รบกวนสอบถาม พี่ๆ น้องๆ เกี่ยวกับการจัดทำ HACCP
คือโรงงานที่ทำอยู่เป็นโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ(ยังไม่สามารถบริโภคได้) เพื่อส่งให้โรงกลั่น
เเต่มีข้อสงสัยในการทำ HACCP ดังนี้ค่ะ
1. การวิเคราะห์อันตรายจุดน้ำใช้ในโรงงาน เป็นน้ำที่มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แล้วนำมา Treatment
- คุณภาพน้ำต้องเทียบเท่าน้ำดื่มหรือเปล่าค่ะ
- เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์เจริญได้ยากในน้ำมัน หากจะวิเคราะห์ว่าไม่มีอันตรายด้านชีวภาพได้หรือเปล่าค่ะ
- หากจะต้องมีวิเคราะห์อันตรายทางชีวภาพ จะเลือกเฉพาะ Standard Plate Count ได้หรือเปล่าค่ะ(ตัด coliform และ E.Coli)
- การวิเคราะห์อันตรายจุดน้ำใช้ในโรงาน / หรือขั้นตอนอื่นในกระบวนการผลิต เราสามารถอ้างจาก มาตรฐานน้ำมันสุดท้ายได้หรือเปล่าค่ะ(STD น้ำมันมีเฉพาะเรื่อง สิ่งอื่นๆที่ไม่ละลาย(Impurity) ไม่มีการตรวจสอบเชื้อ และ อันตรายเคมี ) ได้หรือเปล่าค่ะ
2.เนื่องจากยังไม่มีมาตรฐานน้ำมันปาล์มดิบที่ไม่พร้อมบริโภค
การกำหนดค่ามาตรฐาน เช่น โลหะหนัก( Fe,Cu,Pd,As )
หากอ้างอิงมาตรฐานน้ำมันปาล์มสำหรับบริโภค จะมีบางค่าสูงกว่า มาตรฐาน (กระบวนการผลิตไม่สามารถทำได้)
เราสามารถให้ลูกค้าที่ต้องการค่าโลหะหนักเป็นผู้กำหนด(ไม่ทุกลูกค้า เนื่องจาก การกลั่นจะมีบางขั้นตอนที่สามารถกำจัดโลหะหนักได้)
รวมทั้งมาตฐานอื่นๆ จะได้หรือเปล่าค่ะ
ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกคำตอบน่ะค่ะ
ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

รบกวนสอบถาม พี่ๆ น้องๆ เกี่ยวกับการจัดทำ HACCP
Started by
ต้นกล้า
, Nov 14 2011 10:05 AM
5 replies to this topic
#1
Posted 14 November 2011 - 10:05 AM
#2
Posted 14 November 2011 - 09:11 PM
1. คุณภาพน้ำใช้ในกระบวนการ / โรงงาน ต้องเทียบเท่า ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องเรื่องวิธีการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ในการ
ผลิตและเก็บรักษา (ประกาศฯ ( ฉบับที่193) พ.ศ. 2543 (ฉบับที่298) พ.ศ. 2549 (ฉบับที่220) พ.ศ. 2544) มีข้อกําหนดให้น้ําที่ ใช้ในกระบวนการผลิตอาหารหรือสัมผัสกับอาหารต้องมีมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ําบริโภคใน ภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ดังนั้นจึงต้องปฎิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นมาตรฐานบังคับ
2. เรื่องการวิเคราะห์จุด CCP น้ำมันปาล์มดิบ ผมก็ไม่รู้นะ (เพราะไม่เคยทำ) แต่ก็สามารถวิเคราะห์ตามหลัก Decision Tree ได้ ดูว่า Process ไหนที่มีโอกาสเกิดการปนเปื้อนทางชีวภาพ (การเลือกแค่ Standard Plate Count ไม่น่าจะได้นะ) เช่น E coli เป็นจุลินทรีย์ที่เป็นตัวชี้วัดทางด้านสุขลักษณะในการผลิต ซึ่งกําหนดไว้ในประกาศของอาหาร แต่ละชนิดแล้ว หรือตัวอื่น ๆ เช่น S.aureus , Salmonella Spp. ที่อาจปนเปื้อนกับคน เครื่องจักร เป็นต้น หลังจากเราวิเคราะห์ CCP แล้ว หาก Process นั้นมีมาตรการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น HACCP ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมี CCP ก็ได้
ปล. ผู้ผลิตต้องตรวจเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์อาหารของตนเองเพื่อควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะจุลินทรีย์ ที่ทําให้เกิดโรคบางชนิดที่มีโอกาสพบได้ในวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต





#3
Posted 14 November 2011 - 09:17 PM
เดี่ยว คุณต้นกล้า รอคำตอบจากูรูด้าน Quality Assurance อย่างพี่ Food Safety และ พี่ Suppadej นะครับ และอิกหลาย ๆ คน





#4
Posted 14 November 2011 - 09:45 PM
QUOTE(gjr2527 @ Nov 14 2011, 09:11 PM) <{POST_SNAPBACK}>
1. คุณภาพน้ำใช้ในกระบวนการ / โรงงาน ต้องเทียบเท่า ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องเรื่องวิธีการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ในการ
ผลิตและเก็บรักษา (ประกาศฯ ( ฉบับที่193) พ.ศ. 2543 (ฉบับที่298) พ.ศ. 2549 (ฉบับที่220) พ.ศ. 2544) มีข้อกําหนดให้น้ําที่ ใช้ในกระบวนการผลิตอาหารหรือสัมผัสกับอาหารต้องมีมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ําบริโภคใน ภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ดังนั้นจึงต้องปฎิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นมาตรฐานบังคับ
2. เรื่องการวิเคราะห์จุด CCP น้ำมันปาล์มดิบ ผมก็ไม่รู้นะ (เพราะไม่เคยทำ) แต่ก็สามารถวิเคราะห์ตามหลัก Decision Tree ได้ ดูว่า Process ไหนที่มีโอกาสเกิดการปนเปื้อนทางชีวภาพ (การเลือกแค่ Standard Plate Count ไม่น่าจะได้นะ) เช่น E coli เป็นจุลินทรีย์ที่เป็นตัวชี้วัดทางด้านสุขลักษณะในการผลิต ซึ่งกําหนดไว้ในประกาศของอาหาร แต่ละชนิดแล้ว หรือตัวอื่น ๆ เช่น S.aureus , Salmonella Spp. ที่อาจปนเปื้อนกับคน เครื่องจักร เป็นต้น หลังจากเราวิเคราะห์ CCP แล้ว หาก Process นั้นมีมาตรการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น HACCP ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมี CCP ก็ได้
ปล. ผู้ผลิตต้องตรวจเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์อาหารของตนเองเพื่อควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะจุลินทรีย์ ที่ทําให้เกิดโรคบางชนิดที่มีโอกาสพบได้ในวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
ผลิตและเก็บรักษา (ประกาศฯ ( ฉบับที่193) พ.ศ. 2543 (ฉบับที่298) พ.ศ. 2549 (ฉบับที่220) พ.ศ. 2544) มีข้อกําหนดให้น้ําที่ ใช้ในกระบวนการผลิตอาหารหรือสัมผัสกับอาหารต้องมีมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ําบริโภคใน ภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ดังนั้นจึงต้องปฎิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นมาตรฐานบังคับ
2. เรื่องการวิเคราะห์จุด CCP น้ำมันปาล์มดิบ ผมก็ไม่รู้นะ (เพราะไม่เคยทำ) แต่ก็สามารถวิเคราะห์ตามหลัก Decision Tree ได้ ดูว่า Process ไหนที่มีโอกาสเกิดการปนเปื้อนทางชีวภาพ (การเลือกแค่ Standard Plate Count ไม่น่าจะได้นะ) เช่น E coli เป็นจุลินทรีย์ที่เป็นตัวชี้วัดทางด้านสุขลักษณะในการผลิต ซึ่งกําหนดไว้ในประกาศของอาหาร แต่ละชนิดแล้ว หรือตัวอื่น ๆ เช่น S.aureus , Salmonella Spp. ที่อาจปนเปื้อนกับคน เครื่องจักร เป็นต้น หลังจากเราวิเคราะห์ CCP แล้ว หาก Process นั้นมีมาตรการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น HACCP ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมี CCP ก็ได้
ปล. ผู้ผลิตต้องตรวจเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์อาหารของตนเองเพื่อควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะจุลินทรีย์ ที่ทําให้เกิดโรคบางชนิดที่มีโอกาสพบได้ในวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
ยอดเยี่ยมมากน้อง บอล
ลูกน้องผมคนนี้ ตอบได้ตรงประเด็นไปหมดแล้วครับ โดยเฉพาะข้อ ที่สอง
ขอเสริมนิดนึงคือ หาก Crude oil ยังไม่มีมาตรฐานที่รัฐกำหนดไว้ ก็สามารถใช้ข้อตกลงของลูกค้ามาเป็นเกณฑ์ได้ครับ
ทีนี้หากบอกว่ามีลูกค้าหลายราย เกณฑ์ไม่เท่ากันจะใช้อย่างไรดี
คำตอบคือตามหลักสากลแล้วใช้เกนฑ์ของลูกค้าที่เข้มที่สุดเป็นเกณฑ์มาตรฐานแทนลูกค้ากล
ุ่มที่ไม่เข้มงวดด้วยเลยแล้วกันครับ อย่าลืมทำบันทึกข้อตกลงกับลูกค้าไว้เป็นเอกสารด้วยนะครับ
อาจจะทำเป็น Specification ที่ยอมรับด้วยกันทั้งสองฝ่ายนะครับ
ในเรื่องจุลินทรีย์ต่างๆ หากคุณมีหลักฐานทางวิชการยืนยัน หรือหากมีข้อมูลการทดลองต่างๆยืนยันในลักษณะ Validation ไว้ด้วย ก็จะเป็นประโยชน์
ในการพิจารณาหรือแสดงให้ Auditor ได้เห็นถึงการยกเว้นต่างๆนะครับ ลองพิจารณาดู
ถามเพิ่มเติมได้ที่ 0869906087 อนุสรณ์
หมายเหตุ น้องบอลมาทำงานกับผมตั้งแต่กลางเดืนที่แล้วครับ น้องคนนี้จบลาดกระบัง เก่งมาก ช่วยผ่อนแรงผมได้เยอะ
#5
Posted 16 November 2011 - 04:39 PM
ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบค่ะ
#6
Posted 21 November 2011 - 11:23 AM
เพิ่มเติมนะครับ
- เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์เจริญได้ยากในน้ำมัน หากจะวิเคราะห์ว่าไม่มีอันตรายด้านชีวภาพได้หรือเปล่าค่ะ คิดว่าไม่ได้ครับ เพราะอาจยังมีเชื้อจุลินทรย์อยู่ในวัตถุดิบตั้งต้น และจะถูกทำลายในกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มครับ และอาจปนเปื้อนในขั้นตอนการบรรจุอีกครั้งจึงจำเป็นต้องวิเคราะห์และกำหนดมาตรการป้อง
กัน
- หากจะต้องมีวิเคราะห์อันตรายทางชีวภาพ จะเลือกเฉพาะ Standard Plate Count ได้หรือเปล่าค่ะ(ตัด coliform และ E.Coli) เชื้อที่ต้องกลัวคือกลุ่มที่สามารถสร้างสปอร์ได้ครับ เช่น Bacillus cereus เป็นต้นครับ เพราะถึงแม้ค่า Aw ของน้ำมันจะต่ำมาก แต่มันไม่สามารถกำจัด สปอร์ของเชื้อแบคทีเรียได้ 100% จึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ครับ
- เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์เจริญได้ยากในน้ำมัน หากจะวิเคราะห์ว่าไม่มีอันตรายด้านชีวภาพได้หรือเปล่าค่ะ คิดว่าไม่ได้ครับ เพราะอาจยังมีเชื้อจุลินทรย์อยู่ในวัตถุดิบตั้งต้น และจะถูกทำลายในกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มครับ และอาจปนเปื้อนในขั้นตอนการบรรจุอีกครั้งจึงจำเป็นต้องวิเคราะห์และกำหนดมาตรการป้อง
กัน
- หากจะต้องมีวิเคราะห์อันตรายทางชีวภาพ จะเลือกเฉพาะ Standard Plate Count ได้หรือเปล่าค่ะ(ตัด coliform และ E.Coli) เชื้อที่ต้องกลัวคือกลุ่มที่สามารถสร้างสปอร์ได้ครับ เช่น Bacillus cereus เป็นต้นครับ เพราะถึงแม้ค่า Aw ของน้ำมันจะต่ำมาก แต่มันไม่สามารถกำจัด สปอร์ของเชื้อแบคทีเรียได้ 100% จึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ครับ
1 user(s) are reading this topic
0 members, 1 guests, 0 anonymous users