ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

ปรึกษาเรื่องโปรเจคจบหน่อยครับ
#1
Posted 02 November 2011 - 04:05 PM
ว่าชุบมือเปิบจากโรงงานหรือเปล่าผมก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่ผมก็เขียนคำแนะนำกับทางโรงงานนะครับ แต่อย่างที่บอกพวกผมเป็นกรณีศึกษาและทำการประยุกต์) ทีนี้ปัญหาก็เกิดขึ้นครับ คือหลังจากเริ่มทำการปรับปรุงข้อบกพร่องที่พบภายในโรงงาน ในหมวดอื่นๆก็ทำการปรับปรุงได้เป็นไปตามเวลาที่กำหนด แต่ติดตรงที่อาคารสถานที่ ซึ่งเดิม โรงงานนี้ได้สร้างอาคารบรรจุผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ และมีกำหนดการเสร็จภายในเดือนกันยายนที่ผ่านมา แต่ตอนนี้ได้ล่วงเลยมาจนถึงเดือนพฤศจิกายนแล้ว ยังไม่เสร็จ ซึ่งเลยกำหนดที่ผมได้วางแผนการปฎิบัติงานไว้ เนื่องจากผู้รับเหมาก่อสร้างและเจ้าของโรงงานมีปัญหากัน งานจึงไม่แล้วเสร็จได้ ถ้าเกิดอาคารตรงนี้ไม่แล้วเสร็จทันตามกำหนด ผมก็จะเก็บผลการปฏิบัติงานไม่ได้ ซึ่งผมอาจจะต้องเรียนเพิ่มไปอีกปีนึง (ตอนนี้ผมเลยมา 2 ปีแล้วครับ ผมอยากจบมาก เป็นลูกคนเดียว พ่อแม่อยากให้ทำงานแล้ว เพราะแก่แล้ว) ซึ่งถ้าเกิดว่าการขอใบรับรอง GMP นี้ไม่ทันหรือไม่เกิดขึ้น ผมก็จะไม่บรรลุจุดประสงค์ที่จะนำใบรับรอง GMP ไปพรีเซนต์งานได้้ ถึงตอนนี้เครียดมากครับ สมองตื้อไปหมด
ผมกดดันมาก คิดแผนแก้ปัญหาก็คิดไม่ออก ตอนนี้คิดได้แผนเดียว คืองานที่ทำเหมือนเดิม แต่ตรงที่อาคารการผลิตจะทำเป็น แบบจำลอง 3 มิติ เสมือนจริงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ใช้วัสดุทุกอย่างตามจริง ขนาดโรงงานตามจริง ซึ่งถ้าหากว่าโรงงานก่อสร้างเสร็จก็จะเป็นไปตามแบบที่เขียน แล้วผมก็จะนำไปพรีเซนต์ให้กับสาธารณะสุขแล้วให้ทางนั้นประเมินมาว่า ที่พวกผมทำมานี้จะสามารถผ่านการประเมินกี่เปอร์เซนต์ ให้เป็นผู้รับรองว่าพวกผมได้ทำงานนี้จริง แต่เจอปัญหาเรื่องระยะเวลาที่ไม่ทันเวลาสอบเลยต้องใช้วิธีนี้ ผมก็ได้เสนอวิธีนี้ให้อาจารย์ฟัง อาจารย์ก็บอกว่า ถ้าทำวิธีนี้มันข้อมูลมันก็สามารถเมคขึ้นมาได้ แล้วก็ไม่มีใครไปตรวจสอบจริง ทางสาธารณะสุขก็จะรับรองตามที่เห็นในแบบ 3 มิติ แต่ไม่ได้เห็นของจริง ผมก็คิดไม่ออกเหมือนกันครับว่าจะมีวิธีอื่นอีกไหมที่จะแก้ปัญหาแบบนี้ยังไง กับเวลาที่กระชั้นชิด ผมต้องขึ้นสอบโปรเจคจบนี้ตอนเดือนกุมภาพันธ์ และคิดว่าโปรเจคนี้จะเป็นโปรเจคสุดท้ายแล้วที่จะไม่เปลี่ยนเป็นงานอื่นอีกแล้ว เพราะเปลี่ยนมาหลายโปรเจคแล้วครับ
พี่ๆพอที่จะมีข้อแนะนำผมบ้างไหมครับ กับวิธีการทำงาน หรือขอบเขตของโปรเจคนี้ ผมคิดมากจวนจะร้องไห้แล้ว เรียนมาก็หลายปี ผมอยากทำงานแบ่งภาระครับ
หากมีคำแนะนำก็แนะนำด้วยนะครับ ถือว่าช่วยคนเรียนนานด้วยนะครับ ผมสัญญาว่าจะคิดเหมือนกัน ไม่นั่งรอคำตอบโดยใช้เวลาสูญเปล่า
ขอบคุณที่เข้ามาอ่าน และขอบคุณข้อเสนอแนะครับ
สะดวกติดต่อก็รบกวนด้วยนะครับ viirayut@gmail.com หรือ 0849482489
#2
Posted 02 November 2011 - 04:50 PM
ถ้าใช่ ตามที่ผมได้เคยทำ การทำโปรเจคเหมือนกับการทำการทดลองเพื่อพิสูจน์ข้อสันนิษฐาน(เขียนผิดป่าวหว่า จำไม่ได้ Assumption) นะครับ ไม่ได้ต้องการผลประสบความสำเร็จ ตอนจบแค่แสดงเฉยๆว่าที่ทำการทดลองไปมันมีผลยังไงบ้าง ทำไมถึงเป็นไปตามข้อสันนิษฐาน ทำไมถึงไม่เป็น ถ้าเราอธิบายได้ก็จบ เพราะจุดประสงค์ของการให้นักศึกษาทำโปรเจคเพราะเรื่องนี้ครับ คือ ให้เรารู้จักการคิดเพื่อแก้ไขปัญหา
ก่อนอื่น คุณต้องบอก จุดประสงค์การทำโปรเจค และ ข้อสันนิษฐาน ให้ฟังก่อน คนอื่นถึงจะช่วยได้ครับ
สิ่งที่คุณเล่ามาผมว่ามันไม่ใช่โปรเจคของพวกจบปริญญาตรีนิครับ มันเหมือนผลงานการทำงานมากกว่าว่า ผมทำ GMP สำเร็จ ลองเรียบเรียงคำพูดใหม่ และลองเอาคำพูดของที่ปรึกษาคุณใส่ลงมาด้วย ผมว่าคนในนี้จะได้ช่วยได้มากขึ้นครับ
#3
Posted 02 November 2011 - 07:59 PM
ถ้าใช่ ตามที่ผมได้เคยทำ การทำโปรเจคเหมือนกับการทำการทดลองเพื่อพิสูจน์ข้อสันนิษฐาน(เขียนผิดป่าวหว่า จำไม่ได้ Assumption) นะครับ ไม่ได้ต้องการผลประสบความสำเร็จ ตอนจบแค่แสดงเฉยๆว่าที่ทำการทดลองไปมันมีผลยังไงบ้าง ทำไมถึงเป็นไปตามข้อสันนิษฐาน ทำไมถึงไม่เป็น ถ้าเราอธิบายได้ก็จบ เพราะจุดประสงค์ของการให้นักศึกษาทำโปรเจคเพราะเรื่องนี้ครับ คือ ให้เรารู้จักการคิดเพื่อแก้ไขปัญหา
ก่อนอื่น คุณต้องบอก จุดประสงค์การทำโปรเจค และ ข้อสันนิษฐาน ให้ฟังก่อน คนอื่นถึงจะช่วยได้ครับ
สิ่งที่คุณเล่ามาผมว่ามันไม่ใช่โปรเจคของพวกจบปริญญาตรีนิครับ มันเหมือนผลงานการทำงานมากกว่าว่า ผมทำ GMP สำเร็จ ลองเรียบเรียงคำพูดใหม่ และลองเอาคำพูดของที่ปรึกษาคุณใส่ลงมาด้วย ผมว่าคนในนี้จะได้ช่วยได้มากขึ้นครับ
ครับเป็น การทำโปรเจคสำหรับปริญญาตรีนี่แหละครับ
ผมได้ลองคิดดูแล้วหลายวิธีก่อนหน้านี้แต่มันก็ไม่ดีเท่าไหร่ จนอาจจะท้อ เลยต้องขอคำแนะนำครับ
ถ้าเดิมๆเลย
วัตถุประสงค์ของผมจะเป็น
1. เพื่อศึกษาลักษณะการทำงานของสถานประกอบการ
2. เพื่อศึกษาและนำหลักการมาตรฐาน GMP มาประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการ
3. เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงและดำเนินการให้สถานประกอบการ ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน GMP
4. เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้ศึกษามานั้น มาปรับปรุงพัฒนาออกแบบอาคารการผลิตใหม่ที่ถูกหลักการมาตรฐาน GMP
ขอบเขตของโครงการ
1. ทำการเปรียบเทียบวัสดุที่ใช้ก่อสร้างอาคารการผลิตใหม่ของสถานประกอบการ และเลือกวัสดุที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักมาตรฐาน GMP โดยเลือกเปรียบเทียบวัสดุทำฝ้าเพดาน วัสดุปูพื้น วัสดุปูผนัง และวัสดุที่ทำโค้งมุมผนัง
2. ทำการตรวจประเมินโดยใช้แบบการประเมินมาตรฐาน GMP ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดก่อนที่จะทำการปรับปรุง จากนั้นดำเนินการปรับปรุงตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐ
านGMP โดยนำหลักการของมาตรฐาน GMP เข้ามาช่วยในการปรับปรุง
3. ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543 เรื่องวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทราบถึงสถานการณ์ ปัญหา อุปสรรค ความสามารถและความพร้อมของสถานประกอบการ ในการนำหลักเกณฑ์มาตรฐานของ GMP มาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง
2. ทำให้ผู้ประกอบการ มีความรู้เกี่ยวกับ GMP และสามารถผลิตผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งได้ตามมาตรฐานของ GMP
3. เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการควบคุมคุณภาพให้อยู่ภายใต้มา
ตรฐานที่กำหนดและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
4. ทำให้ผลิตภัณ์น้ำผึ้งได้มาตรฐานตามหลัก GMP และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค
5. สามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำระบบ GMP สำหรับอุตสาหกรรมอาหารประเภทอื่นๆ
6. ทำให้ผู้ประกอบการได้โรงงานที่ถูกต้องตามหลักข้อกำหนด และการลงทุนปรับปรุง ก่อสร้าง เหมาะสมกับงบประมาณ
จุดประสงค์ก็จะมีแบบนี้
ส่วนอาจารย์ก็แนะนำมาแบบข้างต้นน่ะครับ สามารถทำได้ถ้ามีคนรับรองที่เป็นที่น่าเชื่อถือได้ แต่ข้อมูลอาจจะน่าเชื่อถือน้อยกว่าการที่ได้ใบรับรองมานำเสนอ
จากที่คนมองก็ตามที่คุณ Junovsky คิดน่ะครับคือ อาจจะมองว่าเป็นการทำงานส่ง แต่เนื่องจากที่ผมดิ้นรนเหมือนกันครับ
ขอบคุณที่อ่าน ขอบคุณที่แนะนำครับ
#4
Posted 02 November 2011 - 08:32 PM
คิดว่า อาจารย์น่าจะฉลาดพอที่จะเข้าใจได้นะ ถ้าไม่เข้าใจก็ถือว่าเป็นผู้ใหญ่รังแกเด็ก
ทีนี้หากโครงสร้างโรงงานไม่เสร็จ อย. ก็คงจะไม่มาตรวจสอบให้ เลยขอเสนอว่า เราสามารถที่จะให้ผู้ชำนาญการด้าน GMP เช่นที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์และน่าเชื่อถือ หรือ Food Auditor อิสระ
ช่วยตรวจสอบให้ได้จะดีกว่าหรือไม่ ซึ่งจะยืดหยุ่นกว่าท่านข้าราชการที่มีอำนาจในมือมากมาย โดยหลักการช่วยตรวจสอบ ช่วยพิสูจน์ถึงข้อดีวัสดุต่างๆที่คุณเลือกใช้นั้น ที่ปรึกษาที่ชำนาญการหรือ Auditor อิสระ
จะออกรายงานให้คุณได้ว่าสิ่งที่คุณออกแบบนั้นดีเพียงพอหรือไม่ ไม่ทราบว่าแบบนี้ อาจารย์ของคุณจะรับได้หรือไม่ก็ลองไปปรึกษาดูนะครับ
#5
Posted 02 November 2011 - 11:11 PM
คิดว่า อาจารย์น่าจะฉลาดพอที่จะเข้าใจได้นะ ถ้าไม่เข้าใจก็ถือว่าเป็นผู้ใหญ่รังแกเด็ก
ทีนี้หากโครงสร้างโรงงานไม่เสร็จ อย. ก็คงจะไม่มาตรวจสอบให้ เลยขอเสนอว่า เราสามารถที่จะให้ผู้ชำนาญการด้าน GMP เช่นที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์และน่าเชื่อถือ หรือ Food Auditor อิสระ
ช่วยตรวจสอบให้ได้จะดีกว่าหรือไม่ ซึ่งจะยืดหยุ่นกว่าท่านข้าราชการที่มีอำนาจในมือมากมาย โดยหลักการช่วยตรวจสอบ ช่วยพิสูจน์ถึงข้อดีวัสดุต่างๆที่คุณเลือกใช้นั้น ที่ปรึกษาที่ชำนาญการหรือ Auditor อิสระ
จะออกรายงานให้คุณได้ว่าสิ่งที่คุณออกแบบนั้นดีเพียงพอหรือไม่ ไม่ทราบว่าแบบนี้ อาจารย์ของคุณจะรับได้หรือไม่ก็ลองไปปรึกษาดูนะครับ
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีดีครับ เคยเสนอวิธีนี้อยู่ครับ เค้าบอกว่า ก็อาจจะได้นะ เพราะไม่เคยเจอเคสนี้ แต่ลองหาวิธีอื่นก่อนมั้ย
แต่ในที่ผมคิดไว้มี 3 แบบครับ 1 ทำโมเดล 2 รอต่อไปให้เสร็จ 3 เปลี่ยนโรงงานใหม่ เริ่มต้นใหม่ เสียเวลาต่อ ซึ่งในใจตอนนี้ก็มีแต่ทำโมเดลน่ะครับ ตอนนี้ผมก็นั่งคิดวิธีอื่นเพิ่มเติมอยู่
ขอบคุณครับ ขอบคุณครับ
#6
Posted 03 November 2011 - 10:51 AM
ผมได้ลองคิดดูแล้วหลายวิธีก่อนหน้านี้แต่มันก็ไม่ดีเท่าไหร่ จนอาจจะท้อ เลยต้องขอคำแนะนำครับ
ถ้าเดิมๆเลย
วัตถุประสงค์ของผมจะเป็น
1. เพื่อศึกษาลักษณะการทำงานของสถานประกอบการ
2. เพื่อศึกษาและนำหลักการมาตรฐาน GMP มาประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการ
3. เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงและดำเนินการให้สถานประกอบการ ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน GMP
4. เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้ศึกษามานั้น มาปรับปรุงพัฒนาออกแบบอาคารการผลิตใหม่ที่ถูกหลักการมาตรฐาน GMP
ขอบเขตของโครงการ
1. ทำการเปรียบเทียบวัสดุที่ใช้ก่อสร้างอาคารการผลิตใหม่ของสถานประกอบการ และเลือกวัสดุที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักมาตรฐาน GMP โดยเลือกเปรียบเทียบวัสดุทำฝ้าเพดาน วัสดุปูพื้น วัสดุปูผนัง และวัสดุที่ทำโค้งมุมผนัง
2. ทำการตรวจประเมินโดยใช้แบบการประเมินมาตรฐาน GMP ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดก่อนที่จะทำการปรับปรุง จากนั้นดำเนินการปรับปรุงตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐ
านGMP โดยนำหลักการของมาตรฐาน GMP เข้ามาช่วยในการปรับปรุง
3. ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543 เรื่องวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทราบถึงสถานการณ์ ปัญหา อุปสรรค ความสามารถและความพร้อมของสถานประกอบการ ในการนำหลักเกณฑ์มาตรฐานของ GMP มาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง
2. ทำให้ผู้ประกอบการ มีความรู้เกี่ยวกับ GMP และสามารถผลิตผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งได้ตามมาตรฐานของ GMP
3. เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการควบคุมคุณภาพให้อยู่ภายใต้มา
ตรฐานที่กำหนดและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
4. ทำให้ผลิตภัณ์น้ำผึ้งได้มาตรฐานตามหลัก GMP และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค
5. สามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำระบบ GMP สำหรับอุตสาหกรรมอาหารประเภทอื่นๆ
6. ทำให้ผู้ประกอบการได้โรงงานที่ถูกต้องตามหลักข้อกำหนด และการลงทุนปรับปรุง ก่อสร้าง เหมาะสมกับงบประมาณ
จุดประสงค์ก็จะมีแบบนี้
ส่วนอาจารย์ก็แนะนำมาแบบข้างต้นน่ะครับ สามารถทำได้ถ้ามีคนรับรองที่เป็นที่น่าเชื่อถือได้ แต่ข้อมูลอาจจะน่าเชื่อถือน้อยกว่าการที่ได้ใบรับรองมานำเสนอ
จากที่คนมองก็ตามที่คุณ Junovsky คิดน่ะครับคือ อาจจะมองว่าเป็นการทำงานส่ง แต่เนื่องจากที่ผมดิ้นรนเหมือนกันครับ
ขอบคุณที่อ่าน ขอบคุณที่แนะนำครับ
ตามวัตถุประสงค์ของคุณและขอบเขตของโครงการ ผมว่าคุณไม่จำเป็นจะต้องไปศึกษาตัวอย่างจากสถานประกอบการที่คุณไปทำการวางแผนก็ได้คร
ับ ในลักษณะอย่างนี้ผมขอแนะนำว่า คุณหมายเหตุในรายงานโปรเจคคุณไปว่า สถานประกอบการไม่สามารถก่อสร้างอาคารใหม่ได้ทันตามแผนทำให้ไม่สามารถเข้าไปศึกษาตัวอ
ย่างของจริงจากสถานประกอบที่เข้าไปศึกษาได้ โดยทางคุณจะไปทำการเก็บตัวอย่างจากที่อื่นหรือไปรวบรวมข้อมูลจากสถานประกอบการอื่นหร
ือจากคำแนะนำผู้มีประสบการณ์ตรงก็ได้ โดยทำการรวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุด แล้วนำมาสรุปผลออกมาว่าสิ่งที่คุณออกแบบ วัสดุที่คุณใช้มีผลเป็นอย่างไรบ้าง เป็นไปตามระบบ GMP หรือไม่ แค่นี้ก็น่าจะเพัยงพอ
ผมว่าการที่คุณไปทำแบบจำลองสามมิติในคอมพิวเตอร์ มันก็มันอาจจะไม่ได้ตอบโจทย์จริงๆตามวัตถุประสงค์ที่คุณตั้งไว้ แถมทำแบบจำลอง ผมว่าคุณไม่ได้ expert ในด้านต่างๆแถมไม่ได้มีประสบการณ์มากพอ ทำมาจะไม่ได้ประโยชน์อะไร แถมการตั้งแบบจำลองคุณต้องตั้งข้อสันนิษฐานมากมาย ในระดับคุณผมว่าทำไม่น่าจะไหว นอกจากคุณจะมีทีมงานชั้น expert (ผมไม่ได้ดูถูกคุณนะครับ และต้องขอโทษด้วยที่กล่าวแบบนี้ออกไป แต่ถ้าคุณทำได้ก็ลุยเลยครับ)
ผมคิดว่าการทำโปรเจคระดับปริญญาตรี จุดมุ่งหมายสูงสุด คือ ให้คุณเข้าไปสัมผัสงานจริง ได้เปิดหูเปิดตากับของจริง ได้เข้าไปแก้ปัญหาจริงๆ จะได้มีประสบการณ์จริง แต่ถ้าคุณไปทำแบบจำลองในคอมพิวเตอร์โดยที่ไม่มีประสบการณ์เพียงพอ ผลออกมาจะไม่สวยแถมเสียเวลาอีกมากครับ และคุณก็ไม่ได้รับประสบการณ์ที่คุณควรได้รับ
ถ้าคุณไปคุยกับที่ปรึกษาโปรเจคคุณแล้วยังไม่ได้ผลตอบรับที่ดี ผมว่าคุณสามารถไปปรึกษาอาจารย์ท่านอืนในมหาลัยคุณได้นะครับ หลายคนหลายความคิด( storm brain) คุณอาจจะพบความเห็นดีๆจากอาจารย์บางคนก็ได้ครับ แล้วเอาความคิดเห็นดีๆมาเรียบเรียงให้ดีให้เป็นเหตุเป็นผลมากพอ ยังไงที่ปรึกษาโปรเจคคุณก็ต้องยอมครับ
#7
Posted 03 November 2011 - 08:17 PM
ับ ในลักษณะอย่างนี้ผมขอแนะนำว่า คุณหมายเหตุในรายงานโปรเจคคุณไปว่า สถานประกอบการไม่สามารถก่อสร้างอาคารใหม่ได้ทันตามแผนทำให้ไม่สามารถเข้าไปศึกษาตัวอ
ย่างของจริงจากสถานประกอบที่เข้าไปศึกษาได้ โดยทางคุณจะไปทำการเก็บตัวอย่างจากที่อื่นหรือไปรวบรวมข้อมูลจากสถานประกอบการอื่นหร
ือจากคำแนะนำผู้มีประสบการณ์ตรงก็ได้ โดยทำการรวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุด แล้วนำมาสรุปผลออกมาว่าสิ่งที่คุณออกแบบ วัสดุที่คุณใช้มีผลเป็นอย่างไรบ้าง เป็นไปตามระบบ GMP หรือไม่ แค่นี้ก็น่าจะเพัยงพอ
ผมว่าการที่คุณไปทำแบบจำลองสามมิติในคอมพิวเตอร์ มันก็มันอาจจะไม่ได้ตอบโจทย์จริงๆตามวัตถุประสงค์ที่คุณตั้งไว้ แถมทำแบบจำลอง ผมว่าคุณไม่ได้ expert ในด้านต่างๆแถมไม่ได้มีประสบการณ์มากพอ ทำมาจะไม่ได้ประโยชน์อะไร แถมการตั้งแบบจำลองคุณต้องตั้งข้อสันนิษฐานมากมาย ในระดับคุณผมว่าทำไม่น่าจะไหว นอกจากคุณจะมีทีมงานชั้น expert (ผมไม่ได้ดูถูกคุณนะครับ และต้องขอโทษด้วยที่กล่าวแบบนี้ออกไป แต่ถ้าคุณทำได้ก็ลุยเลยครับ)
ผมคิดว่าการทำโปรเจคระดับปริญญาตรี จุดมุ่งหมายสูงสุด คือ ให้คุณเข้าไปสัมผัสงานจริง ได้เปิดหูเปิดตากับของจริง ได้เข้าไปแก้ปัญหาจริงๆ จะได้มีประสบการณ์จริง แต่ถ้าคุณไปทำแบบจำลองในคอมพิวเตอร์โดยที่ไม่มีประสบการณ์เพียงพอ ผลออกมาจะไม่สวยแถมเสียเวลาอีกมากครับ และคุณก็ไม่ได้รับประสบการณ์ที่คุณควรได้รับ
ถ้าคุณไปคุยกับที่ปรึกษาโปรเจคคุณแล้วยังไม่ได้ผลตอบรับที่ดี ผมว่าคุณสามารถไปปรึกษาอาจารย์ท่านอืนในมหาลัยคุณได้นะครับ หลายคนหลายความคิด( storm brain) คุณอาจจะพบความเห็นดีๆจากอาจารย์บางคนก็ได้ครับ แล้วเอาความคิดเห็นดีๆมาเรียบเรียงให้ดีให้เป็นเหตุเป็นผลมากพอ ยังไงที่ปรึกษาโปรเจคคุณก็ต้องยอมครับ
ขอบคุณมากครับ สำหรับคำแนะนำดีๆ ผมจะลองรวบรวมความคิดเห็นดูครับ แล้วความน่าเชื่อถือของข้อมูลหมายถึงผู้ที่จะมารับรองความเป็นไปได้ของโครงการที่จะน
ำไปเข้าสอบผมควรทำยังไงดีครับ ผมยังวกวนอยู่กับตรงนี้อยู่ครับ
ขอบคุณมากนะครับ
#8
Posted 03 November 2011 - 09:03 PM
สำหรับผมแนะนำไปแล้ว ลองพิจารณาดูเองก็แล้วกัน น้องเอ๋ย
#9
Posted 03 November 2011 - 10:11 PM
สำหรับผมแนะนำไปแล้ว ลองพิจารณาดูเองก็แล้วกัน น้องเอ๋ย
ขอบคุณครับ ผมก็เชื่อว่ามันต้องของจริงเหมือนกัน ขอบคุณมากครับ
#10
Posted 04 November 2011 - 12:10 PM
ำไปเข้าสอบผมควรทำยังไงดีครับ ผมยังวกวนอยู่กับตรงนี้อยู่ครับ
ขอบคุณมากนะครับ
ผมว่าเรื่องความน่าเชื่อถือของข้อมูล ผมขอแบ่งเป็น 2 ส่วนนะครับ
1. แหล่งข้อมูล ก็จะมีทั้งจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ รูปถ่าย เอกสารต่างๆ ก็ทำการเลือกสิ่งที่มีความน่าเชื่อถือสูงหน่อยอะคับ
- ผู้เชี่ยวชาญนี่ไม่จำเป็นต้องเป็นคนมีชื่อเสียงนะครับ ขอแค่เค้ามีความรู้มีประการณ์กับสิ่งที่ถาม ก็น่าจะเพียงพอ (ขอแนะนำท่านอาจารย์ Food Safety ท่านอาจารย์เป็นคนมีความรู้และชอบช่วยเหลือ)
- รูปถ่ายก็เลือกสถานที่ที่อยู่ในขอบเขตของโปรเจค แล้วก็ขออนุญาตเข้าไปถ่าย (ก็ลองถามหาคนในนี้ก็อาจจะมีครับ)
- เอกสาร ก็พวกโบรชัววัสดุต่างๆ นิตยสารแนะนำ หนังสือที่เกี่ยวกับการทำGMP บทความที่อยู่ในอินเตอร์หรือกระดาษ บทวิจัยจากสถานศึกษา และอื่นๆ
2 การทำ reference ของแหล่งของข้อมูล เวลาทำต้องทำให้ชัดเจน เช่น
- ถ้าสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ก็ระบุไปว่า เค้าเป็นใคร ชื่ออะไร ทำอาชีพอะไร อยู่บริษัทอะไร ทำไมมีความชำนาญ มีความเกี่ยวข้องยังไงกับสิ่งที่สัมภาษณ์
- ถ้าเป็นรูปถ่าย ก็ระบุวันที่ถ่าย สถานที่ถ่าย
- ถ้าเป็นเอกสาร ก็ระบุที่มาว่า เอามาจากไหน ใครเขียน ของใคร หน้าไหนของเอกสาร
หวังว่าพอจะเป็นประโยชน์นะครับ
#11
Posted 04 November 2011 - 05:17 PM
1. แหล่งข้อมูล ก็จะมีทั้งจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ รูปถ่าย เอกสารต่างๆ ก็ทำการเลือกสิ่งที่มีความน่าเชื่อถือสูงหน่อยอะคับ
- ผู้เชี่ยวชาญนี่ไม่จำเป็นต้องเป็นคนมีชื่อเสียงนะครับ ขอแค่เค้ามีความรู้มีประการณ์กับสิ่งที่ถาม ก็น่าจะเพียงพอ (ขอแนะนำท่านอาจารย์ Food Safety ท่านอาจารย์เป็นคนมีความรู้และชอบช่วยเหลือ)
- รูปถ่ายก็เลือกสถานที่ที่อยู่ในขอบเขตของโปรเจค แล้วก็ขออนุญาตเข้าไปถ่าย (ก็ลองถามหาคนในนี้ก็อาจจะมีครับ)
- เอกสาร ก็พวกโบรชัววัสดุต่างๆ นิตยสารแนะนำ หนังสือที่เกี่ยวกับการทำGMP บทความที่อยู่ในอินเตอร์หรือกระดาษ บทวิจัยจากสถานศึกษา และอื่นๆ
2 การทำ reference ของแหล่งของข้อมูล เวลาทำต้องทำให้ชัดเจน เช่น
- ถ้าสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ก็ระบุไปว่า เค้าเป็นใคร ชื่ออะไร ทำอาชีพอะไร อยู่บริษัทอะไร ทำไมมีความชำนาญ มีความเกี่ยวข้องยังไงกับสิ่งที่สัมภาษณ์
- ถ้าเป็นรูปถ่าย ก็ระบุวันที่ถ่าย สถานที่ถ่าย
- ถ้าเป็นเอกสาร ก็ระบุที่มาว่า เอามาจากไหน ใครเขียน ของใคร หน้าไหนของเอกสาร
หวังว่าพอจะเป็นประโยชน์นะครับ
ขอบคุณมากๆครับ เป็นประโยชน์มากครับ
#12
Posted 04 November 2011 - 08:27 PM
#13
Posted 05 November 2011 - 09:37 AM
มากด Like

#14
Posted 06 November 2011 - 06:33 PM

ขอบคุณสำหรับความหวังดีของทั้งสองท่านครับ
ขอแสดงความนับถือ
#15
Posted 06 November 2011 - 06:33 PM
ขอบคุณสำหรับความหวังดีของทั้งสองท่านครับ
ขอแสดงความนับถือ
#16
Posted 06 November 2011 - 07:08 PM
1 user(s) are reading this topic
0 members, 1 guests, 0 anonymous users