Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

WHO ชี้ภัยใกล้ตัว ยาฆ่าแมลงตกค้างในอาหาร


  • Please log in to reply
2 replies to this topic

#1 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,568 posts
  • Gender:Male

Posted 24 December 2016 - 08:33 PM



647_68_food2.jpg

 

 

ยาฆ่าแมลงเป็นสารเคมีที่ใช้ในเกษตรกรรมเพื่อปกป้องพืชผลไม่ให้แมลง เชื้อรา หรือวัชพืชมาทำอันตราย ในด้านเกษตรกรรม มีการนำยาฆ่าแมลงมาใช้ด้านการสาธารณสุขเพื่อควบคุมแมลงหรือสัตว์ที่เป็นพาหะ ของโรค เช่น ยุง อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่ายาฆ่าแมลงก็เป็นพิษต่อมนุษย์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง หรือมีผลต่อระบบประสาทหรือภูมิคุ้มกัน ดังนั้น ก่อนที่จะมีการใช้ยาฆ่าแมลง ผู้เชี่ยวชาญควรทดสอบความเป็นไปได้ของผลกระทบต่อสุขภาพและวิเคราะห์ผลของ ความเสี่ยงต่อมนุษย์ก่อนที่จะใช้งาน

ความแตกต่างระหว่าง “อันตราย” และ “ความเสี่ยง”
การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของผลกระทบสารเคมีอันตรายอย่างยาฆ่าแมลงที่อาจเกิด ขึ้นและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ พบว่าจะทำให้เกิดสารคาซิโนเจนที่อาจก่อมะเร็ง สารที่เป็นพิษต่อระบบประสาท สารเทอราโทเจนที่สามารถทำให้ทารกในครรภ์มารดามีความผิดปกติหรือพิการ กระบวนการนี้เรียกว่า การระบุอันตราย หรือ hazard identification ซึ่งเป็นก้าวแรกของการประเมินความเสี่ยง ตัวอย่างของการระบุอันตรายคือการจำแนกสารก่อมะเร็งที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ที่ทำโดยหน่วยงานวิจัยขององค์การอนามัยโลกที่มีชื่อว่า International Agency for Research on Cancer (IARC)
สารเคมีชนิดเดียวกันอาจมีผลกระทบแตกต่างกันในระดับความเข้มข้นของสารที่ แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปริมาณการรับสารเคมีที่เข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับระบบที่รับเข้าสู่ร่างกายด้วย เช่น ระบบการย่อย ระบบการหายใจ เป็นต้น

ทำไมองค์กรอนามัยโลกจึงมีกระบวนการระบุอันตรายและการประเมินความเสี่ยง
การระบุอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจำแนกสารของ IARC ในแง่ของสารก่อมะเร็งนับเป็นก้าวแรกของกระบวนการการประเมินความเสี่ยง
การจำแนกสารอย่างเช่นอันตรายของสารก่อมะเร็งเป็นการระบุความสำคัญของ ระดับการเปิดรับ เช่น ในแง่ของอาชีพ สิ่งแวดล้อม อาหาร เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งมากขึ้น

การประเมินความเสี่ยงสำหรับสารตกค้างของยาฆ่าแมลงในอาหาร ซึ่งทำโดยการประชุมร่วมของ FAO/WHO ในเรื่องสารตกค้างที่เป็นยาฆ่าแมลง (JMPR) ซึ่งได้มีการกำหนดระดับการเปิดรับที่ปลอดภัยหลังจากประเมินระดับความเสี่ยง

ปริมาณของวัตถุเจือปนอาหารในระดับที่ยอมรับได้ต่อวัน (Acceptable daily intakes: ADIs) ที่รัฐบาลหรือหน่วยงานด้านความเสี่ยงระหว่างประเทศนำไปใช้งาน เช่น Codex Alimentarius Commission ก็มีการจัดทำระดับสารตกค้างสูงสุด (maximum residue limits: MRLs) สำหรับยาฆ่าแมลงในอาหาร
MRLs มีการบังคับใช้โดยหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ระดับประเทศเพื่อให้มั่นใจว่า จำนวนของสารตกค้างต่อผู้บริโภคที่มีการรับเข้าสู่ร่างกายจะไม่ส่งผลกระทบต่อ สุขภาพของผู้บริโภค

การระบุอันตรายของ IARC สามารถแจ้งการประเมินความเสี่ยงของ JMPR และกระบวนการทั้งสองเพื่อเสริมกันได้ ตัวอย่างเช่น IARC อาจระบุหลักฐานใหม่จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสารก่อมะเร็งเมื่อมี ความจำเป็น ทั้งนี้ JMPR มีการประเมินหรือประเมินซ้ำถึงความปลอดภัยของสารเคมีที่ใช้ในทางเกษตรกรรมและที่เกิดขึ้นในอาหารด้วย

สำหรับประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้จัดทำแนวทางการใช้วัตถุเจือปนอาหารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2556 เพื่อให้นำไปใช้งานได้ง่าย นอกจากนี้ ยังมีการกำกับดูแลกรณีสารตกค้างในอาหารและการเฝ้าระวังความปลอดภัยผักและผล ไม้ด้วย

ที่มา
1. http://www.who.int/features/qa/87/en/
2. http://food.fda.moph...d Additives.pdf
3. http://www.thaipan.o...57_napaporn.pdf

 



#2 thespecialist

thespecialist

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 217 posts
  • Gender:Male

Posted 25 December 2016 - 01:13 AM

ขอบคุณครับ อยู่ที่การออกกำลังกายด้วยครับ ช่วยได้อยู่



#3 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,568 posts
  • Gender:Male

Posted 25 December 2016 - 08:09 AM

ขอบคุณครับ อยู่ที่การออกกำลังกายด้วยครับ ช่วยได้อยู่

 

 

ออกกำลังกาย ช่วยลดสารฆ่าแมลงตกค้างได้ ?????






0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users