Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

สับสน ระหว่างการประเมินความเสี่ยงวัตถุดิบ กับการจัดกลุ่ม supplier ตามความเสี่ยง

จัดซื้อ

  • Please log in to reply
11 replies to this topic

#1 B.Engineering

B.Engineering

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 29 posts

Posted 09 April 2017 - 07:11 PM

รบกวนสอบถาม การเขียน QP-WI ของการคัดเลือกผู้ขาย ผู้ส่งมอบวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ค่ะ

 

ไม่ทราบท่านใดพอจะมี file ให้ดูเป็นแนวทางไม่ค่ะ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร

และการจัดกลุ่ม supplier ตามความเสี่ยง  เนี่ยเป็นยังไงค่ะ สับสนระบบ มาก อ้างอิง BRC issued 7 และ ISO 9001/2015 ค่ะ

 

รบกวนด้วยนะค:worthy:  :worthy:  :sad:



#2 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,561 posts
  • Gender:Male

Posted 09 April 2017 - 08:26 PM

เคยอบรมข้อกำหนด BRC Issue 7 มาบ้างหรือยังครับ

 

ถ้าอบรมมาแล้ว จะมีคำตอบอยู่ในข้อกำหนดอยู่แล้ว



#3 B.Engineering

B.Engineering

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 29 posts

Posted 10 April 2017 - 04:43 PM

เคยอบรมข้อกำหนด BRC Issue 7 มาบ้างหรือยังครับ

 

ถ้าอบรมมาแล้ว จะมีคำตอบอยู่ในข้อกำหนดอยู่แล้ว

เคยอบรมค่ะ แต่ยังมีความสับสนใน process ค่ะ  คือข้อกำหนดบอกว่า

ประเด็นที่ 1 องค์กรณ์จะต้องจัดทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงของวัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์   (ความเสี่ยงจากอันตราย 5 ด้านคือ BPCA+FF)

ปัญหา  ทางโรงงานแจ้งให้ ทางจัดซื้อเป็นคนประเมิน ซึ่งเราให้ฐานะจัดซื้อ ก็แย้งไปว่า ควรจะเป็นทีม food safety หรือ HACCP team เป็นผู้ถือดำเนินการ ทางโรงงานบอกไม่ใช่ ต้องเป็นจัดซื้อ  (ก็ยังง ณจุด นี้จะไปประเมินยังไง เพราะจัดซื้อไม่ได้จบ ชีว ฟิสิก หรือ foods โดยตรงจะไม่รู้ข้อมูลเชิงลุก เกี่ยวกับ เคมี จุลทรีย์ สารปนเปื้อน อะไรพวกนี้เลยสักนิดค่ะ)  ก็เราก็ยังแย้งต่อว่า ทางผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรจะเป็นผู้ทำ  แล้วส่งผลการวิเคราะห์ H M Lมาให้จัดซื้อ เพื่อนำมาลงข้อมูลวางแผนในการ ทำ audit site อีกที  แต่ก็แย้งเขาไม่ขึ้นค่ะ ก็ยังยืยันให้จัดซื้อการวิเคราะห์ความเสี่ยงทางด้านวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ อีกที 

คำถาม  ไม่รู้เราเข้าใจถูก หรือผิด  และความจริงควรเป็นยังไง  ค่ะ ขอคำอธิบายเพิ่มอีกที

 

ประเด็นที่ 2 การวิเคราะห์ความเสี่ยงของวัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์  ควรจะทำกับทุก supplier ที่จำหน่ายสินค้านั้นๆ  หรือ ทำเฉพาะ กลุ่มสินค้า ไม่เจาะจง supplier 

เช่น วัตถุดิบ คือ เนื้อปลา ซื้อจาก เจ้า 1,2,3  วิเคราะห์ทุกเจ้าเลย  หรือ วิเคราะห์แค่ เนื้อปลา โดยไม่เจาะจง supplier  ค่ะ และจะวิเคราะห์เฉพาะวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่เคยสั่งซื้อมาก่อน  หรือ วิเคราะห์ทั้งครั้งแรก  และประจำปี

 

 

ประเด็นที่ 3 ทางองค์กรณ์ จะต้องมีการจัดทำความเสี่ยงของคู่ค้า  หรือ ความเสี่ยงของ supplier  ( vender risk assessment )

คำถาม อันนี้อยู่ในข้อกำหนดไหนของ BRC  issued 7 ค่ะ / โดยส่วนตัวมองว่า เป็นของระบบ ISO 9001-2015 มากกว่า ค่ะ แต่ก็ยังไม่มี procedure การประเมินควทั้งามเสี่ยง อันนี้เขียนไว้ ค่ะ ทั้งในค่ะทั้ง แง่ BRC และ ISO 9001

 

/ รบกวนช่วยอธิบายให้หน่อยค่ะ และขอแนวทางการทำหน่อย ตอนนี้เขียน procedure  ไม่ถูกเลยทั้ง 3 ประเด็น

 

ขอบคุณค่ะ...จัดซื้อตัวน้อย มือใหม่ หัดทำ



#4 QADCC

QADCC

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 118 posts
  • Gender:Male

Posted 12 April 2017 - 11:59 AM

ผมขออนุญาตแนะนำอย่างนี้นะครับ 

 

ประเด็นที่ 1 ข้อนี้แนะนำให้ทางโรงงานร่วมกันหลายๆฝ่ายครับ จัดซื้อ หรือ QC อย่างเดียวก็ได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนนะครับ ต้องร่วมกันครับ

 

ประเด็นที่ 2 ประเด็นนี้ถกเถียงกันมาก เพราะผู้ตรวจแต่ละท่านมีการตีความต่างกัน จริงๆแล้วในข้อกำหนดใช้คำว่า "Raw Material Assessment" แต่ดันไปผูกกับระบบที่ผู้ขายให้การรับรองว่ามีระบบที่ GFSI ยอมรับหรือไม่ เลยทำให้ผู้ตรวจบางท่านตีความว่า เป็นการประเมินวัตถุดิบ แต่บางท่านตีความว่าต้องประเเมินถึง Supplier ด้วย 

 

ประเด็นนี้ส่วนตัวผมเอง ในกรณีที่ผมเข้าไปเป็นที่ปรึกษาให้โรงงานจะแนะนำให้ทำถึง Supplier เลยครับ เพื่อปิดประเด็นทั้งหมด การตรวจจะได้ไม่ติด NCR ครับ

 

ประเด็นที่ 3 ตีความถึงกรณีที่คู่ค้าไม่สามารถส่ง วัตถุดิบให้ได้ใช่ไหมครับ ข้อนี้ของ BRC ไม่มีครับ น่าจะเป็นผลต่อเนื่องจากการประเมินความเสี่ยงของ ISO9001:2015 นะครับ 

 

หากมีข้อสงสัยเพิ่มก็ทิ้งคำถามไว้ได้ครับ เพื่อนๆในนี้ยินดีมาช่วยกันตอบเป็นกรณีศึกษา หรือจะหลังบ้านมาก็ได้ ถ้าเป็นความลับของธุรกิจนะครับ 


 
ISO9001, ISO22000, GMP, HACCP, BRC, IFS, ....

#5 B.Engineering

B.Engineering

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 29 posts

Posted 12 April 2017 - 08:49 PM

ผมขออนุญาตแนะนำอย่างนี้นะครับ 

 

ประเด็นที่ 1 ข้อนี้แนะนำให้ทางโรงงานร่วมกันหลายๆฝ่ายครับ จัดซื้อ หรือ QC อย่างเดียวก็ได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนนะครับ ต้องร่วมกันครับ

 

ประเด็นที่ 2 ประเด็นนี้ถกเถียงกันมาก เพราะผู้ตรวจแต่ละท่านมีการตีความต่างกัน จริงๆแล้วในข้อกำหนดใช้คำว่า "Raw Material Assessment" แต่ดันไปผูกกับระบบที่ผู้ขายให้การรับรองว่ามีระบบที่ GFSI ยอมรับหรือไม่ เลยทำให้ผู้ตรวจบางท่านตีความว่า เป็นการประเมินวัตถุดิบ แต่บางท่านตีความว่าต้องประเเมินถึง Supplier ด้วย 

 

ประเด็นนี้ส่วนตัวผมเอง ในกรณีที่ผมเข้าไปเป็นที่ปรึกษาให้โรงงานจะแนะนำให้ทำถึง Supplier เลยครับ เพื่อปิดประเด็นทั้งหมด การตรวจจะได้ไม่ติด NCR ครับ

 

ประเด็นที่ 3 ตีความถึงกรณีที่คู่ค้าไม่สามารถส่ง วัตถุดิบให้ได้ใช่ไหมครับ ข้อนี้ของ BRC ไม่มีครับ น่าจะเป็นผลต่อเนื่องจากการประเมินความเสี่ยงของ ISO9001:2015 นะครับ 

 

หากมีข้อสงสัยเพิ่มก็ทิ้งคำถามไว้ได้ครับ เพื่อนๆในนี้ยินดีมาช่วยกันตอบเป็นกรณีศึกษา หรือจะหลังบ้านมาก็ได้ ถ้าเป็นความลับของธุรกิจนะครับ 

 

 

และ ประเด็นที่ 2  ตอนนี้หนูเขียน ขั้นตอนการทำงานไม่ถูกเลยค่ะ ระหว่างประเมินความเสี่ยงวัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์  กับ การapprove vender อันไหนเกิดก่อน  และ การประเมินครั้งแรกนั้น ผลออกเป็น สีเขียว ก็คือ ใช้  Questionnaire   ในการสอบถาม  Supplier  และดำเนินการสุ่ทแบบสอบถามซ้ำทุก 3 ปี  แสดงว่า พอประเมินประจำปี เราไม่ก็แค่ส่งแบบสอบถามให้ supplier ประเมินตนเอง ใช่ไหมค่ะ ตามด้านล่าง (ไม่ทราบพอจะมีตัวอย่างให้ดูไหมค่ะ รบกวนด้วยคะ)

 

 

                                        ความเสี่ยง                                              ผู้ให้ขายใหม่                                                                              ผู้ขายรายเดิม

 

  (วัตุดิบหลัก เนื้อสัตว์)        yellow         1. ได้รับการรับรองขึ้นทะเบียบฟาร์มมาตราฐานจากกรมปศุสัตว์           1. ได้รับการรับรองขึ้นทะเบียบฟาร์มมาตราฐานจากกรมปศุสัตว์

                                                                2. อยู่ในความควบคุมของกรมปศุสัตว์ได้รับอนุญาติจากสัตวแพทย์      2. อยู่ในความควบคุมของกรมปศุสัตว์ได้รับอนุญาติจากสัตวแพทย์

                                                                    กรมปศุสัตว์ก่อนเคลื่อนย้าย                                                                   กรมปศุสัตว์ก่อนเคลื่อนย้าย

 

 

   (วัตุดิบรอง=สารเสริม      green         1. ผ่าน supplier audit ขั้นต้น (ครั้งแรก)หรือได้รับการรับรอง                 1. COA / COC ทุกครั้งที่รับสินค้า

    และบรรจุภัณฑ์)                                    ระบบมาตราฐาน BRC, HACCP, GMP หรือ GFSI                            2. ผล Test ตามที่กำหนด ปีละหนึ่งครั้ง

                                                            2. ต้องมีเอกสารรับประกันคุณภาพ หรือการันตีคุณภาพ                            3. onsite audit ทุก 3 ปี

                                                                 (Letter of garantee)ที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดคุณภาพ                     4. ตรวจรับทุก LOT

                                                                  และกฏหมายฯ    

 

 

                                          Red          1. ผ่าน supplier audit ขั้นต้น (ครั้งแรก)หรือได้รับการรับรอง                   1. COA / COC ทุกครั้งที่รับสินค้า

                                                                ระบบมาตราฐาน BRC, HACCP, GMP หรือ GFSI                              2. ผล Test ตามที่กำหนด ปีละหนึ่งครั้ง

                                                           2. ต้องมีเอกสารรับประกันคุณภาพ หรือการันตีคุณภาพ                               3. onsite audit ทุกปี

                                                              (Letter of garantee)ที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดคุณภาพ                          4. ตรวจรับทุก LOT

                                                             และกฏหมายฯ    

 

 

ขอบคุณค่ะ



#6 QADCC

QADCC

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 118 posts
  • Gender:Male

Posted 13 April 2017 - 09:03 AM

และ ประเด็นที่ 2  ตอนนี้หนูเขียน ขั้นตอนการทำงานไม่ถูกเลยค่ะ ระหว่างประเมินความเสี่ยงวัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์  กับ การapprove vender อันไหนเกิดก่อน  และ การประเมินครั้งแรกนั้น ผลออกเป็น สีเขียว ก็คือ ใช้  Questionnaire   ในการสอบถาม  Supplier  และดำเนินการสุ่ทแบบสอบถามซ้ำทุก 3 ปี  แสดงว่า พอประเมินประจำปี เราไม่ก็แค่ส่งแบบสอบถามให้ supplier ประเมินตนเอง ใช่ไหมค่ะ ตามด้านล่าง (ไม่ทราบพอจะมีตัวอย่างให้ดูไหมค่ะ รบกวนด้วยคะ)

 

 

                                        ความเสี่ยง                                              ผู้ให้ขายใหม่                                                                              ผู้ขายรายเดิม

 

  (วัตุดิบหลัก เนื้อสัตว์)        yellow         1. ได้รับการรับรองขึ้นทะเบียบฟาร์มมาตราฐานจากกรมปศุสัตว์           1. ได้รับการรับรองขึ้นทะเบียบฟาร์มมาตราฐานจากกรมปศุสัตว์

                                                                2. อยู่ในความควบคุมของกรมปศุสัตว์ได้รับอนุญาติจากสัตวแพทย์      2. อยู่ในความควบคุมของกรมปศุสัตว์ได้รับอนุญาติจากสัตวแพทย์

                                                                    กรมปศุสัตว์ก่อนเคลื่อนย้าย                                                                   กรมปศุสัตว์ก่อนเคลื่อนย้าย

 

 

   (วัตุดิบรอง=สารเสริม      green         1. ผ่าน supplier audit ขั้นต้น (ครั้งแรก)หรือได้รับการรับรอง                 1. COA / COC ทุกครั้งที่รับสินค้า

    และบรรจุภัณฑ์)                                    ระบบมาตราฐาน BRC, HACCP, GMP หรือ GFSI                            2. ผล Test ตามที่กำหนด ปีละหนึ่งครั้ง

                                                            2. ต้องมีเอกสารรับประกันคุณภาพ หรือการันตีคุณภาพ                            3. onsite audit ทุก 3 ปี

                                                                 (Letter of garantee)ที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดคุณภาพ                     4. ตรวจรับทุก LOT

                                                                  และกฏหมายฯ    

 

 

                                          Red          1. ผ่าน supplier audit ขั้นต้น (ครั้งแรก)หรือได้รับการรับรอง                   1. COA / COC ทุกครั้งที่รับสินค้า

                                                                ระบบมาตราฐาน BRC, HACCP, GMP หรือ GFSI                              2. ผล Test ตามที่กำหนด ปีละหนึ่งครั้ง

                                                           2. ต้องมีเอกสารรับประกันคุณภาพ หรือการันตีคุณภาพ                               3. onsite audit ทุกปี

                                                              (Letter of garantee)ที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดคุณภาพ                          4. ตรวจรับทุก LOT

                                                             และกฏหมายฯ    

 

 

ขอบคุณค่ะ

น่าจะยังไม่ถูกต้องนะครับ แนะนำให้ทำดังนี้ครับ

 

วิธีแรก ประเมินวัตถุดิบ > นำผลประเมินวัตถุดิบที่ได้ (ว่ามีความเสี่ยงระดับใด) มาใช้กำหนดเกณฑ์คัดเลือกผู้ขาย และประเมินผู้ขาย  

 

วิธีสอง ประเมินวัตถุดิบร่วมกับผู้ขายพร้อมกันไปเลย (จะได้ว่าผู้ขาย RM รายใดมีความเสี่ยงระดับใด)

 

ตรงนี้เป็นส่วนที่ผมแจ้งว่า CB บางท่านตีความไม่เหมือนกัน ส่วนตัวถ้าผมทำที่ปรึกษาจะแนะวิธี 2 เพราะจะชัวร์กว่าครับ 

 

เกณฑ์การประเมินที่กำหนดว่ามีระบบหรือไม่ ควรแยกระหว่างมีระบบที่ GFSI ยอมรับ กับระบบที่ GFSI ไม่ยอมรับน่ะครับ เพราะ

มาตรการไม่เหมือนกัน

 

ถ้าผู้ขายมีระบบที่ GFSI ยอมรับ

- ไม่ต้อง Audit 

- มั่นใจเรื่อง Tractability ได้ในข้อกำหนด 3.9.3 

 

ถ้าผู้ขายไม่มีระบบที่ GFSI ยอมรับ

- ต้องดูว่าเป็น RM ระดับเสี่ยงใด 

- ถ้า RM เสี่ยงต่ำ ไม่ต้อง Audit ใช้ Questionnaire ได้ครับ

- ถ้า RM เสี่ยงกลาง หรือสูง ต้อง Audit ครับ 

 

อ่านแล้วงงไหมเอ่ยครับ ถ้างง สอบถามเพิ่มได้ครับ 


 
ISO9001, ISO22000, GMP, HACCP, BRC, IFS, ....

#7 B.Engineering

B.Engineering

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 29 posts

Posted 14 April 2017 - 08:35 PM

น่าจะยังไม่ถูกต้องนะครับ แนะนำให้ทำดังนี้ครับ

 

วิธีแรก ประเมินวัตถุดิบ > นำผลประเมินวัตถุดิบที่ได้ (ว่ามีความเสี่ยงระดับใด) มาใช้กำหนดเกณฑ์คัดเลือกผู้ขาย และประเมินผู้ขาย  

 

วิธีสอง ประเมินวัตถุดิบร่วมกับผู้ขายพร้อมกันไปเลย (จะได้ว่าผู้ขาย RM รายใดมีความเสี่ยงระดับใด)

 

ตรงนี้เป็นส่วนที่ผมแจ้งว่า CB บางท่านตีความไม่เหมือนกัน ส่วนตัวถ้าผมทำที่ปรึกษาจะแนะวิธี 2 เพราะจะชัวร์กว่าครับ 

 

เกณฑ์การประเมินที่กำหนดว่ามีระบบหรือไม่ ควรแยกระหว่างมีระบบที่ GFSI ยอมรับ กับระบบที่ GFSI ไม่ยอมรับน่ะครับ เพราะ

มาตรการไม่เหมือนกัน

 

ถ้าผู้ขายมีระบบที่ GFSI ยอมรับ

- ไม่ต้อง Audit 

- มั่นใจเรื่อง Tractability ได้ในข้อกำหนด 3.9.3 

 

ถ้าผู้ขายไม่มีระบบที่ GFSI ยอมรับ

- ต้องดูว่าเป็น RM ระดับเสี่ยงใด 

- ถ้า RM เสี่ยงต่ำ ไม่ต้อง Audit ใช้ Questionnaire ได้ครับ

- ถ้า RM เสี่ยงกลาง หรือสูง ต้อง Audit ครับ 

 

อ่านแล้วงงไหมเอ่ยครับ ถ้างง สอบถามเพิ่มได้ครับ 

เดี๋ยวพรุ่งนี้จะลองเขียน ตามที่แนะนำก่อนค่ะ  ก็ยังมีงง ตรงวิธีที่ 2 ค่ะ  เดี๋ยวจะมีที่ปรึกษษเข้ามาให้ข้อมูลพุ่งนี้  จะลองถามเขาอีกที  ขอบคุค่ะ ได้ความรูมากๆๆเลย พอจะมอง ภาพออกบ้าง แต่ขอเขียนเป็นลยลักักษรก่อนนะคะ ขอบคุณค่ะ



#8 QADCC

QADCC

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 118 posts
  • Gender:Male

Posted 15 April 2017 - 08:50 AM

เดี๋ยวพรุ่งนี้จะลองเขียน ตามที่แนะนำก่อนค่ะ  ก็ยังมีงง ตรงวิธีที่ 2 ค่ะ  เดี๋ยวจะมีที่ปรึกษษเข้ามาให้ข้อมูลพุ่งนี้  จะลองถามเขาอีกที  ขอบคุค่ะ ได้ความรูมากๆๆเลย พอจะมอง ภาพออกบ้าง แต่ขอเขียนเป็นลยลักักษรก่อนนะคะ ขอบคุณค่ะ

 

ยินดีครับ เพื่อนๆในห้องยินดีแบ่งปันความรู้กันครับ หรือถ้ามีคำถามที่อาจจะเป็นความลับของบริษัท ก็หลังไมค์มาได้ครับ

ยินดีให้คำแนะนำนะครับ  


 
ISO9001, ISO22000, GMP, HACCP, BRC, IFS, ....

#9 B.Engineering

B.Engineering

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 29 posts

Posted 16 April 2017 - 06:05 AM

ยินดีครับ เพื่อนๆในห้องยินดีแบ่งปันความรู้กันครับ หรือถ้ามีคำถามที่อาจจะเป็นความลับของบริษัท ก็หลังไมค์มาได้ครับ

ยินดีให้คำแนะนำนะครับ  

ตอนนี้ก็ยังคิดไม่ตก ค่ะ  /จากการที่ได้ปรึกษาทีม Consult  ก็ยังไม่ได้รับคำตอบแบบกระจ่าง คือหนูมีความสงสัยว่า

ในข้อกำหนดที่ 3.5.1.1 การประเมินความเสี่ยงของวัตถุดิบ  ของระบบ BRC v.7 กับ การประเมินความเสี่ยงของผู้ส่งมอบ ระบบ ISO 9001:2015 มันเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร  

และมีวิธีการอย่างไรได้บ้างที่จะเขียน คู่มือให้สอดคล้องกันทั้งสองระบบค่ะ เช่น  

ฺBRC - การประเมินความเสี่ยงของวัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์  (HACCP+VA) = Low (สีเขียว)

ISO 9001/2015 การประเมินความเสี่ยงของผู้ส่งมอบ

5.2.1  ปริมาณที่ส่งมอบ        - ปริมาณน้อย หมายถึง  ปริมาณการมาส่งมอบให้กับทางบริษัทไม่เกิน 5 ครั้ง/เดือน      - ปริมาณปานกลาง หมายถึง  ปริมาณการมาส่งมอบให้กับทางบริษัทอยู่ระหว่าง 6-10 ครั้ง/เดือน      - ปริมาณมาก หมายถึง  ปริมาณการมาส่งมอบให้กับทางบริษัทเกิน 10  ครั้ง/เดือน

#10 QADCC

QADCC

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 118 posts
  • Gender:Male

Posted 16 April 2017 - 02:24 PM

 

ตอนนี้ก็ยังคิดไม่ตก ค่ะ  /จากการที่ได้ปรึกษาทีม Consult  ก็ยังไม่ได้รับคำตอบแบบกระจ่าง คือหนูมีความสงสัยว่า

ในข้อกำหนดที่ 3.5.1.1 การประเมินความเสี่ยงของวัตถุดิบ  ของระบบ BRC v.7 กับ การประเมินความเสี่ยงของผู้ส่งมอบ ระบบ ISO 9001:2015 มันเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร  

และมีวิธีการอย่างไรได้บ้างที่จะเขียน คู่มือให้สอดคล้องกันทั้งสองระบบค่ะ เช่น  

ฺBRC - การประเมินความเสี่ยงของวัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์  (HACCP+VA) = Low (สีเขียว)

ISO 9001/2015 การประเมินความเสี่ยงของผู้ส่งมอบ

5.2.1  ปริมาณที่ส่งมอบ        - ปริมาณน้อย หมายถึง  ปริมาณการมาส่งมอบให้กับทางบริษัทไม่เกิน 5 ครั้ง/เดือน      - ปริมาณปานกลาง หมายถึง  ปริมาณการมาส่งมอบให้กับทางบริษัทอยู่ระหว่าง 6-10 ครั้ง/เดือน      - ปริมาณมาก หมายถึง  ปริมาณการมาส่งมอบให้กับทางบริษัทเกิน 10  ครั้ง/เดือน

 

อยากเรียนว่ามีจุดที่แตกต่างกันนะครับสำหรับ ISO9001 / BRC

 

- BRC จะเน้นการปนเปื้อน 5 ด้านตามที่ทราบครับ 

 

- ISO9001 ถ้าประเมินความเสี่ยงแล้ว อาจได้ว่า มีความเสี่ยงจากผู้ขายวัตถุดิบที่ส่งวัตถุดิบไม่ดี (ปนเปื้อน, ไม่ได้มาตรฐาน) - อันนี้จะตรงกับ BRC และความเสี่ยงที่ผู้ขายจะไม่ส่งวัตถุดิบให้ หรือส่งช้า - อันนี้ในการประเมินข้อ 3.5.1.1 ไม่ได้พิจารณาถึงการส่งช้า หรือไม่ส่งครับ 

 

สามารถทำร่วมกันได้ครับ เพื่อให้เอกสารง่าย ไม่ต้องมีหลายฉบับซ้ำซ้อนกันครับ 


 
ISO9001, ISO22000, GMP, HACCP, BRC, IFS, ....

#11 B.Engineering

B.Engineering

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 29 posts

Posted 17 April 2017 - 08:48 PM

อยากเรียนว่ามีจุดที่แตกต่างกันนะครับสำหรับ ISO9001 / BRC

 

- BRC จะเน้นการปนเปื้อน 5 ด้านตามที่ทราบครับ 

 

- ISO9001 ถ้าประเมินความเสี่ยงแล้ว อาจได้ว่า มีความเสี่ยงจากผู้ขายวัตถุดิบที่ส่งวัตถุดิบไม่ดี (ปนเปื้อน, ไม่ได้มาตรฐาน) - อันนี้จะตรงกับ BRC และความเสี่ยงที่ผู้ขายจะไม่ส่งวัตถุดิบให้ หรือส่งช้า - อันนี้ในการประเมินข้อ 3.5.1.1 ไม่ได้พิจารณาถึงการส่งช้า หรือไม่ส่งครับ 

 

สามารถทำร่วมกันได้ครับ เพื่อให้เอกสารง่าย ไม่ต้องมีหลายฉบับซ้ำซ้อนกันครับ 

วันนี้ทาง นั่งคิดหาวิธี เขียนคู่มือการคัดเลิอกฯ  ตามที่ทางโรงงานมีการประเมินความเสี่ยงทางด้านวัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์ ทั้ง 5 แล้ว นำมา match กับงานของจัดซื้อ เลยคิดมาประมาฯนี้ค่ะ (ไม่รู้ถูกไหม)

1. นำผลการประเมินความเสี่ยงทางด้านวัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์  มาตั้งเกณฑ์การคัดเลือกผู้ขายรายใหม่   เพื่อจัดกลุ่มผู้ขายตามประเภท

2. กรณีที่ผู้ขายรายใหม่ไม่มีระบบ GFSI ทางบริษัทจะต้องทำการประเมินผู้ขายครั้งแรก ก่อนอนุมัติผู้ขาย เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ขายรายนั้นได้ดำเนินการผลิตสินค้าที่ดี มีคุรภาพ ได้มาตรฐานตามที่เราต้องการจริงๆ (ระบบที่ไปประเมิน หลักๆ food safety GMP+HACCP) เป็นต้น หากผลผ่านประเมิน ถึงจะอนุมัติผู้ขาย  ==> ประเด็นนี้ไม่ไป audit  ได้ไหมค่ะ ใช้ self assessment supplier audit and questionear แทนได้ไหมค่ะ

3. พอถึงรอบการประเมิน supplier รายปัจจุบัน (ตามช่วงเวลา แล้วแต่เกณฑ์ บริษัท ทุก 3-6 เดือน  หรือ 1ปี/ครั้ง) ทางบริษัทตั้งเกรดไว้ ABCD ## ให้ทางจัดซื้อ เพิ่มระดับความเสี่ยงลงไป เช่น A= ดีมาก B = ดี ระดับความเสี่ยง /low (สีเขียว) มาตรการจัดการความเสี่ยง จะดำเนินการตามผลการประเมินความเสี่ยงทางด้านวัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์ที่โรงงานตั้งไว้ 

ส่วน C=ควรปรับปรุง และ D=แย่ / High(สีแดง) จะดำเนินการตามผลการประเมินความเสี่ยงทางด้านวัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์ที่โรงงานตั้งไว้ ==> ประมาณนี้ได้ไหมค่ะ :4241:  :4241: 



#12 QADCC

QADCC

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 118 posts
  • Gender:Male

Posted 17 April 2017 - 10:38 PM

วันนี้ทาง นั่งคิดหาวิธี เขียนคู่มือการคัดเลิอกฯ  ตามที่ทางโรงงานมีการประเมินความเสี่ยงทางด้านวัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์ ทั้ง 5 แล้ว นำมา match กับงานของจัดซื้อ เลยคิดมาประมาฯนี้ค่ะ 

1. นำผลการประเมินความเสี่ยงทางด้านวัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์  มาตั้งเกณฑ์การคัดเลือกผู้ขายรายใหม่   เพื่อจัดกลุ่มผู้ขายตามประเภท

ประเมินวัตถุดิบ (ได้ระดับความเสี่ยงสูง, กลาง, ต่ำ) > กำหนดเกณฑ์คัดเลือกผู้ขาย 

 

2. กรณีที่ผู้ขายรายใหม่ไม่มีระบบ GFSI ทางบริษัทจะต้องทำการประเมินผู้ขายครั้งแรก ก่อนอนุมัติผู้ขาย เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ขายรายนั้นได้ดำเนินการผลิตสินค้าที่ดี มีคุรภาพ ได้มาตรฐานตามที่เราต้องการจริงๆ (ระบบที่ไปประเมิน หลักๆ food safety GMP+HACCP) เป็นต้น หากผลผ่านประเมิน ถึงจะอนุมัติผู้ขาย  ==> ประเด็นนี้ไม่ไป audit  ได้ไหมค่ะ ใช้ self assessment supplier audit and questionear แทนได้ไหมค่ะ

กรณีที่ผู้ขาย ไม่มีระบบ GFSI ต้องพิจารณาก่อนว่าเป็นวัตถุดิบความเสี่ยงแบบใดครับ

- ถ้าความเสี่ยงสูง หรือกลาง ต้องไป Audit ครับ 

- ถ้าคววามเสี่ยงต่ำ ไม่ไป Audit ก็ได้ ใช้ Questionnaire ได้ 

 

3. พอถึงรอบการประเมิน supplier รายปัจจุบัน (ตามช่วงเวลา แล้วแต่เกณฑ์ บริษัท ทุก 3-6 เดือน  หรือ 1ปี/ครั้ง) ทางบริษัทตั้งเกรดไว้ ABCD ## ให้ทางจัดซื้อ เพิ่มระดับความเสี่ยงลงไป เช่น A= ดีมาก B = ดี ระดับความเสี่ยง /low (สีเขียว) มาตรการจัดการความเสี่ยง จะดำเนินการตามผลการประเมินความเสี่ยงทางด้านวัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์ที่โรงงานตั้งไว้ 

ส่วน C=ควรปรับปรุง และ D=แย่ / High(สีแดง) จะดำเนินการตามผลการประเมินความเสี่ยงทางด้านวัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์ที่โรงงานตั้งไว้ ==> ประมาณนี้ได้ไหมค่ะ 

อันนี้อ่านแล้วผมงงๆครับ ทีมงานต้องแยกระหว่างการประเมินความเสี่ยงวัตถุดิบ (Raw Material Assessment ในข้อ 3.5.1.1) กับเรื่องการประเมินผลงานผู้ขายนะครับ คนละข้อกำหนดกันจ่ะ 

 

ปล. ถ้ามีที่ปรึกษาอยากให้ลองปรึกษาทางที่ปรึกษาดูนะครับ หรือถ้าสะดวกจะคุยกันทางโทรศัพท์ผมก็ยินดีนะครับ เพราะพิมพ์ตอบบางทีก็เข้าใจยาก

จะได้แชร์ประสบการณ์ร่วมกันครับ 


 
ISO9001, ISO22000, GMP, HACCP, BRC, IFS, ....





Also tagged with one or more of these keywords: จัดซื้อ

0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users