Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

ติดปัญหา Calibrate Granite Surface Plate


  • This topic is locked This topic is locked
4 replies to this topic

#1 kullapat_ssfb

kullapat_ssfb

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 179 posts

Posted 16 January 2012 - 07:39 PM

มีผู้ใด Calibrate เครื่องมือเองบ้างไหมครับพอดีว่าตอนนี้ติดปัญหา Calibrate โต๊ะแกรนิตเองแล้วไม่ผ่าน ไม่ทราบว่าใช้ค่ายอมรับที่เท่าไรกันบ้าง

ส่วนของผมเองมีรายละเอียดในการ Cal มีดังนี้ครับ

1.ตรวจสอบรอยถลอกบนตัวเครื่องมือวัด = NG สาเหตุ เนื่องจากเป็นโต๊ะแกรนิตในห้อง TOOL ซึ่งโอกาสเกิดรอยถลอก, กระแทก สูงมาก
2.ตรวจเช็คความราบเรียบที่ผิว ค่ายอมรับ +- 0.01 ผลที่ได้ ~ 1.20 เนื่องจากเป็นโต๊ะแกรนิตในห้อง TOOL เป็นหลุมลึกแต่ไม่กว้างนะครับ

เอกสารการตรวจสอบโต๊ะแกรนิตทั้งหมด ยอมรับ ที่ +- 0.01 ทุกโต๊ะเลย ไม่ได้แบ่งว่าใช้งานประเภทไหน

จะมีวิธีการดำเนินการอย่างไรดีครับ ช่วยแนะนำหน่อยนะครับอีกไม่ถึงเดือน CB ก็จะมา Audit แล้ว

รอความหวังจากผู้เชี่ยวชาญทุกๆท่านอยู่นะครับ

#2 Angcapol (TQC)

Angcapol (TQC)

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 159 posts

Posted 16 January 2012 - 08:05 PM

QUOTE(kullapat_ssfb @ Jan 16 2012, 07:39 PM) <{POST_SNAPBACK}>
มีผู้ใด Calibrate เครื่องมือเองบ้างไหมครับพอดีว่าตอนนี้ติดปัญหา Calibrate โต๊ะแกรนิตเองแล้วไม่ผ่าน ไม่ทราบว่าใช้ค่ายอมรับที่เท่าไรกันบ้าง

ส่วนของผมเองมีรายละเอียดในการ Cal มีดังนี้ครับ

1.ตรวจสอบรอยถลอกบนตัวเครื่องมือวัด = NG สาเหตุ เนื่องจากเป็นโต๊ะแกรนิตในห้อง TOOL ซึ่งโอกาสเกิดรอยถลอก, กระแทก สูงมาก
2.ตรวจเช็คความราบเรียบที่ผิว ค่ายอมรับ +- 0.01 ผลที่ได้ ~ 1.20 เนื่องจากเป็นโต๊ะแกรนิตในห้อง TOOL เป็นหลุมลึกแต่ไม่กว้างนะครับ

เอกสารการตรวจสอบโต๊ะแกรนิตทั้งหมด ยอมรับ ที่ +- 0.01 ทุกโต๊ะเลย ไม่ได้แบ่งว่าใช้งานประเภทไหน

จะมีวิธีการดำเนินการอย่างไรดีครับ ช่วยแนะนำหน่อยนะครับอีกไม่ถึงเดือน CB ก็จะมา Audit แล้ว

รอความหวังจากผู้เชี่ยวชาญทุกๆท่านอยู่นะครับ

ผมขอข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ครับ
1.เปนโต๊ะที่ใช้วัดผลิตภัณฑ์ หรือไว้สำหรับสอบเทียบเครื่องมืออย่างเดียว หรือทั้งสองอย่าง
2. หรือเปนโต๊ะสำหรับซ่อม tool, เขียน layout อย่างเดียว
3. ใช้อะไรเปนตัว master cal
4.บริษัทคุณใช้ 9001 หรือ TS 16949

รบกวนขอข้อมูลเหล่านี้หน่อยครับ เด๋วมีทางออกให้


#3 kullapat_ssfb

kullapat_ssfb

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 179 posts

Posted 17 January 2012 - 08:11 AM

QUOTE(Angcapol (TQC) @ Jan 16 2012, 08:05 PM) <{POST_SNAPBACK}>
ผมขอข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ครับ
1.เปนโต๊ะที่ใช้วัดผลิตภัณฑ์ หรือไว้สำหรับสอบเทียบเครื่องมืออย่างเดียว หรือทั้งสองอย่าง
2. หรือเปนโต๊ะสำหรับซ่อม tool, เขียน layout อย่างเดียว
3. ใช้อะไรเปนตัว master cal
4.บริษัทคุณใช้ 9001 หรือ TS 16949

รบกวนขอข้อมูลเหล่านี้หน่อยครับ เด๋วมีทางออกให้


ตอบกลับข้อที่ 1และ2 เป็นโต๊ะสำหรับตรวจสอบค่าอุปกรณ์ แม่พิมพ์ Spare part ต่างๆครับ ไม่ได้ทำการตรวจสอบผลิตภัณฑ์

ตอบกลับข้อที่ 3 ใช้เครื่องมือ HG,DTI ตรวจสอบตามรายละเอียดที่กำหนด (HG,DTI ได้ผ่านการ Calibrate แล้ว)

ตอบกลับข้อที่ 4 บริษัทผมได้ระบบ TS16949 ครับ

รบกวนด้วยครับ



#4 Angcapol (TQC)

Angcapol (TQC)

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 159 posts

Posted 17 January 2012 - 04:00 PM

QUOTE(kullapat_ssfb @ Jan 17 2012, 08:11 AM) <{POST_SNAPBACK}>
ตอบกลับข้อที่ 1และ2 เป็นโต๊ะสำหรับตรวจสอบค่าอุปกรณ์ แม่พิมพ์ Spare part ต่างๆครับ ไม่ได้ทำการตรวจสอบผลิตภัณฑ์

ตอบกลับข้อที่ 3 ใช้เครื่องมือ HG,DTI ตรวจสอบตามรายละเอียดที่กำหนด (HG,DTI ได้ผ่านการ Calibrate แล้ว)

ตอบกลับข้อที่ 4 บริษัทผมได้ระบบ TS16949 ครับ

รบกวนด้วยครับ


ผมชอวิเคราะห์ตามข้อมูลที่ได้มานะครับ
อันดับแรกคุณต้องแยกให้ออกก่อนว่าโต๊ะแกรนิตตัวนี้ใช้ในวัตถุประสงค์อะไร ใช้เป็นเครื่องมือวัดที่ใช้วัดผลิตภัณฑ์ (Req. 7.6) หรืออุปกรณ์ช่วยในการผลิต (Tooling 7.5.1.5)
ในส่วนของบริษัทคุณ ผมมองว่าเป็นอุปกรณ์ tooling ตัวนึงครับ เพราะว่าไม่ได้ใช้โดยตรงในการตรวจวัดคุณภาพของผลิตภัณฑ์
ใช้ในการวางแม่พิมพ์ ซ่อม/ตรวจแม่พิมพ์มากกว่าครับ
เพราะฉะนั้นคุณอาจจะลดระดับจาการสอบเทียบ เป็นการทวนสอบความใช้ได้ หรือเป็นลักษณะ Dialy Maintenance ก็ได้ครับ
โดยมุ่งเน้นการตรวจสภาพภายนอกเป็นหลัก เช่น ไม่บิ่น ไม่แตก พื้นผิวไม่ชำรุดจนไม่สามารถวางงานได้ วางอุปกรณ์แล้วต้องไม่เอียงจนไม่สามารถตรวจสอบได้
รวมถึงระดับของขาตั้งต้องได้ระนาบด้วย อาจจะใช้ระดับน้ำเป็นตัววัดระนาบ
หรือถ้าหากคุณอยากจะตั้งเกณฑ์ความเรียบผิว เพื่อจะได้ประเมินออกมาเป็นตัวเลข วิธีการตั้งก็ง่ายๆครับ คุณก็ตั้งว่าระดับความเรียบผิวใดถ้าวางอุปกรณ์แล้วไม่ล้ม
ไม่เอียงจนไม่สามารถตรวจสอบได้ คุณก็เอาตัวเลขนั้นเป็นเกณฑ์ได้เลยครับ อาจจะ 2- 3 mm ก็ได้ เราไม่จำเป็นต้องตั้งตาม JIS ,ISO Standard ทุกอย่าง
รวมทั้งกำหนดวิธีในการดูแลรักษา การรักษาความสะอาดต่างๆ เช่นไม่มีฝุ่นหรือคราบน้ำมัน เป็นต้น

เท่านี้ก็น่าจะเพียงพอในการทวนสอบความใช้ได้ของโต๊ะแกรนิต ไม่ต้องถึงกับสอบเทียบค่าความขนานหรือความเรียบผิวที่อิงใน JIS หรือ ISO Standard หรอกครับ
กรณีที่ต้องสอบเทียบความเรียบผิวจะใช้ในกรณีโต๊ะตัวนี้ใช้วางชิ้นงานที่ QC ต้องมาตรวจ Dimension หรือใช้เป็น Master Calibration สอบเทียบพวกฟุตเหล็ก หรือเครื่องมืออื่นๆ
คงพอจะมองภาพออกนะครับ
ลองกลับไปอ่านข้อกำหนด 7.6 การสอบเทียบ กับข้อ 7.5.1.5 Tooling Management ดูครับ แล้วคุณจะเช้าใจได้มากขึ้น

สรุปให้คุณเขียน WI การตรวจสอบโต๊ะแกรนิตที่ใช้ในห้อง Tool Room ใหม่ ให้มี Dialy Check ทุกครั้งที่ใช้งานด้วย รวมถึงการวัดความเรียบผิวจากเกณฑ์ที่คุณตั้งเอง
โชคดีนะครับ

หากมีอะไรสงสัยก็ตามนี้ครับ
eng_038@hotmail.com

#5 schatjaeoen

schatjaeoen

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 250 posts
  • Gender:Male

Posted 20 February 2012 - 08:17 AM

QUOTE(kullapat_ssfb @ Jan 16 2012, 07:39 PM) <{POST_SNAPBACK}>
มีผู้ใด Calibrate เครื่องมือเองบ้างไหมครับพอดีว่าตอนนี้ติดปัญหา Calibrate โต๊ะแกรนิตเองแล้วไม่ผ่าน ไม่ทราบว่าใช้ค่ายอมรับที่เท่าไรกันบ้าง

ส่วนของผมเองมีรายละเอียดในการ Cal มีดังนี้ครับ

1.ตรวจสอบรอยถลอกบนตัวเครื่องมือวัด = NG สาเหตุ เนื่องจากเป็นโต๊ะแกรนิตในห้อง TOOL ซึ่งโอกาสเกิดรอยถลอก, กระแทก สูงมาก
2.ตรวจเช็คความราบเรียบที่ผิว ค่ายอมรับ +- 0.01 ผลที่ได้ ~ 1.20 เนื่องจากเป็นโต๊ะแกรนิตในห้อง TOOL เป็นหลุมลึกแต่ไม่กว้างนะครับ

เอกสารการตรวจสอบโต๊ะแกรนิตทั้งหมด ยอมรับ ที่ +- 0.01 ทุกโต๊ะเลย ไม่ได้แบ่งว่าใช้งานประเภทไหน

จะมีวิธีการดำเนินการอย่างไรดีครับ ช่วยแนะนำหน่อยนะครับอีกไม่ถึงเดือน CB ก็จะมา Audit แล้ว

รอความหวังจากผู้เชี่ยวชาญทุกๆท่านอยู่นะครับ


ต้องถามคุณก่อนว่าคุณยอมรับได้เท่าไร ปรกติแล้วแผนก tool จะมี spec งานที่หยาบอยู่นะเป็น 50 um ได้ลองไปถามดูว่าใช้ทำอะไรบ้าง
งานที่นำมาใช้ spec เท่าไร ถ้าไม่ได้จริงๆก็ให้ทาง Lab ทำการ Lapping ไห้นะ




0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users