Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

BRC - การตรวจสุขภาพประจำปีของบุคคลการที่สัมผัสวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์


  • Please log in to reply
6 replies to this topic

#1 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,568 posts
  • Gender:Male

Posted 02 May 2013 - 06:10 PM

อยากทราบว่าในข้อกำหนด BRC I.6 นั้นมีการกำหนดเรื่องการตรวจสุขภาพพนักงานที่ทำหน้าที่สัมผัสกับ Raw Material หรือ Finished Goods

 

ว่าต้องตรวจการเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ Type ใดบ้างครับ  (A B C อะไรประมาณนั้น)

 

หากต้องตรวจแล้วต้องขึ้นอยู่กับชนิดของกระบวนการผลิตด้วยหรือไม่

 

เรื่องนี้ไม่มีความรู้จริงๆ  เลยต้องรบกวนสอบถามครับ



#2 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,568 posts
  • Gender:Male

Posted 03 May 2013 - 08:23 AM

ได้รับความอนุเคราะห์คำตอบจากคุณสุวิมลแล้ว เมื่อเย็นวานนี้

ขอบคุณมากครับ

#3 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,568 posts
  • Gender:Male

Posted 04 May 2013 - 06:14 AM

รบกวนคุณ Micro  ช่วยแชร์เพิ่มได้นะครับ



#4 Old man

Old man

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 432 posts
  • Gender:Male
  • Location:BSI Group Thailand
  • Interests:No Action , Talk Only.

Posted 06 May 2013 - 01:34 AM

โรคติดต่อทางอาหาร

ก่อนจะคุยกันเรื่องการตรวจโรค เรามาดูที่มาที่ไป เหตุและผล ทางวิทยาศาสตร์ กฏหมายกันก่อนนะครับ

1. ผู้สัมผัสอาหารสามารถแพร่โรคได้อย่างไร
1. กรณีที่เป็นพาหะของโรคติดต่อทางเดินอาหาร เช่น ผู้สัมผัสอาหารมีเชื้อโรคไทฟอยด์อยู่ในตัว แต่ไม่แสดงอาการ
2. ในกรณีที่ป่วยเป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ทางการสัมผัส ได้แก่


โรคอุจจาระร่วง บิด ไทฟอยด์ ซึ่งสามารถติดต่อได้ หากไม่ล้างมือให้สะอาดหลังออกจากห้องส้วมแล้วใช้มือหยิบจับอาหาร

วันโรค หวัด ตับอักเสบชนิดเอ สามารถติดต่อได้ทางน้ำมูก น้ำลาย ในกรณี ที่ไอจาม หรือพูดคุยรดอาหาร

3. ในกรณีที่มีบาดแผล ฝี หนอง เชื้อโรคในบาดแผลอาจจะปนเปื้อนลงในอาหารระหว่างการเตรียม ปรุง ประกอบอาหาร ขณะที่ใช้มือที่เป็นแผลหยิบจับอาหาร
4. ในกรณีที่มีผู้สัมผัสอาหารมีสุขภาพดี ไม่เป็นพาหะของโรค แต่มีพฤติกรรมในการปรุง ประกอบ และจำหน่ายอาหารไม่ถูกต้อง เช่น ไอ จามรดอาหาร ใช้มือหยิบจับอาหาร ก็อาจทำให้อาหารถูกปนเปื้อนด้วยเชื้อโรคและสิ่งสกปรกได้

2 เวลาไอจาม พูดคุย สามารถแพร่เชื้อโรคได้ไกลแค่ไหน
การศึกษาใหม่พบว่า การไอ (cough) หรือจาม (sneeze) แต่ละครั้งจะทำให้เกิดละอองฝอยขนาดเล็ก (droplets / aerosols) ฟุ้งกระจายไปในอากาศได้นานกว่า 1 ชั่วโมง
การแพร่เชื้อโรคผ่านได้ทางไหนบ้าง
(1). ผ่านการสัมผัสโดยตรง เนื่องจาก "น้ำมูก-น้ำลาย-เสมหะ" ของคนป่วยปนเปื้อนผ่านมือไปป้ายตามเครื่องมือของใช้ต่างๆ
(2). ผ่านละอองฝอยจากการจามหรือไอ ซึ่งละอองฝอยขนาดใหญ่จะลอยฟุ้งในอากาศได้ไม่นาน แต่ละอองฝอยขนาดเล็กจะลอยอยู่ได้นาน การศึกษาหลายรายงานพบว่า ละอองฝอยขนาดเล็กลอยฟุ้งในอากาศได้นานหลายชั่วโมงจนถึงหลายวัน
การไอแต่ละครั้งจะทำให้เกิดกระแสลมเร็ว 50 mph (ไมล์/ชั่วโมง), แพร่กระจาย 3,000 ละอองฝอย (droplets), ทำให้เชื้อกระจายไปได้หลายฟุต (ประมาณ 1.8 เมตร) โดยทั่วไปใช้ระดับการควบคุมระยะที่ 3 ฟุต ( 1 เมตร)
การจามแต่ละครั้งจะทำให้เกิดกระแสลมเร็วมากกว่า 100 mph (ไมล์/ชั่วโมง) แพร่กระจาย 40,000 ละอองฝอย (droplets), ทำให้เชื้อกระจายไปได้หลายฟุต (ประมาณ 1.8 เมตร)โดยทั่วไปใช้ระดับการควบคุมระยะที่ 3 ฟุต ( 1 เมตร)

(3). การติดเชื้อที่แพร่กระจายในอากาศ

3. กฏกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร พรบ 2522 กำหนดเรื่องนี้ไว้อย่างไร
กฏกระทรวง กำหนดว่า
ต้องไม่ใช้ จ้าง วาน คนไร้ความสามารถหรือมีจิตฟั่นเฟือน หรือคนซึ่งเป็นพาหะของโรคหรือซึ่งเป็นโรคดังต่อไปนี้ ปฏิบัติงานในสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
(ก) โรคเรื้อน , (ข) วัณโรคในระยะอันตราย, (ค) โรคติดยาเสพติด, (ง) โรคพิษสุราเรื้อรัง, (จ) โรคเท้าช้าง, (ฉ) โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ,
และต้อง รับคนงานที่ปรุงหรือผลิตอาหารเฉพาะผู้มีใบรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าไม่เป็นโรคตาม ข้างต้นและ ต้องจัดให้คนงานได้รับการตรวจร่างกาย โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และให้เก็บเอกสารการตรวจร่างกายไว้เป็นหลักฐาน

4. เมืองนอกเขาว่าอย่างไรเรื่องการตรวจโรคนี้
ไปดู Food Code 2009 ของ FDA ตามแนบ ข้อบังคับที่2-201.11 กำหนดให้ว่า พนักงานที่ทำงานสัมผัสอาหารต้อง ได้รับการวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยจากเชื้อ Salmonella Typhi, Shigella spp, Escherichia coli และ ไวรัส A

5. ไวรัสต่างจาก แบคทีเรีย เชื้อรา อย่างไร
ไวรัส ไม่เหมือนแบคที่เรียหรือรา , ไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนในอาหาร และไม่ได้ทำให้อาหารเสีเป็นพิษ เนื่องจากการไม่เจริญในอาหาร ด้วยเหตุนี้ ไวรัสมีโอกาสต่ำมากที่จะปนเปื้อนในห่วงโซ่การจัดหาอาหารและมักมีอายุสั้นและทำลายด้วยความสภาวะแวดล้อมได้ง่าย ซึ่งต่างจากกลไกการทำให้เกิดการเน่าเสียของจุลินทรีย์ หรือก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษจากแบคทีเรีย

6. ไวรัสตับ Aกับ ไวรัส B ต่างกันอย่างไร
เชื้อไวรัสตับอักเสบ บี สามารถติดต่อทาง เลือด น้ำเชื้อ และน้ำหลั่งอย่างอื่น เช่น น้ำเหลือง ซึ่งต่างจาก ไวรัสตับอักเสบเอ
เชื้อไวรัสตับอักเสปเอ ติดต่อได้โดยการรับประทาน อาหารและน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสเข้าทางลำไส้และไปเจริญเติบโตในเซลล์ ตับ ขับออกมาทางน้ำดีและปนมากับอุจจาระ เชื้อไวรัสมีความคงทนต่อสิ่งแวดล้อมธรรมชาติในน้ำและที่ชื้นเป็นเวลาหลายเดือน
ไวรัสตับเอจะถูกทำลายโดยการต้มให้เดือดหรือความร้อนที่มากกว่า 85 องศาเซลเซียสขึ้นไป ด้วยเหตุผลนี้ จึงอาจมีการแพร่กระจายไวรัสตับอักเสบชนิด เอ มาจากผู้ที่ชอบทานหอยดิบๆหรือลวกสุกๆดิบๆ ที่มาจากแหล่งน้ำไม่สะอาด

ไวรัสตับอักเสบบี จะติดต่อกันได้โดยการ สัมผัสกับเลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่งของผู้ป่วยตับอักเสบหรือผู้เป็นพาหะเท่านั้น เชื้อไวรัสนี้ไม่สามารถอยู่รอดในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติในแม่น้ำลำคลอง ที่พื้นห้อง หรือที่ชื้น ได้ และที่สำคัญอาจต้อง กรีดเลือดกรอกใส่อาหาร (ลาบเลือด)ในปริมาณมากขนาดเอ็ดเวอร์ดดูดคอเบลล่า และต้องฟันผุ มีเลือดออกตามไรฟัน จึงค่อยบรรจบกันจนมีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคทางอาหาร

สรุป
ด้วยเหตุผลความปลอดภัยในอาหาร ให้ตรวจ ไวรัสตับ A (Hepatitis A ) ส่วน B ไม่ต้อง ซึ่งเป็นไปตามหลักการ หลักวิทยาศาสตร์และกฏหมายบ้านเรารวมถึงบ้านนอก(USA) ครับ หากบริษัทรวยและจ่ายตังค่าตรวจให้พนักงานก็ตามสบายครับ เหมือนตรวจสุขภาพดูแลเอาใจใส่พนักงานครับ พนักงานจะได้มีขวัญกำลังใจ ได้รับการดูแลสุขภาพส่วนตัวจากบริษัทครับ ส่วนความปลอดภัยในอาหารนั้นแทบไม่เกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบบีครับ ที่ตรวจกันมากเพราะโรงพยาบาลไม่เข้าใจครับ หรืออยากมีรายได้มั้ง

สำหรับ BRC นั้นให้ยึดกฏหมายพื้นถิ่นครับ กฏหมายว่าอย่างไรในเรื่องตรวจสุขภาพ ก็ตามนั้นได้เลยครับผม

ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ http://www.bsigroupt...hp/article.html

Attached Thumbnails

  • 6-5-2556 1-35-18.gif


#5 Old man

Old man

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 432 posts
  • Gender:Male
  • Location:BSI Group Thailand
  • Interests:No Action , Talk Only.

Posted 06 May 2013 - 07:59 AM

BRC กล่าวเรื่องการควบคุมเฉพาะ สำหรับ high risk / high care. เพื่อควบคุม การปนเปื้อนจากคนสู่อาหาร ไว้ที่ข้อกำหนด .... ครับ
การตรวจโรคเฉพาะ มีค่าใช้จ่าย ให้ทำอย่างจริงจังอย่างฉลาด ใครทำงานส่วนไหนที่มีผลต่อการก่อให้เกิดการปนเปื้ิอนจากคนสู่อาหารก็ต้องทำ หากไม่ก็ไม่ต้อง สิ้นเปลือง. มาตรฐานให้ดูตามความเสี่ยง

อย่าลืมว่าหัวใจคือ การเฝ้าระวังโรค วันต่อวัน ใครท้องเสีย ใครไอจาม ใครติดโรคอะไร. การตรวจให้ได้ใบรับรองแพทย์ประจำปี เป็นมาตรการควบคุมที่ขี่ช้างและป้องกันการปนเปื้อนได้น้อยมากๆ เสียค่าใช้จ่ายมากๆ. ใบรับรองแพทย์เป็นมาตรการควบคุมที่เป็น re active เน้นรับไม่ได้เน้นเชิงรุก

สิ่งสำคัญคือการป้องกันอาหารให้ปลอดภัย หวังพึ่งตรวจโรคปีละครั้ง คงไม่ได้

เนื่องจากระยะติดต่อ ฟักเชื้อ แพร่เชื้อ ออกอาการ ต่างกัน มันมาไวกว่ารอบปีครับ

ไม่ใช่เป็นการตรวจสุขภาพเพื่อสุขภาพครับ

แต่เป็นการตรวจสุขภาพเพื่อดูความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อจากคนสู่อาหารครับ

เรื่องนี้ มักมีปัญหากับผู้ตรวจ BRC มือใหม่ อยากให้มีเอกสารทางการแพทย์ยืนยันมากกว่าตามกฎหมายครับ

การตรวจเฝ้าระวังโรค ตามกฏหมาย อาจเหมาะหรือไม่เหมาะสมต้องตรวจเพิ่มอะไรบ้าง. หรือใครไม่ต้องตรวจอะไร ต้องคิดครับ
บางเรื่องต้องตรวจมากกว่ากฏหมาย บางเรื่อง บางชนิด บางส่วนจองการผบิตไม่ต้อง
พนักงานบางส่วนต้องเน้นตรวจมากกว่าส่วนอื่นๆ เช่นพนักงานที่ทำงานสัมผัสอาหารหลังปรุงสุก
บางเรื่องต้องเน้นที่การควบคุมการคัดกรองสุขภาพรายวันอย่างเข้มงสด โดยเฉพาะ ready to eat type. เข่น ครัวสด ครัวกลาง ภัตาคาร ร้านอาหาร
ขณะเดียวกันพนักงานบางตำแหน่ง บางกระบวนการ บางโรงงาน ก็ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนจากคนสู่อาหาร และจากคนสู่คน

การคิดว่าจะป้องกันการแพร่โรคในอาหาร จากคนสู่อาหารโดยดูผลตรวจโรคอย่างเดียวปีละครั้ง แย่พอๆกับเราบอกว่าเราผลิตอาหารที่ปลอดภัย จากหลักฐานการส่ง Lab ปีละครั้งครับผม อิอิ
หลักฐานนี้ อ่อนมาก ขอบอก!



#6 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,568 posts
  • Gender:Male

Posted 06 May 2013 - 08:35 AM

BRC กล่าวเรื่องการควบคุมเฉพาะ สำหรับ high risk / high care. เพื่อควบคุม การปนเปื้อนจากคนสู่อาหาร ไว้ที่ข้อกำหนด .... ครับ
การตรวจโรคเฉพาะ มีค่าใช้จ่าย ให้ทำอย่างจริงจังอย่างฉลาด ใครทำงานส่วนไหนที่มีผลต่อการก่อให้เกิดการปนเปื้ิอนจากคนสู่อาหารก็ต้องทำ หากไม่ก็ไม่ต้อง สิ้นเปลือง. มาตรฐานให้ดูตามความเสี่ยง

อย่าลืมว่าหัวใจคือ การเฝ้าระวังโรค วันต่อวัน ใครท้องเสีย ใครไอจาม ใครติดโรคอะไร. การตรวจให้ได้ใบรับรองแพทย์ประจำปี เป็นมาตรการควบคุมที่ขี่ช้างและป้องกันการปนเปื้อนได้น้อยมากๆ เสียค่าใช้จ่ายมากๆ. ใบรับรองแพทย์เป็นมาตรการควบคุมที่เป็น re active เน้นรับไม่ได้เน้นเชิงรุก

สิ่งสำคัญคือการป้องกันอาหารให้ปลอดภัย หวังพึ่งตรวจโรคปีละครั้ง คงไม่ได้

เรื่องนี้ มักมีปัญหากับผู้ตรวจ BRC มือใหม่ อยากให้มีเอกสารทางการแพทย์ยืนยันมากกว่าตามกฎหมายครับ

การระวังโรค ตามกฏหมาย อาจเหมาะหรือไม่เหมาะ ต้องตรวจเพิ่มอะไร หรือใครไม่ต้องตรวจอะไร ต้องคิดครับ
บางเรื่องต้องระวังมากกว่า
พนักงานบางส่วนต้องเน้นกว่าบางส่วน เช่นพนักงานสัมผัสอาหารหลังปรุงสุก
บางเรื่องต้องเน้นที่การควบคุมการคัดกรองรายวัน โดยเฉพาะ ready to eat type.
ขณะเดียวกันพนักงานบางตำแหน่ง บางกระบวนการ บางโรงงาน ก็ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนจากคนสู่อาหารและจากคนสู่คน

คิดว่าจะป้องกันการแพร่โรคในอาหาร จากคนสู่อาหารโดยดูผลตรวจโรคอย่างเดียวปีละครั้ง แย่พอๆกับเราบอกว่าเนาผลิตอาหารที่ปลอดภัย จากหลักฐานการส่ง Lab ปีละครั้งครับผม อิอิ
หลักฐานนี้ อ่อนมาก ขอบอก!




กระจ่างชัด

ขอบพระคุณอาจารย์ครับ

ด้วยความเคารพ

#7 so_cool

so_cool

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 90 posts

Posted 06 May 2013 - 06:55 PM

BRC กล่าวเรื่องการควบคุมเฉพาะ สำหรับ high risk / high care. เพื่อควบคุม การปนเปื้อนจากคนสู่อาหาร ไว้ที่ข้อกำหนด .... ครับ
การตรวจโรคเฉพาะ มีค่าใช้จ่าย ให้ทำอย่างจริงจังอย่างฉลาด ใครทำงานส่วนไหนที่มีผลต่อการก่อให้เกิดการปนเปื้ิอนจากคนสู่อาหารก็ต้องทำ หากไม่ก็ไม่ต้อง สิ้นเปลือง. มาตรฐานให้ดูตามความเสี่ยง

อย่าลืมว่าหัวใจคือ การเฝ้าระวังโรค วันต่อวัน ใครท้องเสีย ใครไอจาม ใครติดโรคอะไร. การตรวจให้ได้ใบรับรองแพทย์ประจำปี เป็นมาตรการควบคุมที่ขี่ช้างและป้องกันการปนเปื้อนได้น้อยมากๆ เสียค่าใช้จ่ายมากๆ. ใบรับรองแพทย์เป็นมาตรการควบคุมที่เป็น re active เน้นรับไม่ได้เน้นเชิงรุก

สิ่งสำคัญคือการป้องกันอาหารให้ปลอดภัย หวังพึ่งตรวจโรคปีละครั้ง คงไม่ได้

เรื่องนี้ มักมีปัญหากับผู้ตรวจ BRC มือใหม่ อยากให้มีเอกสารทางการแพทย์ยืนยันมากกว่าตามกฎหมายครับ

การตรวจเฝ้าระวังโรค ตามกฏหมาย อาจเหมาะหรือไม่เหมาะสมต้องตรวจเพิ่มอะไรบ้าง. หรือใครไม่ต้องตรวจอะไร ต้องคิดครับ
บางเรื่องต้องตรวจมากกว่ากฏหมาย บางเรื่อง บางชนิด บางส่วนจองการผบิตไม่ต้อง
พนักงานบางส่วนต้องเน้นตรวจมากกว่าส่วนอื่นๆ เช่นพนักงานที่ทำงานสัมผัสอาหารหลังปรุงสุก
บางเรื่องต้องเน้นที่การควบคุมการคัดกรองสุขภาพรายวันอย่างเข้มงสด โดยเฉพาะ ready to eat type. เข่น ครัวสด ครัวกลาง ภัตาคาร ร้านอาหาร
ขณะเดียวกันพนักงานบางตำแหน่ง บางกระบวนการ บางโรงงาน ก็ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนจากคนสู่อาหาร และจากคนสู่คน

การคิดว่าจะป้องกันการแพร่โรคในอาหาร จากคนสู่อาหารโดยดูผลตรวจโรคอย่างเดียวปีละครั้ง แย่พอๆกับเราบอกว่าเราผลิตอาหารที่ปลอดภัย จากหลักฐานการส่ง Lab ปีละครั้งครับผม อิอิ
หลักฐานนี้ อ่อนมาก ขอบอก!

 สุดยอดเลยค่ะ ...กด Like ให้อาจารย์ Old man ล้านไลค์ยังน้อยไปเลยค่ะ กับประโยคนี้...

 

" การคิดว่าจะป้องกันการแพร่โรคในอาหาร จากคนสู่อาหารโดยดูผลตรวจโรคอย่างเดียวปีละครั้ง แย่พอๆกับเราบอกว่าเราผลิตอาหารที่ปลอดภัย จากหลักฐานการส่ง Lab ปีละครั้งครับผม อิอิ หลักฐานนี้ อ่อนมาก ขอบอก! "






1 user(s) are reading this topic

0 members, 1 guests, 0 anonymous users