Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

ขอความรู้เรื่องการสอบเทียบเครื่องมือวัดหน่อยครับ


  • Please log in to reply
3 replies to this topic

#1 anutin

anutin

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 5 posts

Posted 01 October 2014 - 05:52 PM

สวัสดีครับ เพิ่งลองโพสครั้งแรก ไม่รู้ว่าถูกห้องไหม

ปัจจุบันทำหน้าที่ QC อยู่ ไม่มีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อนเลย และได้เขียน QP เกี่ยวกับกระบวนการของ QC พอไปถึงหัวข้อของการสอบเทียบเครื่องมือวัด

ทำให้สงสัยบางอย่างคือ

 

ในกรณีของ ISO 9001 จำเป็นไหมครับที่ต้องมีการสอบเทียบเครื่องมือวัดภายใน เพราะที่โรงงานเป็นโรงงานเล็ก ๆ ที่ผ่าน ๆ มาจะเรียกเมคเกอร์เข้ามาทำการสอบเทียบให้เสมอ ในเนื้อหาควรจะมีการเขียนถึงการสอบวัดภายในด้วยหรือไม่ครับ

 

เรื่องของค่าความคลาดเคลื่อน ตรงนี้ไม่ทราบเลยจริง ๆ ว่าเครื่องแต่ละตัวคลาดเคลื่อนได้มากน้อยแค่ไหน ผมจำเป็นต้องทำลิสรายการค่าความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือวัดไหมครับ และถ้าทำผมจะหาข้อมูลตรงนี้ได้จากแหล่งไหนดี (มีเครื่องมือวัดประมาณ 13 ตัว แต่ละตัวมีหน้าที่แตกต่างกัน ในกรณีที่ต้องมีลิสค่าความคลาดเคลื่อนหมายความว่าต้องมีลิสค่าความคลาดเคลื่อนระบุทุกตัวที่มีครอบครองใช่ไหมครับ)

 

ขอบคุณครับ

 

 

 



#2 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,568 posts
  • Gender:Male

Posted 01 October 2014 - 06:09 PM

ถ้าไม่มีกิจกรรมสอบเทียบภายในเอง  ก็ไม่ต้องเขียน  แต่ถ้ามีกิจกรรมการทวนสอบเครื่องมือวัด ก็ต้องเขียน 

 

ค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ของแต่ละเครื่องมือวัดต้องกำหนดและระบุให้ชัดเจนในแต่ละเครื่องมือวัดที่มีผลกระทบต่อคุณภาพ

 

เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินหลังจากที่เราได้ดำเนินการสอบเทียบเครื่องมือวัดนั้นๆแล้ว  ไม่เช่นนั้นเราจะสรุปไม่ได้ว่าเครื่องมือของเรานั้น

 

สามารถนำไปใช้งานต่อได้ตามขอบเขตค่าจำกัดที่เรากำหนดไว้หรือไม่



#3 anutin

anutin

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 5 posts

Posted 01 October 2014 - 09:25 PM

ถ้าไม่มีกิจกรรมสอบเทียบภายในเอง  ก็ไม่ต้องเขียน  แต่ถ้ามีกิจกรรมการทวนสอบเครื่องมือวัด ก็ต้องเขียน 

 

ค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ของแต่ละเครื่องมือวัดต้องกำหนดและระบุให้ชัดเจนในแต่ละเครื่องมือวัดที่มีผลกระทบต่อคุณภาพ

 

เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินหลังจากที่เราได้ดำเนินการสอบเทียบเครื่องมือวัดนั้นๆแล้ว  ไม่เช่นนั้นเราจะสรุปไม่ได้ว่าเครื่องมือของเรานั้น

 

สามารถนำไปใช้งานต่อได้ตามขอบเขตค่าจำกัดที่เรากำหนดไว้หรือไม่

หมายถึงว่า เครื่องมือวัดที่ต้องเขียนค่าความคลาดเคลื่อนคือเครื่องมือที่มีผลกระทบต่อคุณภาพของสินค้าที่เราผลิตใช่ไหมครับ

พอดีทำโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ งั้น สมมุตว่า พวกไม้บรรทัด เวอร์เนีย ที่เอาไว้ใช้วัดความกว้างความยาวขนาดแผ่น PCB เพื่อใช้เขียนโปรแกรมนี่ไม่จำเป็นต้อง

มีค่าความคลาดเคลื่อนก็ได้หรือเปล่าครับ เพราะถึงจะเคลื่อนก็ปรับในโปรแกรมคืนได้

 

แต่ถ้าเป็นเครื่องวัด LCR ที่ใช้วัดค่าความต้านทานของ ชิพ Resistor, Capacitor ควรมีค่าความคลาดเคลื่อนบอกไว้เพราะถ้าวัดพลาดก็หมายถึงมีความเสียงใส่

ชิพผิดลงบน PCB ที่ประกอบได้ แบบนี้หรือเปล่าครับ ?

 

แล้วถ้าสมมุตว่าตอนนำไป calibrate ทางผู้รับจ้างบอกว่าเครื่องของผมมีค่าความคลาดเคลื่อนจริงอยู่ +/- 10 ผมสามารถขอใบรับรองตรงนี้เก็บไว้แล้วเขียนลงใน

บันทึกว่าเครื่องนี้ของผมมีค่าความคลาดเคลื่อน +/-10 จะได้หรือเปล่าครับ ?



#4 nuttapong58

nuttapong58

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 22 posts
  • Gender:Male

Posted 07 July 2015 - 02:01 PM

เกณฑ์ในการพิจารณาเครื่องมือ ว่าผ่านหรือไม่ผ่าน ลองเข้าไปดูในเว็บผมได้เลย มีความรู้เยอะมากงานสอบเทียบ

 

แอด ID Line มาคุยได้เลยการสอบเทียบ ยินดีให้คำปรึกษา 0874757587

ID Line        tikazay 

สามารถเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ผมได้นะครับ  www.tct.myreadyweb.com






0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users