เราจะควบคุม OUTSOURCE อย่างไร
ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

OUTSOURCE
Started by
KUNGSINGTUY
, Mar 27 2009 04:39 PM
4 replies to this topic
#1
Posted 27 March 2009 - 04:39 PM
#2
Posted 27 March 2009 - 05:11 PM
กณะทู้นี้ดับแน่ ...
ได้ข้อมูลถูกใจแล้ว อย่าลืม ขอบคุณ เจ้าของข้อมูลด้วยนะครับ
#3
Posted 27 March 2009 - 07:29 PM
การควบคุม outsource เหมือนกับการควบคุม supplier ครับ
วิธีการในการควบคุมมีหลากหลายมากๆ
ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับ outsource แต่ละรายในแต่ละช่วงเวลา
แต่ละราย มีความเสี่ยง ต่อองค์กรเราไม่เท่ากัน
แต่ละ step ไม่ว่าการ เลือก การประเมิน การประเมินซ้ำ มีวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน
แต่ละวิธีใช้งบประมาณ เวลา ไม่เท่ากัน
ต้องเลือกให้เหมาะสมครับ
ตัวอย่าง
Supplier/Outsource Control Vendor Self Assessment
การให้ผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource) ประเมินตนเองเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกำลังความสามารถของผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource) ผลิตภัณฑ์ที่ผลิต ขนาด เทคนิคการผลิต และ ความสามารถของทีมผู้บริหาร/พนักงาน
เทคนิควิธีการนี้เหมาะมากๆหากท่านมีผู้รับเหมาช่วง (supplier/Outsource)ที่ต้องดูแล เนื่องจากสะดวกรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิธีการนี้ยังมีข้อดีในกรณีที่ท่านต้องการคัดเลือกเบื้องต้น เพื่อทำการระบุว่ารายไหนต้องไป on-site audit รวมทั้งสามารถให้ข้อมูลเบื้องต้นในการเตรียมการตรวจประเมิน
วิธีการ
Supplier/Outsource Control Onsite Audit การตรวจประเมิน
การใช้รูปแบบการตรวจประเมินผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource) เป็นวิธีการเชิงรุกที่สามารถทำให้เห็นถึงความสามารถของผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource) ที่สามารถบรรลุความต้องการของเราอย่างน่าเชื่อถือหรือสม่ำเสมอได้หรือไม่
วิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่เพียงแต่เน้นที่ผลิตภัณฑ์หรือ ชิ้นส่วนที่ผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource) ส่งมาให้ แต่เป็นวิธีในการพิจารณากระบวนการที่สถานประกอบการของ ผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource)ได้ ที่ซึ่งทำให้เราสามารถประเมินความสม่ำเสมอของผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource)ในการกระทำตามข้อกำหนด
Supplier/Outsource Control Onsite Vist การตรวจเยี่ยม
การกระทำการตรวจเยี่ยม (Onsite Visit) ไม่เหมือนกับการตรวจประเิมิน (Onsite Audit) จะเป็นรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ โดยปกติจะกระทำโดยผู้จัดการหรือบุคคลหลักๆที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆ โดยทั่วไปจะกระทำโดยการสำรวจโดยรอบสถานประกอบการ และอาจขอเอกสารบางส่วน ตัวแทนของผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource) มักจะนำพาและอยู่กับทีมงานที่ทำการตรวจเยี่ยมเสมอ
Past Performance
สำหรับผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource) ที่ได้มีการใช้บริการหรือสั่งซื่้อไปแล้ว มีข้อดีคือเราสามารถทราบความสามารถที่แท้จริงจากการทำธุรกรรมที่ผ่านมา ซึ่งเราสามารถนำสมรรถนะที่ผ่านมาของผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource)ในการกระทำตามข้อกำหนด รวมถึงการชี้บ่งโอกาสในการปรับปรุง
ชิ้นงานตัวอย่าง
ในบางกรณีหนทางเดียวที่จะพิสูจน์ไำด้ว่า ชิ้นส่วน วัตถุดิบ ต่างๆ จะสอดคล้องกับข้อกำหนดของเรากระทำได้โดยพิจารณาจากชิ้นงานตัวอย่าง ตามเกณฑ์ที่เรากำหนด บางครั้งเราอาจใช้วิธีการนี้ควบรวมกับการควบคุมอื่นๆ
ร้องขอหรือ บังคับให้ได้ISO9001 หรือเทียบเคียง
การได้รับการรับรองระบบมาตรฐานเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มความมั่้นใ่จ ในความสม่ำเสมอของผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource) ซึ่งเราควรพิจาณาถึงอายุใบรับรอง ขอบเขตการรับรอง ...
การตรวจรับชิ้นงานที่สถานประกอบการผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource)
ในบางกรณีเราไม่สามารถทำการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในสถานประกอบการเราได้เช่นไม่มีพื้นที่ ไมมีเครื่องมือ แต่เราจำเป็นต้องยืนยันคุณภาพของผลผลิต การตรวจรับชิ้นงาน แต่วิธีการนีั้มีค่าใช้จ่ายสูงและต้องอาศัยบุคคลที่มีประสบการณ์
แต่ละวิธีมีข้อดี ข้อด้อยครับ
ต้องเลือกให้เหมาะสมกับ outsource แต่ละราย อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
หากตอบไม่ตรงคำถาม
ช่วยบอกด้วยนะครับ
วิธีการในการควบคุมมีหลากหลายมากๆ
ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับ outsource แต่ละรายในแต่ละช่วงเวลา
แต่ละราย มีความเสี่ยง ต่อองค์กรเราไม่เท่ากัน
แต่ละ step ไม่ว่าการ เลือก การประเมิน การประเมินซ้ำ มีวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน
แต่ละวิธีใช้งบประมาณ เวลา ไม่เท่ากัน
ต้องเลือกให้เหมาะสมครับ
ตัวอย่าง
Supplier/Outsource Control Vendor Self Assessment
การให้ผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource) ประเมินตนเองเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกำลังความสามารถของผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource) ผลิตภัณฑ์ที่ผลิต ขนาด เทคนิคการผลิต และ ความสามารถของทีมผู้บริหาร/พนักงาน
เทคนิควิธีการนี้เหมาะมากๆหากท่านมีผู้รับเหมาช่วง (supplier/Outsource)ที่ต้องดูแล เนื่องจากสะดวกรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิธีการนี้ยังมีข้อดีในกรณีที่ท่านต้องการคัดเลือกเบื้องต้น เพื่อทำการระบุว่ารายไหนต้องไป on-site audit รวมทั้งสามารถให้ข้อมูลเบื้องต้นในการเตรียมการตรวจประเมิน
วิธีการ
- ความถี่ในการส่งแบบสอบถาม ท่านต้องการส่งแบบสอบถามนี้ด้วยความถี่ขนาดไหน ท่านใช้ในกรณีสอบถามในครั้งแรกหรือใช้การส่งแบบสอบถามนี้ตามรอบเวลา เืพื่อทำให้มั่นใจว่าข้อมูลของท่านยังคงทันสมัยอยู่เสมอ ( ทุกๆสองปี)
- หากผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource) ไม่ตอบกลับ ท่านต้องทำอย่างไร
- ทำอย่างไรถึงจะส่งแบบสอบถามนี้ให้กับผู้ที่รับผิดชอบของผู้รับเหมาช่วง (supplier/Outsource)
- การเก็บเอกสาร เก็บที่ใคร นานขนาดไหน ใครเป็นคนประเมินข้อมูลที่ได้รับ
Supplier/Outsource Control Onsite Audit การตรวจประเมิน
การใช้รูปแบบการตรวจประเมินผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource) เป็นวิธีการเชิงรุกที่สามารถทำให้เห็นถึงความสามารถของผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource) ที่สามารถบรรลุความต้องการของเราอย่างน่าเชื่อถือหรือสม่ำเสมอได้หรือไม่
วิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่เพียงแต่เน้นที่ผลิตภัณฑ์หรือ ชิ้นส่วนที่ผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource) ส่งมาให้ แต่เป็นวิธีในการพิจารณากระบวนการที่สถานประกอบการของ ผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource)ได้ ที่ซึ่งทำให้เราสามารถประเมินความสม่ำเสมอของผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource)ในการกระทำตามข้อกำหนด
Supplier/Outsource Control Onsite Vist การตรวจเยี่ยม
การกระทำการตรวจเยี่ยม (Onsite Visit) ไม่เหมือนกับการตรวจประเิมิน (Onsite Audit) จะเป็นรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ โดยปกติจะกระทำโดยผู้จัดการหรือบุคคลหลักๆที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆ โดยทั่วไปจะกระทำโดยการสำรวจโดยรอบสถานประกอบการ และอาจขอเอกสารบางส่วน ตัวแทนของผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource) มักจะนำพาและอยู่กับทีมงานที่ทำการตรวจเยี่ยมเสมอ
Past Performance
สำหรับผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource) ที่ได้มีการใช้บริการหรือสั่งซื่้อไปแล้ว มีข้อดีคือเราสามารถทราบความสามารถที่แท้จริงจากการทำธุรกรรมที่ผ่านมา ซึ่งเราสามารถนำสมรรถนะที่ผ่านมาของผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource)ในการกระทำตามข้อกำหนด รวมถึงการชี้บ่งโอกาสในการปรับปรุง
ชิ้นงานตัวอย่าง
ในบางกรณีหนทางเดียวที่จะพิสูจน์ไำด้ว่า ชิ้นส่วน วัตถุดิบ ต่างๆ จะสอดคล้องกับข้อกำหนดของเรากระทำได้โดยพิจารณาจากชิ้นงานตัวอย่าง ตามเกณฑ์ที่เรากำหนด บางครั้งเราอาจใช้วิธีการนี้ควบรวมกับการควบคุมอื่นๆ
ร้องขอหรือ บังคับให้ได้ISO9001 หรือเทียบเคียง
การได้รับการรับรองระบบมาตรฐานเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มความมั่้นใ่จ ในความสม่ำเสมอของผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource) ซึ่งเราควรพิจาณาถึงอายุใบรับรอง ขอบเขตการรับรอง ...
การตรวจรับชิ้นงานที่สถานประกอบการผู้รับเหมาช่วง (Supplier/Outsource)
ในบางกรณีเราไม่สามารถทำการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในสถานประกอบการเราได้เช่นไม่มีพื้นที่ ไมมีเครื่องมือ แต่เราจำเป็นต้องยืนยันคุณภาพของผลผลิต การตรวจรับชิ้นงาน แต่วิธีการนีั้มีค่าใช้จ่ายสูงและต้องอาศัยบุคคลที่มีประสบการณ์
แต่ละวิธีมีข้อดี ข้อด้อยครับ
ต้องเลือกให้เหมาะสมกับ outsource แต่ละราย อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
หากตอบไม่ตรงคำถาม
ช่วยบอกด้วยนะครับ
#4
Posted 27 March 2009 - 07:40 PM
ในห้องของฝาก มีเยอะแยะมากมายเลยค่ะ
ทั้งตัวอย่างเอกสาร การตีความข้อกำหนด และอื่นๆ อีกมากมาย
ลองหาดูก่อนนะคะ จะได้สะดวกไม่ต้องรอคนมาตอบกระทู้
ลอง search ด้วยคำที่ต้องการก็ได้คะ เราเองก็ทำแบบนี้เวลาต้องการแบบรีบๆ นะ
ก้อเก็บไปเยอะง่ะ ไม่รู้อันไหนเป็นอันไหน หุ หุ (ความลับนะเนี่ย..อายคนมาแจกจัง)
ทั้งตัวอย่างเอกสาร การตีความข้อกำหนด และอื่นๆ อีกมากมาย
ลองหาดูก่อนนะคะ จะได้สะดวกไม่ต้องรอคนมาตอบกระทู้
ลอง search ด้วยคำที่ต้องการก็ได้คะ เราเองก็ทำแบบนี้เวลาต้องการแบบรีบๆ นะ
ก้อเก็บไปเยอะง่ะ ไม่รู้อันไหนเป็นอันไหน หุ หุ (ความลับนะเนี่ย..อายคนมาแจกจัง)
#5
Posted 28 March 2009 - 04:12 PM
ขอบคุณค่ะ
1 user(s) are reading this topic
0 members, 1 guests, 0 anonymous users