Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

การตรวจหาสารตกค้าง TBHQ


  • Please log in to reply
11 replies to this topic

#1 nissy_pk

nissy_pk

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 70 posts
  • Gender:Male

Posted 06 March 2014 - 06:37 PM

        เนื่องจากได้รับของข้อร้องเรียน จากลูกค้าญี่ปุ่น ว่าพบตรวจพบเจอ TBHQ ผลิตภัณฑ์ แครกเกอร์ ค่าที่แจ้งน้อยมาก แต่ ไม่ผ่านกฎหมายของเค้าค่ะ  เค้าจึงให้เราตรวจสอบด่วน และจะ Reject สินค้า 

 

 

        แต่เค้าให้มองว่าลองพิจารณาดูว่าสารที่ใช้ความทำความสะอาด มีตัวนี้อยู่รึป่าว  แต่ทางเราได้รับรองจากลูกค้าว่าไม่มีสารนี้ในน้ำยาทำความสะอาด ควรจะเชื้อได้หรือไม่คะ

 

 

   หรือควรจะทำอย่างไร ???  

 

   รบกวนชี้แนะด้วยค่ะ

 

 

ขอบคุณมากนะคะ

 

 PS. ตอนนี้เครียดมากเลยค่ะ 



#2 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,568 posts
  • Gender:Male

Posted 06 March 2014 - 07:44 PM

TBHQ คือ สารป้องกันการหืน ซึ่งเป็น Antioxidant ตัวหนึ่งซึ่งมักใช้ในอาหารกลุ่มที่มีไขมัน หรือผลิตภัณฑ์ oil and Fat

 

น่าสงสัยว่า ทำไมลูกค้าให้ไปตรวจที่สารทำความสะอาด หรือว่าเขาเคยมีประวััติข้อมูลจากสินค้าของลูกค้าอื่นๆของเขา

 

เบื้องต้นเราต้องทวนสอบดูก่อนว่าวัตถุดิบต่างๆที่เรานำมาผลิต Cracker นั้น มีอะไรบ้างและมีตัวใดที่น่าจะมีโอกาสการปนเปื้อนหรือ

 

มีแนวโน้มว่าจะถูกใช้ เราทำได้โดย

 

1.ให้ Supplier ทำหนังสือยืนยันการใช้หรือไม่ใช้มาให้เรา

2.นำวัตถุดิบที่น่าสงสัยในรายการต่างๆไปส่งวิเคราะห์หา TBHQ

3.นำสินค้า Cracker Lot เดียวกันกับที่ลูกค้าแจ้งว่าพบ TBHQ ไปวิเคราะห์ที่ Third Party Laboratory ที่ได้มาตรฐาน ISO 17025

เพื่อพิสูจน์ว่าสินค้า Retain sample Lot เดียวกันนี้ มี TBHQ จริงหรือไม่ ปริมาณใกล้เคียงกับที่ลูกค้าแจ้งหรือไม่

4.ทวนสอบระบบการผลิตของคุณเองว่า มีหรือไม่มีการใช้ TBHQ (ตรวจดูอย่างละเอียดนะครับ)

5.เมื่อได้ข้อมูลครบถ้วนแล้วก็สื่อสารกับลูกค้า

 

หากพิสูจน์ได้ว่าคุณไม่ได้ตั้งใจใช้ในกระบวนการผลิต แต่มีวัตถุดิบตัวใดตัวหนึ่งของ Supplier มีการใช้ ก็ต้องสื่อสารกับ Supplier ถึงการห้ามใช้

หรือเลือกซื้อจาก Supplier รายใหม่ที่ไม่มีการใช้

 

จากนั้นทำข้อกำหนดของวัตถุดิบชนิดต่างๆว่าต้องไม่มีการใช้ THBQ เป็นส่วนประกอบ พร้อมกำหนดแผนในการตรวจวัดเฝ้าระวังจาก Supplier หรือจาก

โรงงานคุณเองเป็นระยะๆ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการผิดพลาดอีกต่อไป จนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและความปลอดภัยในสินค้าของคุณ

 

 

หากมีข้อสงสัยโทรสอบถามได้ที่ 086-9906087



#3 nissy_pk

nissy_pk

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 70 posts
  • Gender:Male

Posted 07 March 2014 - 01:01 PM

ขอบคุณมาก ๆ ที่่สุดค่ะ ถ้ามีข้อสงสัยเพิ่มขออนุญาติรบกวนต่อนะคะ

 

 

ขอบคุณค่ะ



#4 nissy_pk

nissy_pk

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 70 posts
  • Gender:Male

Posted 07 March 2014 - 01:18 PM

อีกนิดค่ คือเค้ามองว่า  เราเคยตอบ การันตีในตัวของ RM ไปแล้ว เค้าจึงบอกว่าลองในกลุ่มของตัวทำความสะอาดบ้าง ...แต่ที่มองตามเพราะ ในส่วนประกอบของตัวนำ้ยาทำความสะอาด ตัวหนึ่งประกอบด้วย Coconut fatty acid diethylamide ไม่รู้ว่าจะเกี่ยวกันรึเปล่าค่ะ



#5 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,568 posts
  • Gender:Male

Posted 07 March 2014 - 08:28 PM

อีกนิดค่ คือเค้ามองว่า  เราเคยตอบ การันตีในตัวของ RM ไปแล้ว เค้าจึงบอกว่าลองในกลุ่มของตัวทำความสะอาดบ้าง ...แต่ที่มองตามเพราะ ในส่วนประกอบของตัวนำ้ยาทำความสะอาด ตัวหนึ่งประกอบด้วย Coconut fatty acid diethylamide ไม่รู้ว่าจะเกี่ยวกันรึเปล่าค่ะ

 

Coconut fatty acid คืออะไร   รู้มั๊ย   ถ้าดูจากชื่อมันคือ Fatty acid ที่มาจาก Coconut  ซึ่งก็คือกรดไขมันที่ได้มาจากน้ำมันมะพร้าว 

 

อาจเป็นไปได้ว่ามาจากเจ้าตัวนี้ก็เป็นได้  ดังนั้นสิ่งที่ควรจะทำเพิ่มเติมก็คือ

 

1.สอบถาม Supplier ที่เราซื้อ น้ำยาทำความสะาดตัวนี้ดูนะครับ

 

2.อีกทางคือ  ดูองค์ประกอบของสารทำความสะาดตัวนี้จาก MSDS , Brochure (ที่นำมาเสนอขายเราก่อนหน้านี้)

 

3.ให้ Supplier สารทำความสะอาดส่งวิเคราะห์ให้เรา (ถ้าเป็นไปได้)  หรือเราตัดสินใจส่งวิเคราะห์เองเลย (เพื่อความรวดเร็ว)

 

ได้ผลเป็นอย่างไร  มาแชร์กันนะครับ  อย่าหายไปเหมือนคนอื่นๆ   

 

หากมีอะไรเพิ่มเติมก็มาถามผมต่อไปได้

 

ยินดีช่วยแนะนำวิธีการ Investigation



#6 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,568 posts
  • Gender:Male

Posted 08 March 2014 - 06:10 AM

เช้านี้ผมได้ลองค้นหาในกูเกิ้ล  พบว่ามีการใช้ TBHQ ใน Detergent เช่นกันครับ  ลองดูตามลิงค์แนบนี้

 

http://scholar.googl...ved=0CCYQgQMwAA



#7 nonne

nonne

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 23 posts

Posted 08 March 2014 - 01:35 PM

ปกติทางโรงงานเราใช้สารตัวนี้เติมเพื่อกันหืนในน้ำมัน คะ



#8 nissy_pk

nissy_pk

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 70 posts
  • Gender:Male

Posted 08 March 2014 - 01:57 PM

ขอบคุณอีกครั้งค่ะอาจาร์ย์ .......ถ้ายังไม่มีข้อยุติจะไม่หนีหายอยู่แล้วค่ะ อิอิอิ

 

จากที่ได้รับคำแนะนำมาและไปคุยกับ ผจก. ฝ่าย พี่เค้าได้ทำตามขั้นตอน (ข้อ 1 2 ไปแล้ว และข้อ 3 ไปบางส่วนค่ะ) แต่ไอ้ข้อ 3 นี้มันติดอยู่ว่า เราส่งตราวจแล้ว มีผลรับรอง ....แต่เค้าบอกว่า ผล You จะเป็นยังไง มันไม่สำคัญ (ผลเราระบุว่า Not Detect เนื่องจากปริมาณน้อยมาก) แต่ในเมื่อผลเค้าอ่านเจอ  ---------------- เพราะฉนั้นก็เท่ากับว่าถ้าผลที่เราได้ไม่สามารถระบุเป็นตัวเลขได้ก็ไม่มีประโยชน์อันใดค่ะ

 

 

PS.ประเทศญี่ปุ่น



#9 nissy_pk

nissy_pk

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 70 posts
  • Gender:Male

Posted 08 March 2014 - 02:00 PM

ใช่ค่ะ K'  none เค้าจะใส่ในกลุ่มน้ำมัน ซึ่งมันเป็นข้อห้ามสำหรับบางประเทศ (หนึ่งในนั้นมีญู่ปุ่นด้วย) แต่มันก็จะมีัปริมาณกำหนดที่สามารถให้ใส่ได้ แต่อย่างที่ว่าบางประเทศจะต้องไม่พบเลย



#10 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,568 posts
  • Gender:Male

Posted 08 March 2014 - 08:44 PM

แบบนี้ต้องหาห้อง Laboratory ที่มี Detection Limit ที่ละเอียดเท่ากับลูกค้าครับ

 

วันนี้ระหว่างที่ผมนั่งเรียนหนังสือทั้งวัน  ผมก็คิดปัญหาของคุณไปตลอด

 

ก็คิดได้ว่าเรื่องนี้มีสมมติฐานสองสมมติฐาน

 

1.การปนเปื้อนนี้อาจเกิดจาก คุณอาจจะใช้สารทำความสะอาดมากเกินกว่าที่กำหนดหรือเตรียมความเข้มข้นมากเกินไปจากที่กำหนด

 

จนทำให้กระบวนการล้างทำความสะอาดแบบปกติ ไม่สามารถชะล้างสารทำความสะอาดนี้ได้หมด  จนตกค้างบนเครื่องมือในการผลิตของคุณ

 

2.คุณใช้ความเข้มข้นปกติ แต่ในกระบวนการล้างก่อนผลิต  ใช้น้ำล้างในปริมาณที่น้อยกว่าที่ควรจะเป็น  จึงทำให้ล้างออกไม่หมด

 

ถ้าเป็นแบบนี้ ผมจะ Validate วิธีการล้างเพื่อให้ทราบปริมาณน้ำสะอาดที่ต้องใช้ชะล้างสารทำความสะอาดตัวนี้ออกให้หมด

 

เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำขึ้นอีก  และจะ Training ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด  รวมถึงสื่อสารปัญหานี้ให้ทราบกันอย่างชัดเจนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลกระทบ

 

ต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าองค์กร



#11 nissy_pk

nissy_pk

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 70 posts
  • Gender:Male

Posted 10 March 2014 - 08:35 AM

ขอบคุณนะคะที่ไม่ละความพยาม.....แบบนี้ก็เท่ากับว่าอาจารย์ไม่ตั้งใจเรียนอะป่าว  ???

 

 

ตอนแรกที่อ่านข้อสันนิฐานข้อ 1 ในใจก็นึกปปฏิเสธไปแล้วว่า  มันเป็นแค่น้ำยาทำความสะอาดเอนกประสงค์ทั่วไปซึ่งไม่ใช่สารที่ต้องควบคุมเป็นพิเศษ.....แต่อาจารย์มาดักคอในข้อที่ 2 แล้ว ซึ่งอาจก็เป็นไปได้ค่ะ

 

 

      ฉนั้นคงต้องลองอย่างที่อาจารย์ว่าละค่ะ  ------เชื่อแล้วค่ะว่าอาจารย์ในห้องนี้เก่งจริง ๆ อย่างที่พี่เค้าบอก เอ......แล้วจะมีผลภาพลักษ์องค์กรหนูมั้ยเนี่ย... ล้อเล่นนะคะ

 

 

ขอบคุณมากจริงค่ะ แต่หนูก็ยังไม่สนิทใจในตัว RM เพราะยังงัยมันน่าจะใกล้ชิดกว่าเพื่อนตราบที่ใดที่เรายังไม่สามารถ Detection Limit เป็นตัวเลข



#12 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,568 posts
  • Gender:Male

Posted 11 March 2014 - 12:14 AM

ใช่ครับ ผมไม่ค่อยตั้งใจเรียน นั่งหลับไปเรื่อยๆใน Class  แต่ก็สอบผ่านได้ใบ Certificate จาก อย เพื่อไปตรวจงานกระบวนการผลิตนม ได้

 

 

ทดลอง Investigate ดูนะครับ แล้วนำมาแฉให้เพื่อนสมาชิกทราบเป็นวิทยาทานต่อไป






0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users