Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

สอบถามเรื่องการนำค่าแก้ในใบรายงานผลการสอบเทียบมาใช้งานครับ


  • Please log in to reply
7 replies to this topic

#1 stl6132

stl6132

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 60 posts

Posted 24 April 2017 - 09:16 AM

ผมมีเรื่องสงสัยเกี่ยวกับการใช้ค่าแก้ครับ

คือโรงงานผมจะประเมิณผลการสอบเทียบจาก Error+Uncer ซึ่งผลการวัดบางเครื่องมือมีค่าเกินในบางช่วง

ยกตัวอย่างนะครับ ตัววัดอุณหภูมิ ผมกำหนดค่า MPE +/- 0.5 องศา และผลการสอบเทียบที่ได้คือจะมีบางช่วงที่เกินครับ

 

Setting                  UUC reading                      Error                      Uncer

15                           15                                           0                              0.47

20                           20.2                                        +0.2                       0.47

25                           20.3                                        +0.3                       0.47

30                           30                                           0                              0.47

 

จากตัวอย่างข้างบนจะเห็นว่ามีอยู่ 2 range ที่ค่าเกินคือ 20 และ 25 องศา

ถ้าผมจะใช้ค่าแก้ จะต้องใช้ยังไงครับ คือ ใช้ค่าแก้ -2 ที่ช่วงอุณหภูมิ 20-25 องศา

ผมสงสัยช่วงที่ใช้ค่าแก้นะครับว่าจะใช้ยัง

 เช่น

15-19.9 องศา ไม่ต้องใช้ค่าแก้

20-24.9 องศา ต้องใช้ค่าแก้ -0.2

25-29.9 องศา ต้องใช้ค่าแก้ -0.3

 ประมาณนี้ไหมครับ

 

ขอบคุณครับ

Chatchawan Boriboon

stl6132@gmail.com



#2 porprapoo

porprapoo

    Super Member

  • Members
  • PipPip
  • 45 posts

Posted 24 April 2017 - 10:42 AM

ผมคิดว่า ค่า uncertainty นั้น = 0.47 C  แสดงว่าเกณฑ์การยอมรับที่ 0.5 C ไม่น่าจะเหมาะสมแล้วครับ ใช้ค่าแก้พอได้ แต่ดูจะไม่ค่อยเป็นการแก้ปัญหาได้ในระยะยาวครับ

ควรทบทวนดังนี้ครับ

1. สอบเทียบใหม่ด้วย lab ที่ uncertainty ต่ำกว่านี้ หรือ

2. เปลี่ยนเครื่องมือใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับเกณฑ์ยอมรับที่ 0.5 C (เท่าที่ผมมีความรู้ถ้าจะใช้เกณฑ์ยอมรับต่ำที่ 0.5 รวม uncertainty นั้น ควรใช้เครื่องวัดประมาณ 2 ตำแหน่งทศนิยมครับ) หรือ

3. ประเมินและกำหนดเกณฑ์การยอมรับใหม่ ให้เหมาะสมกับความแม่นยำของเครื่องมือ (ถ้าไม่มีผลกระทบกับการควบคุมงาน)



#3 krissarakorn

krissarakorn

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 255 posts
  • Gender:Male
  • Location:Chonburi

Posted 24 April 2017 - 02:13 PM

ขอแสดงความคิดเห็นดังนี้ครับ 

1. เกณฑ์การยอมรับได้มาอย่างไร ทำไมต้อง +-0.5 C

   - หากใช้วัดคุม หรือวัดตัดสิน พิกัดงาน เพียงพิกัดเดียวก็อาจเหมาะสมที่จะใช้เกณฑ์นี้ ซึ่งต้องหาที่สอบเทียบที่ค่า Uncer ต่ำกว่านี้ 

     หากใช้กับหลายพิกัด อาจต้องดูพิกัดที่แคบที่สุดเพื่อให้ใช้ด้วยกันได้ แต่อาจไม่คุ้มในทางการเงิน ที่จะเอาเครื่องมือที่ละเอียดไปวัดงานหยาบๆ เพราะค่าดูแลแพงกว่า

   - การตัดสินว่าเครื่องมือนั้นควรทิ้งหรือไม่ ต้องดูความคุ้มค่าและความเหมาะสมด้วย เช่น ลดเกรดไปใช้กับงานอื่น หน่วยงานอื่น

   - พิจารณาการเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะกับพิกัดที่จะวัด เพื่อให้ค่าแก้พวกนี้ ไม่มีผลกระทบต่อการวัด เนื่องจากมีการเผื่อไว้แล้วในการเลือกเครื่องมือ เช่น เลือกให้ละเอียด

     กว่าพิกัด 3-4 เท่า 

 

 

2. ค่าแก้นั้นส่วนใหญ่แล้วให้ใช้กับย่านใครย่านมัน คือ 20 มีค่าแก้ -0.2 การวัดในช่วง มากกว่า 15 ถึง น้อยกว่า 25  ก็น่าจะต้องใช้ค่าแก้ด้วย เพราะไม่รู้ว่าเกินจาก 15 ถึง 

    น้อยกว่า 25 นั้น ไม่แม่นยำด้วยหรือเปล่า ไม่เช่นนั้นต้องซอยการสอบเทียบลงไปอีกในย่านนั้น ทั้งนี้การตัดสินต้องดูความเหมาะสม ผลกระทบ ความคุ้มค่าของการวัด 

    ประกอบด้วย หากผลกระทบจากการเอาค่าแก้มาใช้ ไม่น่าจะมาก เช่น ต้องทิ้งชิ้นงานมูลค่าสูงเพราะตัดสินผิด หรือ โดยเคลมเพราะตัดสินผิด หรือเป็นชิ้นส่วนที่เกี่ยว   

     ข้องกับความปลอดภัย ก็อาจเอามาใช้ได้โดยไม่ต้องกังวลมาก, แต่หากตรงข้ามกัน ก็อาจต้องหาเครื่องมืออื่นที่ดีกว่ามาวัดแทน

 

:anigif10:


Krissarakorn..


#4 stl6132

stl6132

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 60 posts

Posted 24 April 2017 - 05:04 PM

ผมคิดว่า ค่า uncertainty นั้น = 0.47 C  แสดงว่าเกณฑ์การยอมรับที่ 0.5 C ไม่น่าจะเหมาะสมแล้วครับ ใช้ค่าแก้พอได้ แต่ดูจะไม่ค่อยเป็นการแก้ปัญหาได้ในระยะยาวครับ

ควรทบทวนดังนี้ครับ

1. สอบเทียบใหม่ด้วย lab ที่ uncertainty ต่ำกว่านี้ หรือ

2. เปลี่ยนเครื่องมือใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับเกณฑ์ยอมรับที่ 0.5 C (เท่าที่ผมมีความรู้ถ้าจะใช้เกณฑ์ยอมรับต่ำที่ 0.5 รวม uncertainty นั้น ควรใช้เครื่องวัดประมาณ 2 ตำแหน่งทศนิยมครับ) หรือ

3. ประเมินและกำหนดเกณฑ์การยอมรับใหม่ ให้เหมาะสมกับความแม่นยำของเครื่องมือ (ถ้าไม่มีผลกระทบกับการควบคุมงาน)

 ขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำ

 

 คืออันนั้นผมสมมุติขึ้นมาครับ

 แต่หลักๆที่ผมอยากรู้คือการนำค่าแก้มาใช้อะครับ เพราะที่ห้อง Lab วัดมาจะเป็นเป็นช่วง เช่น 10,15,20,25 ประมาณนี้ครับ ซึ่งผมจะต้องค่าแก้นั้นมาใช้ยังไงครับ

เพราะเวลาที่เครื่องมันอ่านมันสามารถอ่านได้ 10,11,12,...30

 ถ้าเครื่องอ่านได้ 23 ผมจะต้องใช้ค่าแก้เท่าไหร่ครับ ประมาณนี้



#5 stl6132

stl6132

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 60 posts

Posted 24 April 2017 - 05:08 PM

ขอแสดงความคิดเห็นดังนี้ครับ 

1. เกณฑ์การยอมรับได้มาอย่างไร ทำไมต้อง +-0.5 C

   - หากใช้วัดคุม หรือวัดตัดสิน พิกัดงาน เพียงพิกัดเดียวก็อาจเหมาะสมที่จะใช้เกณฑ์นี้ ซึ่งต้องหาที่สอบเทียบที่ค่า Uncer ต่ำกว่านี้ 

     หากใช้กับหลายพิกัด อาจต้องดูพิกัดที่แคบที่สุดเพื่อให้ใช้ด้วยกันได้ แต่อาจไม่คุ้มในทางการเงิน ที่จะเอาเครื่องมือที่ละเอียดไปวัดงานหยาบๆ เพราะค่าดูแลแพงกว่า

   - การตัดสินว่าเครื่องมือนั้นควรทิ้งหรือไม่ ต้องดูความคุ้มค่าและความเหมาะสมด้วย เช่น ลดเกรดไปใช้กับงานอื่น หน่วยงานอื่น

   - พิจารณาการเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะกับพิกัดที่จะวัด เพื่อให้ค่าแก้พวกนี้ ไม่มีผลกระทบต่อการวัด เนื่องจากมีการเผื่อไว้แล้วในการเลือกเครื่องมือ เช่น เลือกให้ละเอียด

     กว่าพิกัด 3-4 เท่า 

 

 

2. ค่าแก้นั้นส่วนใหญ่แล้วให้ใช้กับย่านใครย่านมัน คือ 20 มีค่าแก้ -0.2 การวัดในช่วง มากกว่า 15 ถึง น้อยกว่า 25  ก็น่าจะต้องใช้ค่าแก้ด้วย เพราะไม่รู้ว่าเกินจาก 15 ถึง 

    น้อยกว่า 25 นั้น ไม่แม่นยำด้วยหรือเปล่า ไม่เช่นนั้นต้องซอยการสอบเทียบลงไปอีกในย่านนั้น ทั้งนี้การตัดสินต้องดูความเหมาะสม ผลกระทบ ความคุ้มค่าของการวัด 

    ประกอบด้วย หากผลกระทบจากการเอาค่าแก้มาใช้ ไม่น่าจะมาก เช่น ต้องทิ้งชิ้นงานมูลค่าสูงเพราะตัดสินผิด หรือ โดยเคลมเพราะตัดสินผิด หรือเป็นชิ้นส่วนที่เกี่ยว   

     ข้องกับความปลอดภัย ก็อาจเอามาใช้ได้โดยไม่ต้องกังวลมาก, แต่หากตรงข้ามกัน ก็อาจต้องหาเครื่องมืออื่นที่ดีกว่ามาวัดแทน

 

:anigif10:

ขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำ

 

 คืออันนั้นผมสมมุติขึ้นมาครับ

 แต่หลักๆที่ผมอยากรู้คือการนำค่าแก้มาใช้อะครับ เพราะที่ห้อง Lab วัดมาจะเป็นเป็นช่วง เช่น 10,15,20,25 ประมาณนี้ครับ ซึ่งผมจะต้องค่าแก้นั้นมาใช้ยังไงครับ

เพราะเวลาที่เครื่องมันอ่านมันสามารถอ่านได้ 10,11,12,...30

 สมมุติถ้าเครื่องอ่านได้ตามนี้นะครับ

 

15C ไม่ใช้ค่าแก้

16C ใช้ค่าแก้??

17C ใช้ค่าแก้??

18C ใช้ค่าแก้??

10C  ใช้ค่าแก้??

20c  ใช้ค่าแก้ +0.2

21C  ใช้ค่าแก้??

22C  ใช้ค่าแก้??

23C  ใช้ค่าแก้??

24C  ใช้ค่าแก้??

25C ใช้ค่าแก้ +0.3



#6 aikQ

aikQ

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 29 posts

Posted 26 April 2017 - 01:39 PM

ลองอ่านในลิงค์ด้านล่าง ครับ

 

http://www.nimt.or.t...Thermometer.pdf

 

 

 

 

hs1kdn@gmail.com



#7 stl6132

stl6132

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 60 posts

Posted 09 May 2017 - 04:12 PM

ลองอ่านในลิงค์ด้านล่าง ครับ

 

http://www.nimt.or.t...Thermometer.pdf

 

 

 

 

hs1kdn@gmail.com

ขอบคุณครับ



#8 teerathat

teerathat

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 9 posts

Posted 04 January 2021 - 04:22 PM

ผมมีเรื่องอยากสอบถามครับ คือผมไม่เข้าใจคำว่า ค่าแก้ ช่วยยกตัวอย่างให้หน่อยสิครับ 






0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users