Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

การเขียน procedure


  • This topic is locked This topic is locked
5 replies to this topic

#1 k-chaiyasook

k-chaiyasook

    Super Member

  • Members
  • PipPip
  • 48 posts

Posted 04 February 2011 - 12:04 PM

ขอ ถาม เรื่องการเขียน procedure และ work instruction ในการทำระบบ ISO 9001 และ ISO 14001
1.ทุกแผนกต้องมี procedure ของแผนกนั้นๆหรือไม่??
2.ทุกแผนกต้องมี work instruction ของแผนกนั้นๆหรือไม่??
3.หรือ ว่า procedure รวมที่แผนกที่ทำ เช่น QC ??

ขอบคุณครับ

#2 k-chaiyasook

k-chaiyasook

    Super Member

  • Members
  • PipPip
  • 48 posts

Posted 07 February 2011 - 09:58 AM

แวะเข้ามาดูคำตอบ

#3 panpun

panpun

    Super Member

  • Power Members
  • PipPip
  • 58 posts

Posted 10 February 2011 - 08:02 AM

เอาคร่าวๆนะ คุณก็ดูข้อกำหนดของ ISO มีหัวข้ออะไรบ้าง แล้วเกี่ยวข้องกับงานของแผนกใดบ้าง ถ้าหัวข้อกว้างรวมหลายหน่วยงาน คุณก็เลือกแผนกหลักที่เกี่ยวข้องมาเป็นเจ้าของ Procedure ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเขียนยิบย่อยครบทุกแผนก
ส่วนเอกสาร WI ถ้าคุณคิดว่า Procedure คุณละเอียดพอ คนทำเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ทันทีแล้ว คุณก็ไม่จำเป็นต้องเขียน WI เพราะเป็นเอกสารที่ไว้อธิบายรายละเอียดปลีกย่อย เช่น เปิดเครื่องยังไง วิธีทำงานแบบละเอียดเป็นยังไง อะไรประมาณนี้

#4 k-chaiyasook

k-chaiyasook

    Super Member

  • Members
  • PipPip
  • 48 posts

Posted 14 February 2011 - 10:40 AM

QUOTE(panpun @ Feb 10 2011, 08:02 AM) <{POST_SNAPBACK}>
เอาคร่าวๆนะ คุณก็ดูข้อกำหนดของ ISO มีหัวข้ออะไรบ้าง แล้วเกี่ยวข้องกับงานของแผนกใดบ้าง ถ้าหัวข้อกว้างรวมหลายหน่วยงาน คุณก็เลือกแผนกหลักที่เกี่ยวข้องมาเป็นเจ้าของ Procedure ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเขียนยิบย่อยครบทุกแผนก
ส่วนเอกสาร WI ถ้าคุณคิดว่า Procedure คุณละเอียดพอ คนทำเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ทันทีแล้ว คุณก็ไม่จำเป็นต้องเขียน WI เพราะเป็นเอกสารที่ไว้อธิบายรายละเอียดปลีกย่อย เช่น เปิดเครื่องยังไง วิธีทำงานแบบละเอียดเป็นยังไง อะไรประมาณนี้



ขอบคุณครับ

#5 chote

chote

    Super Member

  • Power Members
  • PipPip
  • 57 posts

Posted 14 February 2011 - 02:31 PM

การเขียนเอกสาร Procedure และ Work Instruction

ก่อนอื่นอยากจะขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างของเอกสารทั้งสองประเภทนี้ก่อน คำว่า Procedure โดยทั่วไปจะถูกจัดวางไว้เป็นเอกสารระดับที่สูงกว่า Work Instruction เพราะ Procedure มักใช้อธิบายถึงระบบหลักๆ ของระบบบริหารหรือระบบไอเอสโอใดๆ ส่วน Work Instruction จะใช้อธิบายระบบย่อยๆ เป็นดังเอกสารแนะนำว่าจะทำงานแต่ละอย่างอย่างไร
พอจะเข้าใจความแตกต่างหรือยังครับ ทีนี้ต้องทำความเข้าใจกันต่อว่า ในระบบบริหาร หรือไอเอสโอใดๆ ข้อกำหนดจะพูดถึงแต่เฉพาะ Procedure เท่านั้น ไม่ได้มีการพูดถึงเอกสาร Work Instruction เพียงแต่จะพูดถึงแบบอ้อมๆ แต่ให้คนอ่านเข้าใจเองว่าเป็น Work Instruction


สิ่งที่ผมอยากจะเน้นย้ำก็คือ ไม่ต้องไปซีเรียสมาก กับเรื่องการเขียนเอกสาร อันนั้นต้องเป็น Procedure อันนี้ต้องเป็น Work In ข้อกำหนดไม่ซีเรียสหรอกครับ องค์กรคุณอาจมีแต่ Procedure ทั้งหมด ไม่มี Work In เลย หรือข้อกำหนดบอกให้ทำ Procedure แต่เราทำในรูปของ Work In เขาก็ไม่ว่าหรอกครับ (ถ้าทำได้ก็ควรแยกประเภท เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบ)
ต้องแยกให้ออกก่อนว่า สิ่งที่ไอเอสโอต้องการ กับสิ่งที่องค์กรต้องการนั้น คืออะไร สิ่งที่ผมมักเห็นมาตลอดก็คือ อะไรก็เหมาว่าไอเอสโอต้องการหมด ทั้งที่เขาไม่ได้ว่าอะไรสักนิด


พร่ำพรรณนามานานแล้วนะครับเข้าเรื่องเสียที ผมกำลังจะบอกว่า หลักการเขียนเอกสารที่จะพูดถึงต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่ควรทำ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องทำ ถ้าคุณจะมีรูปแบบวิธีที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลกว่านี้ก็ทำไปเถิดครับ
เอกสาร Procedure และ Work Instruction ที่ดี ควรมีคุณสมบัติต่อไปนี้ครับ

- ใช้รูปแบบที่เหมาะสม เป็นระเบียบเรียบร้อย ควรใช้การพิมพ์แทนการเขียนด้วยลายมือ เพื่อป้องกันการสับสน และผิดพลาด
- ใช้ภาษา หรือถ้อยคำที่อ่านได้ง่าย ชัดเจน ไม่ก่อให้เกิดความสับสน อ่านแล้วเข้าใจว่าต้องการอะไร มากน้อยเท่าใด
- อ่านแล้วรู้ถึงลำดับของการปฏิบัติว่าอะไรก่อน หลัง ตามความจำเป็นของระบบ หรืองาน
- ต้องรู้ว่าระบบหรืองานนั้น จะต้องบันทึกอะไรบ้าง และบันทึกอย่างไร ใช้แบบฟอร์มใด (ถ้ามี)
- ไม่ควรบีบรัดจนเกินไป จนปฏิบัติไม่ได้ อาจยืดหยุ่นได้ ตามความจำเป็นและเหมาะสม
การเขียน Procedure และ Work Instruction ที่ดี ควรมีหลักการที่ต้องพิจารณาดังต่อไปนี้ครับ
-ใช้สื่อ และภาษาที่เหมาะสมกับผู้ที่ต้องใช้เอกสาร

นั่นคือ ถ้าเอกสาร มีคนที่ต้องอ่านต้องใช้งานเป็นชาวต่างด้าวอยู่ด้วย ก็ควรทำเป็นภาษาต่างด้าวที่ทุกคนอ่านออก เช่นภาษาอังกฤษ, ภาษาญี่ปุ่น หรือจะทำหลายเวอร์ชั่นก็ได้ แต่ต้องระมัดระวังเรื่องการควบคุมความทันสมัยให้ตรงกัน
อีกประเด็นก็คือ พนักงานอาจไม่รู้สักภาษเลย อ่านภาษาไทยก็ไม่ออก ก็คงต้องใช้เอกสารเป็นสื่อแบบอื่น เช่นรูปภาพ หรือเทปเสียง วิดีโอ เป็นต้น ที่มีเนื้อหาอธิบายในเรื่องเดียวกับที่เราต้องการจะสื่อโดยใช้กระดาษ (ลองนึกถึงเวลาซื้อเฟอร์นิเจอร์ หรืออะไรสักอย่าที่เป็นชิ้นส่วนให้มาประกอบเอง เขาจะมี Work In บอกเราว่า ต้องประกอบอย่างไร ส่วนมากจะเป็นรูปภาพครับ เราก็ใช้หลักการนี้แหละ)
- ยึดหลักการ 5W 1H คือ Who, What, When, Where, Why, How

o Who เอกสารต้องระบุว่าใคร
o What ทำอะไร
o When ทำเมื่อไหร่
o Where ทำที่ไหน
o Why ทำไปทำไม (วัตถุประสงค์อะไร)
o How ทำอย่างไร
สิ่งที่จำเป็นจริงๆ คือ ใคร ทำอะไร อย่างไร ครับ ส่วนทำไม และเมื่อไหร่นั้น อาจละไว้ในฐานที่เข้าใจ แต่ถ้าละแล้วไม่เข้าใจก็ต้องเขียนไว้ด้วยครับ


- ใช้รูปแบบที่เหมาะสม มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย อ่านได้ง่าย แต่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องรูปแบบ หน้าตาของเอกสารมากนัก ทำไปตามความพอใจขององค์กรเลย จะมีกรอบหัวกระดาษหรือไม่ จะติดรูปหรือไม่ กระดาษขนาดไหน ก็ทำไปเถิดครับ ขอให้สื่อประเด็นที่เราอยากจะสื่อให้ได้ก็แล้วกัน แต่ก็ต้องให้เรียบร้อย อ่านง่าย (อันนี้เป็นข้อกำหนดครับ) สื่อความชัดเจนไว้ก่อน หน้าตาเอาไว้ทีหลัง

- ควรเขียนเรียงลำดับเป็นข้อๆ ให้ผู้อ่านสามารถทราบว่าขั้นตอนใดเกิดก่อนเกิดหลัง จะมี Flow Chart กำกับด้วยหรือไม่ก็ตามใจครับ หรือเอกสารจะเป็น Flow Chart ล้วนๆ ก็ได้ครับ ถ้าทุกคนที่ใช้ เข้าใจตรงกันหมด ง่ายดีด้วย
หัวข้อเรื่องของเอกสาร (เหมาะกับเอกสารที่เป็นกระดาษ)
โดยทั่วไป เอกสาร Procedure และ Work Instruction อาจมีหัวข้อเรื่องดังนี้
o วัตถุประสงค์ ไว้อธิบาย Why - เพื่ออะไรก็ว่าไป
o ขอบข่าย ไว้อธิบายขอบข่ายที่เอกสารนี้มีผลใช้ ใช้กับหน่วยงานใด อาจรวมถึง Where, When คือใช้ที่ไหน เมื่อไหร่ สถานการณ์ไหน
o คำจำกัดความ ไว้อธิบายศัพท์เฉพาะที่ใช้ ให้เป็นที่เข้าใจตรงกัน
o ขั้นตอนการปฏิบัติ ไว้อธิบาย Who, What, How, When, Where ควรเขียนเป็นข้อๆ เรียงตามลำดับก่อนหลังครับ
o บันทึก ไว้อธิบายว่าระบบนี้ต้องทำบันทึกอะไรบ้าง
o เอกสารอ้างอิง เอกสารนั้นบางทีก็ต้องมีการเชื่อมโยงหรืออ้างอิงเอกสารอื่น ควรระบุเอกสารที่อ้างอิงไปถึงด้วย
o ประวัติการแก้ไข เพื่อระบุสถานะการแก้ไขของเอกสารฉบับนั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะถือประวัติการแก้ไขเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารครับ

อาจตัดๆ ไปบ้างบางหัวข้อก็ได้ครับ (โดยเฉพาะ Work In) ถ้าสามารถละไว้ในฐานที่เข้าใจได้ ที่จำเป็นจริงๆ ก็คือ ขั้นตอนการปฏิบัติ และประวัติการแก้ไขครับ (จำเป็นในเรื่องการควบคุมเอกสาร) เท่านี้ก็คงพอจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลแล้วกระมัง

สิ่งที่พบอยู่บ่อยๆ ก็คือ คนไอเอสโอทั้งหลายมักกังวลกับเรื่องการเขียนเอกสารมากเกินไป (จนเรียกได้ว่าบ้าจี้) อันนั้นก็ไม่ได้ อันนี้ก็ไม่ได้ มันไม่ขนาดนั้นหรอกครับ ยิ่งที่ไปยึดติดกับรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แล้วบอกว่าไอเอสโอเขาจะเอาแบบนี้ด้วยแล้ว มันก็ยิ่งจะไปกันใหญ่ จริงๆ แล้วองค์กรควรกำหนดรูปแบบเอกสารขององค์กรเอง ตามใจชอบครับ แต่ไม่ควรให้ดีไซด์ยากเกินไปนัก เดี๋ยวคนทำจะขี้เกียจเอาเสียก่อน

อ้อ.. แล้วที่ชอบเขียนเอกสารรัดตัวอีก แล้วบอกว่า ไอเอสโอต้องระบุลงไปเลยให้ชัดเจน ห้ามคลุมเครือ เช่น การควบคุมค่าต่างๆ ในการผลิต ปริมาณส่วนผสมต่างๆ ต้องเจาะจงไว้เลยว่าเท่าไหร่ กลายเป็นทำให้ธุรกิจประสบปัญหาผลิตไม่ได้ ต้นทุนสูงขึ้น และปัญหาความสับสนอื่นๆ ที่ตามมาอีกมากมาย ต้องรีบทำความเข้าใจกับไอเอสโอโดยเร่งด่วนนะครับ อย่าลืมว่า ไอเอสโอยืดหยุ่นได้ ตามความจำเป็นของธุรกิจครับ


#6 k-chaiyasook

k-chaiyasook

    Super Member

  • Members
  • PipPip
  • 48 posts

Posted 15 February 2011 - 04:19 PM

QUOTE(chote @ Feb 14 2011, 02:31 PM) <{POST_SNAPBACK}>
การเขียนเอกสาร Procedure และ Work Instruction

ก่อนอื่นอยากจะขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างของเอกสารทั้งสองประเภทนี้ก่อน คำว่า Procedure โดยทั่วไปจะถูกจัดวางไว้เป็นเอกสารระดับที่สูงกว่า Work Instruction เพราะ Procedure มักใช้อธิบายถึงระบบหลักๆ ของระบบบริหารหรือระบบไอเอสโอใดๆ ส่วน Work Instruction จะใช้อธิบายระบบย่อยๆ เป็นดังเอกสารแนะนำว่าจะทำงานแต่ละอย่างอย่างไร
พอจะเข้าใจความแตกต่างหรือยังครับ ทีนี้ต้องทำความเข้าใจกันต่อว่า ในระบบบริหาร หรือไอเอสโอใดๆ ข้อกำหนดจะพูดถึงแต่เฉพาะ Procedure เท่านั้น ไม่ได้มีการพูดถึงเอกสาร Work Instruction เพียงแต่จะพูดถึงแบบอ้อมๆ แต่ให้คนอ่านเข้าใจเองว่าเป็น Work Instruction


สิ่งที่ผมอยากจะเน้นย้ำก็คือ ไม่ต้องไปซีเรียสมาก กับเรื่องการเขียนเอกสาร อันนั้นต้องเป็น Procedure อันนี้ต้องเป็น Work In ข้อกำหนดไม่ซีเรียสหรอกครับ องค์กรคุณอาจมีแต่ Procedure ทั้งหมด ไม่มี Work In เลย หรือข้อกำหนดบอกให้ทำ Procedure แต่เราทำในรูปของ Work In เขาก็ไม่ว่าหรอกครับ (ถ้าทำได้ก็ควรแยกประเภท เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบ)
ต้องแยกให้ออกก่อนว่า สิ่งที่ไอเอสโอต้องการ กับสิ่งที่องค์กรต้องการนั้น คืออะไร สิ่งที่ผมมักเห็นมาตลอดก็คือ อะไรก็เหมาว่าไอเอสโอต้องการหมด ทั้งที่เขาไม่ได้ว่าอะไรสักนิด


พร่ำพรรณนามานานแล้วนะครับเข้าเรื่องเสียที ผมกำลังจะบอกว่า หลักการเขียนเอกสารที่จะพูดถึงต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่ควรทำ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องทำ ถ้าคุณจะมีรูปแบบวิธีที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลกว่านี้ก็ทำไปเถิดครับ
เอกสาร Procedure และ Work Instruction ที่ดี ควรมีคุณสมบัติต่อไปนี้ครับ

- ใช้รูปแบบที่เหมาะสม เป็นระเบียบเรียบร้อย ควรใช้การพิมพ์แทนการเขียนด้วยลายมือ เพื่อป้องกันการสับสน และผิดพลาด
- ใช้ภาษา หรือถ้อยคำที่อ่านได้ง่าย ชัดเจน ไม่ก่อให้เกิดความสับสน อ่านแล้วเข้าใจว่าต้องการอะไร มากน้อยเท่าใด
- อ่านแล้วรู้ถึงลำดับของการปฏิบัติว่าอะไรก่อน หลัง ตามความจำเป็นของระบบ หรืองาน
- ต้องรู้ว่าระบบหรืองานนั้น จะต้องบันทึกอะไรบ้าง และบันทึกอย่างไร ใช้แบบฟอร์มใด (ถ้ามี)
- ไม่ควรบีบรัดจนเกินไป จนปฏิบัติไม่ได้ อาจยืดหยุ่นได้ ตามความจำเป็นและเหมาะสม
การเขียน Procedure และ Work Instruction ที่ดี ควรมีหลักการที่ต้องพิจารณาดังต่อไปนี้ครับ
-ใช้สื่อ และภาษาที่เหมาะสมกับผู้ที่ต้องใช้เอกสาร

นั่นคือ ถ้าเอกสาร มีคนที่ต้องอ่านต้องใช้งานเป็นชาวต่างด้าวอยู่ด้วย ก็ควรทำเป็นภาษาต่างด้าวที่ทุกคนอ่านออก เช่นภาษาอังกฤษ, ภาษาญี่ปุ่น หรือจะทำหลายเวอร์ชั่นก็ได้ แต่ต้องระมัดระวังเรื่องการควบคุมความทันสมัยให้ตรงกัน
อีกประเด็นก็คือ พนักงานอาจไม่รู้สักภาษเลย อ่านภาษาไทยก็ไม่ออก ก็คงต้องใช้เอกสารเป็นสื่อแบบอื่น เช่นรูปภาพ หรือเทปเสียง วิดีโอ เป็นต้น ที่มีเนื้อหาอธิบายในเรื่องเดียวกับที่เราต้องการจะสื่อโดยใช้กระดาษ (ลองนึกถึงเวลาซื้อเฟอร์นิเจอร์ หรืออะไรสักอย่าที่เป็นชิ้นส่วนให้มาประกอบเอง เขาจะมี Work In บอกเราว่า ต้องประกอบอย่างไร ส่วนมากจะเป็นรูปภาพครับ เราก็ใช้หลักการนี้แหละ)
- ยึดหลักการ 5W 1H คือ Who, What, When, Where, Why, How

o Who เอกสารต้องระบุว่าใคร
o What ทำอะไร
o When ทำเมื่อไหร่
o Where ทำที่ไหน
o Why ทำไปทำไม (วัตถุประสงค์อะไร)
o How ทำอย่างไร
สิ่งที่จำเป็นจริงๆ คือ ใคร ทำอะไร อย่างไร ครับ ส่วนทำไม และเมื่อไหร่นั้น อาจละไว้ในฐานที่เข้าใจ แต่ถ้าละแล้วไม่เข้าใจก็ต้องเขียนไว้ด้วยครับ


- ใช้รูปแบบที่เหมาะสม มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย อ่านได้ง่าย แต่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องรูปแบบ หน้าตาของเอกสารมากนัก ทำไปตามความพอใจขององค์กรเลย จะมีกรอบหัวกระดาษหรือไม่ จะติดรูปหรือไม่ กระดาษขนาดไหน ก็ทำไปเถิดครับ ขอให้สื่อประเด็นที่เราอยากจะสื่อให้ได้ก็แล้วกัน แต่ก็ต้องให้เรียบร้อย อ่านง่าย (อันนี้เป็นข้อกำหนดครับ) สื่อความชัดเจนไว้ก่อน หน้าตาเอาไว้ทีหลัง

- ควรเขียนเรียงลำดับเป็นข้อๆ ให้ผู้อ่านสามารถทราบว่าขั้นตอนใดเกิดก่อนเกิดหลัง จะมี Flow Chart กำกับด้วยหรือไม่ก็ตามใจครับ หรือเอกสารจะเป็น Flow Chart ล้วนๆ ก็ได้ครับ ถ้าทุกคนที่ใช้ เข้าใจตรงกันหมด ง่ายดีด้วย
หัวข้อเรื่องของเอกสาร (เหมาะกับเอกสารที่เป็นกระดาษ)
โดยทั่วไป เอกสาร Procedure และ Work Instruction อาจมีหัวข้อเรื่องดังนี้
o วัตถุประสงค์ ไว้อธิบาย Why - เพื่ออะไรก็ว่าไป
o ขอบข่าย ไว้อธิบายขอบข่ายที่เอกสารนี้มีผลใช้ ใช้กับหน่วยงานใด อาจรวมถึง Where, When คือใช้ที่ไหน เมื่อไหร่ สถานการณ์ไหน
o คำจำกัดความ ไว้อธิบายศัพท์เฉพาะที่ใช้ ให้เป็นที่เข้าใจตรงกัน
o ขั้นตอนการปฏิบัติ ไว้อธิบาย Who, What, How, When, Where ควรเขียนเป็นข้อๆ เรียงตามลำดับก่อนหลังครับ
o บันทึก ไว้อธิบายว่าระบบนี้ต้องทำบันทึกอะไรบ้าง
o เอกสารอ้างอิง เอกสารนั้นบางทีก็ต้องมีการเชื่อมโยงหรืออ้างอิงเอกสารอื่น ควรระบุเอกสารที่อ้างอิงไปถึงด้วย
o ประวัติการแก้ไข เพื่อระบุสถานะการแก้ไขของเอกสารฉบับนั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะถือประวัติการแก้ไขเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารครับ

อาจตัดๆ ไปบ้างบางหัวข้อก็ได้ครับ (โดยเฉพาะ Work In) ถ้าสามารถละไว้ในฐานที่เข้าใจได้ ที่จำเป็นจริงๆ ก็คือ ขั้นตอนการปฏิบัติ และประวัติการแก้ไขครับ (จำเป็นในเรื่องการควบคุมเอกสาร) เท่านี้ก็คงพอจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลแล้วกระมัง

สิ่งที่พบอยู่บ่อยๆ ก็คือ คนไอเอสโอทั้งหลายมักกังวลกับเรื่องการเขียนเอกสารมากเกินไป (จนเรียกได้ว่าบ้าจี้) อันนั้นก็ไม่ได้ อันนี้ก็ไม่ได้ มันไม่ขนาดนั้นหรอกครับ ยิ่งที่ไปยึดติดกับรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แล้วบอกว่าไอเอสโอเขาจะเอาแบบนี้ด้วยแล้ว มันก็ยิ่งจะไปกันใหญ่ จริงๆ แล้วองค์กรควรกำหนดรูปแบบเอกสารขององค์กรเอง ตามใจชอบครับ แต่ไม่ควรให้ดีไซด์ยากเกินไปนัก เดี๋ยวคนทำจะขี้เกียจเอาเสียก่อน

อ้อ.. แล้วที่ชอบเขียนเอกสารรัดตัวอีก แล้วบอกว่า ไอเอสโอต้องระบุลงไปเลยให้ชัดเจน ห้ามคลุมเครือ เช่น การควบคุมค่าต่างๆ ในการผลิต ปริมาณส่วนผสมต่างๆ ต้องเจาะจงไว้เลยว่าเท่าไหร่ กลายเป็นทำให้ธุรกิจประสบปัญหาผลิตไม่ได้ ต้นทุนสูงขึ้น และปัญหาความสับสนอื่นๆ ที่ตามมาอีกมากมาย ต้องรีบทำความเข้าใจกับไอเอสโอโดยเร่งด่วนนะครับ อย่าลืมว่า ไอเอสโอยืดหยุ่นได้ ตามความจำเป็นของธุรกิจครับ



ชัดเจนมากครับ ขอบคุณครับ




0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users