Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

สอบถามเรื่อง Calibration Jig หรือ Fixture


  • Please log in to reply
3 replies to this topic

#1 thun22

thun22

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 10 posts

Posted 14 November 2016 - 02:48 PM

เรามีข้อสงสัยเรื่องการ Calibration Jig และ Fixture ปกติแล้วต้อง calibration หรือไม่

ถ้าต้อง calibration ระยะเวลาควรเป็นกี่ปี/ครั้ง

 

อีกอย่างค่ะเราเห็นบ้างบริษัทเขากำหนดระยะเวลาการ calibration เครื่องมือ ไมโคร / เวอร์เนียร์

เขากำหนด 5 ปี (คือเขาบอกว่าส่งสอบเทียบข้างนอก 5 ปีต่อครั้ง เพราะเขามีสอบเทียบภายในอยู่แล้ว แต่สอบเทียบข้างในเขามันสอบเทียบได้เฉพาะปากวัดนอก ส่วนปากวัดในกับวัดลึก ไม่มีเครื่องมือสอบเทียบที่มาตรฐาน)

แบบนี้ได้ด้วยเหรอค่ะ

ผู้รู้ตอบหน่อยค่ะ



#2 Aranya Chaiyachin

Aranya Chaiyachin

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 166 posts
  • Gender:Female
  • Location:Amata Chonburi
  • Interests:ISO 9001:2015
    ISO 14001:2015
    ISO 45001:2018
    ISO/IEC 17025 :2005

Posted 15 November 2016 - 04:02 PM

1.) หลักการง่ายๆค่ะ ต้องดูที่ตัวชิ้นงานที่คุณใช้ไปวัดนะคะ ว่าการวัดคุณละเอียดมากแค่  หมายถึงค่า Error คุณยอมรับที่เท่าใหร่ ยกตัวอย่างเช่น คุณใช้ เวอร์เนียร์ในการวัดเหล็กก่อสร้างกับใช้วัดตัวงานชิ้นเล็กๆที่ยอมรับค่าความ Error น้อยมาก เช่น Part รถยนต์ มันต่างกันเยอะคะ ความซีเรียสขึ้นอยู่กับเกณฑ์ในการยอมรับของคุณและลูกค้าค่ะ ซีเรียสมาก ต้องใส่ใจมาก 

 

2.) และต้องดูว่า การ Inspection กับชิ้นงานมีโอกาสที่จะทำให้ตัวเครื่องมือมีความคลาดเคลื่อนได้หรือเปล่า ถ้ามีอันนี้ต้อง cal ทกปีนะคะ

 

3.) แต่หากเวอร์เนียร์ของคุณใช้น้อยมาก และตัวชิ้นงานไม่ต้องการความละเอียดมากเช่นวัดเพื่อ เทียบเคียงเฉยๆ 5 ปีก็เพียงพอ

 

คือมันแล้วแต่ลักษณะการวัด และชิ้นงานเราค่ะ ให้พิจารณาเองว่าคุณจริงจังแค่ใหน และแค่ใหนเรียกจริงจัง รูปแบบการผลิตของแต่ละบริษัทไม่เหมือนกันค่ะ เอาข้อกำหนดของลูกค้าเป็นหลักค่ะ

 

 

คำตอบสุดท้าย >>สอบเทียบควรจะต้อง สอบเทียบทั้งปากนอกและปากในนะคะ อย่าลืมควบคุม condition ของกาสอบเทียบด้วย



#3 aikQ

aikQ

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 29 posts

Posted 11 November 2017 - 08:48 PM

ข้อสุดท้าย ปากวัดใน และก้านวัดลึกถ้าไม่ใช้งานก็ไม่ต้องสอบเทียบครับ ทั้งนี้เอกสารต่างต้องสอดคล้อง เฃ่น การระบุย่านการใช้งานในสมุดทะเบียน และ WI ที่ใช้เวอร์เนียดังกล่าวในการวัดงาน ต้องใช้เฉพาะปากวัดนอกครับ



#4 krissarakorn

krissarakorn

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 255 posts
  • Gender:Male
  • Location:Chonburi

Posted 13 November 2017 - 02:05 PM

ของผมใช้วิธีเขียนเป็นเอกฉบับนึงเลย คือ เรื่องการกำหนดความถี่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินความถี่ที่ชัดเจนขึ้น

โดยพิจารณาจาก 

1.คุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการวัด เช่น ขนาด, ความสวยงาม, ความแข็ง, ความปลอดภัย 

2.ความสามารถในการแสดงผล เช่น หลักหน่วย, ทศนิยม 1-4 ตำแหน่ง 

3.ความถี่ในการใช้งาน เช่น ทุกวัน, ทุกสัปดาห์, ทุกเดือน, ทุกปี 

 

เอาแต่ละตัวมาบวกกัน แล้วนำผลลัพธ์ ไปเทียบกับตารางที่เรากำหนดไว้ 

ว่ากี่คะแนน เท่ากับ ความถี่ในการสอบเทียบเท่าไหร่ 

เช่น  3-5 คะแนน = สอบเทียบ 2 ปี/ครั้ง,  6-7 คะแนน = สอบเทียบ 2ปี/ครั้ง 

 

*ปรับใช้ตามสมควรนะครับ 

**ดูความต้องการของลูกค้าก่อน

***หากเครื่องมือ 1 ตัว ใช้ตัดสินงานที่มีความเข้มงวดต่างกัน ให้เอาตัวที่เข้มงวดสุดเป็นเกณฑ์ 

****หากมีเครื่องมือชนิดเดียวกันหลายตัว อาจแบ่งสอบเทียบต่างกันเพื่อรองรับการใช้งานที่เข้มงวดต่างกัน เพื่อลดค่าใช้จ่าย 


Krissarakorn..





0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users