Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

สอบถามการใช้ฟอสเฟตในอาหาร


  • Please log in to reply
3 replies to this topic

#1 jindaporn.r

jindaporn.r

    Super Member

  • Power Members
  • PipPip
  • 58 posts
  • Gender:Female
  • Location:Mahachai, Samutsakorn

Posted 13 October 2016 - 04:31 PM

รบกวนปรึกษาค่ะ

 

มีการผลิตสินค้าหมึกแช่แข็ง โดยในกระบวนการมีขั้นตอนการแช่สารละลายตัวนึง วัตถุประสงค์เพื่อการปรับ pH ในวัตถุดิบ

 

ซึ่งในสารละลายนี้มีส่วนประกอบของ Trisodium Phosphate อยู่ด้วย หลังจากการแช่ เป็นขั้นตอนการปั่นล้างน้ำเปล่าอีก 4 ครั้ง 

 

อยากทราบว่า

 

1. สารละลายดังกล่าว จัดเป็น Food Additive ใช่หรือไม่ (ที่คิดไว้คือใช่ แต่ไม่มั่นใจค่ะ)

 

2. การที่มีส่วนประกอบของ Trisodium Phosphate จึงได้เข้าไปดูในประกาศฯ 281 พ.ศ.2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ในแนบท้ายประกาศหน้า 97 แต่ไม่มีระบุปริมาณสูงสุดที่ใช้ในหมึก ก็เลยหยิบเอาตัวที่เป็นชิ้นปลาแช่แข็งมาใช้แทน กำหนด สูงสุดไม่เกิน 5000 mg/kg 

 

3. 5000 mg/kg = 5000 ppm ใช่หรือไม่คะ แล้วถ้าแปลงเป็น % จะเท่ากับ 0.5% ใช่มั้ย ไม่แน่ใจว่าคำนวนถูกมั้ย

ถ้าใช่ มันจะไปสอดคล้องกับมาตรฐานกรมประมง Fish Fillet กำหนด P2O5 ไม่เกิน 0.5% มันเป็นตัวเดียวกันมั้ยคะ

 

4. ถ้าเราจะกำหนดมาตรฐานของ FG ตัวนี้ ในเรื่องของ Food Additive เราควรกำหนด ให้ตรวจวิเคราะห์ ค่า Trisodium Phosphate ในผลิตภัณฑ์ หรือ ค่า Total Phosphorous  (as P2O5) จะเหมาะสมกว่าอ่ะคะ

 

5. ถ้าจะกำหนดวิธีการทวนสอบปริมาณ ฟอสเฟตในสารละลายที่เตรียม ควรเลือกชุดทดสอบแบบใด ต้องพิจารณาจากอะไรบ้างคะ

 

รบกวนด้วยนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

 

 



#2 thespecialist

thespecialist

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 217 posts
  • Gender:Male

Posted 13 October 2016 - 05:58 PM

ช่วยดันให้ครับ มาเก็บความรู้ด้วยคนครับ



#3 Jamaree

Jamaree

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 11 posts

Posted 05 November 2016 - 01:25 PM

1 จัดเป็น food additives มีเลขรหัสเป็น E339 แต่สารท่จะใช้จะต้องได้รับการรับรองจาก อย นะค่ะ เพราะ จะคุมค่าโลหะหนัก การปนเปื้อนและความบริสุทธิ์ ให้ได้ตามมาตรฐาน

2. การใช้จะจัดในกลุ่มเดียวกับกุ้งและปลาค่ะ

3. ใช่ค่ะ

4. โดยสากลเขาจะกำหนดเป็นค่าP2O5 เพราะว่าเมื่อมีการใช้อาจจะสามารถใช้กลุ่มฟอสเฟตมากกว่า 1ตัวขึ้นไปได้

5. เขาจะหาปริมาณฟอสเฟตตกค้างในผลิตภัณฑ์ หรือจากตัวปลาหมึกเลย

ถ้าอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสารที่ใช้ในอาหารทะเลเพื่อส่งออก และการใช้งานสอบถามการใช้งานได้ค่ะ



#4 jindaporn.r

jindaporn.r

    Super Member

  • Power Members
  • PipPip
  • 58 posts
  • Gender:Female
  • Location:Mahachai, Samutsakorn

Posted 22 November 2016 - 11:35 PM

1 จัดเป็น food additives มีเลขรหัสเป็น E339 แต่สารท่จะใช้จะต้องได้รับการรับรองจาก อย นะค่ะ เพราะ จะคุมค่าโลหะหนัก การปนเปื้อนและความบริสุทธิ์ ให้ได้ตามมาตรฐาน

2. การใช้จะจัดในกลุ่มเดียวกับกุ้งและปลาค่ะ

3. ใช่ค่ะ

4. โดยสากลเขาจะกำหนดเป็นค่าP2O5 เพราะว่าเมื่อมีการใช้อาจจะสามารถใช้กลุ่มฟอสเฟตมากกว่า 1ตัวขึ้นไปได้

5. เขาจะหาปริมาณฟอสเฟตตกค้างในผลิตภัณฑ์ หรือจากตัวปลาหมึกเลย

ถ้าอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสารที่ใช้ในอาหารทะเลเพื่อส่งออก และการใช้งานสอบถามการใช้งานได้ค่ะ

 

ขอบคุณมากๆค่ะ สำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์นะคะคุณ Jamaree

 

ตอนนี้ลองส่งตัวอย่างทั้ง RM และ FG ไปวิเคราะห์ P2O5 ตกค้างแล้ว

 

แต่ผลออกมาแปลกๆค่ะ วัตถุดิบมีปริมาณตกค้างมากกว่าใน FG 

 

มันเป็นไปได้มั้ยคะ คือตอนนี้ไปไม่ถูกแล้ว เพราะว่าทาง Supplier ก็ไม่มีการแจ้ง

 

ว่ามีการ Treat RM ด้วยสารกลุ่มนี้เลย แต่ผลตรวจมันออกมาแบบนี้ ตอนนี้ลองส่งตัวอย่างตรวจซ้ำอีก

 

อีกคำถามคือ สมมติ ถ้า RM มีปริมาณ P2O5 ตกค้างอยู่ 0.5% แล้วเรานำมาเข้ากระบวนการผลิต

 

มีกระบวนการล้าง ตัดแต่ง แช่สารที่มีส่วนประกอบของ  Trisodium Phosphate แล้วนำมาล้างน้ำอีก

 

จากนั้นตัดแต่งตามขนาดแล้วแช่แข็ง นำไปวิเคราะห์ P2O5 ตกค้างแล้วค่าควรเพิ่มขึ้นจาก 0.5% หรือว่า น้อยลงอ่ะคะ

 

การล้างด้วยน้ำ และน้ำผสมคลอรีนหลายๆครั้ง เป็นปัจจัยที่ทำให้ P2O5 ใน RM ลดลงมั้ยคะ ???

 

ขอคำแนะนำจากผู้รู้ด้วยค่ะ ตอนนี้มึนงงแล้วค่ะ ขอบพระคุณล่วงหน้าเลยค่ะ






0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users