Q1: อยากทราบว่า การทำ FMEA ต้องทำการประเมินแยกข้อมูลของกระบวนการ Prototype Pre-launch Mass production
หรือไม่
Q2 ถ้าแยกหรือไม่แยกกันเพราะอะไร ถึงเป็นเช่นนั้น รบกวนด้วยนะครับ
ขอบคุณมากครับ

ก่อนจะตอบ Q1 และ Q2 ผมขออธิบายวัตถุประสงค์หรือเจตนารมย์ของ FMEA รวมทั้งเงื่อนไขการใช้งาน และความเชื่อมโยงกับข้อกำหนด ISO/TS 16949 ก่อนนะครับ
FMEA 4th edition เป็นเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ข้อบกพร่องต่างๆ ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น โดยจะวิเคราะห์ช่วง new model โดยแบ่งหลักๆ เป็น Design FMEA และ Process FMEA
- Design FMEA จะเป็นการวิเคราะห์ความบกพร่องของกระบวนการออกแบบที่มีผลกระทบต่อผู้ใช้รถ (End User) ซึ่งจะเน้นความบกพร่องหรือความล้มเหลวของฟังค์ชั่นการทำงานของชิ้นส่วนนั้นๆ เช่น
หากเกิดความบกพร่องของระบบเบรค จะกระทบต่อผู้ขับขี่รุนแรงแค่ไหน (Severity) สาเหตุของความบกพร่องนั้นคืออะไร และเกิดบ่อยแค่ไหน (Occurrence) และปัจจุบันมีการป้องกันและตรวจจับอย่างไร (Detection) ซึ่งการป้องกันและตรวจจับจะเน้นไปที่มาตรฐานการออกแบบ + Material ที่ใช้และการทดสอบ Performance ต่างๆ
- Process FMEA เป็นการวิเคราะห์ความบกพร่องของกระบวนการผลิต ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้รถ (End User) และ/หรือ กระบวนการผลิต/ประกอบในขั้นตอนถัดไปว่ารุนแรงแค่ไหน (Severity) เช่น
ประะกอบไม่ได้หรือขึ้นรูปไม่ได้ ต้อง Rework หรือทิ้งเป็น Scrap อย่างเดียว สาเหตุของความบกพร่องนั้นคืออะไร และเกิดบ่อยแค่ไหน (Occurrence)
ปัจจุบันมีการป้องกัน (Prevent) การเกิดของสาเหตุอย่างไร และตรวจจับความบกพร่อง และ/หรือ สาเหตุโดยวิธีไหน (Detection)
ในข้อกำหนด TS 16949 ระบุให้ Cross Function Team (หรือ Multidisciplinary Approach ในข้อกำหนด 7.3.1.1) มีหน้าที่ร่วมกันประเมิน FMEA ในช่วง New Model ก่อนจะเริ่ม Mass Pro.
คราวนี้มาดูว่า Prototype, Pre-launch, Mass Production มันเกี่ยวข้องกับ FMEA อย่างไร
- ช่วงออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือ Prototype Phase (7.3.2.1, 7.3.3.1, 7.3.6.2 และ APQP Phase 2) กรณีนี้จะประเมิน Design FMEA อย่างเดียวเท่านั้น หากองค์กรไม่มี
Product Design ก็ไม่ต้องประเมินครับ อ่อขั้นตอนนี้จะเขียน Prototype Control Plan ด้วยครับ
- ช่วงออกแบบกระบวนการผลิต (Process Design) หรือ Pre-launch Phase (7.3.2.2, 7.3.3.2 และ APQP Phase 3) กรณีนี้จะประเมิน Process FMEA ก่อนจะทดลองผลิต
และเฟสนี้จะเขียน Pre-launch Control Plan ด้วยครับ
- ช่วงทดลองผลิตและกระบวนการอนุมัติผลิตภัณฑ์ (Validation or Trial and Product Approved Process 7.3.6, 7.3.6.3 และ APQP Phase 4) ขั้นตอนการทดลองผลิต sample part
และ Submit PPAP โดย PPAP ต้องแนบทั้ง DFMEA และ PFMEA และเขียน Production Control Plan ด้วย
- ช่วงผลิตจริง (Mass Production) ช่วง Mass Pro. ถ้ากระบวนการอยู่ในสถาวะปกติจะไม่มีเงื่อนไขการประเมิน FMEA ครับ ยกเว้นมี Product/Process Change (4.2.3.1, 7.1.4),
Potential Field-Failure (ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานจริง) 5.6.2.1 และหรือตามเงื่อนไขลูกค้า หรือเงื่อนไขอื่นๆ ตามที่ท่านเปาได้แนะนำครับ
คราวนี้จากคำถาม Q1, Q2 จากคำอธิบายด้านบน คงมองภาพออกนะครับ
อ่อ และอีกอย่างนึง FMEA กับ Control Plan เป็นเอกสารที่มีวัตถุประสงค์การใช้งานต่างกันนะครับ
FMEA เป็นการประเมินความเสี่ยงหรือ Failure ที่มีโอกาสเกิดกับกระบวนการผลิต ถ้าประเมินแล้วความเสี่ยงของแต่ละขั้นตอนไม่เกินค่า RPN ที่กำหนด เราจึงจะเขียน Control Plan เพื่อใช้ควบคุม
Characteristic ของ Product & Process ว่าจะตรวจวัดคุณลักษณะอะไรบ้าง เช่น Dimension, Appearance, Pressure, Temp., Speed เป็นต้น
รวมทั้ง Characteristic นั้นมีขนาด Spec หรือ Parameter เท่าไหร่ ใช้เครื่องมืออะไรในการตรวจ จำนวนที่ตรวจและความถี่เป็นอย่างไร รวมทั้งกรณีมีปัญหาต้องทำอย่างไรบ้าง (Re-action plan)
ดังนั้นคุณต้องประเมิน FMEA ให้เป็นไปตามเงื่อนไขค่า RPN ที่กำหนดก่อนครับ จึงจะเขียน Control Plan (Process Flow Chart -----PFMEA-------- Control Plan)
โดยการเขียน Control Plan จะใช้ข้อมูลจาก FMEA บางส่วนมาประกอบการเขียนด้วยครับ (ดู 7.5.1.1)
ผมว่าลูกค้าคุณเข้าใจวัตถุประสงค์ของ FMEA กับ Control Plan ผิดแล้วละครับ
อังคพล
eng_038@hotmail.com
Tel 086-313-9038