Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

ขอตัวอย่างเอกสารเกี่ยวกับระบบ BRC ของฝ่ายบุคคล


  • This topic is locked This topic is locked
1 reply to this topic

#1 nat_thongbai

nat_thongbai

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 10 posts

Posted 16 March 2011 - 02:25 PM

พี่ๆไม่ทราบว่ามีใครเคยทพระบบ BRC บ้างมั้ยค่ะ พอดีโรงงานกำลังจะดำเนินการตรวจค่ะ แต่เอกสารที่เกี่ยวข้องของ ฝ่าย HR
ไม่มีเลย ไม่ทราบว่าใครพอที่จะมีตัวอย่างเอกสารต่างๆส่งมาให้ด้วยนะค่ะ / ขอบคุณค่ะ

#2 Suppadej

Suppadej

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,606 posts
  • Gender:Male

Posted 16 March 2011 - 03:30 PM

ส่วนของฝ่ายบุคคล ให้เตรียมความพร้อมตาม BRC REQUIREMENT หมวดนี้ครับ โดย Req. หมวดนี้อาจจะไม่ใช่เป็นความรับผิดชอบของฝ่ายบุคคลทั้งหมดครับ ซึ่งอย่างไรก็ตามฝ่ายบุคคลอาจต้องเป็น Leader ในการประสานงาน ขอความร่วมมือจากฝ่ายผลิตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยครับ

7. PERSONNEL
7.1 TRAINING - RAW MATERIAL HANDLING, PREPARATION, PROCESSING, PACKING AND STORAGE AREAS
FUNDAMENTAL องค์กรต้องมั่นใจว่าพนักงานที่ทำงานที่มีผลต่อความปลอดภัย, กฎหมายและคุณภาพ ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำงาน, ผ่านการอบรม, ประสบการณ์ทำงานหรือคุณสมบัติ
7.1.1 พนักงานที่เกี่ยวข้องทุกคน, รวมทั้งหนักงานชั่วคราวและผู้รับเหมาต้องได้รับการฝึกอบรมอย่างเหมาะสมก่อนเริ่มทำงา
น และต้องได้รับการกำกับดูแลตลอดระยะเวลาการทำงาน
7.1.2 พนักงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับจุดวิกฤติต้องได้รับการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้
องและระเบียบปฏิบัติในการเฝ้าติดตามด้วย
7.1.3 องค์กรต้องมีแผนที่เป็นเอกสารที่ครอบคลุมความจำเป็นในการอบรม โดยต้องมี
• การชี้บ่งความสามารถที่จำเป็นสำหรับหน้าที่เฉพาะ
• จัดการอบรมหรือกิจกรรมอื่นๆที่มั่นใจได้ว่าพนักงานมีความสามารถที่จำเป็น
• การทบทวนและการตรวจประเมินการนำไปใช้และประสิทธิผลของการอบรมและความสามารถของผู้สอน
• การพิจารณาอบรมในภาษาที่เหมาะกับผู้เรียน
7.1.4 ต้องมีบันทึกการอบรม โดยต้องรวมถึง
• ชื่อผู้เรียนและการยืนยันเข้าเรียน
• วันที่และระยะเวลา
• ชื่อหลักสูตร
• ผู้สอน
7.1.5 องค์กรต้องมีการทบทวนเป็นประจำถึงความสามารถของพนักงาน และจัดการอบรมตามเหมาะสม ซึ่งอาจใช้ในบันทึกการอบรม, การอบรมแบบฟื้นฟู, การสอนงาน, การเป็นพี่เลี้ยงหรือ OJT
7.2 ACCESS AND MOVEMENT OF PERSONNEL
7.2 องค์กรต้องมั่นใจว่าการเข้าและการเคลื่อนที่ของพนักงาน, ผู้เยี่ยมชมและผู้รับเหมา ต้องไม่
7.2.1 ต้องมีแผนผังที่ระบุการเข้าของพนักงาน, เส้นทางเยี่ยมชมและสิ่งอำนวยความสะดวก
7.2.2 ถ้าจำเป็นการอนุญาตเข้าพื้นที่การผลิต, ต้องมีการจัดเส้นทางเดินเพื่อให้มั่นใจว่ามีการแยกออกจากวัสดุ
7.2.3 สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมดต้องออกแบบและวางไว้ในตำแหน่ง, เพื่อให้พนักงานสามารถเคลื่อนที่ได้โดยง่าย
7.3 PERSONAL HYGIENE- RAW MATERIAL HANDLING, PREPARATION, PROCESSING, PACKING AND STORAGE AREAS
7.3 ต้องมีเอกสารระเบียบปฏิบัติมาตรฐานสุขอนามัยส่วนบุคคลขององค์กรและนำไปใช้โดยพนักงาน
ทั้งหมด รวมทั้งผู้มาติดต่อโรงงาน โดยมาตรฐานเหล่านี้จะต้องถูกปรับแต่งโดยพิจารณาจาก
ความเสี่ยงของการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์
7.3.1 ต้องมีข้อกำหนดสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ทำเป็นเอกสารและสื่อสารให้ทราบทั่วกัน การสอดคล้องกับข้อกำหนดต้องมีการตรวจสอบเสมอ
7.3.2 ตามหลักการประเมินความเสี่ยง, องค์กรต้องจัดทำนโยบายเครื่องประดับเป็นเอกสาร
7.3.3 ห้ามใส่นาฬิกา, เครื่องประดับ ยกเว้นแหวนแต่งงานแบบเกลี้ยง กำไลข้อมือแต่งงานและต่างหูชนิดฝัง (เป็นชนิดห่วงเรียบเท่านั้น) ไม่อนุญาตให้ใส่ห่วงอื่นๆและที่เป็นปุ่มในส่วนที่อยู่นอกร่างกาย เช่น จมูก ลิ้นและคิ้ว
7.3.4 จะต้องกำหนดความถี่ในการทำความสะอาดมืออย่างเหมาะสม
7.3.5 เล็บมือจะต้องตัดให้สั้น, สะอาดและไม่ทาสีเล็บ ไม่อนุญาตใส่เล็บปลอม ถ้าผู้เยี่ยมขมไม่ปฏิบัติตามได้ ต้องมีกระบวนการควบคุมที่เหมาะสม เช่น ไม่จับต้องผลิตภัณฑ์, สวมถุงมือ
7.3.6 ห้ามใส่น้ำหอมหรือครีมสำหรับทาหลังการโกนหนวด ชนิดที่มีกลิ่นรุนแรง
7.3.7 ต้องมีการกำหนดพื้นที่ไว้สำหรับสูบบุหรี่ (ภายใต้กฎหมาย), รับประทานอาหารและดื่มน้ำ โดยแยกจากพื้นที่ในกระบวนการผลิตอาหาร และพื้นที่การเก็บอย่างชัดเจน
7.3.8 บาดแผลและรอยถลอกจะต้องปิดด้วยพลาสเตอร์ปิดแผลชนิดมีสีที่เหมาะสมต่างจากสีของผลิตภั
ณฑ์ (เป็นสีน้ำเงิน) และมีส่วนผสมของโลหะที่สามารถถูกตรวจจับได้ด้วยเครื่องตรวจจับโลหะหรือเครื่อง x-ray ซึ่งองค์กรต้องมีการใช้และการตรวจติดตาม การใส่พลาสเตอร์ปลอกนิ้วใช้ได้ตามความเหมาะสม
7.3.9 ต้องมีการทดสอบตัวอย่างพลาสเตอร์ในแต่ละbatch โดยใช้เครื่องตรวจจับโลหะและบันทึกต้องเก็บไว้
7.3.10 ต้องมีระเบียบวิธีปฏิบัติเพื่อที่จะควบคุมการใช้ยาส่วนบุคคล เพื่อที่จะลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนให้น้อยที่สุด
7.4 MEDICAL SCREENING
7.4 องค์กรจะต้องจัดทำระเบียบปฏิบัติในการคัดกรองทางการแพทย์ที่ใช้ในกับพนักงานทุกคน, ผู้รับเหมาหรือผู้มาติดต่อ ที่จะเข้ามาทำงานหรือเยี่ยมชมเพื่อความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
7.4.1 องค์กรจะต้องกำหนดระเบียบปฏิบัติในการแจ้งโดยพนักงานในองค์กรรวมทั้งพนักงานชั่วคราว
ด้วย ในกรณีที่พวกเขาเป็นโรคติดต่อหรือมีการสัมผัสกับผู้เป็นโรคหรืออยู่ในสภาพที่มีอาการ
ของโรค
7.4.2 ผู้มาติดต่อและผู้รับเหมาจำเป็นจะต้องกรอกแบบสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพก่อนที่จะเข้าไปใ
นพื้นที่ของวัตถุดิบ, การเตรียม, กระบวนการผลิต, การบรรจุ และการเก็บรักษา ซึ่งบุคคลต้องผ่านการคัดกรองทางการแพทย์ก่อนจะได้รับการยินยอมให้เข้าไป
7.4.3 ต้องมีเอกสารระเบียบปฏิบัติที่จะสื่อสารให้กับพนักงาน รวมทั้งพนักงานชั่วคราว, ผู้รับเหมาและผู้มาติดต่อ ถึงการปฏิบัติในกรณีที่พบโรคติดต่อร้ายแรงจากสภาพที่มีอาการของโรคหรือการสัมผัสกับผ
ู้เป็นโรค การพิจารณาควรคำนึงถึงความปลอดภัย ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ต้องหามาได้ตามต้องการ
7.5 PROTECTIVE CLOTHING – EMPLOYEES OR VISITORS TO PRODUCTION AREAS
7.5 องค์กรจะต้องกำหนดให้พนักงานทุกคน, ผู้มาติดต่อ และผู้รับเหมาที่ทำงานในพื้นที่หรือเข้าไปในพื้นที่การผลิตต้องใส่ชุดป้องกันก่อนเข้
าพื้นที่ตามความเหมาะสม
7.5.1 ตามหลักการประเมินความเสี่ยง องค์กรต้องทำเป็นเอกสารและสื่อสารให้พนักงาน, ผู้รับเหมาหรือผู้มาติดต่อ ถึงกฎที่เกี่ยวกับการสวมใส่และการเปลี่ยนชุดในพื้นที่เฉพาะ เช่น high-risk และ low-risk ต้องรวมถึงนโยบายในการถอดออกจากสภาพแวดล้อมการผลิต เช่น การถอดออกเมื่อเข้าห้องน้ำ, การใช้ครัวและพื้นที่สูบุหรี่
7.5.2 ต้องมีชุดป้องกันที่
• มีเพียงพอกับพนักงานทุกคน
• ออกแบบป้องกันการปนเปื้อนไว้อย่างเหมาะสม (อย่างน้อยต้องไม่มีกระเป๋า หรือรอยเย็บหรือปุ่ม)
7.5.3 ชุดที่สะอาดและสกปรกต้องแยกออกจากกันและควบคุมไว้เพื่อป้องกันการปนเปื้อนข้าม
7.5.4 การซักชุดต้องดำเนินการภายในองค์กรที่มีการระบุและทวนสอบปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรอง
ประสิทธิผลของกระบวนการซัก, หรือโดยผู้รับจ้างที่ได้รับอนุมัติและถูกตรวจแล้ว ประสิทธิผลของการทำความสะอาดต้องได้รับการเฝ้าติดตาม การซักชุดทำงานด้วยตัวพนักงานเองเป็นสิ่งยกเว้นแต่ต้องยอบรับได้ ตามหลักการประเมินความเสี่ยง ที่จะยืนยันว่าไม่มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยในอาหาร ต้องมีระเบียบปฏิบัติที่มีรายละเอียดเพื่อให้มั่นใจถึงความมีประสิทธิผลของการซัก
7.5.5 ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนจะไม่อนุญาตให้สูบบุหรี่และรับประทานอาหาร ขณะที่ใส่ ชุดป้องกัน
7.5.6 เส้นผมทั้งหมดต้องมีการเก็บให้หมดเพื่อป้องกันผมร่วงหล่นที่อาจทำให้เกิดการปนเปื้อน
สู่ผลิตภัณฑ์ได้
7.5.7 ต้องมีตาข่ายคลุมเคราและหนวดเพื่อป้องกันการปนเปื้อน
7.5.8 ต้องจัดให้มีใส่รองเท้าตามความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของการผลิต
7.5.9 ถ้ามีการใช้ถุงมือ ต้องดำเนินการเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอ ต้องมีการใช้ถุงมือตามที่เหมาะสมสำหรับอาหาร เช่น ชนิดใช้แล้วทิ้ง, สีแตกต่าง (เป็นไปได้ใช้สีน้ำเงิน), ไม่เสียหายและเส้นใยไม่หลวม
7.5.10 สำหรับการทำงานที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง ต้องมีการสวมชุดป้องกันที่เด่นชัด (รวมถึงรองเท้า) เมื่อเข้าสู่พื้นที่, และถอดออกเมื่อออกจากพื้นที่และเก็บไว้ในพื้นที่เปลี่ยนที่กำหนด
"ในโลกนี้ไม่มีคนแปลกหน้าสำหรับเรา มีแต่เพื่อนที่เรายังไม่ได้พบกันเท่านั้น" E-mail suppadej@gmail.com




0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users