ที่เรียกว่า “ ** Passive Equipment ”
* Active Equipment คือ เครื่องมือวัดที่ต้องมีไฟเลี้ยง เช่น เครื่องชั่ง , Digital Multimeter เป็นต้น
** Passive Equipment คือ เครื่องมือที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวของมันเอง โดยไม่ต้องอาศัย
Bias supply หรือไฟเลี้ยง เช่น ตุ้มน้ำหนัก , Vernier Caliper เป็นต้น

 






1 user(s) are reading this topic

0 members, 1 guests, 0 anonymous users