Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

คำถามเกี่ยวกับอัตราการสุ่มตรวจ


  • This topic is locked This topic is locked
4 replies to this topic

#1 TJ-52

TJ-52

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 174 posts

Posted 27 May 2009 - 03:29 PM

รบกวนขอสอบถามหาข้อชี้แนะจากท่านผู้รู้ทุกท่านนะครับ ข้อสงสัยของผมมีอยู่ว่า
1) ในการตรวจเรื่องน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ หากผมจะใช้วิธีการสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์ขึ้นมา Lot ละ 10 ชิ้น แล้วนำมาชั่งน้ำหนัก หาค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบกับค่าน้ำหนักมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ เพื่อสรุปผลว่า ผ่าน หรือ ไม่ผ่าน โดยไม่ได้อ้างอิงมาตรฐาน MIL-STD-414 Form 1 or Form 2 ได้หรือไม่ ตามมาตรฐาน ISO ถือว่าผ่านหรือไม่ และจะเป็นที่ยอมรับได้หรือไม่ สาเหตุที่ผมต้องใช้ค่าเฉลี่ยมาพิจารณา เนื่องจากหากใช้วิธีการตามมาตรฐาน MIL-STD-414
- ตัวอย่างที่นำมาตรวจเยอะมาก (หากใช้ ระดับ II แต่หากใช้ที่ระดับ I ผมคิดว่าผมอาจได้ข้อสังเกตว่าพบปัญหาบ่อยแต่ทำไมถึงเลือกใช้ที่ระดับ I ได้) พนักงานที่มีอยู่ตรวจไม่ทัน เพราะปัจจุบันก็แทบไม่ทันอยู่แล้ว ประกอบกับนโยบายห้ามเพิ่มคน
- ในแต่ละชั่วโมงในการผลิต พนักงานสามารถผลิตงานได้เยอะ และงานในแต่ละผลิตภัณฑ์มีความหลากหลาย เครื่องที่เปิดทำงานมีทั้งหมด 3 เครื่อง (งานที่หลากหลายอาจหมายถึง รหัสงานเดียวกัน สีเดียวกัน ผลิตจากเครื่องต่างกัน, งานรหัสเดียวกัน สีต่างกัน ผลิตจากเครื่องเดียวกัน, งานต่างรหัสกัน สีเดียวกัน ผลิตจากเครื่องคนละเครื่องกัน) โดยหน่วยในการผลิตมีการแยกย่อยอีก คือ *** 1 เครื่อง / 1 ชั่วโมง ผลิตชิ้นงานได้ประมาณ 4 ชุด ๆ ละ 5 - 18 ลาง ๆ ละ 50 - 350 ชิ้น****
ผมอยากถามว่าผมสามารถใช้การตรวจดังที่ผมได้กล่าวมาในข้อความข้างบนได้หรือไม่ หรือท่านผู้รู้ท่านใดพอแนะนำมาตรฐานการตรวจสอบอื่น ๆ ให้ผมได้บ้างครับ สำหรับแก้ปัญหาให้เกิดความสะดวก และ ง่ายต่อการตรวจ ใช้คนทำงานน้อยแต่มีประสิทธิภาพในการตรวจ และสามารถอ้างอิงหลักสากลได้ เพราะช่วงหลังมานี้ลูกค้าเริ่มขอเข้ามาตรวจโรงงานและเริ่มถามถึงวิธีการตรวจสอบ และ จำนวนการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของทางโรงงานมากขึ้นครับ
2) ในการตรวจคุณภาพหลังการบรรจุผลิตภัณฑ์ลงกล่องคาร์ตัน (โรงงานผมทำระบบลีน คือ ทำการ ประกอบ+แพ็คใส่กล่องโชว์+บรรจุลงกล่องคาร์ตัน Line ต่อเนื่อง นโยบายให้ใช้ QC 1 คนตรวจตอนท้ายกระบวนการ และให้ถือว่าเป็นการตรวจ Final ก่อนส่งถึงมือลูกค้าไปในตัว) ไม่ทราบว่า ถ้าผมใช้อัตราการสุ่มเป็นดังนี้ได้หรือไม่ครับ
2.1 ให้พนักงานดูว่าจำนวนสินค้าที่ผลิตได้มีทั้งหมดกี่กล่อง แล้วปิดตารางการสุ่มตรวจ AQL 2.5 เพื่อให้ทราบว่าตนต้องดึงสินค้ามาทั้งหมดกี่กล่อง จำนวนการ AC เท่าไหร่ RE เท่าไหร่
2.2 ให้พนักงานดูว่าจำนวนสินค้าที่บรรจุในแต่ละกล่องมีจำนวนเท่าไหร่ แล้วทำการเปิดปิดตารางการสุ่มตรวจ AQL 2.5 เพื่อให้ทราบว่าตนต้องดึงสินค้าในแต่ละกล่อง (จากจำนวนกล่องทั้งหมดที่ต้องสุ่มตามข้อ 2.1) มาจำนวนกี่ชิ้น / กล่อง จำนวนการ AC เท่าไหร่ RE เท่าไหร่
ตัวอย่างเช่น ในรอบที่เจ้าหน้าที่ QC ตรวจสอบ พนักงานได้ทำการผลิตสินค้าได้ทั้งหมด 50 กล่อง ในแต่ละกล่องบรรจุสินค้า 244 ชิ้น ดังนั้นหากทำตามวิธีการตรวจในข้อที่ 2.1 และ 2.2 จะได้ว่า จะต้องทำการดึงสินค้าทั้งหมดจากยอดการผลิตที่ 50 กล่อง มาสุ่มตรวจ 5 กล่อง (AC = 0, RE = 1) และในแต่ละกล่องต้องทำการสุ่มตรวจสินค้า 32 ชิ้น (AC = 2, RE = 3) หากในแต่ละกล่องพบของเสียเกิน 2 ชิ้นถือว่ากล่องนั้นเสียทั้งกล่อง และตามมาตรฐานเจอของเสีย 1 กล่อง ต้องทำการ Rejec
อยากถามว่าถ้าผมใช้วิธีการสุ่มตรวจแบบนี้จะสามารถทำได้หรือไม่
ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกคำแนะนำครับผม

#2 DooK

DooK

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,511 posts
  • Gender:Male
  • Location:บางแสน

Posted 27 May 2009 - 09:11 PM

อ่านแล้วตาลายมากๆ แต่ขอตอบตามความเข้าใจดังนี้นะครับ

ข้อ 1: ลองพิจารณาใช้ control chart แบบ run หรือสำหรับ ล็อตเล็ก ดูมั้ยครับ คือในที่นี้มีความแตกต่างกันในการผลิตเยอะพอสมควร อาจต้องเปลี่ยน ucl, lcl บ่อย การตรวจจับความผิดปกติในไลน์การผลิตโดยวิธีนี้ก็น่าสนใจดีนะครับ
เราตั้งต้นที่ตัวเครื่องนะครับ เอาว่าผลิตแบบไหนก็ตามด้วยเครื่อง A ก็จะใช้ control chart เดิมในการ monitor ความสามารถในการผลิตของเครื่อง โดยกรณีนี้เน้นไปที่น้ำหนักเป็นค่าวัด

ผมเองไม่ค่อยถนัดกับงาน QC ซักเท่าไหร่นะ แต่ฟังๆ แล้วอาจใช้วิธีนี้ได้ครับ

สำหรับข้อ 2 ผมขอไม่ตอบนะ ตาลายจิงๆ
ลายเซ็น

#3 iso_man

iso_man

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 5,134 posts
  • Gender:Male

Posted 28 May 2009 - 09:02 AM

QUOTE(DooK @ May 27 2009, 09:11 PM) <{POST_SNAPBACK}>
อ่านแล้วตาลายมากๆ แต่ขอตอบตามความเข้าใจดังนี้นะครับ

ข้อ 1: ลองพิจารณาใช้ control chart แบบ run หรือสำหรับ ล็อตเล็ก ดูมั้ยครับ คือในที่นี้มีความแตกต่างกันในการผลิตเยอะพอสมควร อาจต้องเปลี่ยน ucl, lcl บ่อย การตรวจจับความผิดปกติในไลน์การผลิตโดยวิธีนี้ก็น่าสนใจดีนะครับ
เราตั้งต้นที่ตัวเครื่องนะครับ เอาว่าผลิตแบบไหนก็ตามด้วยเครื่อง A ก็จะใช้ control chart เดิมในการ monitor ความสามารถในการผลิตของเครื่อง โดยกรณีนี้เน้นไปที่น้ำหนักเป็นค่าวัด

ผมเองไม่ค่อยถนัดกับงาน QC ซักเท่าไหร่นะ แต่ฟังๆ แล้วอาจใช้วิธีนี้ได้ครับ

สำหรับข้อ 2 ผมขอไม่ตอบนะ ตาลายจิงๆ


ตอบต่อจากคุณ Dook จากข้อ 2 สามารถทำได้ครับ อยู่เราเลือกมาตรฐานการสุ่ม แต่ประเด็นอยู่ที่ว่าคุณตรวจแบบปกติ หรือ เคร่งครัด หรือ ผ่อนคลาย แล้วถ้าพบประเด็นคุณจะมีการปรับมาตรฐานการตรวจหรือไม่ อย่างของผมถ้า 10 Lotต่อเนื่อง ไม่เคยพบปัญหาก็ลดการตรวจเป็นแบบผ่อนคลาย แต่เมื่อไรพบเพียง 1 Lot ก้อจะปรับไปแบบเคร่งครัด ลองดูครับ
การมีความรู้ มาจากการเรียนรู้ และปฏิบัติ หากเรียนอย่างเดียวไม่ปฏิบัีติก็เรียกว่ารุ้ไม่จริง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ chatriwat@hotmail.com
Facebook: poppithai
Tel:089-6834451

#4 TJ-52

TJ-52

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 174 posts

Posted 02 June 2009 - 11:06 AM

thankyou.gif thankyou.gif thankyou.gif ขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำ และหากท่านใดมีคำแนะนำเพิ่มเติมผมน้อมรับไว้เสมอครับผม

#5 TJ-52

TJ-52

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 174 posts

Posted 02 June 2009 - 11:10 AM

เครื่องที่ใช้ในการอัดขึ้นรูปตามข้อที่ 1 ที่ผมโพลสไว้ 1 เครื่อง ผลิตหลากหลาย Item และแต่ละ item ค่าน้ำหนักของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันตามไปด้วยครับ ผมยังหาวิธีการตรวจที่เหมาะสม ตอบโจทย์ได้ทั้งในเรื่องของการตรวจที่มีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลา ประหยัดคนงาน และถูกต้องอ้างอิงหลักสากลได้เลยครับ แต่อย่างไรก็ขอขอบคุณ ๆ Dook และ คุณ ISO man มากๆนะครับ ที่เข้ามาให้คำแนะนำครับ




0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users