Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

การทำ Product audit

iso/ts16949 Internal audit Product audit

  • Please log in to reply
5 replies to this topic

#1 La Vie En Rose

La Vie En Rose

    Super Member

  • Members
  • PipPip
  • 35 posts
  • Gender:Female

Posted 15 October 2016 - 10:50 AM

รบกวนสอบถาม/แลกเปลี่ยนความรู้ค่ะ 

 

มีความสงสัยในเรื่องการทำ product audit โดยเพิ่งได้รับคอมเม้นท์ จาก CB ว่า ผลการ audit ไม่ครอบคลุมทั้ง 2 กะ

ซึ่งที่โรงงาน การผลิตงานแต่ละตัวไม่ได้ผลิตทั้ง 2 กะ เช่น

 

กะเช้าผลิตงาน part a b c d

กะดึก ผลิต e f g h 

นานๆครั้งจะมีการผลิตงาน part เดียวกันทั้ง 2 กะ กรณีแบบนี้จะต้องทำการ audit product อย่างไรเพื่อให้สอดคล้องกับคอมเม้นท์ของ CB คะ

 

จำเป็นต้องมีการ audit product part เดียวกันทั้ง 2 กะหรือเปล่า รบกวนผู้รู้และผู้มีประสบการณ์ช่วยไขข้อข้องใจด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ



#2 thespecialist

thespecialist

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 217 posts
  • Gender:Male

Posted 16 October 2016 - 11:23 PM

ช่วยดันให้นะครับ



#3 bkesinee

bkesinee

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 1 posts

Posted 17 October 2016 - 10:54 AM

ตรวจกับ CB อะไรค่ะ



#4 La Vie En Rose

La Vie En Rose

    Super Member

  • Members
  • PipPip
  • 35 posts
  • Gender:Female

Posted 17 October 2016 - 11:46 AM

ตรวจกับ CB อะไรค่ะ

 

ขออนุญาตเป็นหลังไมค์แล้วกันนะคะ



#5 KornKrisda

KornKrisda

    Super Member

  • Power Members
  • PipPip
  • 59 posts
  • Gender:Male
  • Location:Smutprakarn
  • Interests:Quality assurance manager
    Nikkei mc aluminum(Thailand) co.,told.

Posted 17 October 2016 - 11:48 AM

คิดว่าคุณ La Vie En Rose คงคุ่นเคยกับ Product audit ดีอยู่แล้ว แต่จะขอเพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องนี้หน่อยนะครับ

 

วัตถุประสงค์ของ Product audit ก็เพื่อทวนสอบความสอดคล้องกับข้อกำหนดในระเบียบปฏิบัติต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ โดยจะตรวจติดตามหัวข้อที่จำเป็นต่อผลิตภัณฑ์รุ่นนั้นๆ  ดังนี้

1. รายการที่ระบุใน Delivery Specification

        1) ขนาดทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ (Product all dimension)

        2) คุณลักษณะทั้งหมดที่จำเป็นของผลิตภัณ์  (เช่น แรงดึง ความแข็ง คุณลักษณะด้านไฟฟ้า  คุณลักษณะด้านคลื่นความถี่ ฯลฯ)

2. รายการที่ระบุใน Manufacturing Instruction และ Packing Instruction

        3) การบรรจุหีบห่อ

        4) ตรวจติดตามเกี่ยวกับ Label ป้ายบ่งชี้ด้วย

 

ตามข้อกำหนด 8.2.2.3 Product audit และ 8.2.2.4 แผนการตรวจติดตามภายใน มีระบุไว้ครับว่าต้องครอบคลุมทั้ง 2 กะ  แต่! ข้อกำหนดไม่ได้กำหนดระเอียดครับว่าต้องทำ part เดียวกัน เพียงแต่ในทางปฏิบัติหากตรวจสอบ part เดียวกันของทั้งสองกะก็สามารถเปรียบเทียบให้เห็นความสอดคล้องภายใต้มาตรฐานเดียวกันได้ชัดเจนขึ้น

 

ในกรณีของคุณ La Vie En Rose ผมคิดว่าสามารถกำหนดเป็นเงื่อนไขเฉพาะได้ว่าทั้งสองกะอาจทำ product audit โดยใช้คนละ part กันตามความเหมาะสม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลย์พินิจของผู้ตรวจติดตามหรือ...ก็แล้วแต่ว่าจะให้อำนาจใครตัดสินใจครับ

 

1.อธิบาย auditor ให้เข้าใจสภาพองค์กร (ผมคิดว่าคุณคงอธิบายแล้ว)

2.ทำรายงานส่ง correction อาจแก้ไขโดยทำ Product audit ของอีกกะเพิ่ม

3.Corrective action อาจไปเพิ่มข้อความเงื่อนไขด้านบนลงใน Procedure แล้วดำเนินการตามนั้นครับ

**แต่ถ้า auditor ไม่พยายามเข้าใจโทรหาฝ่ายบริการลูกค้า Complain auditor ท่านนั้นได้เลยครับจนปัญญาที่จะอธิบาย 

 

หวังว่าคงจะพอช่วยได้บ้างนะครับ ^^



#6 La Vie En Rose

La Vie En Rose

    Super Member

  • Members
  • PipPip
  • 35 posts
  • Gender:Female

Posted 17 October 2016 - 02:17 PM

คิดว่าคุณ La Vie En Rose คงคุ่นเคยกับ Product audit ดีอยู่แล้ว แต่จะขอเพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องนี้หน่อยนะครับ

 

วัตถุประสงค์ของ Product audit ก็เพื่อทวนสอบความสอดคล้องกับข้อกำหนดในระเบียบปฏิบัติต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ โดยจะตรวจติดตามหัวข้อที่จำเป็นต่อผลิตภัณฑ์รุ่นนั้นๆ  ดังนี้

1. รายการที่ระบุใน Delivery Specification

        1) ขนาดทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ (Product all dimension)

        2) คุณลักษณะทั้งหมดที่จำเป็นของผลิตภัณ์  (เช่น แรงดึง ความแข็ง คุณลักษณะด้านไฟฟ้า  คุณลักษณะด้านคลื่นความถี่ ฯลฯ)

2. รายการที่ระบุใน Manufacturing Instruction และ Packing Instruction

        3) การบรรจุหีบห่อ

        4) ตรวจติดตามเกี่ยวกับ Label ป้ายบ่งชี้ด้วย

 

ตามข้อกำหนด 8.2.2.3 Product audit และ 8.2.2.4 แผนการตรวจติดตามภายใน มีระบุไว้ครับว่าต้องครอบคลุมทั้ง 2 กะ  แต่! ข้อกำหนดไม่ได้กำหนดระเอียดครับว่าต้องทำ part เดียวกัน เพียงแต่ในทางปฏิบัติหากตรวจสอบ part เดียวกันของทั้งสองกะก็สามารถเปรียบเทียบให้เห็นความสอดคล้องภายใต้มาตรฐานเดียวกันได้ชัดเจนขึ้น

 

ในกรณีของคุณ La Vie En Rose ผมคิดว่าสามารถกำหนดเป็นเงื่อนไขเฉพาะได้ว่าทั้งสองกะอาจทำ product audit โดยใช้คนละ part กันตามความเหมาะสม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลย์พินิจของผู้ตรวจติดตามหรือ...ก็แล้วแต่ว่าจะให้อำนาจใครตัดสินใจครับ

 

1.อธิบาย auditor ให้เข้าใจสภาพองค์กร (ผมคิดว่าคุณคงอธิบายแล้ว)

2.ทำรายงานส่ง correction อาจแก้ไขโดยทำ Product audit ของอีกกะเพิ่ม

3.Corrective action อาจไปเพิ่มข้อความเงื่อนไขด้านบนลงใน Procedure แล้วดำเนินการตามนั้นครับ

**แต่ถ้า auditor ไม่พยายามเข้าใจโทรหาฝ่ายบริการลูกค้า Complain auditor ท่านนั้นได้เลยครับจนปัญญาที่จะอธิบาย 

 

หวังว่าคงจะพอช่วยได้บ้างนะครับ ^^

ขอบคุณมากๆสำหรับคำแนะนำดีๆค่ะช่วยได้เยอะแยะเลยค่ะไม่ใช่แค่บ้างแล้ว ^^  อาจจะต้องไปกำหนดใน procedure ใหม่อีกครั้งอย่างที่คุณ KornKirsda ให้คำแนะนำมาจริงๆค่ะ เพราะ เดิมทีเรา audit ทั้ง 2 กะอยู่แล้ว แต่อย่างที่บอก ผลิตงาน part หนึ่งๆนั้นไม่ได้ cover ทั้ง 2 กะ ก็คงต้องมีการ remark หรือเพิ่มเติมเงื่อนไขไป แต่อย่างไรก็ตาม ขอบคุณอีกครั้งนะคะ 

 





Also tagged with one or more of these keywords: iso/ts16949, Internal audit, Product audit

0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users