Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

ชิ้นงานที่จะนำมาวิเคราะห์ Gauge GR&R


  • This topic is locked This topic is locked
3 replies to this topic

#1 Siriya

Siriya

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 29 posts

Posted 30 August 2011 - 02:06 PM

อยากทราบเกี่ยวกับชิ้นงานที่เราจะนำมาวิเคราะห์ Gauge GR&R
จะวิเคราะห์อุปกรณ์ Steel Ruler. แต่ไม่แน่ใจเรื่องชิ้นงานที่จะทำดังนี้คะ.

วิเคราะห์ความยาวของสายเบรค 10 เส้น โดย Steel Ruler ซึ่งสเปคของสายเบรคของล๊อตนี้อยู่ที่ 280+/- 1 mm = 279 - 281 mm
แต่ค่าความยาวที่วิเคาะห์มาได้จะเท่าๆกัน ต่างกันน้อยมาก ทำให้ค่า NDC มีค่าน้อย และ GR&R ไม่ผ่านด้วย.

แต่ถ้าเราเอาความยาวของล๊อตอื่นมารวมด้วยเพื่อวิเคราะห์ เช่น ความยาวของอีกล๊อตจะอยู่ที่ 270+/- 1
การวิเคราะห์ครั้งนี้ก็จะผ่าน..

แต่สิ่งที่ศิริยาไม่แน่ใจก็คือ เราสามารถนำความยาวหรือค่าต่างๆ ที่สเปคต่างกันมาวิเคราะห์รวมกันได้หรือเปล่า เพราะหากนำชิ้นงานที่มีค่าใกล้เคียงกัน การจำแนกความแตกต่างก็จะไม่ได้.


ดังนั้นจึงรบกวนสอบถามเรื่องนี้หน่อยคะ

ขอบคุณคะ

#2 DooK

DooK

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,511 posts
  • Gender:Male
  • Location:บางแสน

Posted 30 August 2011 - 02:39 PM

ตามความคิดเห็นส่วนตัวล้วนๆ นะครับ

ในแง่ของตัวเลข คงผ่านแน่นอน แต่ประเด็นนี้ปํญหามันน่าจะเกิดจากการเลือกใช้เครื่องมือวัดที่ความสามารถไม่เพียงพอ
ที่จะแยกแยะของดีของเสียออกจากกันได้

ตามปกติแล้วเวลาเราผลิตชิ้นงาน ความผันแปรมักจะเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ซึ่งโดยธรรมชาติจะมีค่าประมาณ 6 sigma แบ่งเป็นบนสามล่างสาม ตามทฤษฎี ซึ่งหากเครื่องมือวัดดีจริง คงจะแยกแยะความผันแปรเหล่านี้ออกมาได้เป็นแบบ ดีมาก ดี พอใช้ ตาม Zone และสะท้อนออกมาในค่า ndc

ทีนี้ถ้าใส่ข้อมูลหลอกเข้าไปในสูตร แน่นอนว่าคงผ่าน แต่หากดูตามสมมติฐานแล้ว ผมว่ามันจะดูแปลกๆ นะครับ

ขอย้ำว่า นี่เป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆ รอท่านต่อๆ ไปมาแชร์ความเห็นกันต่อตามอัธยาศัยจ้ะ


ลายเซ็น

#3 Siriya

Siriya

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 29 posts

Posted 30 August 2011 - 02:44 PM

QUOTE(DooK @ Aug 30 2011, 02:39 PM) <{POST_SNAPBACK}>
ตามความคิดเห็นส่วนตัวล้วนๆ นะครับ

ในแง่ของตัวเลข คงผ่านแน่นอน แต่ประเด็นนี้ปํญหามันน่าจะเกิดจากการเลือกใช้เครื่องมือวัดที่ความสามารถไม่เพียงพอ
ที่จะแยกแยะของดีของเสียออกจากกันได้

ตามปกติแล้วเวลาเราผลิตชิ้นงาน ความผันแปรมักจะเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ซึ่งโดยธรรมชาติจะมีค่าประมาณ 6 sigma แบ่งเป็นบนสามล่างสาม ตามทฤษฎี ซึ่งหากเครื่องมือวัดดีจริง คงจะแยกแยะความผันแปรเหล่านี้ออกมาได้เป็นแบบ ดีมาก ดี พอใช้ ตาม Zone และสะท้อนออกมาในค่า ndc

ทีนี้ถ้าใส่ข้อมูลหลอกเข้าไปในสูตร แน่นอนว่าคงผ่าน แต่หากดูตามสมมติฐานแล้ว ผมว่ามันจะดูแปลกๆ นะครับ

ขอย้ำว่า นี่เป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆ รอท่านต่อๆ ไปมาแชร์ความเห็นกันต่อตามอัธยาศัยจ้ะ




ขอบคุณมากคะ..


#4 นุกูล

นุกูล

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 4,797 posts
  • Gender:Male

Posted 30 August 2011 - 03:20 PM


เธอจ๋า
ประเด็นนี้มันไม่ได้อยู่ที่วิธีการเลือกชิ้นงานน่ะ ผลที่ได้จากการทำ มันจะไม่เป็นแบบนี้ได้ยังไงในเมื่อเราเอาเครื่องมือวัดที่ค่าความละเอียก 1.00 mm ไปวัดงานที่ +- 1.00 mm
ผลก็ออกมามันก็แทบจะเป็นเส้นตรงอยู่แล้ว แล้ว ndc ที่ไหนมันจะกล้าโผล่มาให้เห็นจ๊ะ
แค่ spec งาน ก็ชี้ให้เห็นแล้วว่า อย่างเต็มที่ ndc ก็เท่ากับ 3 ได้มาจาก 279 ก้อนหนึ่ง 280 ก้อนหนึ่ง และก็ 281 อีกก้อนหนึ่ง MSA เขาอยากเห็น 5 ก้อนนู่นแน๊ะ
หาตลับเมตรแบบ digital มาลองทำดูดีกว่าน่ะ ละเอียด 0.1 mm จ๊ะ

ฟันธงว่า
แก้ปัญหาที่การเลือกเครื่องมือครับ


Nukool Thanuanram
Mobile Phone: 097.954.4939

Facebook: Nukool Thanuanram

Fanpage: อาจารย์นุกูล วิทยากรสอนคนโรงงาน
LINE ID: nukool2001
E-Mail: nukool2001@gmail.com


เสือพี่เพราะป่าปก ป่ารกเพราะเสือยัง ดินเย็นเพราะหญ้าบัง และหญ้ายังเพราะดินดี "สรรพสิ่งล้วนเกื้อกูลพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน"





0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users